|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ทีพีไอโพลีน" มั่นใจรีไฟแนนซ์หนี้ทั้งหมด 8 พันล้านบาททันเส้นตายภายในสิ้นปีนี้ ระบุอยู่ระหว่างเจรจากู้เงินแบงก์ไทยและต่างประเทศ เน้นกู้เงินบาทเป็นหลัก ด้านผลการดำเนินงานปีนี้ เชื่อรายได้ดีกว่าปี 49 เหตุราคาปูนดีกว่าแถมเงินบาทแข็งทำให้ต้นทุนถ่านหินและภาระหนี้ลดลง ส่วนคดีไออาร์พีซีฟ้องร้องตระกูล "เลี่ยวไพรัตน์" ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ชี้หากไม่ซื่อสัตย์คงไม่สามารถดำเนินธุรกิจมาได้นานจากรุ่นปู่มาสู่รุ่นนายประชัยได้ ด้านปูนกลางชี้ความต้องการใช้ปูนในครึ่งปีหลังกระเตื้อง คาดทั้งปียอดใช้ปูน 31 ล้านตันหรือหดตัวเพียง 3-5% ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 10%
นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการ บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการดำเนินการรีไฟแนนซ์หนี้ที่เหลือทั้งหมด 8 พันล้านบาท โดยเจรจาของกู้เงินจากสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รีไฟแนนซ์ไม่น่าเกิน MLR ซึ่งบริษัทจะเน้นกู้เป็นสกุลเงินบาทจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการรีไฟแนนซ์หนี้ทั้งหมด
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการฯของศาลล้มละลายกลางมา 7 ปีโดยสิ้นปี50 ถือว่าเป็นปีสุดท้ายที่บริษัทต้องดำเนินการตามแผนฯให้แล้วเสร็จ โดยไม่สามารถขอขยายเวลาแผนปรับโครงสร้างหนี้ได้อีก
ส่วนกรณีที่ค่าเงิบบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั้น ทำให้ภาระต้นทุนเงินกู้และดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทลดลงโดยหนี้ทั้งหมด 8 พันล้านบาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 35บาท/ดอลลาร์) รวมทั้งยังส่งผลให้ต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนเชื้อเพลิงถูกลง เช่น ถ่านหิน เป็นต้น
นางอรพิน กล่าวต่อไปว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง ดังนั้นบริษัทจึงหันไปส่งออกต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดต่างประเทศมีความต้องการใช้ปูนมากขึ้นและราคาปูนได้ปรับเพิ่มขึ้น เชื่อว่าปีนี้บริษัทจะมีรายได้ไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีรายได้รวม 2.6 หมื่นล้านบาท และมาร์จินยังดีอยู่ โดยบริษัทฯมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ทั้งสิ้น 9 ล้านตัน/ปี
"แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะส่งผลกระทบด้านราคาจากการส่งออกปูนซีเมนต์ แต่เมื่อพิจารณาถึงผลดีด้านเงินกู้ที่ลดลงทำให้ชดเชยกันไปได้"
นางอรพิน กล่าวถึงกรณีที่บมจ.ไออาร์พีซี ได้ฟ้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และพวกเป็นเงิน 1.8 แสนล้านบาทฐานร่วมกันผ่องถ่ายเงินจากไออาร์พีซี (ทีพีไอเดิม) ออกไปโดยทุจริตระหว่างปี 2538-2543 ว่า ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ก็คงต้องสู้ไปตามขบวนการศาล ซึ่งยืนยันว่าเราไม่ได้ทำดังเช่นถูกกล่าวหา คงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ทำธุรกิจมานานตั้งแต่สมัยปู่ พ่อมาจนถึงรุ่นนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ตลอดเวลานักธุรกิจยอมรับความซื่อสัตย์มิฉะนั้นคงทำธุรกิจได้ไม่ยืนยาวมาจนถึงวันนี้
SCCCเชื่อครึ่งปีหลังยอดใช้ปูนกระเตื้อง
นางจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด หรือ SCCC กล่าวเพิ่มเติมถึงภาพรวมความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศในครึ่งปีแรก ว่า มีความต้องการใช้ปรับตัวลดลงประมาณ 3-4% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวที่มาจากปัจจัยทางการเมือง ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุนออกไป ซึ่งในส่วนของ SCCC คาดว่าจะปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับภาพรวมของตลาด
ทั้งนี้ เชื่อว่าในครึ่งปีหลังสถานการณ์ความต้องการใช้ปูนในประเทศน่าจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากมีสัญญาณทางการเมืองดีขึ้น รวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ และการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าในปลายปีนี้ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีที่ดินบริเวณเส้นทางรถไฟผ่าน ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทั้งปีเชื่อว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ใกล้เคียงปีที่แล้ว ประมาณ 31 ล้านตัน หรือหากหดตัวคงไม่เกิน 3-5% ส่วนการส่งออกปูนซีเมนต์โดยรวมยังคงขยายตัวในอัตราที่ดี โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 12-15 ล้านตัน
ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้จะมีรายได้จากการขายขยายตัวขึ้น 10% จากปีก่อนที่มีรายได้ 2.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทปรับเพิ่มราคาค่าบริการขนส่งอีก 10% ตามต้นทุนน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และ ราคาขายสินค้าในต่างประเทศก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 30 เหรียญต่อตัน จากปีก่อนที่ราคาขายอยู่ที่ 28 เหรียญต่อตัน ทำให้มีมาร์จินเติบโตที่ค่อนข้างดีจาก 28% เพิ่มเป็น 31%
"แม้ว่าครึ่งแรกของปีนี้จะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมัน ทำให้ต้องหันไปลดต้นทุนการผลิตเพื่อพยุงรายได้ในปีนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นปีที่ยากลำบากที่สุดหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แต่ในปีนี้บริษัทฯมีแผนจะจ่ายเงินปันผลงวดระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้นเหมือนปีที่แล้ว ที่จ่ายในอัตรา 6.50 บาท/หุ้น ส่วนงวดนี้จะจ่ายปันผลเท่าไรขึ้นอยู่กับผลประกอบการ"
ทั้งนี้ บริษัทฯมีการลดต้นทุนขนส่งโดยการติดตั้งเอ็นจีวีในรถขนส่งจำนวนกว่า 1,000 คัน ค่าใช่จ่ายในการติดตั้งอยู่ที่ 5 แสนบาทต่อคัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกบริษัทติดตั้ง ก๊าซเอ็นจีวี หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าขนส่งของบริษัทปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เทียบกับปีที่ผ่านมา
|
|
|
|
|