Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
ภารกิจ 4 ปีของชวลิตในบรรษัท             
 


   
search resources

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
ชวลิต ธนะชานันท์
Banking and Finance




ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่เดือนของชวลิต ธนะชานันท์ ขณะที่เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เขาได้สร้างผลงานที่สำคัญทางด้านนโยบายการเงิน กล่าวคือการผ่อนคลายการควบคุมการปริวรรตจากธุรกรรมทางการค้าระหวางประเทศ หลังจากที่เขาได้ทำหนังสือแจ้งแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟเพื่อยืนยันการตอบรับพันธะข้อ 8 ของไอเอ็มเอฟไปก่อนหน้า

การผ่อนคลายการควบคุมการปริวรรตเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความมั่นคงของฐานะทางทุนสำรองของประเทศได้เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันมันหมายถึงความกล้าหาญในการดำเนินนโยบายทางการเงินของชวลิตได้ดีพอสมควรด้วย

เพียง 6 เดือนให้หลังจากเกษียนที่แบงก์ชาติ ทางสัมฤทธิ์จิราธิวัฒน์ประธานกลุ่มเซ็นทรัลได้พยายามชวนให้เขามานั่งเป็นประธานบริษัทยอ่ยบริษัทหนึ่งของเซ็นทรัล ที่ดูแลธุรกิจในส่วนของการบริหารพื้นที่ในส่วนที่เป็นพลาซ่าของเซ็นทรัลลาดพร้าว

แต่ข้อเสนอนี้ก็ต้องเลิกไปในที่สุดเมื่อทางสุธี สิงห์เสน่ห์ รมต. คลังของคณะรัฐบาลทหารจุนต้า (JUNTA) "รสช." ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัท) ตามมาตรา 19 ของ พ.ร.บ.บรรษัท กำหนด 4 ปี เริ่มตั้งแต่มีนาคม 2534 เป็นต้นไป

การเป็นประธานบรรษัทในห้วงเวลานี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะว่า หนึ่ง - บรรษัท (สิ้นพฤษภาคม 2534) ยังคงมีปัญหาพื้นฐานด้านการขาดทุนสะสมจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งในส่วนที่เกิดจริง 1,750 ล้านและที่ยังอยู่ในบัญชีอีก 3,518 ล้านบาทจากยอดหนี้คงค้างประมาณ 36,000 ล้านบาท สอง - ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางนโยบายในการระดมเงินบาท เพื่อเป็นทุนในการดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อและแก้ปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องเรื้อรังมาหลายปีแล้ว เนื่องจากพอร์ตโฟริโอแหล่งเงินทุนของบรรษัทส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมสกุลเงินตราต่างประเทสระยะยาวจากสถาบันการเงินต่างประเทศ เช่น สกุลเยนจาโออีซีเอฟดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลก มาร์คเยอรมนี จากเคเอฟดับบลิว เป็นต้น

"เราพยายามจะหารายได้มากขึ้นบนพื้นฐานการช่วยตัวเองพร้อม ๆ กับปรับสัดส่วนเงินบาทในพอร์ตให้มากขึ้น ความต้องการของผมจริง ๆ อยากไปให้ถึงสัดส่วนเงินบาทต่อเงินสกุลต่างประเทศที่ 75 ต่อ 25 ด้วยซ้ำแม้ขณะนี้จะยังอยู่ที่ 45 ก็ตาม" ชวลิตพูดให้ฟังถึงแนวคิดทางนโยบายในการแก้ปัญหาขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของบรรษัท

ก่อนหน้านี้ 3 เดือน ชวลิตและอัศวิน คงศิริ ผู้จัดการใหญ่บรรษัทได้ทำเรื่องถึงกระทรวงการคลังเพ่อให้ทางการค้ำประกันหุ้นกู้ 3,000 ล้านบาทของบรรษัทในการนำไปซื้อดอลลาร์ เพื่อใช้ชำระหนี้ธนาคารโลกก่อนกำหนด ซึ่งเป็นวิธีการปลดความเสี่ยงจากความฝันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในบัญชีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน (ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง) ของบรรษัท

ข้อเสนอค้ำประกันหุ้นกู้ได้รับการตอบสนองที่ดีจากคณะรัฐมนตรีที่กระทรวงการคลังเป็นผู้เสนอ

ปัจจุบันบรรษัทมีผลการดำเนินงานจากธุรกิจที่น่าพึงพอใจมีกำไรสะสมสูงถึง 2,409 ล้านบาท จากระดับเงินกองทุน 6,613 ล้านบาท นอกจากนี้บรรษัทยังมีรายได้จากสินทรัพย์ในรูปของเงินลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ อีก 50 บริษัทเฉพาะอยู่ในตลาดหุ้นมี 7 บริษัทคิดตามราคาตลาดจะมีมูลค่าสูงถึงนับพันล้านบาท ซึ่งจะสร้างรายได้ให้บรรษัททันทีถ้าบรรษัทขายออกไป

มองในภาพนี้ฐานะของบรรษัทมีขีดความสามารถสูงพอ ที่จะแบกรับภาระ ที่จะต้องชำระผลการขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วยตนเองซึ่งเฉลี่ยงปีละ 500-600 ล้านบาท "ตรงนี้ผมถึงได้บอกว่าจริง ๆ แล้วผมไม่ถือว่าการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัญหาใหญ่" ชวลิตเผยการจัดลำดับความสำคัญทางนโยบายการบริหารซึ่งเป็นการยืนยันความเชื่อมมั่นของเขาต่อขีดความสามารถของบริษัท

ดังนั้นปัญหาที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ ของบรรษัทที่ท้าทายความสามารถของชวลิตจึงอยู่ที่การวางนโยบายที่ถูกต้องในการแสวงหากลยุทธ์การระดมเงินบาท

ปีนี้บรรษัทตั้งเป้าในการระดมเงินบาทประมาณ 16,500 ล้านบาท ปัญหามีว่าจะระดมเงินบาทระยะยาวได้ด้วยวิธีการใดจึงเสียต้นทุนน้อยที่สุดภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมายของบรรษัท "เวลานี้เราจะหาเงินบาทระยะยาวยากมาก ถ้าจะมีบ้างดอกเบี้ยก็แพง เพิ่มทุนยังไม่ต้องพูดถึงเพราะตลาดหุ้นยังไม่ต้องพูดถึงเพราะตลาดหุ้นยังไม่ฟื้นตัวในระดับเหมาะสม หรืออีกทางหนึ่งขอเงินช่วยเหลือในรูปซอฟท์โลนจากแบงก์ชาติ แต่ก็ยากมาก" ชวลิตพูดถึงข้อจำกัดแหล่งระดมเงินในประเทศ

ดังนั้น การออกตราสารแห่งหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นเครื่องมือเดียวของบรรษัทในการระดมเงินบาทระยะยาวในประเทศ เช่น หุ้นกู้ซึ่งต้องเป็นหุ้นกู้ชนิดที่ให้สิ่งจูงใจแก่นักลงทุนสูงมากๆ ด้วย คือ หนึ่ง มีสภาพคล่องในตลาดซื้อคืน สอง- มีฐานะเป็นหลักทรัพย์ใช้ทดแทนเงินสดในการดำรงฐานะเงินสำรองตามกฎหมายธนาคารพาณิชย์

"เวลานี้ข้อเรียกร้องในส่วนขอให้หุ้นกู้บรรษัทถูกนับเข้าไปอยู่ในตลาดซื้อคืน และถือเป็นหลักทรัพย์ในการดำรงเงินสดสำรองตามกฎหมายของสถาบันการเงิน เหมือนพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ เช่น แบงก์อาคารสงเคราะห์ยังไม่มีคำตอบใด ๆ จากแบงก์ชาติ" ชวลิตพูดถึงข้อเสียเปรียบในการสร้างสิ่งจูงใจหุ้นกู้ของบรรษัท

เรื่องนี้มีอยู่ว่า ภายในปี 2534 รัฐบาลต้องการไถ่ถอนพันธบัตรดอกเบี้ย 11% ก่อนกำหนด 20,000 ล้านบาทเพราะต้องการใช้เป็นช่องทางในการนำเงินคงคลังที่มีอยู่มากมายมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ผลจากสิ่งนี้ทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่สามารถดำรงพันธบัตรรัฐบาลในบัญชีเงินสดสำรองตามกฎหมายได้

เพื่อให้การไถ่ถอนพันธบัตรสามารถดำเนินงานได้ เหตุนี้ทางกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติก็เลยต้องหาทางออกให้สถาบันการเงินสามารถดำรงพันธบัตรรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง ขนส่งมวลชนกรุงเทพ การประปา องค์การโทรศัพท์ เป็นต้น (แต่ไม่รวมหุ้นกู้ของบรรษัท) แทนได้เป็นการตอบแทน

ส่วนเรื่องตลาดซื้อคืนก็เหมือนกัน เพราะว่ามันเป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่องให้หุ้นกู้ของบรรษัทเหมือนพันธบัตรของแบงก์อาคารสงเคราะห์และรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ

"ตรงนี้ผมอยากตั้งข้อสังเกตว่าทางการควรพิจารณาบนพื้นฐานการให้สิทธิประโยชน์ที่เสมอภาคกัน" ชวลิตเปิดเผยความในใจในถึงแบงก์ชาติที่ยังยิ่งเงียบต่อข้อเสนอของบรรษัท

การระดมเงินบาทมาทำธุรกิจของบรรษัท เป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของชวลิต เขาทราบดีว่าบรรษัทกำลังเผชิญกับข้อจำกัดทางนโยบายอยู่หลาข้อ เช่น เรื่องการรับฝากเงินบาทในประเทศ "มันเป็นเรื่องที่ผมเห็นว่า ต้องมีการนำขึ้นมาตีความกันว่า บรรษัทสามารถรับฝากเงินบาทเฉพาะจากลูกค้าของบรรษัท ซึ่งไม่ใช่รับฝากจากประชาชนทั่วไปได้หรือไม่ เพราะว่าตามปกติเวลาที่เราใช้คำว่ารับฝากเงิน มันหมายถึงรับฝากจากประชาชน" ชวลิตให้ข้อสังเกตถึงกฎหมายบรรษัทที่เขียนไว้ชัดว่า จะเปิดรับฝากเงินบาทจากประชาชนทั่วไปไม่ได้

การระดมเงินบาทเป็นปมเงื่อนที่จะแก้ปัญหาพื้นฐานของบรรษัทได้หลายอย่าง เพราะ หนึ่ง - จะช่วงลบล้างความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในการระดมเงินทุน สอง - ช่วยทำให้ต้นทุนของเงินทุนอยู่ในจุดที่สามารถแข่งขันกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้

ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่ชวลิตอาจจะต้องดำเนินการเสนอให้กระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติพิจารณาแก้ไขกฎหมายเรื่องการระดมเงินทุนของบรรษัทเสียใหม่

และถ้าเขาทำภารกิจนี้สำเร็จ ชวลิตก็จะเป็นประธานบรรษัทคนแรก ที่สร้างประวัติศาสตร์การพัฒนาบรรษัทให้ก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงิน เพื่อการอำนวยสินเชื่อระยะยาวหรือลองเทอมเครดิตแบงก์ที่แท้จริงได้

ภารกิจนี้ท้าทายอดีตผู้ว่าฯ การแบงก์ชาติท่านนี้ยิ่งนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us