|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ใครจะคิดว่าพี่ใหญ่อย่างการบินไทยจะยอมดัมพ์ราคาตั๋วเส้นทางภายในประเทศ 11 จังหวัดลงมา 50%ขนาดนี้ ส่งผลต่อสายการบินโลว์คอสที่จับตลาดภายในประเทศอย่างมากและต้องเร่งปรับกลยุทธ์กันพัลวันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้แต่น้องเล็กสายเลือดเดียวกันอย่าง นกแอร์ ยอมรับว่าทำอย่างนี้มีแต่ตายกับตาย ขณะที่"วัน-ทู-โก" ยอมถอย เตรียมลดเที่ยวบินบางเส้นทาง
ด้วยราคาที่เริ่มต้นแค่ 830-1,065 บาท/เที่ยว เฉพาะมิถุนายน-กันยายนนี้ แถมสิทธิประโยชน์เหนือชั้น มีเที่ยวบินให้เลือกมากกว่า-แจกไมล์สะสม-อาหารว่างบนเครื่องของสายการบินไทย ช่างยั่วน้ำลายลูกค้าเป็นยิ่งนักแม้จะเป็นแค่ช่วงระยะสั้นๆตั้งแต่วันนี้-30 กันยายน 2550ก็ตาม แต่เขย่าให้วงการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำสั่นสะเทือนไปตามกัน
ศักยภาพของเส้นทางบินที่มีอยู่ภายในประเทศ 11 จังหวัด บวกกับการนำเสนอตั๋วราคาแสนจะถูก เป้าหมายเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดผู้โดยสารกับกลุ่มสายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airlines) ทุกสายในเมืองไทย ทั้งไทย แอร์เอเชีย นกแอร์ วัน-ทู-โก แอร์ไลน์ส ซึ่งมีราคาตั๋วเฉลี่ย 999-2,500 บาท/เที่ยว โดยใช้วิธีแบ่งที่นั่งชั้นประหยัดและตั้งราคาแบ่งออกเป็น 5-11 ระดับ และปัญหานี้กำลังกลายเป็นชนวนที่นำไปสู่ความไม่เข้าใจกันกับสายการบินต้นทุนต่ำสายเลือดเดียวกันอย่าง นกแอร์
“ผมไม่เข้าใจเลยว่าทำไมการบินไทยซึ่งขาดทุนอยู่แล้วต้องใช้วิธีแบบนี้ ทั้งๆที่มีพันธมิตรอย่างนกแอร์ไว้รองรับตลาดตรงนี้อยู่แล้ว การกระทำแบบนี้ไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจสายการบินทั้งการบินไทยและนกแอร์เลย”พาที สารสิน ซีอีโอของสายการบินนกแอร์กล่าว
การออกมาตัดพ้อของซีอีโอสายการบินนกแอร์ครั้งนี้แม้ว่าเจ้าตัวจะออกมาปฏิเสธว่าไม่มีนัยยะสำคัญอะไรแต่หากมองย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่านกแอร์ที่เคยมีความสัมพันธ์กับการบินไทยอย่างลึกซึ้งช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอดเวลาทั้งในเรื่องของเส้นทางบินภายในประเทศที่การบินไทยขาดทุนก็จะมีนกแอร์เข้าไปเป็นตัวช่วยอยู่ตลอดเวลา
ปัจจุบันกำลังเกิดอะไรขึ้น?...หรือความสัมพันธ์ที่เคยมีต่อกันกำลังถูกบั่นทอนลงไป!...
จุดนี้เองที่ พาที สารสิน ยอมรับว่าการบริหารจัดการที่มีความคิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงส่งผลให้การตัดสินใจในธุรกิจบางอย่างอาจจะไม่ค่อยโดนใจผู้บริหารของสายการบินไทยสักเท่าไรนัก กรณีการเปิดให้บริการเส้นทางบินไปยังประเทศอินเดีย ที่ผู้บริหารการบินไทยมองว่าเป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่มีใครบินแล้ว นกแอร์กลับนำเปิดให้บริการ ซึ่งความคิดนี้ พาที อธิบายได้ว่าการเป็นผู้นำคนแรกที่จะขนส่งผู้โดยสารไปยังเส้นทางใหม่ซึ่งไร้คู่แข่งจะเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจสายการบิน ผิดจากเส้นทางบินที่มีสายการบินเปิดให้บริการจำนวนมากอยู่แล้วการทำตลาดแข่งขันจะยากกว่า
ปัจจุบันนกแอร์งัดกลยุทธ์ด้านราคามาใช้โดยใช้โอกาสครบรอบ 3 ปีของการเปิดให้บริการทางการบินจัดโปรโมชั่นพิเศษ จองตั๋วเครื่องบินมูลค่าเพียง 3 บาท ทุกเส้นทางบินซึ่งมีประมาณกว่า 33,000 ที่นั่ง ตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นเดือนกันยายนศกนี้
อย่างไรก็ตามสายการบินนกแอร์ก็ยังมีแผนการปรับยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แต่ยังคงบอกไม่ได้ในเวลานี้เนื่องจากเป็นแผนการตลาดที่ต้องมีการเตรียมตัว และปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีจองตั๋วทางอินเตอร์เนทมาใช้สามารถเลือกที่นั่งเองได้ด้วย
ด้าน อุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วัน-ทู-โก แอร์ไลน์ส ยอมรับเช่นกันว่า หลังจากการบินไทยนำราคาลงมาเล่นกับโลว์คอสต์แอร์ไลน์ จากนี้ไปคงจะต้องเริ่มลดเที่ยวบินบางจังหวัดลง เพราะไม่สามารถแข่งขันได้เนื่องจากเป็นสายการบินที่เป็นทางเลือกรอง แต่จะพยายามรักษาฐานลูกค้าไว้ให้มากที่สุด
ทั้งนี้ สถานการณ์การใช้บริการของผู้โดยสารในประเทศปัจจุบันมีประมาณ 10-12 ล้านคน/ปี ตลาดเป็นของการบินไทยประมาณ 80% หรือ 8-10 ล้านคน และเป็นของโลว์คอสต์แอร์ไลน์เพียง 20% หรือปีละไม่เกิน 2 ล้านคน เพราะฉะนั้นจังหวะที่การบินไทยงัดกลยุทธ์นี้ออกมาใช้ยอมรับว่าย่อมได้รับผลกระทบ แนวโน้มในช่วง 4 เดือนนี้โลว์คอสต์แอร์ไลน์อาจมีผู้โดยสารใช้บริการน้อยลงการบินไทยลดราคาเที่ยวบินในประเทศหลายเส้นทาง
ไม่ว่าการบินไทยจะทำแคมเปญนี้ขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการตลาดหรือเพื่อล้มคู่แข่งขันอย่างที่เป็นข่าว แต่ผลประโยชน์ก็จะตกเป็นของผู้โดยสารที่มีตัวเลือกเพิ่มขึ้นนอกจากโลว์คอสแอร์ไลน์ที่เปิดให้บริการ แถมยังเป็นสายการบินอินเตอร์ที่ทุกคนยอมรับในมาตรฐานการบินและบริการบนเครื่อง
|
|
|
|
|