Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
จุดขายใหม่ของ ธรรมนูญ ประจวบเหมาะ             
 


   
search resources

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ธรรมนูญ ประจวบเหมาะ
ชนินทร์ โทณวนิก
Tourism




หกเดือนแรกของปีนี้ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธรรมนูญ ประจวบเหมาะต้องกุมขมับเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวไทยลดฮวบฮาบลงถึง 15.39% เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปริมาณนักท่องเที่ยวที่มาไทยลดเหลือเพียง 1,617,366 คนจากเดิม 1,911,650 คน

ผลของการตื่นตระหนกในสงครามอ่าวเปอร์เชีย ทำให้ในไตรมาสแรกการท่องเที่ยวไทยปีนี้กลายเป็นฝันร้ายของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโรงแรม เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยลดลงอย่างน่าใจหายถึง 30% โดยเฉพาะตลาดหลักเช่นญี่ปุ่นลดลงไป 32% ไต้หวันลด 9% และสหรัฐอเมริกาถึง 27%

ในฐานะผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธรรมนูญย่อมต้องเดือดเนื้อร้อนใจ เนื่องจากเป้าหมายที่เคยคาดไว้ว่านักท่องเที่ยวจะมาไทยเพิ่มเป็น 5.5-5.6 ล้านคนก็คงจะหล่นลงเพียงตัวเลข 5.4 ล้านคนในปีนี้

"แต่ผมก็เชื่อว่าในปีหน้าปริมาณนักท่องเที่ยวจะมีถึง 6 ล้านคน เพราะเราจะจัดให้มีงานใหญ่สองงานคืองานฉลองครบ 60 พรรษาพระบรมราชินีนาถและปีการท่องเที่ยวอาเซียน 1992" นี่คือความหวังใหม่ที่ผู้ว่าฯ ธรรมนูญ กล่าวถึง

ปีท่องเที่ยวอาเซียน 1992 หรือ VISIT ASEAN YEAR 1992 (VAY 1992) มีองค์กรกลาง คือ THE ASEAN TOURISM ASSOCIATION (ASEANTA) ที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่สิงคโปร์เป็นผู้จัด

งานนี้ใช้งบมหาศาลจำนวนถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวใน 6 ประเทศ คือประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน

ความจริงประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ใช้กลยุทธ์การตลาดด้วยแนวความคิดการส่งเสริมให้ปี 2530 เป็น "ปีการท่องเที่ยวไทย" (VISIT THAILAND YEAR 1987) และประผลสำเร็จอย่างมาก นำรายได้เข้าประเทศมหาศาล

เมื่อเห็นผลดีเกินคาดเช่นนี้ เพื่อนบ้านไทยอย่างมาเลเซียก็เริ่มเลียนแบบอย่างไทยบ้าง ด้วยการวางแผนส่งเสริมให้ปี 2533 เป็น "ปีท่องเที่ยวมาเลเซีย"

ปรากฏว่ามาเลเซียได้ทั้งเงิน และกล่อง โดยทุ่มงบการตลาดถึง 30 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้ผลเกินคาด ปริมาณนักท่องเที่ยวสูงถึง 7.4 ล้านคนจากเดิมแค่ 4.8 ล้านคน คิดเป็นตัวเงินได้ถึง 1.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้รายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนี้ทำรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด

ในฐานะคู่แข่ง ผู้บริหารการท่องเที่ยวประเทศอินโดนีเซียจะนิ่งดูดายอยู่ไม่ได้จึงประกาศให้ปี 2534 เป็น "ปีการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย" โดยหวังเป้าหมายว่าจะเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวได้อีก 16%

แต่ใน "ปีท่องเที่ยวอาเซียน" ปีหน้านี้ คู่แข่งสำคัญในสายตาของไทยไม่ใช่อยู่ที่สองประเทศนี้เท่านั้น ประเทศสิงคโปร์และจีนแผ่นดินใหญ่ต่างหากเป็นคู่แข่งที่พยายามช่วงชิงตลาดหลักคือตลาดญี่ปุ่นและยุโรปไปจากไทย

"จากการศึกษาของการท่องเที่ยวแห่ประเทศไทยกับสมาคมผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสาร (TTA) เราพบว่าทัวร์แพคเกจของสิงคโปร์และจีนแผ่นดินใหญ่ขายได้ดีในตลาดญี่ปุ่นและยุโรป เพราะราคาขายถูกกว่าของไทยเราถึง 20-25%" ธรรมนูญวิเคราะห์การแข่งขันให้ฟัง

ด้วยกลยุทธ์ราคาที่ตำกว่าของคู่แข่งนี้ ผู้ว่าฯ ธรรมนูญจึงให้ความเห็นว่น่าจะพิจารณาทบทวนถึงความเสียเปรียบในตลาดการแข่งขันรุนแรงนี้ที่ระดับราคาของไทยยังคงสูงอยู่ เช่น อัตราค่าห้องพักในโรงแรม

"ตอนนี้ตลาดท่องเที่ยวเป็นของตลาดของผู้ซื้อมากกว่าตลาดของผู้ซื้อมากกว่าตลาดของผู้ขายแล้ว" ผู้ว่าธรรมนูญกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาด

เป็นที่ถกเถียงกันมากเกี่ยวกับปัยหาการลดลงของเวลาที่นักท่องเที่ยวใช้ในไทย (AVERAGE LENGTH OF STAY - ALS) ในปี 2532 ช่วงเวลาพักในไทยสูงถึงคนละ 7.63 วัน ขณะที่ปี 2533 นักท่องเที่ยวใช้เวลาเที่ยวในไทยน้อยลงเหลือเพียง 7.06 วันซึ่งตกลงมาถึง 8% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกความตกต่ำได้มาเยือนนับตั้งแต่ปี 2525

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการลดเวลาเที่ยวลงในประเทศอื่นก็เกิดขึ้นด้วย เช่น ที่สิงคโปร์ในปี 2533 นักท่องเที่ยวใช้เวลาเพียงคนละ 3.30 วันขณะที่ปีก่อนนั้นทำได้ถึง 3.32% และฮ่องกงก็ประสบปัญหาเช่นเดียว นักท่องเที่ยวใช้เวลาเพียงคนละ 3.5 วันเท่านั้น

สาเหตุหนึ่งของการที่นักท่องเที่ยวใช้เวลาในไทยน้อย เพราะส่วนหนึ่งกลุ่มเป้าหมายถูกแย่งจากคู่แข่งไป สิ่งแวดล้อมเป็นมลพิษเพิ่มขึ้น เช่น อากาศและน้ำทะเล ปัยหาการจราจรแออัดในกรุงเทพและบริการขนส่งโดยสารในสถานที่ท่องเที่ยวไม่เพียงพอราคาห้องพักสูงเกินไป

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือโครงสร้างของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอยู่ในสภาพที่แย่ ไม่เอื้ออำนวยต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวอยู่เมืองไทยนาน

ปัญหาการเรียกร้องให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงแรม ยอมลดอัตราค่าห้องพักนั้นเพื่อดึงดูดใจนักท่องเที่ยวนั้น ชนินทร์ โทณวณิก ผู้บริหารของดุสิตธานีกรุ๊ป กล่าวไว้ในการสัมมนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ผ่านมานี้ว่า ถ้าหากลดราคาห้องพักโรงแรมก็ควรจะรวมถึงการลดค่าตั๋วของการบินไทยและลดค่าทัวร์ของบรรดาตัวแทนจัดทัวร์ทั้งหลายด้วย

"ถ้าหากเราลดอัตราค่าห้องพักโรงแรมต่ำลงก็หมายความว่าพนักงานของเราก็ได้ผลตอบแทนต่ำลง ซึ่งจะมีผลสะท้อนกลับมาถึงเรื่องคุณภาพของการบริการ" เป็นหนึ่งในความเห็นของชนินทร์ที่ไม่เห็นว่าการลดราคาต่ำลงนั้นจะเป็นหนทางแก้ไขปัยหา

"แทนที่เราจะมัวแต่คิดจะดึงราคาให้ต่ำลง เราน่าจะรวมตัวกันทุกฝ่ายเพื่อพิจารณาดูว่ามีอะไรที่ผิดพลาดบ้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ทำไมภาพพจน์จึงติดลบในต่างประเทศ และเราควรจะร่วมมือกันผลักดันให้มันเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง อย่างมีแผนการท่องเที่ยวแห่งชาติเป็นหลัก" ชนินทร์กล่าวในที่สุด

ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่จะผลักดันแผนหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ให้เป็นจริงนั้นส่วนหนึ่งก็ต้องขึ้นกับผู้ว่าฯ ธรรมนูญประจวบเหมาะ คงจะได้พิสูจน์กันในเป้าหมายปีหน้าว่าจะประสบความสำเร็จงดงามเฉกเช่นเดียวกับปีการท่องเที่ยวไทยมื่อ 4 ปีที่แล้วหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us