Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
Bell Atlantic             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

ซีพี ศตวรรษที่ 21 ภาระสุดท้าย ธนินท์ เจียรวนนท์

   
search resources

Bell Atlantic




เบล แอตแลนติก (Bell Atlantic) เป็นบริษัทโทรศัพท์เก่าแก่แห่งหนึ่ง ที่ถือกำเนิดในช่วงทศวรรษ 2410 ซึ่งต่อมาเติบโตขึ้นเป็นเอทีแอนด์ที และกลุ่ม เบล ซิสเต็มที่ให้บริการโทรศัพท์ระดับท้องถิ่น

เอทีแอนด์ทีนั้น ผูกขาดระบบโทรศัพท์ของสหรัฐฯ อย่างยาวนาน จนกระทั่งถูกกฎหมายป้องกันการผูกขาดเล่นงานเป็นคดีความฟ้องร้อง กิจการจึงถูกแยกเป็นบริษัทย่อยๆ เจ็ดแห่งในปี 2527 โดยใช้ชื่อว่า "Regional Bell Operating Companies (RBOCs) หรือ Baby Bells และหนึ่งในเจ็ดบริษัท เหล่านี้ก็คือ เบล แอตแลนติก นั่นเอง

เบล แอตแลนติก มีสำนักงานใหญ่อยู่ ที่ฟิลาเดลเฟีย โดยได้สิทธิในการ ให้บริการโทรศัพท์ในท้องถิ่น ในหกมลรัฐ และวอชิงตัน ดีซี อีกทั้งให้บริการ ระบบเซลลูลาร์ในชื่อ "เบล แอตแลนติก โมบาย ซิสเต็มส์" บริษัทยังดำเนินธุรกิจอื่นอีก อาทิ โทรศัพท์ไร้สาย อินเตอร์เน็ต จัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้ โทรศัพท์ และการจำหน่ายชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้สำนักงานผ่านแค็ตตาล็อก

เบล แอตแลนติกลงทุนอย่างมากในด้านการตลาดที่เกี่ยวกับการส่งถ่ายข้อมูล เพื่อรองรับบริการด้านเสียง ที่เป็นธุรกิจหลัก โดยให้บริการระบบ CO-LAN (central office local area network) ในปี 2528 ปีต่อมาก็เริ่มให้บริการเครือข่ายข้อมูลสาธารณะสลับคู่สาย และเริ่มทดลอง บริการเครือ ข่ายเสียง/ข้อมูลรวม หรือ ไอเอสดีเอ็น ด้วย

เบล แอตแลนติก เริ่มขยายกิจการระหว่างประเทศในช่วงกลางทศวรรษ 2530 บริษัทได้รับเลือกร่วมกับ "อเมริเทค" (Ameritech) ให้ซื้อระบบโทรศัพท์สาธารณะของนิวซีแลนด์ (ซื้อกิจการในปี 2533 และขายไปในปี 2541) เบล แอตแลนติกยังร่วมมือกับ "ยูเอส เวสต์" (U.S.West) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตเชโกสโลวะเกีย (2534) ซื้อหุ้น 23% ของ "Grupo Iusacell" แห่งเม็กซิโก และซื้อ หุ้นเพิ่มเป็น 47% ในปี 2536 การซื้อกิจการ "เมโทร โมบาย" (Metro Moblie) ในปี 2535 ยังทำให้เบล แอตแลนติกขยายบริการครอบคลุมไปทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ อีกด้วย

ในปี 2537 เบล แอตแลนติกประสบความล้มเหลว ในการซื้อกิจการเคเบิลยักษ์ใหญ่อย่าง "ทีซีไอ" (ปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเอทีแอนด์ที) แต่ สามารถจัดตั้งบริษัท "ไพรม์โค" PrimCo ร่วมกับไนเน็กซ์ (Nynex) ยู.เอส. เวสต์ และแอร์ทัช (Airtouch) ซึ่งเริ่มให้บริการระบบพีซีเอส

ในปี 2538 เบล แอตแลนติก และไนเน็กซ์ยังรวมหน่วยงานด้านโทรศัพท์เซลลูลาร์ และเพจจิ้งเข้าด้วยกัน จากนั้น อีกหนึ่งปีเบล เอตแลนติก และ บริษัทในกลุ่มเบลอีกหกแห่งก็ขายกิจการ "เบลคอร์" (Bellcore) ซึ่งเป็นกิจ การด้านการวิจัย และพัฒนา ของกลุ่มให้กับ "Science Applications International"

ปี 2540 กิจการของเบล แอต แลนติก ขยายตัวถึงสองเท่าหลังจากซื้อกิจการไนเน็กซ์ (Nynex) เป็นมูลค่า 25.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้กลายเป็นบริษัท ที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐฯ รอง จากเอทีแอนด์ที อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้จากการซื้อกิจการไนเน็กซ์ในครั้งนี้ ด้วยก็คือ ชื่อเสียง ที่ย่ำแย่ของไนเน็กซ์ในด้านการบริการ ทั้งนี้ เรมอนด์ สมิธ หัวเรือใหญ่ของเบล แอตแลนติกนับตั้งแต่ปี 2532 เป็นผู้ดูแลกิจการหลังผนวกรวมกับไนเน็กซ์แล้ว จนกระทั่งปี 2541 การบริหารจึงเปลี่ยนมือไป ที่ ไอวาน ซีเดนเบอร์ก (Ivan Seidenberg )

เบล แอตแลนติกได้ยื่นขอเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลในนิวยอร์ก (ปี 2541) และแมสซาชูเซตส์ (2542) แต่ก็ถูกคัดค้านจากคู่แข่ง ทั้งยังถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากคณะกรรมการป้องกันการผูกขาดสหรัฐฯ ด้วย ดังนั้น เบล แอตแลนติกจึงต้องเปลี่ยนวิธีใหม่ โดยแสดงให้เห็นว่าตลาดโทรศัพท์ในท้องถิ่นได้เปิดกว้างให้กับคู่แข่งด้วย และเริ่มให้เช่าคู่สายแก่ "ยูนิไดอัล" และ "เอทีแอนด์ที" (ในนิวยอร์ก)

ปีที่แล้วเช่นกัน ที่เบล แอตแลนติกเริ่มให้บริการเข้าสู่ข้อมูล และบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยร่วมมือกับ "อเมริกัน ออนไลน์"ในการให้บริการ ดังกล่าว นอกจากนั้น บริษัทต!ลง ที่จะเข้าซื้อหุ้น 19% ใน "เมโทร มีเดีย ไฟ เบอร์ เน็ตเวิร์ค" (Metromedia Fiber Network) เป็นมูลค่าถึง 2 พันล้าน ดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้เบล แอตแลน-ติก เข้าถึงเครือข่ายข้อมูลของเมโทร มีเดียได้

เบล แอตแลนติกยังได้ตกลง ซื้อกิจการจีที อี ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการโทรศัพท์ในท้องถิ่น และไม่ได้อยู่ ในกลุ่มเบล เป็นมูลค่า 53 พันล้านดอลลาร์ เบล แอตแลนติกกับโวดาโฟน แอร์ทัช (Vodafone Airtouch) ยังมีข้อตกลงในเรื่องการรวมกิจการโทรศัพท์ไ ร้สายของทั้งสองฝ่ายในสหรัฐฯ ด้วย

ปีที่แล้วเช่นกัน คณะกรรมการป้องกันการผูกขาดสหรัฐฯ ได้อนุญาต ให้เบล แอตแลนติกให้บริการ โทรศัพท์ทางไกลในนิวยอร์ก ทำให้เบล แอต แลนติกเป็นบริษัทแรกในกลุ่มเบล ที่ได้ รับอนุญาตให้เสนอบริการโทรศัพท์ทาง ไกลภายในประเทศ

ในประเทศไทยเบล แอตแลนติก ร่วมทุนกับกลุ่มซีพีดำเนินโครงการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 2 ล้านเลขหมาย มาตั้งแต่ปี 2533 ในนามบริษัทเทเลคอมเอเซีย (ทีเอ) โดยเบล แอตแลนติก ตั้งบริษัท Nynex Network System (Thailand) ร่วมลงทุนประมาณ 20% นอกจากการสนับสนุนทางเทคโนโลยี ที่สำคัญ ซึ่งเมืองไทยต้องซื้อจากต่างประเทศตลอดมา ปัจจุบันเบล แอตแลนติก ยังถือหุ้นในทีเอประมาณ 14% โดยลดสัดส่วนลงมา ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้เมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อ KfW จากเยอรมนีเข้ามาถือหุ้นจำนวนหนึ่ง

ที่มา : เรียบเรียงจากอินเตอร์เน็ต และเพิ่มเติมโดยผู้เขี ยน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us