|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง วันนี้ส่อหลุด 34 บาท/ดอลลาร์ "ฉลองภพ" ชี้เงินบาทแข็งค่าระยะสั้น "ธาริษา" ท่องคาถาบอกเงินไหลเข้ามากเงินบาทก็ต้องแข็งค่า เตือนผู้ส่งออกอย่าแตกตื่นเทขายดอลลาร์ออกมาซ้ำเติมบาทแข็ง พร้อมสอน "โฆสิต" เงินตลาดหุ้นช่วงนี้เป็น "เงินร้อน" หม่อมอุ๋ยโผล่อุ้มผู้ว่าฯ ธปท. ด้าน รองฯ นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์แก้บาทแข็งด้วยการให้รัฐบาลเร่งลงทุน เพื่อให้มีการนำเข้าสูงขึ้น
วานนี้ (5 ก.ค.) ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง โดยปิดตลาดที่ระดับ 34.00/02 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.15/17 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 34.00 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 34.15 บาท/ดอลลาร์
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การที่เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากยังมีแรงเทขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออกเข้ามาตลอดทั้งวัน ขณะที่ไม่มีแรงซื้อของผู้นำเข้า ส่วนค่าเงินเยนและค่าเงินยูโร วันนี้ก็ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตามอุปสงค์และอุปทาน
"คาดว่าวันนี้ (6 ก.ค.) เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.90-34.15 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนวันที่ 5 ก.ค. จะมีการรายงานผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานเดือน มิ.ย.ของสหรัฐ" เขากล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องเกิดจากเงินทุนเข้ามาซื้อหุ้นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวคงเป็นเพียงช่วงระยะสั้น จึงไม่วิตกกังวลแต่อย่างใดและเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเป็นผู้ดูแล ด้านอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นเห็นว่าในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เป็นจุดต่ำสุดแล้ว แต่ต้องขึ้นอยู่กับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ ว่าจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะทิศทางอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ได้เริ่มปรับสูงขึ้นแล้ว เห็นได้จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องเพราะมีเงินต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาดเมื่อเงินไหลเข้ามามากก็ยิ่งกดดันให้เงินบาทแข็งค่า แต่ผู้ส่งออกอย่าแตกตื่นในการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐออกมา เพราะอาจจะยิ่งกดดันให้เงินบาทแข็งค่าอีก
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ภาคเอกชนควรมีการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาในประเทศ เพื่อการลงทุนให้มีมากขึ้น เพราะภาวะต่างๆ เอื้ออำนวยการในลงทุนทั้งเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะทำให้การนำเข้าสินค้าถูกลง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ถือเป็นช่วงที่เหมาะในการขยายการลงทุน และจะช่วยสร้างความสมดุลของค่าเงินบาทให้มีมากขึ้นในภาวะที่มีเงินไหลเข้ามาในประเทศมากด้วย
ตอบท่านรองฯ โฆสิต "เงินร้อน"
สำหรับประเด็นที่นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้ธปท.ช่วยตรวจสอบเงินไหลเข้ามาในไทยช่วงนี้เป็นเงินร้อนหรือไม่นั้น ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า เงินที่เข้ามาในตลาดหุ้นเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นเงินร้อนอยู่แล้ว โดยในช่วงเช้าดัชนีการซื้อขายของตลาดหุ้นระหว่างวันปรับตัวลดลง 4 จุดแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงินที่เข้ามาในตลาดหุ้นมีทั้งเงินไหลเข้าออกอยู่
“กรณีที่สภาอุตสาหกรรมฯ เสนอให้แบงก์ชาติเข้าดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไปนั้น ขณะนี้เรากำลังดำเนินการอยู่แล้วคงยังไม่มีมาตรการอะไรออกมา แต่คงบอกไม่ได้ว่าต่อไปจะมีเงินไหลเข้าออกมาในไทยมากน้อยแค่ไหนที่จะกดดันให้เงินบาทแข็งค่าอีก ซึ่งเราจะเข้าไปดูเมื่อค่าเงินบาทมีสปีดของค่าเงินที่แข็งมากเกินไปเท่านั้น แต่คงไม่ได้ดูเฉพาะว่าค่าเงินบาทควรอยู่ที่อัตราเท่าใด” ผู้ว่าการธปท.กล่าว
หม่อมอุ๋ยโผล่อุ้ม "ธาริษา"
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธปท.และรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ธปท.มีการดำเนินการดูแลค่าเงินบาทในขณะนี้ดีอยู่แล้ว ซึ่ง ธปท.รู้ดีว่าควรดูแลอย่างไรให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ เชื่อว่าช่วยเหลือผู้ส่งออกได้ และเชื่อว่าธปท.จะสามารถรับมือกับเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจำนวนมากได้
โฆสิตโชว์เร่งลงทุนภาครัฐแก้บาท
วานนี้ (5 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม เผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ มีผลกระทบต่อภาคส่งออก ซึ่งรัฐบาลจะพยายามเร่งรัดการลงทุน เพื่อให้การนำเข้าสูงขึ้น
"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มีผลกระทบต่อการส่งออก ถ้าเราเร่งการลงทุนได้ การนำเข้าจะสูงขึ้น วิธีนี้จะทำให้ค่าเงินบาทบริหารได้ง่ายขึ้น" นายโฆสิตกล่าวและว่า เงินบาทที่แข็งค่าที่ระดับ 34.10 ต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น มีผลกระทบต่อบางอุตสาหกรรมและบางสาขาที่ต้องมีความยากลำบาก ซึ่งบางสาขาต้องปรับตัว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามจะเร่งรัดการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น
"ค่าเงินบาทในขณะนี้มีความเหมาะสมหรือไม่ ผมไม่มีความเห็น แต่นักวิชาการมองว่า มันขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่จุดไหนในช่วงเศรษฐกิจนั้นๆ ถ้าเทียบเป็นส่วนรวม"
|
|
|
|
|