Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กรกฎาคม 2550
ยอดบัตรเครดิตเดือนพ.ค.พุ่ง5หมื่นใบ             
 


   
search resources

Credit Card




ธปท.เผยยอดคงค้างการให้บริการเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดสิ้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 54,365 บัตร ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อ และปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะปริมาณการใช้จ่ายในประเทศลดลงจากเดือนก่อนถึง 877 ล้านบาท ขณะที่รายได้ผ่านบัตรเครดิตทุกประเภทของแบงก์พาณิชย์ส่อเค้าวิกฤต ส่วนสาขาธนาคารต่างประเทศและธุรกิจนอนแบงก์เติบโตในอัตราที่ชะลอลง

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.ได้รายงานยอดคงค้างการให้บริการเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุด ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2550 พบว่า ปริมาณบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้าง และปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนยังคงมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น

ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 11,181,014 บัตร หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 54,365 บัตร คิดเป็น 0.49% โดยแบ่งเป็นบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ 4,475,943 บัตร หรือเพิ่มขึ้น 22,268 บัตร ส่วนสาขาธนาคารต่างประเทศได้ออกบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1,240,257 บัตร เพิ่มขึ้น 4,250 บัตร และบัตรเครดิตที่ออกโดยบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) 5,464,814 บัตร เพิ่มขึ้น 27,847 บัตร ซึ่งมีปริมาณบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจ

ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 168,637 ล้านบาท ลดลง 1,109 ล้านบาท หรือลดลง 0.65% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นยอดคงค้างสินเชื่อที่เกิดจากธนาคารพาณิชย์จำนวน 57,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย. 27 ล้านบาท ขณะที่สถาบันการเงินประเภทอื่นๆ ต่างมียอดคงค้างสินเชื่อลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสาขาธนาคารต่างประเทศมียอดคงค้างสินเชื่อ 34,018 ล้านบาท ลดลง 505 ล้านบาท และนอนแบงก์ 77,601 ล้านบาท ลดลง 632 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีจำนวน 66,543 ล้านบาท ลดลง 1,805 ล้านบาท จากเดือนเม.ย. หรือลดลง 2.64% โดยปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมของทุกประเภทลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะปริมาณการใช้จ่ายในประเทศลดลงมากที่สุดในระบบสถาบันการเงินถึง 877 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีจำนวน 47,312 ล้านบาท ขณะที่การเบิกเงินล่วงหน้ามีจำนวน 16,485 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 484 ล้านบาท

นอกจากนี้ แม้เงินบาทมีการแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการหันไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากนัก ทำให้สถาบันการเงินทุกประเภทมีรายได้ที่เกิดจากปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศลดลง ซึ่งในเดือนนี้ในระบบเศรษฐกิจมีปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศโดยรวมลดลง 445 ล้านบาท จากปัจจุบันมีจำนวน 2,746 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในเดือนนี้ธนาคารพาณิชย์มีรายได้จากบัตรเครดิตลดลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ รวมทั้งการเบิกเงินสดผ่าน แต่สาขาธนาคารต่างประเทศและธุรกิจนอนแบงก์ยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ซึ่งสาเหตุหลักเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us