|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย มองเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตสวนกระแส 5-6% หลังการเมืองนิ่ง มีการเลือกตั้ง ส่งออกโต การลงทุนฟื้น พร้อมขยับเป้าเศรษฐกิจปีนี้เป็น 4-4.5% แนะธปท.คุมเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เหตุแข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาทกระทบเศรษฐกิจ 0.2-0.3%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2551 ขยายตัว 5-6% เป็นผลจากปัจจัยบวกโดยเฉพาะสถานการณ์การเมืองที่จะมีความชัดเจนจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ประกอบกับการส่งออกไทยที่จะขยายตัวเกินระดับ 10% ขณะเดียวกัน การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนจะฟื้นตัวกลับคืนมา ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
“ในมุมมองนักวิชาการ เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ตัวเลขในปีนี้และปีหน้าออกมาดี และการส่งออกก็ขยายตัวดีอยู่ รวมทั้งจากการสอบถามผู้ประกอบการยอดออเดอร์สั่งซื้อสินค้าปลายปีนี้เข้ามาต่อเนื่อง จึงไม่มีเหตุผลที่จะมองภาพเศรษฐกิจในแง่ลบ แม้เอกชนบางรายจะมองว่าเศรษฐกิจไม่ดีในช่วง 2-3 ปีนี้ก็ตาม”
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สำหรับการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ทางศูนย์ฯปรับเป้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 4-4.5% จากเดิมที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3.5-4% โดยเชื่อว่าไตรมาส 3 จะเป็นจุดต่ำสุดของทุกปัจจัยทั้งความเชื่อมั่นด้านการบริโภค การลงทุน การเมือง และทุกอย่างจะกลับฟื้นตัวขึ้นมาในไตรมาส 4 เมื่อรวมกับจีดีพีที่เติบโตได้ดีในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้จีดีพีจึงขยายตัวในระดับเกิน 4%
“ภาคธุรกิจในปีนี้ ได้รับอานิสงส์จากภาคส่งออกที่ขยายตัวเกิน 18% ในทุกเดือน ประกอบกับที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งลดดอกเบี้ย กระตุ้นการใช้จ่ายจากโครงการขนาดใหญ่ ทำให้ภาคธุรกิจเริ่มรับรู้เศรษฐกิจในสถานการณ์ดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทะลุเกิน 800 จุดขึ้นไป ส่วนระดับรากหญ้าคาดว่าจะกลับมารับรู้เศรษฐกิจช่วงไตรมาส 4 และฟื้นความเชื่อมั่นด้านการบริโภคกลับมา”
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาสูงสุดในรอบ 10 ปี หากดูจากทิศทางรอบด้านไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการส่งออกไทยขยายตัวถึง 20% เกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 1.7 แสนล้านบาท และมีเงินจากต่างชาติเข้ามาในประเทศมาก ดังนั้น ค่าเงินบาทที่ระดับ 34-34.5 บาท/เหรียญสหรัฐ เชื่อว่าผู้ประกอบการรับได้ เพราะที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวจากผลกระทบค่าเงินบาทบ้างแล้ว แต่รัฐบาลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องรักษาระดับเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วไป เพราะหากแข็งค่าขึ้นไปถึง 33 บาท ธุรกิจก็จะขาดทุนกำไร ทำให้เศรษฐกิจไทยขยับขึ้นไม่มากนัก โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท กระทบเศรษฐกิจไทย 0.2-0.3%
“การลดความเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาท เอกชนควรกระจายความเสี่ยงไปใช้เงินสกุลเยนและยูโรมากขึ้น เพราะหากเทียบเงินบาทกับเงินยูโรและเงินเยนแล้ว ไม่ได้แข็งตัวมากเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ รวมทั้งลดการพึ่งพาตลาดเอเชีย เพราะเมื่อสกุลเงินในเอเชียแข็งค่า จะกระทบต่อการส่งออกไทย เพราะเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียชะลอตัวลง ดังนั้น จึงควรหันไปเน้นตลาดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น แอฟริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ให้มากขึ้น”
ส่วนทิศทางธุรกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2550 จากการสอบถามผู้ประกอบการทั่วประเทศ 600 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย.2550 พบว่าส่วนใหญ่ตอบยอดขายและผลประกอบการไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชน ที่ได้จากการสำรวจประชาชน 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนยังมีพฤติการณ์ใช้จ่ายสินค้าที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเท่าเดิม ขณะที่รูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนนั้น ประชาชนจะเลือกซื้อสินค้า โดยพิจารณาด้านราคามากสุด และต้องการให้ผู้ประกอบการใช้โปรโมชั่นลดแลกแจกแถมในสินค้าจำเป็นมากขึ้น เช่น ซื้อน้ำปลาขวดใหญ่ ควรแถมขวดเล็กด้วย
|
|
 |
|
|