Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
"ความต่างข้อกฎหมายเรื่องเครื่องบินตก"             
โดย รัฐ จำเดิมเผด็จศึก
 


   
search resources

Aviation
Law




ปัจจุบันนี้ ใครต่อใครหลายคนอาจมีความรู้สึกว่า โลกมนุษย์เราใบนี้มีขนาดเล็กหรือแคบลงกว่าแต่ก่อน เพราะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ทำให้เรามีความสามารถที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันได้รวดเร็วขึ้นแต่ก่อนเป็นอันมาก

การเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนอาศัยใช้เวลาเป็นแรมเดือนหรือแรมปี บัดนี้ สามารถไปมาหาสู่กันได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือเพียงข้ามคืนเท่านั้น

"เครื่องบิน" อันเป็นพาหนะในฝันหรือในจินตนาการของมนุษย์แต่ดึกดำบรรพ์ ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาแล้วทุกวันนี้ แต่เครื่องบินที่อำนวยความสะดวกสบาย ก็สามารถสร้างภัยพิบัติ หรืออุบัติเหตุอันเกิดจากการเดินทางอากาศแต่ละครั้งได้น่าสยดสยองและเป็นอุบัติเหตุที่น่าสลดใจมิใช่น้อย

ซึ่งเมื่อคำนึงถึงผู้เสียหายมักเป็นคนต่างชาติต่างภาษา และต่างถิ่นฐานกันจากทุกสารทิศ การชดใช้ค่าเสียหายอันจะพึงมีในประการสถานใดนั้น หากปล่อยให้เลือกใช้กฎหมายภายในของนานาประเทศมาปรับใช้แก่คดีแล้ว ก็น่าจะคำนึงถึงกฎหมายของแต่ละชาติ มีมาตรฐานและมาตรการในเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายที่แตกต่างกัน ความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกัน จึงอาจเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา

ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกจึงได้เข้าร่วมมือกันในการที่จะให้ผู้โดยสารได้รับความคุ้มครองมากขึ้น และเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน จึงมีความร่วมมือกันในการผลักดันให้เกิดมีอนุสัญญา และความตกลงกันว่าด้วยความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศต่อคนโดยสารและสัมภาระ คือ อนุสัญญากรุงวอร์ซอ ค.ศ.1929

ประเทศไทยเริ่มมีการขนส่งทางอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ.2465 และเริ่มมีการพัฒนาการบินในเชิงพาณิชย์ขึ้นอย่างจริงจังเมื่อรัฐบาลจัดตั้งบริษัทเดินอากาศไทยขึ้นในปี พ.ศ.2476

เมื่อการบิน ขนส่ง เริ่มเปลี่ยนโฉมหน้าไปในเชิงพาณิชย์ขึ้น ความซับซ้อนในระเบียบกฎหมายการปฏิบัติต่าง ๆ เริ่มมีมากขึ้น ในปี พ.ศ.2465 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการเดินทางอากาศ โดยได้กำหนดให้ผู้ขนส่งทางอากาศมีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้ขนส่งทางอื่น ๆ ต่อมาในปี พ.ศ.2480 ได้มีการตราพระราชบัญญัติการเดินทางอากาศขึ้นอีกฉบับ โดยบัญญัติให้นำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความรับขนมาใช้ในการรับขน-โดยอากาศยาน

จนปัจจุบันพระราชบัญญัติการเดินอากาศที่บังคับใช้อยู่ดังพระราชบัญญัติเดินทางอากาศ 2497 ซึ่งก็ยังมิได้มีบทบัญญัติเรื่องการรับขนโดยอากาศยานโดยตรง เนื่องจากคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีความเห็นว่า ยังสามารถอาศัยหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการรับขนยังบังคับใช้ได้พระราชบัญญัติเดินอากาศที่กล่าวมาข้างต้น ได้ใช้เฉพาะการขนส่งภายในประเทศเท่านั้น

สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญากรุงวอร์ซอ ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ประกอบธุรกิจในการเดินอากาศระหว่างประเทศเป็นภาคีในอนุสัญญานี้

การเข้าเป็นภาคีมีข้อดีข้อเสียหลายประการที่ควรพิจารณา คือ ในลักษณะและขอบเขตแห่งความรับผิดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่คนโดยสาร หรือเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการที่ต้องล่าช้าในการขนส่ง โดยความรับผิดของผู้ขนส่งคนโดยสารต้องเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งคนโดยสารนั้น และเป็นความรับผิดที่ค่อนข้างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้รับขนของ เช่น รับขนคนโดยสารไปแล้วรถคว่ำหรือไปชนกับรถคันอื่นผู้โดยสารที่นั่งมาได้รับบาดเจ็บ ผู้ขนส่งต้องรับผิด เว้นแต่เป็นเหตุสุดวิสัย หรือเป็นความผิดของผู้โดยสารเอง ในขณะที่อนุสัญญากรุงวอร์ซอขยายของเขตออกไปให้ผู้ขนส่งรับผิดในความเสียหายระหว่างการดำเนินการใด ๆ ในการขึ้นหรือลงอากาศยานด้วย

สำหรับการเรียกร้องค่าเสียหาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดขอบเขตของค่าเสียหายโดยแน่ชัดตายตัว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะนำสืบพิสูจน์ถึงความเสียหายนั้น ๆ โดยให้อำนาจศาลผู้วินิจฉัยคดีใช้ดุลพินิจในการคำนวณค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

ในขณะที่อนุสัญญากรุงวอร์ซอได้กำหนดขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งไว้มีมูลค่าเทียบเป็นเงินไทยไม่เกิน 2,000,000 บาท หากพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดพลาดโดยตั้งใจ หรือการปฏิบัติที่ผิดพลาด ความรับผิดของผู้ขนส่งจะรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน การกำหนดขอบเขตความรับผิดไว้ด้วย เพื่อให้คนโดยสารซึ่งต่างเชื้อชาติได้รับความคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่า คนสัญชาติใดควรได้รับความคุ้มครองเท่าใด ขณะเดียวกันควรเป็นค่าเสียหายที่มีขอบเขตที่ไม่สูงจนเกินส่วน อันจะทำให้ผู้ขนส่งทางอากาศประสบภาวะขาดทุนหรือล้มละลาย

ท้ายที่สุดแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะมิได้กำหนดขอบเขตแห่งความรับผิดเอาไว้ หากคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ แล้วกลับพบว่า อนุสัญญาวอร์ซอขยายความคุ้มครองให้กับผู้โดยสารมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอบเขตความรับผิดที่ขยายกว้างกว่า การกำหนดตัวผู้ขนส่งให้กว้างขวางขึ้น อันเป็นการคุ้มครองผู้โดยสารได้มากกว่า

นอกจากนี้ อนุสัญญากรุงวอร์ซอยังกำหนดขอบเขตความรับผิดไว้ เพื่อช่วยไม่ให้สายการบินผู้ขนส่ง ซึ่งได้รับความเสียหายอยู่แล้วในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ต้องประสบกับปัญหาการถูกฟ้องร้องค่าเสียหายมากมายจนอาจถึงขั้นล้มละลายได้

การให้ความคุ้มครองผู้ขนส่งทางอากาศของอนุสัญญาวอร์ซอ จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีบริษัทการบินไทย จำกัด เป็นผู้ขนส่งทางอากาศ เป็นสายการบินแห่งชาติแต่เพียงสายเดียวและมีทุนทรัพย์ในการดำเนินการน้อยกว่า เมื่อเทียบกับสายการบินประเทศอื่น ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us