|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อโลกหมุนไปตามวงล้อ "โลกาภิวัตน์" ธุรกิจประกันวินาศภัย ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในโลก "ยุคไดโนเสาร์" จำเป็นต้องปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ สมาคมประกันชีวิตถึงกับมองว่า ความเจริญของสังคมนิยมวัตถุ คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ เกิดคดีฟ้องร้องจนเกือบจะท่วมศาล ขณะเดียวกัน กลุ่มคน "หัวหมอ" หรืออาชีพทนายความก็ผุดเป็นห่าฝน ประกันวินาศภัยยุคนายกสมาคมคนใหม่ "สุจินต์ หวั่งหลี" จึงต้องเผชิญหน้ากับสภาพตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ...
สุจินต์ หวั่งหลี นายกสมาคมประกันวินาศภัย ได้รับการเชื้อเชิญให้เข้ามารับตำแหน่งนี้อีกครั้ง ถัดจาก ชัย โสภณพนิช เจ้าของเก้าอี้เดิม โดยรับรู้กันว่า ต้องปะทะกับการเปลี่ยนแปลงของโลกประกันภัยอย่างที่ไม่มีทางเลี่ยง
สุจินต์ จึงต้องคอยตอบคำถามที่โยนเข้ามาจากทุกสารทิศถึงทิศทางที่เปลี่ยนไปของธุรกิจประกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยเอื้ออาทร ที่ยังคงดำเนินการต่อไป เพื่อให้โอกาสคนรากหญ้า เพียงแต่เบี้ยต้องปรับขึ้นลงตามสภาพความเสียหาย หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องปรับเงื่อนไขการรับประกันภัยใหม่
หรือแม้แต่เรื่องการยกเลิกสติ๊กเกอร์พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่สร้างความสับสนในช่วงแรกๆ เพราะกรมการประกันภัยต้นสังกัดยังอ่อนประชาสัมพันธ์ ทำให้ตำรวจยังจับรถที่ไม่มีสติ๊กเกอร์กันเกร่อในต่างจังหวัด ก็เป็นหน้าที่ของสมาคมประกันวินาศภัยจะทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมไปถึง การเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยภายใต้กรอบ องค์กรการค้าโลกหรือ WTO ที่ยังมีเวลาเหลือเพียง 13 ปี สำหรับบริษัทขนาดกลางและเล็กที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับกฎระเบียบใหม่ โดยเฉพาะระบบบัญชีที่ต้องเข้มงวดกับเงินกองทุนและเงินสำรองมากกว่าเดิมหลายเท่า
สุจินต์ บอกว่า การเปิดเสรี อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการลงนามในข้อตกลงมามากพอสมควรแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อการแข่งขันเข้มข้นขึ้น ทุกบริษัทก็ต้องพึ่งพาความสามารถของตัวเอง ที่สำคัญคือ ความสามารถและบทบาทของผู้บริหาร
ขณะเดียวกัน แผนแม่บท ก็มีการแก้กฎหมายประกันชีวิต ประกันภัย และองค์กรอิสระ ที่จะทำให้โครงสร้างธุรกิจประกันภัยเปลี่ยนไป โดยสุจินต์ยอมรับว่า เรื่องการพยายามให้ธุรกิจแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เพิ่มเงินกองทุนและใช้หลัก RISK BASED CAPITAL
นอกจากนั้น ภาครัฐก็ต้องการให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบ มีวิธีทำงานแบบธรรมภิบาล ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชน
ยังไม่นับสินค้า ช่องทางการทำตลาดและรูปแบบการตลาดที่มีหน้าตาผิดแผกไปจากยุคอดีต โดยเฉพาะสินค้าใหม่ที่มักจะนำมาใช้รองรับความต้องการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลและธุรกิจต่างๆมากขึ้น
" สินค้า และรูปแบบการทำตลาดเริ่มเปลี่ยนไป เพราะโลกเจริญขึ้น มีคดีฟ้องร้องมากขึ้น มีคนเรียนกฎหมาย และมีทนายความมากขึ้น"
ณัฐดนัย อินทรสุขศรี อุปนายก สมาคมประกันวินาศภัย อธิบายถึง กรมธรรม์ใหม่ๆที่ถูกคิดค้นมีมากขึ้น ก็เพราะเหตุผลนี้ คล้ายๆกับวัฒนธรรมโลกตะวันตก ที่เอะอะก็เรียกหาทนายความ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ก็ทำให้ธุรกิจประกัน วินาศภัยต้องสร้างโอกาสจากตลาดใหม่ๆ ด้วยสินค้าที่ซื้อด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่ถูกบังคับเหมือนในอดีต
หากจะนับกันจริงๆ คงมีประกันภัยรถยนต์เท่านั้นที่เห็นโดดเด่น เพราะเจ้าของรถต้องการซื้อประกันภัยไว้คุ้มครองความเสี่ยงด้วยความสมัครใจจริงๆ
ขณะที่ประกันภัยอื่นๆ ประเภทประกันภัยขนส่งทางทะเล ประกันภัยเบ็ดเตล็ด ประกันอัคคีภัย มักจะเป็นตลาดที่ถูกสร้างมาจากแรงบีบของบรรดาสถาบันการเงินเป็นหลัก
" เรามีสินค้า ค่อนข้างเยอะมาก แต่ตลาดก็ยังน้อยอยู่ นอกจากตลาดใหญ่ที่มักจะเป็นการถูกบังคับ"
สินค้าที่เริ่มพูดถึงกันมากขึ้นในระยะหลัง ก็คือ ประกันภัยประเภทความรับผิด ทั้งในส่วนวิชาชีพ และบุคคลที่ 3 เช่น ในธุรกิจโรงแรม แขกที่มาพัก อาจจะว่ายน้ำแล้วเกิดเสียชีวิต หรือ กินอาหารท้องเสีย รวมถึงอาชีพ แพทย์ วิศวกร ผู้ตรวจอาคารสูง ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้บริหาร ถ้ามีคดีฟ้องร้องกันบ่อยๆ ก็จะมีการซื้อประกันมากขึ้น เร็วๆนี้ก็กำลังจะมี ประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งเพิ่มเข้ามาอีก
ที่เริ่มเห็นตลาดมีมากขึ้นก็คือ ประกันภัยร้านทอง ที่จัดอยู่ในกลุ่มประกันภัยเบ็ดเตล็ด และประกันภัยรถยนต์ฉบับพิเศษ หรือประกันภัยประเภท 5 ที่ตลาดเริ่มตอบรับมากขึ้น
โดยฝ่ายหลัง ประกันภัยรถยนต์ฉบับพิเศษ ได้ปรับเปลี่ยนให้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับประกันภัยรถยนต์ประเภท 3+1 หรือเข้าใกล้ประกันภัยประเภท 1 มากขึ้นทุกที แต่จะต่างกันตรงที่ราคาเบี้ย วงเงินคุ้มครอง และลูกค้ามีสิทธิ์ขยับทุนประกันได้ โดยอยู่ภายใต้หลักการคือ สร้างมาตรฐานความเข้าใจในกลุ่มผู้บริโภคไปในทางเดียวกัน สื่อสารถึงกันโดยไม่สับสน โดยมีพิกัดชัดเจน แยกความคุ้มครองเป็นชั้นๆ
ว่ากันว่า สินค้าใหม่จะเป็นทางเลือกในชั่วโมงเศรษฐกิจอ่อนระโหยโรยแรง รายได้ชนชั้นกลางและล่างเป็นตัวเลขสีแดงเถือก ดังนั้นเมื่อตลาดตอบรับ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ก็อาจจะถูกน็อคเอ้าท์ไปเลย
เพราะนอกจากรถป้ายแดงจะมียอดขายตก มาร์จิ้นจากการทำประกันภัยชั้น 1 ที่มักจะแถมไปกับ การไฟแนนซ์รถใหม่ก็จะค่อยๆหดตัวลง ขณะที่กำลังซื้อเริ่มจะจับจ่ายใช้สอยอย่างมีสติมากขึ้น การมีประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 จึงเป็นทั้งทางเลือก และเป็นโอกาสสร้างรายได้ เป็นทางรอดให้กับธุรกิจประกันวินาศภัยไปด้วยในตัว
" ตอนนี้ก็เริ่มมีการศึกษาค่ารักษาพยาบาล โรคร้าย ค่าหมอ ในส่วนของประกันสุขภาพ เพื่อดูความต้องการของลูกค้า"
ณัฐดนัย บอกว่า การมีพิกัดภาษี มีข้อเสียคือ บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้ ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลง ทุกบริษัทจึงต้องมีการพัฒนาตัวเองให้ทัน...
|
|
|
|
|