Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กรกฎาคม 2550
ดัชนีหุ้นไทยทุบสถิติ"ยุคแม้ว"-ต่างชาติไล่เก็บครึ่งปีแสนล.             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหุ้นไทยทำนิวไฮด์ในรอบ 10 ปี ดัชนีทะลุจุดสูงสุดในช่วงรัฐบาลทักษิณ โดยดัชนีปิดที่ 813 จุด หลังต่างชาติซื้อสุทธิครึ่งปี 1 แสนล้านบาท "ก้องเกียรติ" เชื่อตลาดหุ้นไทยยังขึ้นได้อีกเยอะ คาดเงินนอกพร้อมไหลเข้าอีกไม่ต่ำกว่าแสนล้าน ย้ำต้องมีการเลือกตั้งสิ้นปี เชื่อโบรกฯเตรียมปรับประมาณการกำไรบจ. เหตุสมมุติฐานต้นทุนจากน้ำมันผิดเกือบหมด ด้าน TFEX ทำนิวไฮด์ตั้งแต่เปิดตลาดเทรดเฉียดหมื่นสัญญา ขณะที่เงินบาท ต่อดอลลาร์ 34.31 แข็งค่าสุดรอบ 10 ปี ธปท. เผยยังไม่แทรกแซง

ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ วานนี้ ( 3 ก.ค.) ดัชนียังเดินหน้าทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ติดต่อหลังนักลงทุนต่างชาติยังเข้ามาไล่เก็บหุ้นขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคลายกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ สอดรับกับภาพเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มดีขึ้นซึ่งน่าจะส่งผลทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/50 ดีกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยดัชนีปิดที่ 813.52 จุด เพิ่มขึ้น 20.81 จุด หรือ 2.63 % ซึ่งเป็นการทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 10 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจไทย โดยจุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 818.98 จุดและจุดต่ำสุดอยู่ที่ 797.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 46,927.77 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 6 เดือนหลังธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกันสำรอง 30 % เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.49

นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 7,833.08 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,008.58 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 8,841.65 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิแล้วกว่า 1.06 แสนล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1.85 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 8.83 หมื่นล้านบาท

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงเนื่องจากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนอยู่ในกรอบแคบๆมาโดยตลอด ในบางช่วงดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคประมาณ 80 %

ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทยในรอบนี้สอดรับการปรับตัวของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังสภาพคล่องในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ประกอบกับข่าวร้ายที่เข้ามากระทบต่อจิตวิทยาในการลงทุนเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี หลายฝ่ายมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ในสิ้นปีนี้

ขณะที่ข่าวดีที่น่าจะเข้ามาหนุนให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง คือ ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่น่าจะดีขึ้น โดยคาดว่าในช่วงไตรมาส 3/50 ผลการดำเนินการของบริษัทจดทะเบียนจะดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เนื่องจากสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนสินค้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์อย่างมาก

อย่างไรก็ตาม คาดว่าข่าวดีที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีน่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มอย่างน้อย 1 แสนล้านบาทเพราะช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสุทธิมากกว่า 1 แสนล้านบาท

“บนสมมติฐานที่ว่าจะมีการเลือกตั้งปลายปีนี้ตลาดหุ้นไทยน่าจะปรับตัวไปถึงระดับ 900 จุดในช่วงสิ้นปีและในปีหน้าน่าจะถึงระดับ 1,000 จุด”นายก้องเกียรติ กล่าว

นางสาววิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของดัชนีในวานนี้ เกิดมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งสถานการณ์การเมืองที่คลี่คลาย การคาดหมายว่ารัฐบาลจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ทันในช่วงปลายปี และการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะมีการปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจขึ้น

นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากการที่หลายฝ่ายคาดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 1 โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มหลัก เช่น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับในขณะนี้ PE ตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเม็ดเงินต่างชาติไปแล้ว โดยในระยะสั้นดัชนีน่าจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 820 จุด และให้แนวรับ 805 จุด

กองทุนปรับเป้าดัชนีสิ้นปี

นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับเป้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิ้นปีขึ้นเป็น 820-850 จุด จากเดิมที่คาดว่าจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 800 จุด เนื่องจากเราเห็นว่าตัวเลขการส่งออกยังขยายตัวได้ทุกปีทั้งๆ ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดตลาดใหม่โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง และแอฟริกา

ทั้งนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินหยวนของประเทศจีน

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่าในช่วง 12 เดือนหลังจากนี้ มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นได้ โดยในช่วงที่เหลือของปีนี้อาจจะมีการปรับลดลงได้อีกแต่คงไม่มากนัก หลังจากนั้นก็จะขยับขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ เพราะมองว่าในช่วงกลางปีหน้า รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาระเริ่มมีการใช้เงิน ซึ่งมีโอกาสทำให้ดอกเบี้ยปรับขึ้นได้ แต่อาจจะไม่เร็วนัก

TFEX ทำนิวไฮท์ตั้งแต่เปิด

ด้านภาวะการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ (TFEX) วานนี้ (3 ก.ค.)มีปริมาณการซื้อขาย 9,894 สัญญา ซึ่งสูงสุดตั้งแต่เปิดตลาดซื้อขาย(28 เม.ย.2549)โดยสัญญาที่มีการซื้อขายมากที่สุดคือ S5OU07 ซึ่งจะครบอายุสัญญา เดือนกันยายน อยู่ที่ 9,086 สัญญา โดยจากข้อมูลการซื้อขายพบว่าปริมาณการซื้อขายแบ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,327 สัญญา สถาบันในประเทศขายสุทธิ 263 สัญญา และนักลงทุนรายย่อยในประเทศขายสุทธิ 3,064 สัญญา

นายกิดาการ สุวรรณธรรมา หัวหน้าฝ่ายอนุพันธ์ บล.ฟิลลิป กล่าวว่า ปริมาณการซื้อขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดตั้งแต่เปิดซื้อขายอนุพันธ์ เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในหุ้น SET50 และตลาดอนุพันธ์มากขึ้น จากปัจจัยทางการเมืองที่มีความชัดเจน และจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ได้ตามที่กำหนดไว้ จึงทำให้ตลาดอนุพันธ์มีสภาพคล่องในการซื้อขายที่มากขึ้น

“ทั้งนี้สัดส่วนนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในตลาดอนุพันธ์เดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ 30 % ซึ่งในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมากอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา”

นายมนู ตังทัตสวัสดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจอนุพันธ์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า การที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดอนุพันธ์จำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับการลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจาก มีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุน จากปัจจัยทางด้านการเมืองที่มีความชัดเจนในเรื่องการเลือกตั้ง และเศรษฐกิจไทยก็มีการเติบโตที่ดีขึ้น และนักลงทุนในประเทศมั่นใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น

บาทแตะ 34.31 แข็งค่ารอบ 10 ปี

วานนี้ ( 3 ก.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ 34.31/33 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าสุดในรอบ 10 ปีหลังมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อ 2 ก.ค. 40 จากระดับเปิดที่ 34.41/42 บาท/ดอลลาร์ โดยในระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 34.31 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 34.45 บาท/ดอลลาร์ นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพเปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้ เป็นความต่อเนื่องหลังจากทิศทางดอลลาร์ค่อนข้างอ่อน ประกอบกับการไหลของเงินลงทุนต่างประเทศเข้ามาในตลาดหุ้นไทย

“วันนี้ (4 ก.ค.) กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 34.25-34.35 บาท/ดอลลาร์”เขา กล่าว

ธปท.เผยยังไม่เข้าแทรกแซงบาท

นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายเสถียรภาพการเงิน กล่าวว่า การแข็งขึ้นของค่าเงินบาท เป็นการแข็งขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ 2 วันที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ดัชนีเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มออกมาไม่ดี ทำให้เกิดแรงเทขายเงินดอลลาร์ออกมา ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นทุกสกุล ค่าเงินบาทเป็นสกุลหนึ่งที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นด้วย

นอกจากนี้ การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในตลาดหุ้นไทยจำนวนมากตั้งแต่ต้นปีก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และแม้ว่าเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาผ่านตลาดหุ้นจะไม่ต้องเข้ามาตรการกันสำรอง 30 % หรือการทำประกันความเสี่ยง 100 % เพราะมีเกณฑ์ยกเว้นก็ตาม แต่ ธปท.เชื่อว่า จะไม่สร้างปัญหาให้กับการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินบาท โดยสามารถดูแลเงินไหลเข้าจำนวนนี้ได้

ส่วนกรณีที่มีความเป็นห่วงว่า ค่าเงินบาทที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (off shore) ที่แข็งค่าขึ้นมา อยู่ที่ระดับ 31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น เป็นส่วนที่ทำให้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้นตามหรือไม่ รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ไม่คิดว่าค่าเงินบาทในประเทศจะแข็งค่าตามตลาดต่างประเทศ เพราะตลาดในขณะนี้แยกกันอย่างชัดเจน และหลังจากการออกมาตรการกันสำรอง 30 % ธุรกรรมการซื้อขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศค่อนข้างเบาบาง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us