Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
หุ้นที่ดิน : ช่องทางผ่องถ่ายรายได้             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

 
Charts & Figures

ตารางเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2534 เทียบกับ 2533
ตารางแสดงงบกำไรขาดทุนบริษัทอัมรินทร์ พลาซ่า จำกัด


   
search resources

คีรี กาญจนพาสน์
Real Estate
Stock Exchange




วิธีการรับรู้และบันทึกรายได้ของบริษัทเรียลเอสเตทที่เป็นอยู่ในตอนนี้ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องปวดหัวเป็นที่สุด เพราะต่างบริษัทต่างมีวิธีการบันทึกของตนเอง ทำให้ไม่สามารถหามาตรฐานที่จะใช้เปรียบเทียบสถานะและมูลค่าหุ้นเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางผ่องถ่ายรายได้อีกมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะในเรื่องของการตั้งบริษัทลูก / บริษัทในเครือ การซื้อสินค้าหรือกิจการในเครือ การคิดค่าธรรมเนียมจากบริษัทลูก ฯลฯ ช่องทางเหล่านี้สะท้อนว่า กฎหมายเมืองไทยอ่อนด้อยเพียงใด

ประเด็น เรื่องวิธีรับรู้และบันทึกรายได้ของบริษัทเรียลเอสเตทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประเด็นล่าสุดที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก และเป็นเหตุให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มการพิจารณาเกี่ยวกับหุ้นเหล่านี้มากขึ้น

ก่อนหน้านี้หุ้นที่ดินก็มีความหวือหวาในเรื่องการผันผวนของราคา ประกอบกับการตั้งกองทุนหุ้นสามัญพิเศษของธนายงที่ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเจ็บตัวไปตาม ๆ เพราะไม่คุ้ยเคยกับวิธีการลงทุนแบบ AGGRESSIVE ของคีรี กาญจนพาสน์

ผลงานของคีรีทำให้เกิดคำถามขึ้นทั่วไปในหมู่นังลทุนว่ามาตรฐานการประเมินมูลค่าหุ้น ซึ่งคีรีนำไปซื้อหุ้นบริษัทอื่นอยู่ที่ไหน หรือมาตรฐานเป็นอย่างไรและการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน/หุ้นของบริษัทที่คีรีเข้าไปซื้อ มีวิธีการคำนวณอย่างไร

การตั้งกองทุนหุ้นสามัญพิเศษครั้งนี้มีเบื้องหลังซิกแซกอะไรหรือเปล่า

ปัญหาเหล่านี้นำไปสู่คำถามใหญ่เกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของหุ้นที่ดินซึ่งมีความผันผวนของราคามากกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ

นักวิเคราะห์บางรายถึงกับกล่าวว่า "ผมบอกกับนักลงทุนว่าหุ้นธนายงยังมีปัญหาอีกหลาย อย่างที่ไม่กระจ่าง ส่วนบางกอกแลนด์ก็มีเงื่อนงำลวงตามากเกินไป"

วิธีการรับรู้รายได้ของบริษัทเรียลเอสเตทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันมีการใช้แตกต่างกันถึง 4 วิธีคือการรับรู้รายได้ในวันทำสัญญาจองซื้อ หมายความว่าเมื่อมีการเปิดตัวโครงการในวันเซ็นสัญญาจะถือว่าเป็นการขายเลย เช่น ธนายง ในกรณีที่ขายที่ดินเปล่ารอบสนามกอล์ฟแปลงหนึ่งมีมูลค่า 2 ล้านบาท เมื่อเกิดการเซ็นสัญญาซื้อจะถือว่าขายไปเลย และลงบัญชีรายรับ 2 ล้านบาททั้งที่อาจจะได้เงินจองมาเพียง 50,000 บาท

มีผู้รู้วิจารณ์ว่าวิธีนี้ค่อนข้าง AGGRESSIVE มากหากมีการทิ้งสัญญาจองขึ้นมาในภายหลังผู้ถือหุ้นคงต้องเดือดร้อนไม่น้อย

วิธีที่สองเป็นการรับรู้รายได้ตามเงินที่รับ รัตนะ การเคหะ ใช้วิธีลงบัญชีแบบน ี้เช่นเดือนที่หนึ่งรับมา 30,000 บาท ก็จะลงบัญชี 30,000 บาทเดือนที่สามรับมา 50,000 บาท ก็ลงบัญฯชีตามจำนวนที่รับมาเป็นการรับตามเงินสดที่เข้ามาดังนั้นเงินที่รับจะถูกกระจายออกไป โดยทั่วไป 40% จะถูกรับในช่วง 8-9 เดือนแรก ส่วนอีก 60% จะไปรับก้อนสุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นงาน

วิธีที่สามเป็นการรับรู้รายได้ตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง สมมติว่าบ้านหลังหนึ่งขาย 5 ล้านบาทหมายความว่าต้องมีงานเสร็จ 100% จึงจะได้เงินครบ 5 ล้านบาท ในเดือนแรกที่ยังไม่ก่อสร้างก็จะไม่ได้เงินเดือนต่อมาก่อสร้างไป 10% ก็รับรู้รายได้ 500,000 บาท วิธีนี้ มั่นคงการเคหะ นำมาใช้ลงบัญชี และเป็นวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในหมู่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น กฤษดามหานคร เป็นต้น

วิธีสุดท้ายถือเป็นวิธีการรับรู้รายได้แบบ CONSERVATIVE มากที่สุดและมีแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพียงรายเดียวที่ใช้อยู่คือการรับรู้ได้เมื่อเกิดการโอนนั่นหมายความว่าตัวเลขที่ปรากฏในบัญชีของปีนี้คือผลงานการขาย่จากเมื่อปีที่ผ่านมา

ซวง ชัยสุโรจน์ เจ้าหน้าที่บริหารระดับ EVP ของแลนด์ฯ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมคิดว่ามันมี 2 ลักษณะกว้าง ๆ เท่านั้นคือการรับรู้รายได้เมื่อมีการดอนที่แลนด์ฯ ใช้อยู่กับการรับรู้ตามแบบเปอร์เซ็นต์งาน ซึ่งวิธีหลังนี่มีการใช้กันมา เพราะทุกคนมองว่าใช้วิธีนี้แล้วผลประกอบการมันเกิดขึ้นเร็ว"

การรับรู้แบบต่าง ๆ มีความแตกต่างกันชัดเจนในเรื่องของการเสียภาษี รับรู้เร็วทำให้ต้องเสียภาษีเร็วนี่เป็นจุดเสีย ขณะที่จุดีดูเหมือนจะมีมากคือผลประกอบการกำไรเยอะ ในแง่ตัวเลขที่แสดงผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และแน่นอนย่อมมีผลกระทบต่อราคาหุ้น

ส่วนการรับรู้ตามเปอร์เซนต์งานหรือรับรู้เมื่อโอนจะทำให้เสียภาษีช้างล เรื่องนี้อดิศร ธนนันท์นราพูล เจ้าหน้าที่บริหารระดับ EVP ที่ดูแลเรื่องบัญชีของแลนด์ฯ พอใจมาก "การเสียภาษีช้าลงนี่ มีผลคือเมื่อเราตีกลับมาว่าโครงการนี้มีกำไรเป็น PRESENT VALUE เท่าไหร่นี้ ตัวนี้จะสูงคือกำไรจะเพิ่มขึ้นเพราะเราสามารถเอาเงินไปลงทุน ไปฝากแบงก์เพิ่มดอกเบี้ยมาได้ ตรงนี้เราได้ประโยชน์มาก"

อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ พยายามที่จะทำให้เกิดมาตรฐานขึ้นโดยเรียกบริษัทเรียลเอสเตทที่จดทะเบียนในตลาดฯ มาพูดคุยเพื่อหาวิธีมาตรฐานที่จะให้ทุกบริษัทใช้

อดิศรซึ่งเข้าร่วมประชุมด้วยเปิดเผยว่า "ตลาดฯ คงพยายามให้หลายบริษัทรับรู้ตามแบบฟอร์มเซนต์งานเพื่อที่จะให้บริษัทต่าง ๆ สามารถเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งเป็นการยึดสายกลางและเป็นวิธีการรับรู้รายได้ที่น่าจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด"

อดิศรอธิบายว่าการที่แลนด์ฯ ใช้วิธีรับรู้รายได้เมื่อโอนนั้นเป็นวิธีที่มีประโยชน์มาก "ผมสามารถคาดคะเนรายได้ของบริษัทฯ ได้ค่อนข้างจะแม่นยำ เพราะได้เห็นมาล่วงหน้าแล้ว 1 ปี คือรู้ว่าปีที่แล้วมียอดจองเข้ามา 2,000 กว่าล้านบาท เท่ากับว่าปีนี้ยอดขาย 2,000 กว่าล้านบาทต้องนอนมา และปีนี้หากเราขายได้ 4,000 กว่าล้านบาท ปีหน้าก็ต้องมียอดขาย 4,000 กว่าล้านบาทนอนมาเช่นกัน อีกอย่างการรับรู้เมื่อโอนยังทำให้เรารู้ต้นทุนทุกอย่างตรงตามที่เกิดจริง ถ้ารับรู้ตามเปอร์เซ็นต์งานนี่อาจจะยังไม่ตรง บริษัทที่ใช้วิธีนี้ยังต้องระวังนิดหนึ่ง เช่น ตั้งยอดขายที่ 1 ล้านบาท คาดหมายต้นทุนที่ 800,000 บาทแต่เมื่อทำจริงต้นทุนกลายเป็น 850,000 บาท เท่ากับกำไรหายไป 50,000 บาท ก็จะต้องมานั่งปรับตัว เลขในภายหลัง"

เท่ากับว่าผลประกอบการของบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ที่แสดงในแต่ละปีเป็นตัวเลขที่สะท้อนภาวะการขายในปีก่อนหน้า ไม่ใช่ตัวเลขที่สะท้อนภาวะธุรกิจในปีปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้เองที่ในช่วงครึ่งแรกของปี 534 แลนด์แอนด์เฮ้าส์จึงยังมีกำไรสูงถึง 281 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 251.56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

บริษัทเรียลเอสเตทอื่น ๆ ก็ล้วนแต่มีกำไรเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น ยกเว้นอัมรินทร์พลาซ่า สยามนำโชคและสตาร์บล็อค (ดูตารางเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2534 เทียบกับ 2533)

ทั้ง ๆ ที่ในความรู้สึกของคนทั่วไปสถานการณ์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรกไม่น่าจะดี การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจนับแต่หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียมีผลให้อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างลดลง

บัณฑิต นิจถาวร ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่า "ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจก่อสร้างขยายตัวสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 คือการนำเข้าเงินลงทุนจากต่างประเทศ แต่นับแต่เดือนกันยายน 2533 เรื่อยมานั้นอัตราการขยายตัวของธุรกิจ ก่อสร้างเริ่มชะลอตัวลง ประกอบกับในระยะหลังแบงก์ ชาติเริ่มเข้มงวดกับธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจนี้ ทำให้ดีมานด์เทียมหรือนักเก็งกำไรลดลง เหลือแต่ดีมานด์จริงเท่านั้นในเวลานี้"

อย่างไรก็ดี ดีมานด์จริงที่มีอยู่เวลานี้จะแสดงตัวเลขการขายที่แท้จริงออกมาก็ในครึ่งหลังของปี 2535 ดังนั้นผลกำไรสุทธิของหุ้นกลุ่มนี้ในครึ่งแรกของปี 2534 ที่ผ่านมาซึ่งมีอัตราการขยายตัวถึง 68.96 % ก็ยังเป็นผลพวงจากดีมานด์จริงและเทียมผสมกันที่เกิดตั้งแต่ครึ่งหลักของปี 2533

และคงต้องกล่าวด้วยว่าเกิดจากเทคนิคการรับรู้รายได้ในแบบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว
หากต้องการดูตัวเลขที่จะสะท้อนภาวะธุรกิจปัจจุบันที่แท้จริง ซวงแนะนำว่า "ในกรณีของแลนด์ฯ ต้องดูยอดขายในปีนี้ประกอบด้วย ณ เดือนกรกฎาคม 2534 เราปิดบัญชีที่ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ประมาณการทั้งปีที่เราวางไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วอยู่ที่ 2,700 ล้านบาทเท่านั้น เท่ากับเราทำเกินมาแล้ว ซึ่งในแง่วิธีการบันทึกบัญชีของเรานี่เท่ากับว่าปีหน้าเราก็มีตัวเลข 3,000 ล้านบาทนี่นอนมาแล้ว"

ในกรณีของบริษัทที่รับรู้รายได้ตามเปอร์เซ็นต์งาน ต้องดูให้ดีว่ารายได้แต่ละอย่างเป็นประเภทไหน ซวงกล่าวว่า "บางที่ต้องตรวจสอบตัวเลขบางรายการซ้ำอีกครั้ง เช่น บางบริษัทมียอดขาย 300 ล้านบาทโดยมีต้นทุน 20% ตรงนี้ต้องเอะใจแล้ว เพราะอุตสาหกรรมนี้ต้นทุนอยู่ที่ 40-50% แสดงว่ามีรายได้แฝงเกิดขึ้น เป็นต้น"

ตัวอย่างที่ชัดเจนอันหนึ่งคือโครงการที่มีการขายสมาชิกสนามกอล์ฟ หากรายได้การขายตัวนี้มารวมอยู่ด้วย ตัวเลขยอดขายจะดูผิดปกติทันที

สมมติขายสมาชิกละ 600,000 บาท แต่ต้นทุนสนามกอล์ฟจะนำส่วนที่เป็นที่ดินมาตัดค่าเสื่อมไม่ได้เพราะที่ดินถือเป็นทรัพย์สิน ดังนั้นต้นทุนสนามกอล์ฟจริง ๆ เมื่ออยู่ในงบกำไรขาดทุนจะต่ำมาก อาจจะมีเฉพาะค่าพัฒนาที่ยอมให้ตัดเป็นต้นทุน หมายถึงปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้า เป็นต้น

ในยอดขาย 100 บาท ต้นทุนสนามกอล์ฟเวลาตัดทางบัญชีอาจจะมีแค่ 10 บาทเท่านั้น เพราะราคาที่ดินเอามาตัดไม่ได้ เมื่อรวมกับการขายบ้านพร้อมที่ดินไปด้วยอาจจะทำให้มาร์จินมาอยู่ที่ 70% ซึ่งเป็นการสะท้อนภาพที่ผิดออกไป

ซวงมั่นใจว่าหากมีการขายบ้านพร้อมทีดิ่นด้วยและมีสมาชิกสนามกอล์ฟฟรือไม่ก็ตาม ต้องมีต้นทุน 40-50% ขึ้นไป ไม่มีใครสามารถทำได้ขนาดต้นทุนเหลือ 10% แน่

นักลงทุนจึงต้องพิจารณารายการรายได้แต่ละประเภทให้ดี มิฉะนั้นอาจถูกตบตาเอาง่ายๆ
ประเด็นเรื่องการรับรู้และบันทึกรายได้เป็นช่องทางการสร้างตัวเลขที่ล่อแหลมแม้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพยายามหามาตรฐาน ก็ต้องปรึกษากับสมาคมผู้สอบบัญชีและถือเป็นกฎหมายที่นักบัญชีรับอนุญาตต้องทำตามทุกคน

อดิศรกล่าวถึงมาตรฐานในต่างประเทศว่า "มีการอนุญาตให้ทำ 3-4 แบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในสถานการณ์หนึ่งให้รับรู้รายได้เมื่อจองเลย ในอีกสถานการณ์หนึ่งควรจะรับรู้ตามปอร์เซนต์งานและถ้าเป็นสถานการณ์ที่ต้องเข้มงวดมากเป็นพิเศษก็ให้รับรู้เมื่อโอน"

หากตลาดหลักทรัพย์สามารถสร้างมาตรฐานที่สมาคมผู้สอบบัญชีฯ ยินยอมด้วย ต่อไปคงจะมีการเปรียบเทียบบริษัทเรียลเอสเตทในตลาดฯ ได้ว่าตัวไหนแข็งหรืออ่อนกว่ากัน

ลักษณะที่บริษัทเรียลเอสเตทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีบริษัทย่อยและบริษัทในเครือมากมายก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ชวนให้สงสัยว่าจะมีช่องทางผ่องถ่ายรายได้อย่างไรบ้างหรือไม่

อัมรินทร์ พลาซ่า จะมีการลงทุนในบริษัทย่อยรวมกันถึง 9 บริษัท ในจำนวนนี้มี 4 บริษัทที่มีโครงการซึ่งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ เป็นรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ ซึ่งนักวิเคราะห์ทั่วไปรู้ดีว่าเป็นรายได้ที่ค่อนข้างหยุดนิ่งตายตัว

อย่างโครงการปาร์คเลนแมนชั่นของบริษัทมหาดเล็กหลวง เรียลเอสเตท จำกัด ซึ่งอัมรินทร์พลาซ่าถือหุ้นอยู่ 99.94% นั้น สถานทูตอเมริกันเช่าไว้ทั้งหมด สัญญาเช่า 15 ปี อัตราค่าเช่าปีละ 25 ล้านบาท

พิจารณาแล้วอัมรินทร์ พลาซ่าเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่เข้าถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ 9 แห่งมากกว่า แม้ว่าตัวบริษัทจะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารอาคารอัมรินทร์พลาซ่าก็ตาม

ทั้งนี้รายได้ที่มาจากค่าบริหารโครงการซึ่งเป็นรายได้หลักเฉพาะตัวอัมรินทร์ พลาซ่านั้นมีสัดส่วนน้อยกว่ารายได้ที่มาจากค่าเช่าและดอกเบี้ยรับอย่างมาก ๆ

ในประมาณการงบกำไรขาดทุนที่แสดงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แสดงให้เห็นว่ารายได้หลักอันดับหนึ่งคือค่าเช่าและค่าบริการ รองลงมาเป็นดอกเบี้ยรับซึ่งมีอัตราสูงมากจนประมาณการในปี 2535 ถีบตัวขึ้นมาเป็นรายได้อันดับหนึ่ง (ดูตารางแสดงงบกำไรขาดทุนบริษัทอัมรินทร์พลาซ่า)

ในรายงานประจำปี 2533 แสดงรายได้ที่มาจากดอกเบี้ยรับ 80 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้ลักขณะที่รายได้จากค่าเช่าและค่าบริการเท่ากับ 63.67 ล้านบาท รายได้จากการโอนสิทธิ์การเช่า 40.37 ล้านบาท รายได้ค่าบริหารโครงการก่อสร้าง 12 ล้านบาท และเงินปันผล และรายได้อื่น 21.02 ล้านบาทเป็นรายได้รวมทั้งสิ้น 217.053 ล้านบาท

เท่ากับดอกเบี้ยรับถีบตัวเป็นรายได้หลักเร็วกว่าที่ประมาณการถึง 23 ปี

ผลการดำเนินงานเช่นนี้ชวนให้สงสัยยิ่งนักว่าอัมรินทร์ พลาซ่ามีจุดมุ่งหมายอย่างไรก็แน่ในการเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

หลังจากประกาศเพิ่มทุนจำนวนมากจากเดิม 350 ล้านบาทเป็น 2,250 ล้านบาทและมีการเรียกชำระไปสองครั้งแล้วในปี 2532 และ 2534 โครงการหลายอันในบริษัทย่อยก็ยังไม่มีความคืบหน้าและมีดอกผลเท่าที่ควร

ไม่ว่าจะเป็นโครงการในบริษัทมักกะสัน เรียลเอสเตท และ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณซึ่งกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่จนป่านนี้ยังไม่สามารถเปิดบริการได้

บริษัทฯ ประกาศเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนครั้งล่าสุด เมื่อมกราคม 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินเพิ่มทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในโครงการที่ถนนสุขุวิทซอย 2 ของบริษัทเพลินจิต เรียลเอสเตท ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทที่ 10 ที่ตั้งขึ้นใหม่โดยอัมรินทร์พลาซ่าถือหุ้น 40% ร่วมกับบริษัทเจแปนอาเซียน อินเวสเม้นท์ จำกัด ถือ 25% และผู้ถือหุ้นอื่น 35% มีมูลค่าการลงทุน 3,500 ล้านบาท

ขณะที่โครงการเก่า ๆ ยังไม่แล้วเสร็จ บริษัทฯ ก็เรียกเพิ่มทุนไปดำเนินการโครงการใหม่ เป็นข้อที่ชวนสงสัยมากกว่าคณะกรรมการฯ มีวิธีบริหารงานและการจัดทำบัญชีอย่างไร

กรณีที่น่าสังเกตอีกรายคือเรื่องของบริษัท กฤษดามหานคร ข้อที่น่าสนใจคือมีงบการเงินแยกออกเป็น 2 งบคืองบเดี่ยวและงบรวม จากการวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า P/E ของงบรวมในปี 2534 มีค่าเท่ากับ 28.52 เท่าแต่ในส่วนของงบเดี่ยวนั้นมีค่าสูงถึง 84.13 เท่าซึ่งสูงกว่า P/E ของตลาดและ P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก

ส่วนมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้นมีค่า 127 บาท มากกว่าราคาเปิดจองที่ 110 บาทเพียง 17 บาท และเมื่อพิจารณางบของบริษัทย่อยคือ กฤษดาพัฒนาเคหะการ ปรากฏว่ามีขนาดใหญ่กว่ากฤษดานครไม่ว่าจะในแง่ของยอดขาย กำไร หรือทรัพย์สินก็ตาม

กฤษดาพัฒนาเคหะการซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท สามารถทำรายได้จากการขายในปี 2533 เท่ากับ 500.78 ล้านบาท สูงกว่ากฤษดานครที่มีรายได้จากการขาย 59.91 ล้านบาทถึง 8 เท่า ส่วนปี 2534 และ 2535 คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มเป็น 1,197 และ 1,387 ล้านบาทตามลำดับ

กฤษดานครประมาณการรายได้จากการขายในปี 2534 เท่ากับ 314.84 ล้านบาทในปี 2535 จะก้าวกระโดดขึ้นมาเป็น 805.80 และ 930.15 ล้านบาทในปี 2536

เป็นตัวเลขสวยหรู เกินกว่าจะเชื่อถือได้หรือเปล่า

เรื่องของการผ่องถ่ายทรัพย์สินยังมีลักษณะที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือการซื้อทรัพย์สินจากกิจการในเครือ

กฤษดานครทำโครงการกฤษดานคร 26 โดยการซื้อที่ดิน 39 ไร่จากบริษัทกฤษดาเลค แอนด์คันทรีคลับซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ส่วนโครงการกฤษดานคร พลาซ่า-รัชดาภิเษกก็ซื้อทีดิ่นจากบริษัทกฤษดา แกรนด์ คอนโดเทล

คณะกรรมการาบริหารเปิดเผยว่าการโอนซื้อที่ดินเหล่านี้ "ราคาที่โอนซื้อจะเป็นราคาตลาดในขณะนั้น"

แต่ซวงกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "การบันทึกราคาซื้อขายที่ดินนั้นต้องบันทึกตามราคาต้นทุน หากบันทึกตามราคาตลาดจะมีการ MAKE ตัวเลขกันอย่างสนุกสนาน เพราะที่ดินติดกันราคาต่างกันตั้งเยอะยังมี"

นี่เป็นอีกแง่มุมหนึ่งสำหรับการโอนย้ายทรัพย์สินที่นักลงทุนควรพิจารณาให้ดี กลวิธีการปฏิบัติเช่นนี้เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปเพราะไม่ได้เป็นสิ่งผิดกฎหมายใด ๆ

ประเด็นนี้เกี่ยวพันกับเรื่องการโยกย้ายต้นทุนและการเสียภาษีขณะที่บริษัทย่อยหรือบริษัทในเครือเสียภาษีในอัตราเต็มที่ แต่บริษัทแม่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเสียเพียง 30-35% สุดแท้แต่ว่าเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือรับอนุญาต

นอกจากนี้ การเข้าไปซื้อกิจการในเครือเข้ามาไว้เป็นทรัพย์สินของบริษัท 100% ที่เรียกว่า CONNECTED TRANSACTION ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากมีเหตุการณ์เช่นน ี้ในต่างประเทศจะต้องมีการแจกแจงรายละเอียดกันมากมากเป็นเรื่องราวสำคัญรวมทั้งในแง่ของการรวมบัญชีเจมส์ รัสเซล-สเตรซี่ หัวหน้านักวิจัยของบริษัท BARCLAYS DE ZOETE WEDD SECURITIES จำกัดให้ความเห็นว่า "นักลงทุนต้องระวังปัญาหานี้ให้ดีเพราะมีการใช้เทคนิคทางบัญชีได้ง่ายมาก เช่นบริษัทหนึ่งซื้อทรัพย์สินมา 100 ล้านบาท แล้วขายให้บริษัทในเครือ 200 ล้านบาท จะมีการลงกำไรจากการขายทรัพย์สินนี้เท่าไหร่ 200 ล้านบาทหรือไม่ คงไม่ใช่แน่นอนผมคิดว่าน่าจะลงเพียง 2 ใน 3 หรือประมาณ 66 ล้านบาท นี่เป็นวิธีที่เราใช้วิเคราะห์เรื่องนี้ มันไม่มีหลักการตายตัว"

อีกลักษณะหนึ่งที่อาจเรียกว่าเป็นการถ่ายเททรัพย์สินระหว่างบริษัทแม่และลูกไม่ได้เต็มที่นัก แต่เป็นลักษณะของผู้ถือหุ้นเดิมได้ประโยชน์จากการนำบริษัทในเครือเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกบริษัทหนึ่งคือได้ส่วนที่เป็น CAPITAL GAIN

กรณีอีสเทิร์นสตาร์เรียลเอสเตทของกลุ่มสตาร์บล็อค+สหยูเนียน+บ้านฉางบ้านเพลา ที่อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารของเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สตาร์บล็อคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หากอีสเทิร์นสตาร์ฯ เข้าตลาดฯ ได้แน่นอนว่าส่วน CAPITAL GAIN ที่ได้รับย่อมไม่น้อยทีเดียว ถึงแม้จะเป็นภาวะตลาดฯ ซบเซาก็ตาม

ส่วนควอลิตี้เฮ้าส์กับแลนด์ฯ นั้น อดิศรปฏิเสธว่าแลนด์ฯ ไม่ได้ถือหุ้นบริษัทนี้มากมาย แค่ 7.5% เท่านั้น แต่ไม่รู้ว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของแลนด์ฯ ถือในนามส่วนบุคคลสักเพียงใด

นี่ก็เป็นข้อครหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เรื่องนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ถือว่าการถือหุ้น 30% จะมีความสัมพันธ์เป็นแม่-ลูกกันได้ ต้องมากกว่า 50% ขึ้นไปจึงจะนับว่าเป็นบริษัทแม่-ลูก

ประเด็นสำคัยสุดท้ายที่ฮือฮากันมากและไม่เคยมีการพูดถึงมาก่อนจนมาเจอของจริงกรณีธนายงทำกองทุนหุ้นสามัญพิเศาหรือที่เรียกว่า SHARE MANDATE คือเรื่องการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ASSET EVALUATION)

มีความสงสัยกันมากกว่าธนายงใช้วิธีประเมินอย่างไรเรื่องนี้มืออาชีพอย่างคีรีต้องรอบคอบอยู่แล้ว ด้วยการว่าจ้างมือที่สาม (THIRD PARTY) เข้ามาประเมินให้

บริษัท เลฟเวทท์ แอนด์ เบลี่ ฮิลลิเออร์ พาร์คเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งเป็นบริษัทประเมินทรัพย์สินในเครือของ HILLIER PARKER INTERNATIONAL ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเมืองทองอพาร์ทเม้นท์, ยงสุอพาร์ทเม้นท์และอาคารแปซิฟิคทาวเวอร์หรือบริษัทดีแนว จก.

เลฟเวทท์ฯ ยังเป็นผู้ประเมินค่าสาธารณูปโภคและค่าก่อสร้างในโครงการต่าง ๆ ของธนายงด้วย

ส่วนการประเมินมูลค่าหุ้นของธนายงที่นำไปซื้อหุ้นบริษัทอื่น ๆ นั้น ใช้ราคาตลาดโดยให้ส่วนลด 12% ซึ่งคำนวณจากการขายหุ้นเพิ่มทุนโดยทั่วไปที่จะมีส่วนลดจากราคาตลาดอยู่ประมาณ 15-20% เพราะหุ้นจองใหม่นั้นผู้ซื้อไม่สามารถขายได้ในระยะเวลา 1.5-2 เดือน

บล.เจ เอฟ ธนาคมเป็นที่ปรึกษาในการประเมิน ราคาหุ้นธนายงที่นำไปซื้อกิจการอื่น ๆ ในครั้งนี้ราคา หุ้นที่ใช้ซื้อขายในตอนนั้นคือ 440 บาท/หุ้น

รายการนี้นักลงทุนที่หวังถือหุ้นธนายงระยะยาวไม่มีการเสียเปรียบแม้แต่น้อย

ยกเว้นพวกที่เล่นเก็งกำไรซึ่งไปค้างอยู่ที่ราคา 510 บาทเป็นจำวนมาก

ราคาหุ้นธนายง ก่อนเกิดการปฏิวัติของกลุ่มผู้นำหัวรุนแรงในสหภาพโซเวียต เมื่อ 19 สิงหาคมมีระดับไล่เลี่ยกับราคาอันเดอไรท์ที่ประมาณ 134 บาท

ในเรื่องนี้ เจมส์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมคิดว่าการทำแชร์แมนเดทเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในเงื่อนไขที่ว่านักลงทุนรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในหุ้นตัวนี้ผมมีประสบการณ์เรื่องแชร์แมนเดทมาก่อน แต่ปัญหาที่นี่คือราคาหุ้นพุ่งสูงมากเกินไป นักลงทุนที่จะซื้อหุ้นธนายง ควรจะได้รู้ว่ากำลังจะมีแชร์แมนเดท สมมติว่าเขาซื้อหุ้นธนายงมา 5% แล้วเกิดมี SHARE SWAP ขึ้นมาจำนวนหุ้นของเขาอาจจะลดลงไปเหลือ 3% ก็ได้ นี่เป็นตัวอย่างที่สุดขั้วไปหน่อย แต่ผมหมายความว่ามันจะเกิด DEVALUE ขึ้นมาในการลงทุนของเขาทันที"

อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องการประเมินมูลค่าทรัพย์สินยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้อีกมา แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่รับทำหน้าที่นี้แต่นักลงทุนก็ยังไม่อาจวางใจได้

สิ่งที่พอจะคาดหวังได้คงจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะให้การรับรองบริษัทประเมินทรัพย์สินเหล่านี้ เหมือนกับที่ได้ทำกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่สามารถสอบบัญชีของบริษัทในตลาดฯ ได้

โดยทั่วไปนักลงุทนไทยไม่ค่อยจะให้ความสำคัญในเรื่อง การวิเคราะห์ที่ละเอียดซับซ้อนเกี่ยวกับช่องทางผ่องถ่ายรายได้ กำไรของบริษัทเรียลเอสเตทกันสักเท่าไหร่ สิ่งที่สนใจกันมาก ๆ คือ ข่าวลือที่มีอยู่ทุกหัวระแหงของห้องค้าหลักทรัย์จึงไม่น่าแปลใจที่รูโหว่ของกฎหมายจะถูกนำมามาใช้ และตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีหน้าที่ตามอุดรู้นั้นเรื่อยไป !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us