Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
ภาณุศักดิ์ อัศวอินทรา ไฟแนนเซอร์มือหนึ่งของซีพีที่ฮ่องกง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ภาณุศักดิ์ อัศวอินทรา
Financing




ชายหนุ่มบุคลิกนายแบบผู้นี้ ดูเผิน ๆ ไม่ยักรู้ว่าเป็นคนไทย น้ำเสียงการพูดจาที่นุ่มนวลสุภาพอาจจะพอบ่งบอกได้ว่าเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเจรจาต่อรอง คนผู้นี้ คือ มือการเงินเบอร์หนึ่งของกลุ่มซีพีที่ฮ่องกง

ภาณุศักดิ์ อัศวอินทรา เป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิดจากเมืองไทยไปเรียนสหรัฐอเมริกาด้วยวัยเพยง 14 ขวบ หลังจากจบการศึกษาที่วาร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียแล้ว ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยชิคาโกอีกด้วย เมื่อจบแล้วได้เริ่มต้นชีวิตนักการเงินแห่งแรกที่เชสแมนฮัตตันแบงก์ นิวยอร์ค

ทำงานกับเชสฯ นิวยอร์กระยะหนึ่ง ก็ถูกส่งตัวไปประจำที่ฮ่องกง เพื่อดูแลด้าน CORPORATE FINANCE แล้วได้ไปช่วยสาขาเชสฯ ที่สิงคโปร์ตั้ง MERCHANT BANK จากนั้นกลับมาฮ่องกงร่วมจัดตั้งเชสแมนฮัตตันเอเชีย

เมื่อทางสำนักงานใหญ่เรียกตัวกลับ ภาณุศักดิ์หรือชื่อที่เรียกง่าย ๆ สั้น ๆ ว่าโทนี่ เริ่มรู้สึกว่าอยากจะอยู่ทางเอเชียมากกว่าเพราะตัวเขาเองก็เป็นคนเอเชีย

โทนี่ตัดสินใจอยู่และก็ได้รับการทาบทามจากธนินท์ เจียรวนนท์ เบอร์หนึ่งของเครือซีพีให้ช่วยดำเนินออฟฟิคในฮ่องกงตอนนั้นคือปี 2523 ซึ่งซีพีเริ่มขยายการลงทุนไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว

โทนี่เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมมีหน้าที่ดูบริษัทในเครือซีพีที่ฮ่องกงทั้งหมด และดูกิจการในเมืองจีนซึ่งมีอยู่ 15 แห่ง และถือหุ้นที่อินโดนีเซีย มีเทรดดิ้งที่ฮ่องกงและถือหุ้น CPF"

ว่าโดยตำแหน่ง โทนี่เป็น EXECUTIVE VICE PRESIDENT ของ C.P. POKPHAND (CPP) หรือซีพีโภคภัณฑ์บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของธุรกิจทั้งหลายของซีพีในจีนและฮ่องกง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 เป็นการนำธุรกิจต่าง ๆ ในด้านการเกษตรเข้ามารวมไว้ใต้ร่มธงบริษัทเดียว เป็นการสร้างระบบใหม่ของเครือซีพีซึ่งปัจจุบันมีบริษัทในเครือกว่า 100 แห่ง แต่ไม่เคยมีบริษัทโฮลดิ้งมาก่อนหน้านี้เลย

ซีพีโภคภัณฑ์เป็นโฮลดิ้งแรกของเครือซีพี และนำเข้าจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในเดือนเมษายน 2531 และจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในเดือนพฤศจิกายน 2533

โทนี่อธิบายถึงโครงสร้างเดิมของเครือซีพีว่า "เครือฯ ในอดีตมีการกระจายออกไปเป็นบริษัทฯ ไม่มีบริษัทแม่เลย สมัยที่เป็น PRIVATE COMPANY เราไม่มีนักลงทุน เราก็คุยกับแบงก์เท่านั้น แบงก์ที่เข้าใจเราก็ให้เรากู้แต่เมื่อย่างเข้ายุคที่เราเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว โครงสร้างเดิมก่อความยุ่งยากให้กับผู้ที่เป็นนักลงทุนของเราอย่างมาก แต่การที่เราจะทำให้ไม่ยุ่งยากก็เป็นการเสียเวลาแก่เรามาก"

ความยุ่งยากเหล่านี้เป็นเหตุให้ต้องสร้าง CPP ขึ้นมาเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งไม่สามารถจดทะเบียนที่กรุงเทพฯ ได้เพราะการเป็นบริษัทโฮลดิ้งโดยไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยจะเสียภาษีมาก

โทนี่อธิบายว่า "บริษัทของเครือซีพีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ BAP ซึ่งหากเป็นในต่างประเทศนี่เราสามารถเอา BAP มากลืนบริษัทอื่น ๆ ได้แต่ อยู่ในเมืองไทยเราทำไม่ได้เพราะต้องเสียภาษีมาก ดังนั้น เราจึงต้องเอา CPE และ CPNE มาเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก แล้วถึงเอา CPF มาถือ BAP และ CPNE เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องไปเสียภาษีมากมาย หากไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายอย่างนี้ เรามีบริษัทเดียวก็พอ ดังนั้นการทำ CPP ขึ้นมาก็เพื่อให้มีบริษัทเดียว"

CPP ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านเหรียญฮ่องกง มีฐานธุรกิจอยู่ใน 5 ประเทศใน 5 ประเทศคือไทย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซียและตุรกี

โทนี่ได้มีส่วนอย่างมากในความสำเร็จของซีพีโภคภัณฑ์ ซึ่งในอนาคตจะกลายเป็นธงนำในส่วนธุรกิจการเกษตรของเครือซีพี และจะเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของเครือฯ ด้วย

โทนี่เผยไต๋ว่า "การนำ CPP ไปจดทะเบียนที่ตลาดลอนดอนเพราะหวังผลที่จะมี EXPOSURE กับทางลอนดอน ในอนาคตเราต้องขยายไปยังยุโรปและสหรัฐฯ สิ่งที่ซีพีทำให้ในสายธุรกิจการเกษตรในเวลานั้นยังเป็นแค่สินค้าโภคภัณฑ์หรือ COMMODITY ซึ่งราคาของมันยังหวือหวาอยู่มาก"

เป้าหมายที่ซีพีต้องการคือ ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดจำหน่าย PACKAGE FOOD ด้วยตนเองในตลาดยุโรปและสหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตทีวีดินเนอร์ และ FROZEN DINNER ทั้งหลาย

การจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้จำเป็นต้องมีการซื้อกิจการต่างประเทศเข้ามา วิธีการที่ง่ายที่สุดคือใช้ตัว CPP เข้าไปซื้อ โทนี่กล่าวว่า "เมื่อเราจะซื้อกิจการต่าง ๆ นี่เราก็มีทางเลือกได้มากมาย เพราะเราเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนแล้ว อาจจะซื้อเงินสดหรือจะเปลี่ยนหุ้นกัน หรือ CPP อาจจะออกหุ้นใหม่ก็ได้ มาถึงตรงนี้แล้วผมคิดว่า CPP ไม่ใช่บริษัทไทย แต่เป็นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งสามารถแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศอื่น ๆ ได้"

การที่ CPP เข้าไปจดทะเบียนในตลาดลอนดอนจึงเอื้อประโยชน์อย่างมาก

โทนี่เคยกล่าวไว้ด้วยว่าเขาจะไม่หยุดอยู่แค่ลอนดอนเป้าหมายต่อไปคือการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดนิวยอร์ค ซึ่งจะเป็นทางบุกเบิกตลาดสหรัฐฯ ได้

กรณี CPP เป็นตัวอย่างที่มีความเป็นไปได้ว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ในอนาคต จะมีการสร้างบริษัทโฮลดิ้งขึ้นมาอีกแม้ปัจจุบันจะมีการแบ่งแยกสายธุรกิจออกเป็น 8 สาย แต่ในแต่ละสายก็ยังมีบริษัทที่แยกกันอีกมากมาย

โทนี่กล่าวว่า "ก่อนที่จะมี CPP ลักษณะการขยายธุรกิจคือตั้งบริษัทใหม่ อย่างในจีนก็มีบริษัทเกิดขึ้นมาทีละแห่งแล้ว CPP ไปรวมเข้ามา บริษัทลูกของ CPP ก็ยังมีบริษัทลูกติดอยู่อีกมากมาย"

"เปรียบเสมือนหนึ่งว่า 8 สายธุรกิจที่มีอยู่ในเวลานี้เป็นสุริยจักรวาล และ CPP เป็นดาวพระเคราะห์ ซึ่งมีดาวเล็ก ๆ อีกมามายล้อมรอบ" คนของซีพีเปรียบเปรยให้ภาพพจน์แก่ "ผู้จัดการ"

โทนี่เล่าถึงลักษณะการบริหารงานด้านการเงินแก่ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมดูการเงินทั้งหมดของ CPP ส่วนบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกับ CPP นั้นจะมีการให้คำแนะนำจากทางผมไป เช่นผมเพิ่งทำ BOND จากสวิสเซอร์แลนด์มา CPF อาจจะซาวน์ดูว่าอันนี้เหมาะกับเขาหรือเปล่า ทำนองนี้ ผมอาจจะให้ความเห็นแต่ CPF จะเป็นผู้ตัดสินใจเพราะ CPP ถือหุ้น CPF อยู่เพียง 25% เท่านั้น"

สำหรับสายธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากสายเกษตรแล้วต้องขอคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูง คือมีการวางแผนจากส่วนกลาง (CENTRAL PLANING) ไปเพื่อให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของเครือฯ โครงการใหญ่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี โทรศัพท์ เหล่านี้มีบอร์ดเดียวเท่านั้น ประกอบไปด้วยผู้ให่ญ่ทั้งหลายในซีพีคือธนินท์, ดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุลฯ มิน เธียรวร และโทนี่

โทนี่ได้ให้ภาพการบริหารการเงินของซีพีอย่างคร่าว ๆ ซึ่งน้อยคนนักจะได้มีโอกาสรู้เรื่องนี้ และมิพักต้องกล่าวถึงการบริหารงานของเครือซีพีซึ่งมีบริษัทอยู่มากมายนับไม่ถ้วนการบิรหารที่ผู้ใหญีซีพีหลายคนกล่าวว่า ยังคงรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ นั้นจะทำกันได้อย่างไร

เมื่อปี 2533 นิตยสารฟอร์จูนจัดอันดับให้กลุ่มซีพีเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์สูงมากเป็นที่ 8 ของเอเชีย โทนี่กล่าวว่าการจัด อันดับครั้งนั้นคงจะพิจารณาเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลดาหลักทรัพย์ฯเท่านั้น "ส่วนที่เป็น PRIVATE นี่ เขาคงไม่รู้เพราะหากจัดอันดับทั้งหมดนี้คงจะสูงกว่าอันดับ 8 แน่นอนอย่างน้อยก็สูงขึ้นเป็นเท่าตัวแค่ CPP นี่ก็อยู่ในอันดับราว 50 กว่าของฮ่องกง ผมคิดว่าสิ้นปีนี้เราอาจทำรายได้ให้ CPP ถีบตัวขึ้นไปอยู่ในอันดับ 30 กว่า ๆ ของฮ่องกงได้"

นั่นหมายความว่าหากจะจัดอันดับเครือซีพีจริง ๆ แล้ว คือ 2 หรือ 3 ไม่ใช่ 8

คนของซีพีเคยกล่าวถึงเป้าหมายของกลุ่มธุรกิจที่มีการเกษตรเป็นหัวหอกสำคัญรายนี้ว่า ในอนาคต 5 ปีข้างหน้าซีพีต้องการที่จะเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่รายหนึ่งเพื่อเลี้ยงประชากรโลก การขยายตัวเข้าไปในจีนในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมาสะท้อนจุดมุ่งหมายนี้อย่างแจ่มชัด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us