Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กรกฎาคม 2550
ปตท.เมินแตกพาร์หลังราคาทะลุ300บ.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
Oil and gas




ปตท. ราคาแตะ 308 บาท ทำนิวไฮด์รอบ 6 ปี "ประเสริฐ" แจงยังไม่มีแผนแตกพาร์ แม้ราคาหุ้นพุ่งเหนือหุ้นละ 300 บาท อ้างต้องรอดูราคาหุ้นสามารถยืนได้นานหรือไม่ แย้มอาจทบทวนแตกพาร์หากราคาหุ้น 400-500 บาท พร้อมเตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 30% ของกำไรสุทธิจูงใจผู้ถือหุ้น ด้าน "บางจากปิโตรเลียม" เล็งสร้างโรงงานไบโอดีเซลปลายปีนี้ด้วยงบลงทุน 900 ล้านบาท รองรับแนวโน้มธุรกิจโรงกลั่นครึ่งปีหลังกระเตื้อง

วานนี้ (10 ก.ค.) ราคาหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังคงเดินหน้าบวกอย่างต่อเนื่อง โดยมีราคาต่ำสุดที่ 294 บาท ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุด 308 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2544 เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 12 บาท หรือคิดเป็น 4.05% มูลค่าการซื้อขาย 2,266.66 ล้านบาท

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวว่า จากการที่ราคาหุ้น PTT ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 300 บาทต่อหุ้น แต่บริษัทยังไม่มีแผนที่จะปรับลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์) จากปัจจุบันที่หุ้นละ 10 บาท เนื่องจากราคาหุ้นเพิ่งแตะ 300 บาทได้ไม่นาน ดังนั้นจึงต้องรอประเมินสถานการณ์ก่อนว่าราคาหุ้นจะยืนในระดับ 300 บาทได้นานแค่ไหน

ขณะเดียวกัน ยังต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบ อาทิ ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถยืนได้เหนือ 800 จุดได้นานหรือไม่ และเม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนจะเข้ามาลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ เช่น PTT หากเม็ดเงินต่างชาติไหลออก นักลงทุนต่างชาติจะเทขายหุ้น PTT ออกมาเช่นกัน รวมทั้งต้องพิจารณาค่า P/E ด้วย ซึ่งบริษัทคาดว่าปี 2551 ค่า P/E อยู่ที่ระดับ 10 เท่า

สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการแตกพาร์ คือ การเพิ่มสภาพคล่องให้มากขึ้น เพราะการหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงทำให้นักลงทุนทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้ามาลงทุนได้ แต่เมื่อมีการแตกพาร์จะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลง และนักลงทุนทั่วไปสามารถเข้ามาลงทุนได้ โดยช่วงที่จะมีการแตกพาร์นั้นราคาหุ้นจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงในช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นผลทางด้านจิตวิทยา แต่ต่อมาราคาหุ้นจะปรับตัวลดลง

"ปตท.ยังไม่แผนที่จะแตกพาร์ เพราะราคาหุ้น PTT เพิ่งจะแตะ 300 บาท ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่เหนือ 800 จุด ซึ่งต้องดูว่าราคาหุ้นของบริษัทจะยืนระดับดังกล่าวได้นานแค่ไหน ซึ่งหากได้นานพอสมควร หรือมีการปรับตัวสูงขึ้นต่อหรือไม่ ซึ่งหากราคาหุ้นของบริษัทอยู่ที่ 400-500 บาทต่อหุ้น ก็อาจจะมีการทบทวนเรื่องแตกพาร์อีกครั้ง และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของบริษัทก่อน รวมถึงความวัตถุประสงค์ในการแตกพาร์ ซึ่งขณะนี้เรื่องสภาพคล่องหุ้นของบริษัทสูงมากมีรายย่อยถือหุ้นกว่า 3 หมื่นราย "นายประเสริฐ กล่าว

คงเป้ามาร์เกตแคบ1.2ล.ล้าน

นายประเสริฐ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดี ทำให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิโดยจ่ายจากงบการเงินรวม โดยบริษัทในเครือของบริษัทนั้นมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 30-40% ของกำไรสุทธิ ซึ่งในงวดเดียวกันปีที่ผ่านมาที่บริษัทมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการครึ่งแรก ในอัตรา 5.00 บาทต่อหุ้น

"จากครึ่งปีแรกปี 49 บริษัทได้มีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น และในครึ่งปีแรกปีนี้ผลประกอบการของบริษัทก็ออกมาดี จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินรวม "นายประเสริฐ กล่าว

ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) ของ PTT อยู่ที่ 8.64 แสนล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่บริษัทคาดว่ามาร์เกตแคปปีนี้จะอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท นั้น บริษัทยังไม่มีแผนที่จะมีการปรับเป้ามาร์เกตแคปใหม่

ควบ ATC-RRCเสร็จสิ้นปีนี้

นายประเสริฐ กล่าวถึงกรณีที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) ขายหุ้นบมจ.อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) ออกมาจำนวน 3.7 ล้านหุ้นคิดเป็น 0.38% เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า ปูนซิเมนต์ไทยคงไม่สนใจที่จะถือหุ้นATC เนื่องจากไม่ได้ดำเนินธุรกิจอะโรเมติกส์ และหากมีการควบรวมกิจการระหว่าง ATC กับบมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน ATC ยิ่งลดลงอีก ทำให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องถือหุ้นอยู่อีกโดยแผนการควบรวมกิจการระหว่าง ATC กับ RRC คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2550 นี้

"ที่ผ่านมา ปูนซิเมนต์ไทยจะถือหุ้นในสัดส่วนที่สูง เช่น ถือหุ้นใน PTTCH สัดส่วน 20% เป็นต้น จากการขายหุ้น ATC ครั้งนี้ ทำให้ปูนซิเมนต์ไทยยังถือหุ้นATC อยู่ 45 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.63% โดยปตท.จะไม่เข้าไปดำเนินการใดๆ คงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด"

เข็น "SPRC" เข้าตลาดหุ้น

นายประเสริฐ กล่าวถึงความคืบหน้าในการนำหุ้นบริษัทโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า กระบวนการทุกอย่างน่าจะจบภายปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปี 2551 โดยได้มอบหมายให้บริษัทเชฟรอน ผู้ถือหุ้นใหญ่ 64% เป็นผู้ดำเนินการเรื่องการนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งภายหลังการเข้าจดทะเบียนเชฟรอนจะเหลือถือหุ้น 45% โดยปตท.จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 25%จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 36%

ทั้งนี้ PTT จะลดสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมดลง หากมีผู้สนใจเสนอซื้อหุ้นโรงกลั่นSPRCในส่วนที่ปตท.ถืออยู่ ก็พร้อมที่จะขายถ้าได้ราคาที่ดี เพื่อให้ธุรกิจโรงกลั่นกระจายไปในกลุ่มบริษัทอื่น ไม่ผูกขาดที่ปตท. โดยในอนาคตจะมีผู้ประกอบการธุรกิจโรงกลั่นอยู่ 3 กลุ่ม คือ ปตท. เอสโซ่ และเชฟรอนฯ

ธุรกิจโรงกลั่นครึ่งปีหลังฟื้น

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวถึง แผนการจัดตั้งบริษัทแห่งใหม่เพื่อดำเนินธุรกิจไบโอดีเซล ที่ อ.บางประอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า บริษัทคาดจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปี 2550 นี้ ก่อนจะแล้วเสร็จและสามารถเดินเครื่องในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2552

ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้รับเหมาประมูลโครงการจำนวน 2 ราย ซึ่งในเบื้องต้นอาจจะเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในส่วนของวัตถุดิบและอาจจะเข้ามาถือหุ้นด้วย แต่ขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถที่จะเปิดเผยรายละเอียดได้

สำหรับโรงงานดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 300,000 ลิตรต่อวัน โดยบริษัทจะใช้งบลงทุนจำนวน 800-900 ล้านบาท ซึ่งจะนำเงินลงทุนมาจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินและเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทในสัดส่วน2ต่อ1ตามลำดับ

"แม้เราจะเลื่อนแผนการดำเนินการจากเดิมที่กำหนดเป็นช่วงกลางปีนี้ แต่มั่นใจว่าระยะเวลาแล้วเสร็จและเดินเครื่องผลิตจะยังคงเป็นช่วงต้นปี 2552 เพียงแต่ว่าขณะนี้เราห่วงแค่เรื่องวัตถุดิบ โดยเฉพาะการปลูกปาล์มที่ค่อนข้างล่าช้า แต่คาดว่าอีก 2 ปีข้างหน้าวัตถุดิบปาล์มน้ำมันจะมีปริมาณที่มากขึ้นจากการส่งเสริมของภาครัฐฯ" นายอนุสรณ์ กล่าว

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2/2550 นี้ นายอนุสรณ์ กล่าวว่า บริษัทคาดว่าจะดีกว่าไตรมาสแรกที่มีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน เนื่องจากค่าการกลั่นที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงและปริมาณความต้องการใช้น้ำมันยังมีมาก ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีจากการทำกำไรจากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us