Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
ปมปริศนา "วัลลภ ธารวณิชกุล"             
 

   
related stories

ปูนร้าว "ชลประทานซีเมนต์"โตก็ไม่ได้ - ตายไม่เป็น
คุณหญิง ARISTOCRAT แห่งชลประทานซีเมนต์

   
search resources

สนอง ตู้จินดา
วัลลภ ธารวณิชกุล
ธนาคารเอเชียทรัสต์
Law




"ยังไม่มีใครยืนยันว่าเขาตายจริง แต่ถึงเป็นความจริงก็ไม่มีผลปะไรมากนักต่อคดี" วารี หะวานนท์ ประธานกรรมการธนาคารสยามตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกรณีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ลงข่าวเรื่องวัลลภ ธารวณิชกุล หรือ "จอห์นนี่ มา" ได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคหัวใจที่ประเทศสเปนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

เบื้องหลังข่าวการเสียชีวิตที่มีการปล่อยออกมา กล่าวกันว่ามีการหวังผลในเชิงที่ต้องการรุมล้อมคุณหญิงลลิลทิพย์ ธารวณิชกุล ผู้กำลังประสบเหตุยุ่งยากในการบริหารบริษัทชลประทานซีเมนต์ หลังจากทีมผู้บริหารระดับสูงสองพ่อลูก พล.ท.ปุ่น วงศ์วิเศษ และวราวุธได้ลาออกไป

ประกอบกับช่วงเวลาการฟ้องร้องคดีนี้ใกล้จะหมดอายุความภายใน 10 ปี นับตั้งแต่จอห์นนี่ มา และลูกชาย "ทินกร ธารวณิชกุล" ได้หลบหนีคดีไปจากประเทศไทยตั้งแต่ปี 2527-2528

จอห์นนี่ มา เป็นไทคูนคนหนึ่งในระดับชิน โสภณพนิชที่มีกิจการหลักพันล้านบาท เขาต้องประสบกับความหายนะเมื่ออายุ 66 ปี ซึ่งเป็นปีที่เขาคิดไม่ถึงว่าจะเห็นความล่มสลายของอาณาจักรตนเอง

จอห์นนี่ มา เป็นลูกพ่อค้าสำเพ็งที่ก่อร่างสร้างตัวจากแหล่งโพยก๊วนเมื่อปี 2500 เขาได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อวัลลภ ธารวณิชกุล โดยมีภรรยาเป็นถึงลูกพระยา และมาตั้งธนาคารเอเชียทรัสต์ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2507 ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท เขาได้บริหารงานแบงก์นี้ในฐานะประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่มาตั้งแต่ต้น

แบงก์เอเชียทรัสต์นี้ได้กลายเป็นฐานการเงินสำคัญให้กับกิจการต่าง ๆ ที่ขยายออกไปโดยสมาชิกในตระกูลธารวณิชกุล วิจิตรานนท์ และมาลีนนท์

ในที่สุด ปี 2527 ก็เกิดวิกฤตการณ์ในธนาคารเอเชียทรัสต์ !!

วันที่ 28 กรกฎาคม 2527 จอห์นนี่ มา พร้อมกับบุตรเขย วราวุธ วงศ์วิเศษ ได้เดินทางไปสิงคโปร์ เพื่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูงชาวจีนและสิงคโปร์ เช่น เหลียน ชิง เฉา เจ้าของธนาคาร OUB (OVERSEA UNION BANK) ที่สิงคโปร์และญาติตระกูลเช็งที่ไต้หวัน เจ้าของโรงงานปูนซีเมนต์

การเดินทางครั้งนี้นับว่าเป็นการเดินทางที่ไม่รู้วันกลับของจอห์นนี่ มา เขาต้องหลบหนีลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ เพราะต้องข้อหาในคดีอาญาตามความผิดของ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ 3 ข้อหา คือ

หนึ่ง - จอห์นนี่ มา ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายใหญ่เกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด คือ 25% ของกองทุนซึ่งงานนี้วัลลภถูกฟ้องในคดีที่ 15902/28 ในข้อหาปล่อยสินเชื่อโดยทุจริตอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบพยาน ซึ่งคิด 3,634.4 ล้านบาท

สอง - มีการลงบัญชีหนี้สินไม่ครบถ้วนตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรค 1

สาม - ไม่ทำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการ ที่ขีดเส้นตายให้เอเชียทรัสต์ปรับปรุงตัวเอง โดยขั้นแรกต้องเอามืออาชีพเข้ามาทำงาน แต่จอห์นนี่ มา กลับไล่นพพร พงษ์เวช ออก !!

"ความผิดทั้งหมดนี้ ทางแบงก์สยามกล่าวฟ้องจอห์นนี่ มา แต่ผู้เดียว ดังนั้นถ้าหากตรวจสอบพบว่าเขาเสียชีวิตจริง ทายาทไม่ว่าจะเป็นภรรยาหรือลูกก็ต้องเข้ามารับมรดกความ เพื่อดำเนินคดีได้ต่อไปจนกว่าคดี จะสิ้นสุด" ทนายความในสำนักงานกฎหมายสนอง ตู้จินดา เล่าให้ฟัง

"ถ้าจอห์นนี่ มาตาย ก็คงจะเหลือแต่ลูกชายเท่านั้นที่มีคดีติดตัว" แหล่งข่าวกล่าวถึงการหลยหนีของทินกรที่กล่าวกันว่าไปอยู่เยอรมัน ซึ่งไม่มีสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับไทย

"ผลของคดีนี้คาดว่าใช้เวลา 1-2 ปีเรื่องคงจะจบในศาลชั้นต้น เมื่อมีผลคำพิพากษาออกมา ถ้าเขาผิดจริงก็ต้องมีการบังคับยึดทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันเขาก็สู้มาก โดยใช้สำนักงานทนายความบางกอกอินเตอร์ของคนึง ฦาไชย ซึ่งเป็นทนายความประจำตระกูลคอยจัดการให้" แหล่งข่าวกล่าว

สนอง ตู้จินดา เจ้าของสำนักกฎหมายสนอง ตู้จินดา ได้เคยสรุปในปี 2531 ถึงผลการติดตามหนี้สินของธนาคารสยามคืนมีจำนวนทั้งสิ้น 04 คดี มีทุนทรัพย์กว่า 7,939 ล้านบาท แยกเป็นปีที่ฟ้องร้องและมูลหนี้ดังนี้

ปี 2527 ฟ้องบังคับคดีลูกหนี้ธนาคารซึ่งผู้บริหารเก่าของธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทในเครือ 22 คดี คิดเป็นจำนวนเงินทุนทรัพย์ 1,497 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่แบงก์สยามชนะคดีด้วยการยึดทรัพย์และได้รับชำระเงินสดด้วย

ปี 2528 ดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดี 42 คดี ทุนทรัพย์ประมาณ 564 ล้านบาท เหลือสองคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา

ปี 2528 นี้เอง คดีแบงก์สยามฟ้องร้องวัลลภ ธารวณิชกุล อดีตประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ ข้อหาปล่อยสินเชื่อโดยทุจริตทำให้ธนาคารเสียหายเป็นทุนทรัพย์ 3,634 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบพยาน คาดอีกสองปีจะเสร็จสิ้น

ปี 2529 คดีฟ้องร้อง 35 คดี ทุนทรัพย์กว่า 1,900 ล้านบาท เหลือ 6 คดียังไม่ตัดสิน

ปี 2530 แบงก์สยามฟ้องคดีล้มละลายอีก 5 คดี คือ บริษัทเทคโนกรุ๊ฟ 39 ล้านบาท บริษัททีทีโฮลดิ้ง 255 ล้านบาท บริษัทไทยเยนเนอรัล 50.7 ล้านบาท และอีกสองบริษัทที่สืบหาชื่อบริษัทที่แท้จริงและกรรมการบริหารที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงการ

ณ ปี 2531 จวบจนปัจจุบันแบงก์สยามสามารถบังคับคดีและติดตามหนี้สินคืนมาได้ประมาณ 1,500 ล้านบาททั้งในรูปของการขายทอดตลาดทรัพย์สินและการประนีประนอมยอมความ

จวบจนกระทั่งบัดนี้ สนอง ตู้จินดา ผู้ทำคดีนี้ก็ได้ลาจากโลกนี้ไปแล้ว คดีประวัติศาสตร์แห่งปีการฉ้อฉลเงินประชาชนครั้งนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด หนี้ที่ผู้บริหารชุดเก่าของธนาคารเอเชียทรัสต์ได้ทำไว้ไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านบาทนี้ได้ถูกถ่วงด้วยเวลายาวกว่าจะคืนกลับสู่ประชาชน...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us