Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 กรกฎาคม 2550
"พาร์ตเนอร์ชิป - อินเตอร์แอดทีฟ"2 กลยุทธสร้างทางรอด สู่ ทางรุ่ง ของสื่อวิทยุ             
 


   
search resources

นิวัตต์ จิตตาลาน
Radio
คลิก วีอาร์ วัน




การแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจวิทยุไม่เคยมีวันหยุดนิ่ง สื่อที่เคยมีความสำคัญเพียงแค่เศษงบประมาณที่หลงเหลือแบ่งมาใช้ซื้อสปอตวิทยุหลักร้อย กลับกลายเป็นสื่อเด่นที่มีการสร้างคาแรคเตอร์ของแต่ละคลื่น เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จนเป็นที่สนใจจากเจ้าของสินค้า ดึงราคาสปอตวิทยุคลื่นดัง ๆ ขึ้นมาอยู่ในระดับหลักพัน เกิดเป็นการแข่งขันชิงผู้ฟังด้วยกลยุทธแจกแหลกตั้งแต่บ้านหลังโตราคาแพง รถยุโรปคันหรู จนถึงทริปท่องโลก จนมาถึงวันนี้เมื่อความตกต่ำครอบคลุมสื่อวิทยุมานานกว่าปี คลื่นวิทยุก็กลับมาแข่งขันกันด้วยกลยุทธที่แตกต่างออกไป คือ "พาร์ทเนอร์ชิพ" ความร่วมมืออันแข็งแกร่งในการเดินหน้าฝ่าสถานการณ์ตกต่ำ และ "อินเตอร์แอคทีฟ" เทคโนโลยีที่สร้างศักยภาพในการเข้าถึงผู้ฟัง ที่จะทำให้วิทยุยังคงเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพตลอดไป

คลิก วีอาร์ - วัน พา 4 คลื่น ก้าวไปพร้อมพาร์ทเนอร์

คลิก วีอาร์ วัน ค่ายคนทำวิทยุตัวจริง ที่มี4 คลื่นหลักในมือ ประกอบไปด้วย 101 INN News คลื่นข่าว , Get 102.5 คลื่นเพลงสากล , 103.5 FM One คลื่นเพลงไทยอีซี่ลิสเทนนิ่ง และ 104.5 Fat Radio คลื่นเพลงไทยหัวใจอินดี้ แม้ 4 คลื่นจะมีความต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันน่าจะเป็นความเหนียวแน่นของกลุ่มผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลื่นที่เป็นเรือธง อย่าง 104.5 Fat Radio ที่มีกลุ่มผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม เหนียวแน่น ดังจะเห็นจากการจัดงานประจำปีของคลื่น "แฟต เฟส" ที่จัดมา 6 ครั้ง สร้างฐานสมาชิกของคลื่นเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี รวมถึงโปรเจ็คเล็ก ๆ ที่คลื่นนี้ได้จัดขึ้นเป็นประจำ อาทิ การประกวดวงดนตรี "เอาแต่เล่น", การจัดงานที-เชิ้ต เฟสติวัล ก็ได้รับความสนใจเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ ที่ขยายการรับรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ สร้างความสำเร็จที่ชัดเจน ทั้งในส่วนของคลื่นวิทยุ และสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนแต่ละโปรเจ็ค จนสามารถต่อยอดไปถึงการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการร่วมสร้างความสำเร็จด้วยกัน

คลื่นวิทยุ FM One เป็นตัวอย่างชัดเจนถึงแนวทางการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน สร้างความสำเร็จทางการตลาดร่วมกัน เมื่อยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับ 2 ของประเทศ ดีแทค เลือกสื่อสารแบรนด์โทรศัพท์พรีเพด "แฮปปี้" ถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการสนับสนุนคลื่นวิทยุสถานีนี้ ขยายภาพของคลื่นเป็น FM One Happy Station วิน-วิน ระหว่างกันทั้งคลิก วีอาร์ วัน ที่ได้ผู้สนับสนุนหลักมาช่วยประคับประคองคลื่นวิทยุในเวลาที่ภาพรวมของสื่อตกต่ำ ส่วนดีแทค ก็ได้ช่องทางการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์แฮปปี้ ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ซินเนอยี่จุดแข็งเข้าด้วยกันจนวันนี้ FM One ถือเป็นคลื่นเพลงฟังสบาย 1 ใน 3 ผู้นำบนหน้าปัทม์วิทยุ เบียดไหล่กรีนเวฟ จากฝั่งจีเอ็มเอ็ม และคูล เอฟเอ็ม ของอาร์เอส ส่วนแบรนด์แฮปปี้ก็ถือเป็นช่วงที่มีส่วนแบ่งการตลาดเข้าใกล้ผู้นำอย่างวัน-ทู-คอล ที่สุด

ล่าสุด คลิก วีอาร์วัน ขยายแนวทางการจับมือพันธมิตรมาสู่ คลื่น 104.5 Fat Radio ประกาศจับมือกับพันธมิตรใหม่อย่างบัตรเครดิต เคทีซี ที่นิยมการทำตลาดโดยการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยหนึ่งในความร่วมมือที่สร้างความฮือฮา คือการจับมือกับเวิร์คพอยท์ เข้าสนับสนุนแจ๊คพอต สัปดาห์ละ 1 ล้านบาท ในรายการอัจฉริยะข้ามคืน ครั้งนี้ เคทีซี หันมาจับมือกับคลิก วีอาร์วัน จัดโครงการประกวดสปอตโทรทัศน์ และวิทยุระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อโปรเจค "มือดีมีคนเห็น " โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ส่งไอเดียของตนเองเข้าประกวด ชิงรางวัลล่อใจเป็นมูลค่ากว่า 6 แสนบาท แถมงานที่ชนะเลิศยังจะนำมาเผยแพร่และออกอากาศจริง

นิวัตต์ จิตตาลาน ผู้บริหารเคทีซี มองว่า คลื่น104.5 Fat Radio เป็นคลื่นที่มีกลุ่มผู้ฟังที่ชัดเจน และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ฟัง ดังจะเห็นได้จากผลงานในครั้งที่ผ่านๆมา งานนี้เมื่อพิจารณาแล้วว่าวินวินทั้งคู่ จึงได้ตัดสินใจที่จะจับมือร่วมกัน และคลอดโปรเจกนี้ขึ้นมา

ซึ่งไม่เพียงการจับมือกับสถาบันการเงินอย่างเคทีซี แต่104.5 Fat Radio ยังมีโปรเจกที่จะจับมือกับพันธมิตรกลุ่มต่างๆอีกมากมายเพื่อจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี ผลตอบรับที่ได้มาจากการกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับช่วงเวลา ทำให้สถานการณ์ของค่ายวิทยุที่ไม่มีธุรกิจใหญ่หนุนหลังอยู่ อย่าง คลิก วีอาร์วัน ลอยตัวอยู่เหนือกระแสคลื่นความตกต่ำทางเศรษฐกิจที่กดให้ธุรกิจสื่อซบเซามาตั้งแต่ต้นปีได้

คลิก วีอาร์ วัน ยังมองไปถึงการต่อยอดคอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ในอนาคตรูปแบบของการบริหารงานบริษัทฯ จะก้าวสู่ Total Communication เป็นแบบการสื่อสารที่ครบวงจร ผสมผสานสื่อที่มีอยู่ให้เกิดการเชื่อมโยงและเกิดประโยชน์สูงสุด

ปัจจุบัน คลิก วีอาร์ วัน มีสื่อวิทยุ สิ่งพิมพ์ ควบคู่ไปกับความสามารถในการจัดอีเวนต์ ต่อไป การทำดิจิตอล คอนเทนต์ รวมไปถึงการรุกเข้าไปในสื่อทีวี จะเข้ามาสนับสนุนให้การสื่อสารคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นครบวงจร ผู้บริหารของคลิก วีอาร์วัน วาสนะพงษ์ วิชัยยะ คาดว่า ภาพทั้งหมดจะสามารถเกิดขึ้นภายในปีนี้อย่างแน่นอน

ยกเครื่องวิทยุ สู่อินเตอร์แอคทีฟมีเดีย สกาย-ไฮ, ทรู มิวสิค เดินเครื่อง

อีกแนวคิดของการพาธุรกิจวิทยุหนีความตกต่ำ คือการเดินตามการเคลื่อนที่ของกลุ่มผู้ฟัง วันนี้แฟนรายการวิทยุุส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นทิ้งเครื่องเล่นวิทยุ หันไปหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่ายวิทยุจึงต้องขยายธุรกิจเข้าสูู่่สื่อใหม่ ๆ ตามไปด้วย

สกาย-ไฮ ในเครืออาร์เอส ที่ถูกพิษเศรษฐกิจแตะเบรก หยุดการเติบโตที่พุ่งขึ้นอย่างสวยงามตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วขณะที่ค่ายวิทยุส่วนใหญ่โอดครวญสถานการณ์ถดถอยของตนเอง แต่สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) เคยเผยว่า สกาย-ไฮ กลับเติบโตอย่างสวยงาม มาถึงปีนี้ สุรชัย ยอมรับแล้วว่า ที่สุดแล้ว สกาย-ไฮ ก็หนีไม่พ้นจากพิษเศรษฐกิจรอบนี้ ในไตรมาสแรกของปี รายได้จากการขายสปอตวิทยุลดหายไปกว่า 40% ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับตัว

สกาย-ไฮ เริ่มขยับด้วยการรีเฟรสคลื่น 88.5 FM MAX มาเป็น MAX 88.5 Digital Radio ดึงแนวคิดการนำดิจิตอบมีเดีย มาประสานกันเพื่อนำเสนอคอนเทนต์ของคลื่นผ่านช่องทางต่าง ๆ นอกเหนือจากวิทยุ ทั้งเว็บไซต์ WAPsite และ Visual Radio

สุรชัยคาดหมายว่า แนวคิดการขยายคลื่นวิทยุสู่ช่องทางสื่อใหม่ ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถสื่อสารแบบอินเตอร์แอคทีฟได้ จะทำให้ผู้ฟังที่เคยมีอยู่ราว 4 แสนคน เพิ่มขึ้นได้ รวมถึงช่องทางในการหารายได้ ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย

เช่นเดียวกับการเกิดของคลื่นวิทยุน้องใหม่ แต่เบื้องหลังคือบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย 93.5 ทรู มิวสิค

ทรู คอร์ปอเรชั่น วางตำแหน่งของทรู มิวสิค ให้เป็นศูนย์รวมของคอนเทนต์ดนตรีจากทุกแหล่งทั่วโลก เพื่อกระจายสู่ช่องทางต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ธุรกิจของทรู ทั้งช่องทรู มิวสิค บนเคเบิลทีวีทรูวิชั่นส์ ช่อง 56 อินเตอร์เน็ตบนเว็บไซต์ www.truemusic.com และช่องทางผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ

เมื่อคลื่นวิทยุมีช่องทางการเผยแพร่ที่กลายเป็นสื่ออินเตอร์แอคทีฟ ทรูมิวสิค จึงมีการจัดกิจกรรมโดยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ทั้ง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อาร์เอส และเลิฟอีส ของบอย โกสิยพงศ์ ที่ส่งศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างคอนเทนต์ให้กับทรู มิวสิค ทั้งการแสดงคอนเสิร์ต การออกอัลบัมพิเศษ ตลอดจนการคิดกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟพูดคุยกันระหว่างศิลปินกับแฟนรายการ สร้างให้สถานีวิทยุ 93.5 ทรู มิวสิค แห่งนี้ เติบโตเป็นที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่นเป้าหมายอย่างรวดเร็ว

จากทางรอดที่คลื่นวิทยุต่างควานหากันเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา วันนี้การจับมือประสานความแข็งแกร่งร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการยกระดับศักยภาพของสื่อวิทยุให้กลายเป็นสื่ออินเตอร์แอคทีฟ กลับกลายเป็นทางรุ่ง ที่คนทำวิทยุต้องรีบพาตัวเองเข้าหา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us