Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 กรกฎาคม 2550
จีเอ็มเอ็มงัดแผน“Cross-Culture” ปั้นศิลปินรุกตปท.สร้างT-Trend             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
บุษบา ดาวเรือง
Entertainment and Leisure




จีเอ็มเอ็ม จับมือพันธมิตรเปิดตลาดส่งศิลปินโกอินเตอร์ เดินเครื่องเพิ่มยุทธศาสตร์รบต่อ Cross-Culture แย้มกระแส เอเชี่ยน เทรนด์ ฝัน 3 ปีผลกำไรจับต้องได้ต้องใช้เวลา พร้อมยิ้มรับกำไรในประเทศไตรมาสสองโตเท่าตัว ผลมาจากการลดต้นทุนและลดความเสี่ยงในธุรกิจ

นางบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแนวทางพัฒนาธุรกิจตามแนวโน้มไปในทิศทางของวัฒนธรรมไร้พรมแดน หรื อCross-Culture เพื่อการเปิดกว้างและขยายตลาดในระดับสากล ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกา บริษัทฯจึงให้ความสำคัญในการสรรหาศิลปินที่มีความสามารถ เช่น การเพิ่มภาษาให้ศิลปินเรียนเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ เพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ตามความต้องการของกระแสโลก หรือกลุ่มเป้าหมาย

พร้อมกันนี้บริษัทฯต้องผูกสัมพันธ์กับพันธมิตรที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นช่องทางในการขยายโอกาสการทำตลาดของศิลปินในสังกัดซึ่งแม้ต้องใช้การลงทุนจำนวนมาก แต่ผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า เนื่องจากหากมีการพัฒนาศิลปิน ที่มีศักยภาพจะเปิดโอกาสในการขยายตลาดได้ โดยศิลปินแต่ละรายจะสามารถเห็นผลตอบแทนจากการทำ Cross-Culture ได้ในระยะเวลา 3 ปี

ทั้งนี้ บริษัทฯจะเปลี่ยนแนวดำเนินธุรกิจ จากเดิมที่โฟกัสทำตลาดท้องถิ่นหรือในประเทศ จะเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางในตลาดระดับโลกควบคู่ไปด้วย รวมทั้งการเน้นรุกสร้างกระแสนิยมในเทรนด์เอเชีย เนื่องจากมีความพร้อมในการพัฒนาศิลปินตามกระแสดังกล่าว ส่วนการสร้างกระแส T-Trend หรือกระแสไทยนิยม คาดว่าจะเกิดได้ยากกว่ากระแส A-Trend หรือเอเชี่ยนนิยม”

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯให้ความสำคัญในการคัดสรรศิลปิน ตามช่องทางต่างๆ โดยปัจจุบันบริษัทฯมีแบรนด์ที่สามารถคัดสรรศิลปินที่ได้รับการยอมรับ เช่น โครงการจี-เจอาร์ ,เฟิร์สสเตจโชว์ เดอะ สตาร์ , และฮอทเวฟ มิวสิค อะวอร์ด เป็นต้น รวมทั้งมีสถาบันในการพัฒนาศิลปิน เช่น สถาบันดนตรีมีฟ้า สถาบันอะราทิสต์ เรียกได้ว่า จีเอ็มเอ็ม เป็นสถาบันเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ที่มีความครบวงจร มีแพลทฟอร์มทางธุรกิจที่ครบถ้วน

สำหรับการปลุกปั้นศิลปินให้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา ต้องวางรากฐานในประเทศให้ดีและจะต้องสร้างการเติบโตทั่วโลก หรือ “local roots global reach” ส่วนองค์ประกอบสำคัญของการบริหารศิลปินนั้นมี 4 ด้านสำคัญ คือ การคัดสรรและการพัฒนาศิลปิน การจัดการ การผลิต และการตลาดกับธุรกิจ สิ่งนี้นับว่าเป็นบทบาทที่สำคัญในแต่ละประเทศเพิ่งมี โดยเฉพาะบริษัทฯ จีเอ็มเอ็มฯที่มีศักยภาพในการทำตลาดบันเทิงในประเทศไทย ย่อมรู้จักปรับตัวตามกระแสตลาด ความเหมาะสมในแต่ละเวลาอยู่แล้วการรุกขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น พร้อมกับการพัฒนารากฐานความแข็งแกร่งในประเทศปั้นศิลปินโกอินเตอร์ครั้งนี้คาดว่าต้องใช้เวลาและบริษัทฯจะต้องส่งศิลปินที่เหมาะกับในแต่ละประเทศที่จะเข้าไปเจาะตลาดด้วยเช่นเดียวกัน

เบื้องต้นศิลปินที่บริษัทฯเล็งเห็นความพร้อมของ ศิลปินในค่าย อย่างสองพี่น้องกอล์ฟ –ไมค์ จากโครงการจี-เจอาร์ ไอซ์ ศรันยู ผ่านการประกวดเฟิร์สเสตจโชว์ และเจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องที่มีศักยภาพอีกคน ทดลองเปิดตลาดก่อน

ทั้งนี้เชื่อว่าตัวศิลปิน อีกทั้งความพร้อมในการบริหารศิลปินไทยให้ก้าวสู่ตลาดเอเชียได้ เนื่องจากศักยภาพที่ผ่านมา บริษัทฯมีทั้ง ทาเลนต์ที่ดี ช่องทางในการทำ จากเวทีประกวด เอ็นเตอร์เทนครบวงจร ทั้งวิทยุ ภาพยนตร์ อีเวนต์ฯลฯ ประสบการณ์ที่พัฒนาศิลปินมากกว่า 24 ปี การมีแพลตฟอร์มธุรกิจเพลงครบถ้วน และที่สำคัญคือการเป็นพันธมิตรกับบริษัทรายสำคัญในเอเชียมาอย่างยาวนาน

“ขอเวลาอีกไม่เกิน 3-5 ปี ทาเลนต์หรือศิลปินไทยจะไปประสบความสำเร็จในเอเชีย พร้อมกับปลุกกระแส T-Trend ได้อย่างแน่นอน”

นอกจากแผนการทำตลาดต่างประเทศ ด้านตลาดในประเทศคาดว่าในไตรมาสสองของปีนี้ จะสามารถมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกกว่าเท่าตัว โดยในไตรมาสแรกมีกำไรเบื้องต้น 41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 5 แสนบาทในปี 2549 ส่วนในไตรมาสสองของปี 2549 มีกำไร 98 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมทั้งปีของบริษัทฯคาดว่าจะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 6,500 ล้านบาท ซึ่งอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากการลดต้นทุนการดำเนินงาน และการลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us