Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กรกฎาคม 2550
ธปท.เผยปี49ต่างชาติลดการถือหุ้นไทยเทขายกลุ่มโทรคมนาคม-มาตรการ30%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Telecommunications
Stock Exchange




แบงก์ชาติสำรวจการลงทุนในหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติในปี 49 มียอดคงค้างรวม 1,525.3 พันล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 48 จำนวน 26.2 พันล้าน หรือ 1.7% เหตุจากราคาหลักทรัพย์ที่ลดลง หลังรับแรงกดดันของราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การขายหุ้นโทรคมนาคมให้ต่างชาติ ความไม่แน่นอนทางการเมือง และมาตรการกันสำรอง 30% แบงก์ชาติ ขณะที่นักลงทุนไทยลดการถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศและหลักทรัพย์ไทยที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศลงจากปี 2548 เหลือ 108.2 พันล้านบาท หรือลดลง 28.1%

รายงานงานข่าวจาก ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้สำรวจข้อมูลการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในหลักทรัพย์ไทยที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ภาคธนาคาร และภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร จากธุรกิจที่ทำหน้าที่รับฝากหลักทรัพย์ในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ผู้ดูแลทรัพย์สิน(Custodian) บริษัทนายหน้า(Broker) และบริษัทตัวแทน(Sub-broker) โดยสรุปผลการสำรวจการลงทุนในหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 พบว่า นักลงทุนต่างชาติลงทุนในหลักทรัพย์และฝากหลักทรัพย์ไว้กับผู้ดูแลทรัพย์สินฯมียอดคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,525.3 พันล้านบาท หรือประมาณ 42.3 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจากสิ้นปี 2548 จำนวน 26.2 พันล้านบาทหรือร้อยละ 1.7 โดยมีมูลค่าลดลงในทุกประเภทตราสาร

ทั้งนี้ การลดลงดังกล่าวเนื่องจากได้รับแรงกดดันมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น การขายหุ้นโทรคมนาคมให้ต่างชาติ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง และมาตรการสกัดกั้นเงินทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี แม้ราคาหลักทรัพย์จะลดลง แต่จากรายงานข้อมูลเงินลงทุนในทุนเรือนหุ้นจากต่างประเทศจะเห็นว่าปริมาณเงินลงทุนในหลักทรัพย์ไทยของต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นโดยต่อเนื่อง

สำหรับประเภทหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างชาติลงทุนมากที่สุดคือ ตราสารหนี้มีการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.4 ของเงินลงทุนทั้งหมด โดยในจำนวนยอดคงค้างของตราสารทุน มีมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 358.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 222.8 พันล้านบาทหรือร้อยละ 164.8 แบ่งเป็นเงินลงทุนในหุ้นของภาคธนาคาร แยกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 101.2 พันล้านบาท และหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวน 1.8 พันล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินลงทุนในหุ้นสามัญของธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารจำนวน 255.0 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นของกิจการโทรคมนาคม

ส่วนประเทศที่ส่งเงินเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ ณ สิ้นปี 2549 มีทั้งหมด 65 ประเทศ แม้ว่าหลายประเทศสนใจลงทุนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะ ฮ่องกง ลักเซมเบิร์ก และไอร์แลนด์ แต่สหราชอาณาจักรยังคงเป็นประเทศที่ลงทุนมากที่สุดคิดเป็นส่วนร้อยละ 33.8 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกาคิดเป็นร้อยละ 20.2 สิงคโปร์คิดเป็นร้อยละ 15.7 และประเทศอื่นๆคิดเป็นร้อยละ 30.3 โดยนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ภาคสถาบันการเงินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.9 รองลงมาได้แก่ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 19.2 รัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.0 ภาคบริการร้อยละ 13.7 และภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 7.7

ด้านอิทธิพลของนักลงทุนต่างชาติต่อตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นปี 2549 สัดส่วนการลงทุนยังคงใกล้เคียงกับสิ้นปีก่อนคือ ร้อยละ 28.1 ของมูลค่าตามตลาดราคาตลาดโดยวัดจากมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทุนของนักลงทุนต่างชาติจำนวน 1,425.3 พันล้านบาท ต่อมูลค่าตามราคาตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศจำนวน 5,078.7 พันล้านบาท

และการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้ ถึงแม้จะลดลงแต่ยังถือว่าอยู่ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ฝากไว้กับผู้รับฝากหลักทรัพย์ที่มียอดคงค้าง 92.8 พันล้านบาท และมีสัดส่วนร้อยละ 2.3 ของมูลค่าตลาดรวมตราสารหนี้ไทยที่ซื้อขายผ่าน ThaiBMA (The Thai Bond Market Associaiton) ซึ่งมีมูลค่า 3,951.3 พันล้านบาท

ด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศและหลักทรัพย์ไทยที่จดทะเบียนในต่างประเทศของนักลงทุนไทยในปี 2549 นักลงทุนไทยที่ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และหลักทรัพย์ไทยที่จดทะเบียนในต่างประเทศเปลี่ยนไป โดยเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้น

สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย เป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งฝากหลักทรัพย์ไว้กับผู้ดูแลทรัพย์สินในไทย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 87.8 พันล้านบาท หรือประมาณ 2.4 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจากสิ้นปี 2548 ร้อยละ 16.5

ทั้งนี้ ในปี 2549 ผู้ลงทุนลดการถือครองตราสารหนี้ต่างประเทศ และหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในหน่วยลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะผู้ลงทุนในประเทศได้เล็งเห็นว่า การกระจายรูปแบบการลงทุนโดยการซื้อหน่วยลงทุนสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน และทำให้มีโอกาสเป็นเจ้าของหุ้นที่มีพื้นฐานดีในทางอ้อมเป็นผลให้มูลค่าเงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนกว่า 7 เท่าตัว

ส่วนการลงทุนของนักลงทุนไทยในตลาดตราสารหนี้ไทยที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศหรือตราสารหนี้ไทยที่ออกในตลาดต่างประเทศมียอดคงค้างทั้งสิ้น 20.4 พันล้านบาท หรือประมาณ 0.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจากสิ้นปี 2548 ร้อยละ 35.4 เนื่องจากกองทุนต่างๆของไทยลดการลงทุนในพันธบัตรไทย แล้วเปลี่ยนไปซื้อหน่วยลงทุนต่างประทเศมากขึ้น ขณะที่ตราสารหนี้ที่ถือมากที่สุดคือ หุ้นกู้ของภาคเอกชนจำนวน 13.0 พันล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.7 ที่เหลือเป็นพันธบัตรรับบาลไทยมูลค่า 7.4 พันล้านบาท

โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่นักลงทุนไทยซื้อตราสารหนี้ไทยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 67.9 รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ร้อยละ 28.4 และ 3.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า นักลงทุนไทยน่าจะมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนตราสารหนี้ไทยที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เนื่องจากในปี 2549 นักลงทุนไทยลดการถือครองหลักทรัพย์ไทยในญี่ปุ่น ขณะที่การถือครองหลักทรัพย์ไทยในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น ซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับปี 2548   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us