Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
พ่อค้าไทย "เหยื่อ" โลกไร้พรมแดน             
โดย รุ่งอรุณ สุริยามณี
 

 
Charts & Figures

การจับกุมสินค้าขาเข้าที่หนีภาษีช่วงตุลา'33 ถึง พฤษภา'34
ตารางเส้นทางขนของเถื่อนภาคใต้
ความต่างของภาษีศุลกากรและการค้าไทย-มาเลย์
ประมาณการสูญเสียรายได้ภาษีสินค้าสำคัญจากการลดกำแพงภาษี


   
search resources

กรมศุลกากร
Commercial and business
Auditor and Taxation




พวกเจ้าพ่อ พ่อค้าขี้ฉ้อ ค้าขายของเถื่อนมานานแล้วโดยมีตลาดใหญ่ที่หาดใหญ่และเยาวราช เหตุเพราะระบบกฎหมายมีข้อบกพร่องและกำแพงภาษี กรมศุลกากรปราบปรามเหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน 8 เดือนที่ผ่านมาจับกุมได้ 586 ล้านบาทต่ำกว่าตัวเลขจริงมากมาย จากนี้ไปการค้าของเถื่อนจะลดลงไป พร้อม ๆ กับพ่อค้าไทยต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมื่อกำแพงภาษีศุลกากรต้องถูกทำลายลงตามยุคสมัยโลกการค้าเสรี เพื่อการแข่งขันที่กำลังระบาดไปทั่ว

สมปอง ชามัง ช่างซ่อมเครื่องยนต์ที่มีชื่อเสียงประจำอยู่อู่แห่งหนึ่งบนถนนพระราม 4 เขามักจะเดินไปแถวเชียงกงบนถนนบรรทัดทองเพื่อหาซื้ออะไหล่เครื่องยนต์ดีเซลใหม่เอี่ยมให้กับลูกค้าของเขา

เครื่องยนต์ดีเซลที่สมปองต้องการเป็นเครื่องยนตร์ที่มาจากสิงคโปร์ มีราคาค่างวดถูกกว่าตลาดถึง 50% "มันหนีภาษีมาจากภาคใต้ โดยมีต้นทางมาจากสิงคโปร์ผ่านมาเลย์แล้วเข้าไทย" เขาเล่าให้ฟังอย่างคล่องแคล่วขณะที่กำลังพลิกดูคาบิวเรเตอร์อยู่หลังร้าน

เชียงกงเป็นตลาดขายาอะไหล่และเครื่องยนต์จากต่างประเทศที่บรรดาช่างซ่อมรถยนต์รู้จักดีพอ ๆ กับวรจักร จะต่างกันก็ตรงที่วรจักรเป็นตลาดขายอะไหล่และเครื่องยนต์ใหม่เอี่ยมจากโรงงานขณะที่เชียงกงไม่ใช่

"เครื่องยนต์เบนซินมือสองส่วนใหญ่เข้ามาจากญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง จะมีก็แต่เครื่องดีเซลเท่านั้น" สมปองเล่าถึงประเภทเครื่องยนต์ที่หนีภาษีเข้ามาขายที่เชียงกง

เป็นที่ทราบมานานแล้วว่าการลักลอบนำอะไหล่และรถยนต์หนีภาษีจากมาเลย์เข้ามายังประเทศไทยเป็นสิ่งที่บรรดานักค้าของเถื่อนกระทำมานานแล้ว แม้ยังไม่มีใครทราบว่าปี ๆ หนึ่งมีมูลค่าเท่าใด แต่ก้ไม่มากเกินเลยที่จะกล่าวว่าน่าจะสูงกว่าตัวเลขการจับกุทของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ระบุว่าตกประมาณ 42 ล้านบาทถึง 10 เท่า

จากเชียงกงบนถนนบรรทัดทอง ใช้เวลาเล็กน้อยลงมาทางใต้ของกรุงเทพ มันไม่ยากเลยที่จะหาซื้อของกินของใช้คุณภาพดี ราคาถูกในย่านเยาวราช สินค้าเหล่านี้ไหลเลื่อนผ่านด่านเจ้าหน้าที่มาจากหาดใหญ่ ที่รับต่อมาจากพ่อค้าของเถื่อนที่หากินโดยอาศัยช่องขนของเถื่อนจากมาเลย์ตรงบริเวณ "โนแมน' สแลนด์"

หรือถ้าหากอยากสูบบุหรี่ยี่ห้อชั้นดีระดับโลกอย่าง "มาร์โบโล" ในราคาที่แพงกว่าบุหรี่ของดรงงานยาสูบไทยไม่มากนัก ก็หาซื้อที่ถนนสีลมย่านพัฒนาพงศ์ได้ง่ายเพราะมีวางขายอย่างเปิดเผยแม้จะรู้ดีว่าบุหรี่เหล่านี้หนีภาษีเข้ามาจากสิงคโปร์ก่อนที่จะลงเรือเร็วลำเลียง "ลักษณะเป็นกองทัพมด" มาทางจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศ

จากกรุงเทพลงทางภาคใต้ที่หาดใหญ่ เป็นตลาดของหนีภาษีจากมาเลย์และสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด มีสินค้าหลายชนิดวางขายอย่างเปิดเผยแก่นักท่องเที่ยวเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า ของกินของใช้ ราคาค่างวดของสินค้าเหล่านี้ถูกกว่าของหนีภาษีที่วางขายอยู่แถวคลองถมย่านถนนเยาวราชมาก

ยกตัวอย่าง เครื่องวิทยุเทปขนาดเล็กยี่ห้อไอว่ารุ่น S 170 ราคาเครื่องละ 2,550 บาท ขณะที่คลองถมจะแพงกว่าเฉลี่ย 300-400 บาท และจะแพงกว่า 600-700 บาท เมื่อซื้อจากทางห้าง

การค้าของหนีภาษีในหาดใหญ่เป็นสิ่งที่ทำกันมาเกือบ 30 ปีแล้ว จนกลายเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวสำหรับคนต่างถิ่นจากจังหวัดอื่น "การปราบปรามให้ได้ผล ในหลายกรณีมันขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองด้วย ว่าท่านเห็นว่าการค้าของหนีภาษีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวหรือไม่" สมใจนึก เองตระกูล รองผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามกรมศุลกากร พูดถึงปัจจัยการดำรงอยู่ของตลาดหนีภาษีหาดใหญ่

แต่สำหรับพวกนักอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแล้ว การดำรงอยู่ของการค้าหนีภาษีทำให้การดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎหมายของพวกเขามีการสูญเสียส่วนแบ่งจากตลดาโดยไม่จำเป็น

น้ำมันปาล์มจากมาเลย์ลักลอบหนีภาษีเข้ามาขายในตลาดหาดใหญ่ราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์มของไทยมากถึง 50% และจะเริ่มไหลทะลักเข้ามาในในตลาดภาคใต้ราว ๆ เดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผลปาล์มของเกษตรกรกำลับออกสู่ตลาดพอดี

"เราต้องปราบกันทุกปีในช่วงนั้นเพราะว่างทางดรงสักดมักจะอ้างถึงเหตุนี้ในการกดราคารับซื้อผลปาล์มของเกษตรกรรม" สมใจนึกพูดถึงผลกระทบของปาล์มน้ำมันหนีภาษีต่อเกษตรกร

ในรอบปีงบประมาณ 2533 การปราบปรามน้ำมันปาล์มหนีภาษีสามารถจับกุมได้เพียง 10 ล้านบาทเทียบกับขนาดตลาดบริโภคน้ำมันปาล์มในภาคใต้ประมาณกว่า 500 ล้าน

ในภาคใต้มีโรงสกัดน้ำมันปาล์มรายใหญ่อยู่ 11 โรง แต่มีโรงกลั่นเพียงรายเดียว คือ สแตนดาร์ดออยล์ของกลุ่มพี่น้องงานทวี

น้ำมันปาล์มหนีภาษีจากมาเลย์มีทั้งส่วนที่เป็นน้ำมันปาล์มดิบที่ขายเข้าสู่โรงสกัดและน้ำมันปาล์มที่วางขายเป็นปี๊บตามท้องตลาด

ราคาที่ถูกกว่ากันถึง 50% ทำให้น้ำมันปาล์มของไทยไม่มีทางแข่งขันได้เลยในภาคใต้

การค้าของหนีภาษีเป็นตลาดผิดกฎหมายที่เกิดมาเคียงคู่กับตลาดเสรีที่ถูกกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงจะยังไม่มีตัวเลขที่บ่งบอกยอมรับกันว่ามีขนาดเท่าไหร่ก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลมากนักต่อการทำลายการผลิตและการค้าของสาขาธุรกิจหนึ่งใดอย่างแน่ชัด

ยกเว้น การค้าบุหรี่ต่างประเทศ ซึ่งถ้าการปราบปรามยังไม่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ทำกันอยู่อาจส่งผลให้ผู้ค้าบุหรี่ต่างประเทศอย่างถูกกฎหมายได้รับความเสียหายได้

"ราคามันถูกกว่ากันมากตกเฉลี่ยซองละ 25-35 บาท (เพราะไม่มีต้นทุนภาษีนำเข้า 30% และสรรพสามิตอีก 55%) ขณะที่บุหรี่ถูกกฎหมายกำลังเข้ามาขายในราคาสูงกว่าซองละ 5-10 บาท" แหล่งข่าวนิยมบุหรี่นอกพูดถึงบุหรี่หนีภาษี "มาร์โบโล" ที่บริษัทเซลเอ็กเพรสในเครือของบริษัทดีทแฮล์มกำลังนำเข้ามาขายอย่างถูกกฎหมายในเดือนตุลาคมนี้

การค้าของหนีภาษีที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน แม้จะไม่มีตัวเลขยืนยันว่ามีเท่าไรแต่ก็อาจพิจารณาได้จากตัวเลขการจับกุมเป็นตัวเทียบเคียงบ่งบอกถึงขนาดได้

จากสถิติการปราบปรามของกรมศุลกากรในช่วง 8 เดือนตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้วถึงพฤษภาคมปีนี้ มีมูลค่าประมาณเกือบ 600 ล้านบาท เป็นการจับกุมสินค้าหนีภาษีประเภททองคำถึง 220 ล้าน พวกของกินและเครื่องดื่มประเภทสุรา 71 ล้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 63 ล้าน

กล่าอีกนัยหนึ่ง 3 กลุ่มสินค้านี้เป็นกลุ่มสินค้าที่มีสัดส่วนของการถูกจับกุมหนีภาษีเข้ามาถึงกว่า 50% ของมูลค่าสินค้าหนีภาษีทั้งหมดที่ถูกจับได้

ถ้าตั้งสมมุติฐานมูลค่าของหนีภาษีที่เข้ามาจริงสูงกว่าที่ถูกจับกุมได้ 10 เท่า ขนาดตลาดของหนีภาษีจะสูงถึง 6,000 ล้านเท่ากับยอดขายของบริษัทลีเวอร์บราเดอร์ไทยหรือถ้าตั้งเพียง 5 เท่า ขนาดตลาดก็จะสูงถึง 3,000 ล้านเท่ากับยอดขายของบริษัท คอลเกต ปาล์มโอลีฟประเทศไทย

พูดง่าย ๆ ยอดขายสินค้าหนีภาษีสูงขนาดนี้ทำให้คนค้ากลายเป็นเศรษฐีได้ไม่ยาก บรรดาเจ้าพ่อแถวหัวเมืองต่างจังหวัดชายทะเลที่ร่ำรวยขึ้นมาส่วนสำคัญก็มาจากธุรกิจของหนีภาษีนี้

ดังที่นักกฎหมายที่ชื่อ "เบคเลอร์ (BECLER)" เคยกล่าวไว้ว่า "การที่บุคคลประกอบอาชญากรรมค้าของหนีภาษี ก็เนื่องจากเขาได้คาดหวังว่าผลประโยชน์ที่เขาได้รับจากการกระทำความผิดมีมากกว่าผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับถ้าหากกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย" ใน "อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการบังคับกฎหมาย)

คำพูดของเบคเลอร์สามารถนำมาใช้อธิบายถึงสาเหตุการค้าบุหรี่หนีภาษีได้ดีที่สุด แม้บทลงโทษของการค้าหนีภาษีจะต้องเสียค่าปรับศุลกากร 4 เท่าของราคาบวกภาษี และ 10 เท่าของราคาขายตามกฎหมายสรรพสามิตก็ตาม

แต่ความที่ผู้ค้าได้กำไรถึงซองละ 8 บาทจากราคาขาย 35 บาท ปริมาณ 1 คอตตอนหรือ 10 ซองเขาจะได้กำไรถึง 80 บาท เทียบกับ 30 บาทสำหรับบุหรี่ที่ถูกกฎหมาย

มันต่างกันถึง 50 บาทเช่นนี้แล้วมันจึงยั่วยวนให้มีการกระทำก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจโดยการค้าของเถื่อนขึ้น

เมื่อการค้าของเถื่อนโยงเข้ากับผลประโยชน์เป็นปัจจัยที่ตั้งแม้จะรู้ว่าการกระทำเช่นนนี้เป็นการ่ออาชญากรรมก็ตาม คำถามก็คือว่ากฎหมายทางศุลกากรมีข้อบกพร่องหรือไม่ที่ทำให้ผู้ค้าของเถื่อนไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

"มันมีปัญหาจริง ๆ เกี่ยวกับตัวบทบัญญัติ" นักกฎหมายแห่งสำนักงานกฎหมายสนอง ตู้จินดาชี้ถึงช่องโหว่ทางกฎหมาย

กฎหายศุลกากรที่ใช้อยู่ทุกวันนี้มีอายุ 65 ปีแล้ว มีการปรับปรุงแก้ไขบางมาตราเป็นระยะแต่ก็เนิ่นนานมาแล้ว

ปัญหาตัวบทอยู่ตรงส่วนที่เป็นเกี่ยวกับเรื่องความรับผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรที่ระบุว่าผู้หลีกเลี่ยงภาษีฯ ต้องรับผิดทั้งหมดไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม

แต่ข้อความนี้ถูกตีความเพื่อบังคับใช้โดยโยงเข้าหาหลักการพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ให้นำ "เจตนาว่าจะหลีกเลี่ยงภาษี" มาพิจารณาเป็นองค์ประกอบด้วย

เมื่อเป็นดังนี้ผู้ค้าของหนีภาษีมักจะได้รับความคุ้มครองจากตัวบทนี้เสมอ เพราะการสอบสวนมักจะหาข้อพิสูจน์ว่าเจตนาหรือไม่ได้ยาก

"แม้แต่ของกลางที่ยึดได้ กฎหมายก็เปิดช่องให้ยึดได้เฉพาะสินค้า ยกเว้นพาหนะ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของพาหนะที่ใช้ดำเนินการขนของหนีภาษีรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำนั้น"

ซึ่งข้อเท็จจริงการสอบสวนจะกระทำได้ยากมากและมักทำให้เจ้าของพาหนะซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าของหนีภาษีรอดพ้นได้เสมอ

"ส่วนใหญ่ที่เราจับได้ก้เพียงแค่ยึดสินค้าการปรับก็ใช้ดุลพินิจเอาว่าควรจะมากน้อยแค่ไหน" เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม กรมศุลกากรเล่าให้ฟังถึงข้อเท็จจริงในการลงโทษ

สินค้าหนีภาษีที่ถูกจับได้ส่วนใหญ่จะสาวไปไม่ถึงตัวการพ่อค้าใหญ่ คนที่ถูกจับมักเป็นคนรับจ้างขับพาหนะที่กินเงินเดือนเดือนละ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท (แล้วแต่ฝีมือ) จากตัวการใหญ่อีกต่อหนึ่ง

ตัวการใหญ่ในภาคใต้ที่ถูกทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามระบุว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการขนของเถื่อนมีอยู่ประมาณ 10 คน เช่น ซู้ ศักด์ระพี โกกัง โกเลี้ยง หงอจ้อง บุญสิน บรรจง ยิ่น และเกี๊ยะ

โกกงและหงอจ้องถูกฝ่ายปราบปรามระบุว่าเน้นหนักในการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วิดีโอ โดยอาศัยพื้นที่ในเขตสตูล

ส่วนโกเลี้ยง ซู้ และบรรจงเน้นพวกเม็ดพลาสติกในเขตปาดังและคลองแงะ ขณะที่หยิ่นจะค้าพวกของกินของใช้

"พวกเจ้าหน้าที่ปรักปรำเราว่าเป็นตัวการค้าของเถื่อน กล้าพูดได้เลยว่าเราเสียภาษีถูกต้อง" ซู้เล่าให้ฟังถึงข้อเท็จจริงที่พวกเขาถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่

จากการเข้าปราบปรามของพวกศุลกากรและเจ้าหน้าที่พบว่า ในเขตพื้นที่ภาคใต้ มีเส้นทางที่ใช้ขนของเถื่อนหนีภาษีมากมายราวกับตาข่ายใยแมงมุม

เส้นทางเหล่านี้ มีทั้งทางรถยนต์และทางเดินเท้า ผ่านหมู่บ้านหลายแห่งในหลายเขตพื้นที่ของสะเดาปาดัง และคลองแงะ

สินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดพลาสติก บุหรี่อะไหล่รถยนต์ ตลอดจนของกินของใช้ มาจากทางฝั่งมาเลย์ สินค้าบางชนิดเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตได้ในมาเลย์ ขณะที่พวกเม็ดพลาสติก ของกินของใช้ อะไหล่รถยนต์ บุหรี่ จะมาจากทางสิงคโปร์ แล้วเข้ามาที่มาเลย์ ก่อนที่จะเข้ามาไทยตามเส้นทางลักลอบขนส่งที่ว่า

"คือทางมาเลย์ก็จะมีตัวการใหญ่ที่ร่วมมือกับพวกค้าของเถื่อนไทย เท่าที่ทราบเป็นจีนมาเลย์ชื่อ "จึงเยี่ยะฟั่น" คนนี้เขามีร้านค้าอยู่ทางมาเลย์" เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามไทยระบุถึงบุคคลสัญชาติมาเลย์ที่เกี่ยวข้องในการขนของเถื่อนเข้ามาไทย

อย่างไรก็ตาม "ผู้จัดการ" ไม่มีโอกาสเข้าถึงตัวบุคคลที่ถูกระบุนี้ จึงไม่ทราบว่าข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

"การปราบของเถื่อน ผมว่าทำอย่างไรมันก็ไม่หมด ในเมื่อราคาทางฝั่งมาเลย์มันถูกกว่าทางฝั่งไทยมาก" ซู้ หนึ่งในผู้ถูกระบุว่าค้าของเถื่อนกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความข้อนี้สอดคล้องกับทัศนะของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามของกรมศุลกากร-รองอธิบดีสมใจนึก ซึ่งยอมรับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดการค้าลักลอบหนีภาษีขึ้นในประเทศไทย

ความแตกต่างเรื่องราคาเกี่ยวโยงกับนโยบายด้านโครงสร้างระบบภาษีศุลกากรและการค้าอย่างแยกกันไม่ออก

ยกตัวอย่าง ภาษีศุลกากรและการค้าระหว่างไทยกับมาเลย์ ไทย-มาเลย์) จะเห็นว่าสินค้าประเภทวัตถุดิบและอาหารปรุงแต่งสำเร็จรูปทางมาเลย์มีภาษีสุลกากรขาเข้าถูกกว่าของไทยมาก

กล่าวคือเฉลี่ยอยู่ในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 เช่น แป้งสาลี เม็ดพลาสติก 2% น้ำมันปาล์ม (ยกเว้นภาษีทุกชนิด) อาหารปรุงแต่ง 35% ขณะที่ของไทย แป้งสาลีต้องเสียภาษีขาเข้าถึง 40% น้ำมันปาล์ม (1.32 บาทต่อลิตร) เม็ดพลาสติก 40% อาหารปรุงแต่ง (ของกินของใช้) สูงถึง 60%

อัตราจัดเก็บทั้งหมดนี้คิดจากราคานำเข้าซีไอเอฟ (รวมต้นทุนค่าประกันและค่าขนส่ง) ไม่ใช่เอฟโอบี

แม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้า ทางมาเลย์ก็คิดภาษีถูกกว่าของไทยเช่นทีวี 30% เตาอบไมโครเวฟ 5% เครื่องดูดฝุ่น 30% ขณะที่ของไทยคิดทีวีสูงถึง 40% เตาอบไมโครเวฟ 40% และเครื่องดูดฝุ่นคิด 50% ของราคาซีไอเอฟ

การแก้ปัญหาค้าของเถื่อนตามแนวชายแดน กล่าวสำหรับระดับเจ้า หน้าที่ศุลกากรของทั้งสองประเทสแล้วต่างยอมรับว่าความแตกต่างของภาษีศุลกากรเป็นสาเหตุสำคัญ

"ทางมาเลย์ก็ยอมรับเป็นเพราะภาษีเขาถูกทำให้ของทะลักเข้ามาที่ไทย แต่เรื่องนี้มันเป็นเรื่องนโยบายการคลังของประเทศที่อยู่เหนืออำนาจหน้าที่ของเขา" สมใจนึก รองอธิบดีกรมศุลกากรพูดถึงท่าทีการแก้ปัญหาของเถื่อนของเจ้าหน้าที่ศุลกากรมาเลย์

เมื่อเรื่องภาษีอยู่เหนืออำนาจหน้าที่ของศุลกากร การร่วมมือแก้ปัญหาค้าของเถื่อนของประเทศทั้งสอง จึงออกมาในรูปการแสวงหารูปแบบการเข้าปราบปรามที่เหมาะสมต่อหลักการไม่ละเมิดอำนาจอธิปไตยดินแดนของกันและกัน

การที่ไทยมีการคิดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสูงมากเช่นนี้ เป็นเพราะว่าต้องการใช้เครื่องมือทางการคลังให้การปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตที่ทดแทนการนำเข้าของประเทศ เช่น เม็ดพลาสติกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายที่ยังอยุ่ในขั้นเริ่มต้น อุตสาหกรรมนี้ว่าไปแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้ามาลงทุนแข่งขันได้โดยง่าย เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงนับพันล้านบาทขึ้นไป และต้องสันทัดในการเลือกใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสมกับขนาดการผลิตและความต้องการของตลาด

เวลานี้มีผู้ผลิตเพียง 5 รายคือ ทีพีไอโพลีนไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์หรือทีพีซี ทีพีอี ทีพีพี และสยามสไตลีน โมโนเมอร์หรือเอสเอ็มบริษัทในเครือกลุ่มปูนใหญ่

"เม็ดพลาสติกที่ลักลอบเข้ามาเป็นพวกแอลดีพีอีเช่นเดียวกับที่ทีพีไอฯ ผลิต แต่พวกลักลอบคุณภาพเกรดต่ำมาก" ผู้ค้าผลิตภัณฑ์พลาสติกย่านสำเพ็งรายหนึ่งเล่าให้ฟังถึงลักษณะเม็ดพลาสติกเถื่อน

ตลาดของเม็ดพลาสติกเถื่อนส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานเล็ก ๆ ผลิตของใช้พลาสติก เนื่องจากราคาถูกกว่า ขณะที่โรงงานใหญ่ ๆ จะซื้อจากทีพีไอ

มองในมุมกลับ ถ้าหากรัฐไม่ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกไว้สูงอย่างทุกวันนี้ ก็จะเกิดการนำเข้าเม็ดพลาสติกทุกเกรดจากต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีก้าวหน้ากว่าไทยมาก เข้ามาอย่างแน่นอน

"มันจะเกิดการแข่งขันด้านราคา และคุณภาพกับผู้ผลิตอย่างทีพีไอ แต่ผมยังสงสัยว่าทีพีไอจะแข่งสู้ได้อย่างไร" แหล่งข่าวบริษัทเอเยนต์ค้าเม็ดพลาสติก "เลียกเซ้ง" ตั้งคำถามเชิงให้ช้อสังเกตุถึงความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกไทย

ทีพีไอเข้ามาลงทุนผลิตเม็ดพลาสติกกลุ่มพีอี เช่น แอลดีพีอีและเอชดีพีอีเมื่อประมาณเกือบ 10 ปี ก่อน มีโรงงานอยู่ที่ระยอง

ส่วนทีพีซีเข้ามาผลิตเม็ดพลาสติกกลุ่มพีวีซีในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

น้องใหม่ก็เป็นทีพีอี ทีพีพีและเอชเอ็มในเครือปูนใหญ่ ที่ผลิตเม็ดพลาสติกกลุ่มพีอี พีพี และเอชเอ็ม ซึ่งอยู่ในระยะเพิ่มลงทุนเท่านั้น

มองจากมุมนี้ เป็นไปได้มากว่าอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกยังได้รับการคุ้มครองจากเครื่องมือทางการคลังนี้ต่อไป แม้จะต้องแลกกับการไหลทะลักของเม็ดพลาสติกจากทางมาเลย์ต่อไปก็ตาม

แต่ก็ใช่ว่า จะได้รับการคุ้มครองต่อไปไม่มีกำหนดเพราะโลกการค้าระหว่างประเทสกำลังเข้าสู่ยุคการแข่งขันเสรี ที่มีข้อจำกัดทางกำแพงภาษีศุลกากรน้อยที่สุด

แม้การประชุมรอบอุรุกวัยของเกตต์ดูจะมีความสำเร็จไม่มากนักก็ตาม แต่กลุ่มประเทศในโซนการค้าเดียวกันก็ได้ริเริ่ม จัดตั้งเขตการค้าเสรีกันแล้ว เช่น ยุโรปตะวันตก สหรัฐกับเม็กซิโกและแคนาดา

กลุ่มอาเซียนเองก็ได้ริเริ่ม โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีการค้าระหว่างอาเซียนด้วยกันเองมานานแล้ว ที่เรียกว่าอาเซียน-พีทีเอ

กล่าวคือสินค้าในบัญชีที่อยู่ในโครงการนี้เวลามีการส่งออกหรือนำเข้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน จะเสียภาษีนำเข้าเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราที่จัดเก็บอยู่

แม้ข้อเท็จจริง โครงการนี้จะไม่ค่อยมีผลเป็นชิ้นเป็นอันแก่ผู้ค้าในอาเซียน เนื่องจากบัญชีสินค้าที่อยู่ในรายการ ส่วนใหญ่มีการค้าขายกันน้อย หรือแทบจะไม่มีการซื้อขายเลย

"อย่างของไทย สินค้าที่เราส่งออกมาก เช่น เสื้อผ้า รองเท้า อัญมณี ผลิตภัณฑ์พลาสติก เราก็ไม่ต้องการให้อยู่ในบัญชีด้วย" แหล่งข่าวในกรมการค้าต่างประเทศเล่าให้ฟังถึงเกณฑ์การส่งรายชื่อสินค้าเข้าในบัญชีอาเซียน-พีทีเอ

มองจากตรงนี้ โครงการอาเซียน-พีทีเอ เนื้อแท้มันก็ยังปกป้องและกีดกันทางการค้ากันในหมู่อาเซียน

จุดนี้เองที่อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีต้องการแก้ไขความล้มเหลวของอาเซียน-พีทีเอโดยเสนอ "เขตการค้าเสรีอาเซียน" ขึ้น

หลักใหญ่อันหนึ่งก็คือ ต้องการให้ทุกประเทศในอาเซียนนำสินค้าที่อยู่นอกรายการบัญชีที่สงวนไว้เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมของตน เข้ามาอยู่ในบัญชีให้มากที่สุด "ของไทยเองก็มีตั้งนับพันรายการที่อยู่นอกบัญชี" แหล่งข่าวในกระทรวงพาณิชย์ระบุไว้เช่นนั้น

เวลานี้ แนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของอานันท์ ได้รับความสนับสนุนจากประเทศมาเลเซียสิงคโปร์ ฟิลิปินส์แล้ว จะเหลือก็แต่อินโดนีเซียและบูรไน

โดยเฉพาะอินโดนีเซียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดมีประชากรถึง 150 ล้านคน กำลังการผลิตทางอุตสาหกรรมยังล้าหลังอยู่มาก การสนับสนุนจากอินโดนีเซียเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อความสำคัญของแนวคิดนี้

เพราะถ้าประเทศหนึ่งประเทศใดในอาเซียนไม่เอาด้วย ก็ต้องล้ม

"เวลานี้ ยังไม่ได้ก้าวเลยถึงขั้น การพิจารณารายละเอียดว่จะมีสินค้าอะไรบ้าง และอัตราภาษีนำเข้าควรจะเป็นเท่าไร" ศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ อธิบดีสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศเล่าให้ฟังถึงการเคลื่อนไหวของโครงการ "เขตการค้าเสรีอาเซียน" ของอานันท์

ไม่ว่าแนวคิดการค้าเสรีอาเซียน จะเดินหน้าสู่รายละเอียดหรือไม่ กระแสการค้าต่างประเทศเสรีเพื่อเปิดเงื่อนไขการตื่นตัวในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ก็ได้เริ่มขึ้นแล้วทีละก้าว

การผ่อนคลายการคุ้มครองเพื่อสร้างบรรยากาศการแข่งขันด้วยมาตรการลดกำแพงภาษีนำเข้าลงในสินค้าสำคัญ ๆ ถึง 4 ประเภทในช่วงปีนี้ ได้แก่รถยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เหล็กเส้น และเครื่องจักรเพื่อการผลิตเป็นตัวอย่างที่แจ่มชัด

การผ่อนคลายอัตราภาษีนำเข้าได้ลงลงจากเดิมอย่างมากมาย โดยที่กระทรวงการคลัง พร้อมที่จะสูญเสียรายได้จากภาษีศุลกากรถึงปีละประมาณการ 12,000 ล้านบาทหรือประมาณไม่เกิน 5% ของรายได้จากภาษีศุลกากร

อุตสาหกรรมทั้ง 4 ประเภทนี้ (โดยเฉพาะรถยนต์และชิ้นส่วน) ที่ผ่านมานับสิบปี บางประเภทอย่างรถยนต์นับ 30 ปี ได้รับการคุ้มครองจากกำแพงภาษีศุลกากรสูงของรัฐ

ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว การคุ้มครองทำให้ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต และเกิดตลาดการค้าของหนีภาษีขึ้น

ดังที่เกิดขึ้นรถยนต์มีราคาแพงเมื่อเทียบกับราคาแพงเมื่อเทียบกับคุณภาพ ขณะเดียวกันก็มีการขาดแคลนพร้อมกันไปก็เกิดขบวนการค้ารถยนต์หนีภาษีขึ้นดังตัวเลขที่ทางกรมสุลกากรได้รายงานการจับกุมได้ปี 2533 สูงถึง 66 ล้านและช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้จับกุมได้ 42 ล้านบาท

เช่นเดียวกับเหล็กเส้นช่วง 2 ปีที่ผ่านมาความต้องการสูงมากเนื่องจากการบูมอย่างขีดสุดของอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ทำให้เหล็กเส้นทุกชนิดมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเกิดการขาดแคลน

เช่นนี้แล้วการผ่อนคลายกำแพงภาษีลงเท่ากับยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัวกล่าวคือหนึ่ง-เป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ผลิตอุตสาหกรรมเหล่านั้น ต้องตื่นตัวในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อรับกับการแข่งขันของสินค้าที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งมีคุณภาพสูงและชื่อเสียง สอง - เป็นการบีบให้การค้าของเถื่อนหายออกไปจากตลาดเพราะการแข่งขันจะทำให้ราคาสินค้าเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลกับคุณภาพ จนทำให้ส่วนต่างผลกำไรของสินค้าหนีภาษีไม่จูงใจพอต่อความเสี่ยงที่จะคุ้มต่อการดำเนินการ

กล่าวถึงที่สุดแล้ว ผู้ผลิตที่ไม่กล้าลงทุนหรือเอาจริงเอาจังกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพสินค้า ราคาการขนส่งและการผลิต ย่อมอยู่ในภาวะที่ "ฝันร้าย" อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ที่เห็นอยู่เวลานี้ก็คือ ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์และชิ้นส่วน ที่มีข่าวว่าเริ่มลดการผลิตในสายการผลิตบางสายลง พร้อมราคาก็ลดลง 15%

"คุณต้องเข้าใจว่าเวลานี้ กระทรวงการคลังไม่ใช่เสือหิวอีกต่อไป เงินคงคลังมีมากถึง 100,000 ล้านบาท การทำงบประมาณก็ใช้หลักการสมดุลกับงบรายจ่ายมาปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว ประมาณ 460,000 ล้านบาท" แหล่งข่าวในกระทรวงการคลังพูดถึงเหตุผลข้อหนึ่งของรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายผ่อนคลายกำแพงภาษีศุลกากรลง

ความจริงแล้ว แรงบีบจากต่างประเทศก็มีส่วนสำคัญที่รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายทางการคลังด้านภาษีศุลกากรแบบผ่อนคลายเพื่อส่งเสริมการค้าเสรี

การกีดกันทางการค้าด้วยมาตรการตั้งกำแพงภาษีมันกลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้วสำหรับระเบียบใหม่ของโลกเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

การที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและการค้าโดยพึ่งพิงการส่งออกและนำเข้าถึงร้อยละ 60-70 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและวางเป้าหมายจะไปให้ถึงร้อยละ 80 ในอีก 4-5 ปีข้างหน้าเมื่อสิ้นแผน 7

เท่ากับว่าระบบการผลิตและการค้าของผู้ประกอบการไทยกำลังอยู่ในสนามแข่งขันของตลาดโลกมากกว่าตลาดภายในประเทศเหมือนในอดีตแล้ว

ดังนั้น การปรับตัวภายใต้ระเบียบกติกาทางการค้าและศุลกากรของตลาดโลก จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องยอมรับ "การเป็นเหยื่อของสถานการณ์โลกเศรษฐกิจและการค้าที่ไร้พรมแดน"

แต่อย่างไรก็ตาม การออกสู่สนามแข่งขันเพื่อเผชิญกับคู่แข่งขันจากส่วนต่าง ๆ ของโลก ก็ใช่ว่าผู้ผลิตไทยจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบทีเดียว

เพราะอย่างนี้ที่สุด ทางรัฐบาลก็พยายามปลดเปลื้องอุปสรรคที่เป็นต้นทุนออกเพื่อให้ผู้ผลิตนักอุตสาหกรรมไทย มีต้นทุนน้อยที่สุด

"ทางกรมสุลกากรกำหนดเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตสำหรับสินค้าออกในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ 20% คือจาก 27,400 ล้านเป็น 32,800 ล้าน" อรัญ ธรรมโน เปิดเผยถึงการช่วยเหลือทางศุลกากร

การช่วยเหลือทางศุลกากรมีอยู่ 3 ทาง คือ หนึ่ง - การคืนอากรวัตถุดิบ สอง - การยกเว้นภาษีวัตถุดิบ และสาม - การชดเชยค่าภาษีอากร

ซึ่งในปีที่แล้ว มีการคืนอากรวัตถุดิบให้แก่ผู้ผลิตเพื่อส่งออกเกือบ 12,000 ล้าน ยกเว้นภาษีวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อการผลิต 8,500 ล้าน และชดเชยค่าภาษีอากร 7,020 ล้าน

นอกจากนี้ ยังมีการลดภาษีรายได้นิติบุคคลลงอีกจาก 30-35% เหลือ 20-25% ของกำไรจากการดำเนินธุรกิจ และเปลี่ยนโครงสร้างภาษีการค้าจากเดิมมาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราเดียวกันหมดคือ 7%

การผ่อนคลายระบบภาษีศุลกากรพร้อม ๆ กับการลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีการค้า สิ่งนี้เป็นกระบวนการปรับตัวทางการคลังเพื่อเข้าสู่ระเบียบการค้าเสรีของโลกที่ไร้พรมแดน

ภารกิจจากนี้ไป มันอยู่ที่นักอุตสาหกรรมไทยต้องเผชิญกับความจริงของการต่อสู้โดยไม่มีการคุ้มครองของรัฐอีกต่อไป

มันคงเป็นฝันร้ายของนักอุตสาหกรรมที่เคยชินกับการเป็นทารก ขณะเดียวกันมันคงเป็นฝันดีสำหรับนักอุตสาหกรรมที่พร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us