Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
ปลดหนี้ ขสมก. - ต่อลมหายใจ ปตท.             
 

   
related stories

พลิกโฉม ปตท.งานโหดของ "เลื่อน กฤษณกรี"

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

   
search resources

ปตท., บมจ.
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
Transportation
Oil and gas




ภายใต้ภาพที่ดูเหมือนยิ่งใหญ่และมั่นคงของ ปตท.นั้นกลับมีปัญหาการบริหารเงินสดจน ศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ต้องเปิดเครดิตไลน์เพิ่มขึ้นจาก 4.3 พันล้านบาทเป็น 6.9 พันล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินที่อาจจะวิกฤตในช่วงต่อไปซึ่งเคยคาดการณ์เอาไว้แล้วตั้งแต่ปี 2533

โดยเฉพาะภาระการลงทุนในอีก 4-5 ปีข้างหน้าสูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท เช่น

โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซ "บงกช" หรือ แหล่ง "โครงสร้าง บี" ซึ่งจะเชื่อมต่อกับแหล่งเอราวัณและต่อมาขึ้นฝั่งที่ อ.ขนอม จ.นครราชสีมา

โครงการวางท่อก๊าซจากแหล่ง "น้ำพอง" จ.ขอนแก่น เชื่อมกับท่อก๊าซที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี

โครงการร่วมลงทุนในโรงกลั่นที่ 4 และ 5 ของเชลล์และคาลเท็กซ์ตามลำดับ

ขณะที่ ปตท.มีสัดส่วนหนี้สินต่อเงินทุน 1.79 ต่อ 1 ในปีงบประมาณ 2533 สูงกว่าปี 2532 ซึ่งอยู่ในระดับ 1.75 ต่อ 1 ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 409 ล้านบาท มีเงินสดฝากธนาคารกรุงไทยอยู่ 35.97 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กระทบเป็นลูกโซ่ต่อปัญหาสภาพคล่องของ ปตท.มาตลอด คือ หนี้ ขสมก. แม้ว่าในปีงบประมาณ 2533 ปตท.จะมียอดขายเพิ่มขึ้น 11,867 ล้านบาท และทำยอดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,332 ล้านบาทหรือ 76% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2532 แต่ ปตท.มีลูกหนี้รวมกันถึง 8,335 ล้านบาท

จำนวนนี้เป็นลูกหนี้รัฐวิสาหกิจทั้งสิ้น 6,552 ล้านบาท แยกเป็นหนี้น้ำมันสำเร็จรูป 4,548 ล้านาท และหนี้ค่าก๊าซธรรมชาติ 1,973 ล้านบาท เป็นลูกหนี้เอกชน 1,312 ล้านบาท ลูกหนี้ค่าขายก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซอีก 5,585 ล้านบาท โดยลูกหนี้ทั้งหมดนี้ ปตท.ตั้งสงสัยหนี้จะสูญ 964 ล้านบาท

ในยอดเหล่านี้ ขสมก.เป็นหนี้ ปตท.อยู่ 3,066.80 ล้านบาท (ณ สิ้นกันยายน 2533) แต่ถ้ารวมยอด ณ สิ้นปี 2533 ยอดหนี้ค้างเพิ่มขึ้นเป็น 3,309.54 ล้านบาท

จึงมีการตั้งคณะทำงานพิจารณาแก้ไขปัญหาหนี้ค่าน้ำมันค้างชำระของ ขสมก.ขึ้นมาสะสาง มี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นประธาน ซึ่งเริ่มทำงานกันมาตั้งแต่เดือนมกราคม และ ครม.ได้อนุมัติกระทรวงการคลังช่วยชำระหนี้ของ ขสมก. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม

ทางออกหลังจากที่ ขสมก.เจรจาและทางกระทรวงการคลังเป็นคนต่อรองก็คือ ปตท.ยอมตัดเนื้อเสียรายได้บางส่วนไปประมาณ 530 ล้านบาท โดยยอมลดดอกเบี้ยในอัตราเฉลี่ย MOR ของธนาคารกรุงไทยจาก 14.55% เหลือ 11% จึงเหลือยอดหนี้เก่าประมาณ 2,779 ล้านบาท

ตามแผนใช้หนี้เก่าส่วนนี้ ขสมก.จะกู้ธนาคารออมสิน โดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราของเงินฝากประจำ 12 เดือน บวกอีก 1.75% มีระยะปลอดหนี้ 3 ปีแรก และจะเริ่มคิดในปีที่ 4-7 รวมเวลาชำระหนี้ 7 ปี

เดิม ปตท.หวังว่า จะได้รับเม็ดเงินจากกระทรวงการคลังในเดือนมิถุนายน แต่จนขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับ ซึ่งแทนที่จะเสียโอกาสไม่กี่วัน ก็ยืดกันมาเป็นเดือน

แม้ว่าจะเตรียมสัญญาที่ ขสมก.จะกู้จากธนาคารออมสินแล้ว แต่ ขสมก.ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากบอร์ดก่อน ซึ่งกำหนดในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นก็ยังไม่มีมติออกมา เนื่องจากธนาคารออมสินเสนอขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะสรุปได้ในเร็ววันนี้ และไม่น่าจะมีปัญหา

นอกจากหนี้เก่าแล้ว ยังมีหนี้ใหม่ที่ ขสมก.ค้าง ปตท.อยู่อีกประมาณร่วม 500 ล้านบาทจากเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2534 ซึ่งกระทรวงการคลังจะใช้หนี้แทน

ตามปกติ ขสมก.จะใช้น้ำมันเดือนละ 10 ล้านลิตรและกำหนดว่าตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเป็นต้นไป กระทรวงการคลังห้าม ขสมก.ติดหนี้ ปตท.

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังให้ ขสมก.กู้จากธนาคารออมสินมาใช้หนี้ใหม่ โดยคิดเทียบเป็นลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันขึ้นลงไม่แน่นอน จึงกำหนดให้ ขสมก.กู้เงินในรูปของการเบิกน้ำมันจากธนาคารออมสินได้เดือนละ 6.1 ล้านลิตร เทียบค่าน้ำมันคิดเป็นเงินประมาณ 50 กว่าล้านบาท ส่วนปริมาณที่เหลือให้ ขสมก.จ่ายเอง ซึ่งก็เป็นเงินจากค่าโดยสาร ดังนั้น ต่อไป ขสมก.จะต้องมีแผนสร้างรายได้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไปจัดการกับลูกหนี้ของตนเอง เช่น รถร่วมติดหนี้ ขสมก.อยู่ถึง 70-80 ล้านบาท

เพราะนับตั้งแต่การเบิกจ่ายน้ำมันตั้งแต่เดือนกรกฎาคมศกนี้ ขสมก.จะต้องจ่ายค่าน้ำมันให้ ปตท.ภายใน CREDIT TERM คือ 30 วันเรียกว่าต้องจ่ายกันเดือนต่อเดือน และถ้า ขสมก.ติดหนี้ ปตท.อีก ธนาคารออมสินจะงดจ่ายการเบิกเงินหรือน้ำมันในเดือนถัดไป

การที่กระทรวงการคลังช่วยปลดหนี้ที่ ขสมก.ติดค้างเหล่านี้จึงช่วยยึดลมหายใจสภาพคล่องทางการเงินของ ปตท.ไปได้เฮือกใหญ่

ปตท. จะมีเม็ดเงินเข้ามา 3,000 กว่าล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานะการเงินในปีนี้ดูสวยขึ้นอีกมากและบริหารเงินสดได้ง่ายกว่าเดิม

แต่ปัญหาการทวงหนี้ก็ยังไม่จบลงง่าย เนื่องจากยังมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีปัญหาการจ่ายค่าเชื้อเพลิงหลัก ๆ ก็คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเตาตกเดือนละประมาณ 2,500 ล้านบาท ซึ่งมักจะจ่ายช้ากว่าที่กำหนด 2 อาทิตย์ โดยให้เหตุผลว่า เพราะทางการไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงจ่ายช้า ขณะนี้ กฟผ.อยู่ระหว่างการเจรจาการจ่ายเงินรวมถึงเรื่องขอลดราคากับ ปตท.เพื่อลดต้นทุนและจะจ่ายตรงเวลาขึ้น และถ้าเป็นไปตามข้อตกลงก็จะช่วยให้ ปตท.วางแผนการบริหารเงินสดได้ดีขึ้น

นับเป็นความลงตัวอีกด้านหนึ่งที่จะเอื้อให้ ปตท.ปรับโฉมตัวเองได้สะดวก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us