Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
การสร้างนักวิเคราะห์มืออาชีพในตลาดหุ้นไทย             
 

   
related stories

"สัญชาติญาณของนักวิเคราะห์"
สนทนานักลงทุน

   
search resources

บุรินทร์ กันตะบุตร
Stock Exchange




การซื้อขายหุ้นในปัจจุบัน ผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังคงไม่สนใจข้อมูลอันเป็นพื้นฐานของหุ้นที่ตนเข้าไปซื้อขาย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากถ้าเงินที่มาลงทุนไม่ใช่เงินส่วนเกิน เพราะการลงทุนดังกล่าวเปรียบได้การเล่นการพนัน ที่ผู้เล่นไม่สามารถที่จะคุมกติกาตนเอง ข่าวลือ INSIDE TRADING เกิดขึ้นเป็นประจำเหล่าแมงเม่าก็ยังคงชื่นชอบที่จะบินเข้ากองไฟ

ความเสียเปรียบของนักลงทุนรายย่อยจะหดหาย ลดความเสี่ยงลงได้ ถ้ามีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวที่นักลงทุนจะได้รับจะมาจากการสอบถามจากโบรกเกอร์ตลาดหลักทรัพย์ ฯ หรือติดตามจากสื่อมวลชน

แต่รู้หรือไม่ว่าข้อมูลที่นำมาเผยแพร่เหล่านี้มาจากไหน

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน จะมีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ของตนเอง ที่คอยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาเสนอโดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุนในระยะยาว

แต่ที่น่าสังเกตคือข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อลูกค้าและนักลงทุนดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพหรือไม่?

คนที่จะรู้ถึงคำตอบนี้ก็คือ นักวิเคราะห์ เพราะพวกเขาอยู่ใกล้ชิดกับข่าวสารข้อมูลมากที่สุด พูดอีกแบบหนึ่ง การที่จะทราบถึงข้อมูลว่ามีคุณภาพดีหรือไม่จริง ๆ แล้วอยู่ที่คุณภาพของนักวิเคราะห์เป็นปัจจัยสำคัญ

นักลงทุนที่ต้องการใช้บริการจากจากโบรกเกอร์เพื่อที่จะทำการซื้อขายหุ้น ควรที่จะพิจารณาถึงกลุ่มนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์เหล่านั้นด้วย เพราะถ้าทีมงานวะเคราะห์ไม่มีฝีมือ ข้อมูลในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นจะเสียเปรียบนักลงทุนรายอื่นอย่างสิ้นเชิง

นักวิเคราะห์ที่ดี นอกจากจะมีคุณสมบัติส่วนตัวที่มีความสามารถแล้ว (อ่านล้อมกรอบสัญชาตญาณนักวิเคราะห์ ประกอบ) ปัจจัยภายนอกยังมีผลมาก นั่นคือนโยบายขององค์กรต่อทีมงานวิเคราะห์

ถ้าองค์กรใดให้ความสำคัญต่อนักวิเคราะห์มาก ผลงานวิเคราะห์ย่อมออกมามีคุณภาพที่ดีกว่า ที่น่าสังเกตคือจำนวนทีมงานวิเคราะห์ของโบรกเกอร์บางรายมีเพียง 3-4 คน แต่บางโบรกเกอร์มีทีมวิเคราะห์สูงถึง 30 กว่าคน

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังต้องมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอจึงจะเรียกได้ว่าเป็นนักวิเคราะห์ที่ดี หนทางหนึ่งที่จะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างรวดเร็ว คือการเรียนรู้เทคโนโลยีโนว์

ฮาวจากต่างประเทศ โดยองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับองค์ต่างประเทศจะได้เปรียบองค์กรที่ไม่มีความสัมพันธ์ ทั้งนี้ปัจจุบันมีโบรกเกอร์หลายรายลอกเลียนแบบรายงานนำมาใช้ด้วย

อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องไม่ลืมว่านักวิเคราะห์หลักทรัพย์มิใช่มีอยู่แต่ในบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้น ปัจจุบันมีองค์กรอิสระหลายรายที่เข้ามาทำหน้าที่นี้ ซึ่งสามารถมีความเป็นกลางได้ดียิ่งกว่าและแนวโน้มองค์กรประเภทนี้จะเกิดขึ้นอีกมาก เช่นในต่างประเทศมีองค์กรอิสระที่มีชื่อเสียงมากคือ VALUE LINE เป็นต้น

"นักวิเคราะห์ไทยความรู้ด้านมหภาพมีจำกัด นิยมเพียงการวิเคราะห์จากตัวเลขทางการเงินของบริษัทนั้นๆ อย่างเดียว" ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวถึงจุดอ่อนของนักวิเคราะห์ไทย

ขณะที่ "นักวิเคราะห์ต่างประเทศได้เปรียบที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ข้อมูลด้านมหภาพมีมากกว่า" ดร.อุตตม สาวนายน อาจารย์ประจำสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์กล่าวถึงจุดแข็งของนักวิเคราะห์ต่างประเทศความต้องการของลูกค้าในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน ทำให้การนำเสนอข้อมูลหลัก (MAINPOINT) ไม่หนักแน่นพอ

จุดนี้จึงมีประเด็นอยู่ที่ว่าแล้วใครจะช่วยพัฒนานักวิเคราะห์ไทยให้มีคุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คำตอบสำหรับประเด็นนี้ขณะนี้คงอยู่ที่สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ในฐานะองค์กลางอิสระ จากการริเริ่มของดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และวิโรจน์ นวลแข นายกสมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ฯ (AMSEC) ในขณะนั้นที่ต้องการเห็นนักวิเคราะห์ไทยได้เพิ่มทักษะ มีผลงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ (SECURITIES ANALYSTS ASSOCIATION-SAA) ขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2533

อย่างไรก็ตาม แม้จะจัดตั้ง SAA ขึ้นมาแล้วก็ตาม กลุ่มผู้ที่เข้ามาทำงานก็เป็นเพียงการสละเวลาการสละเวลาช่วงหนึ่ง (PART TIME) เท่านั้นเพราะกรรมการแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีธุรกิจงานประจำของตนเองทั้งสิ้น

กระนั้นก็ตาม SAA ก็ยังมีผลงานในการวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาคุณภาพนักวิเคราะห์ไทยอยู่บ้าง เช่น

ธันวาคม 2533 จับมือกับ AMSEC และ SET จัดการประชุมสมาชิก (สมาคมนักวิเคราะห์ทั่วโลก) ของ ASAC (ASIAN SEECU RITIES ANALYST CULTURE) อันเป็นการประชุมเสนอแนวโน้มของหุ้นในทุกประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นของประเทศเจ้าบ้าน คือไทย ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเข้าฟังผลการวิเคราะห์จากทั่วโลกประมาณ 300 คน เป็นกลุ่มของโบรกเกอร์และผู้จัดการกองทุนเป็นส่วนใหญ่

ผลลัพธ์จากการจัดประชุมครั้งนี้คือรายได้ประมาณ 2.6 ล้านบาทที่นำมาเป็นทุนเริ่มต้นในการประกอบกิจการต่างๆ ของ SAA และผลลัพธ์ทางอ้อมที่สำคัญยิ่งขนองงานนี้คือ การประชาสัมพันธ์ตลาดหลักทรัพย์ของไทยให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

นอกจากนี้ ภายในเวลา 9 เดือน ผู้ก่อตั้งก็สามารถหาผู้ที่สามารถเข้ามาทำงานที่ SAA ได้เต็มเวลา เช่น ได้ บุรินทร์ กันตะบุตร ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง SENIOR VICE PRESIDENT ฝ่ายวิจัยและวางแผนของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี มารับตำแหน่งผู้อำนวยการ SAA คนแรก โดยมี ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ เป็นนายกสมาคม นายวิโรจน์ นวลแข เป็นอุปนายกสมาคม

ปัจจุบัน SAA มีสมาชิกซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หลักทรัพย์ประมาณ 240 ราย มีทั้งส่วนที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา อาทิเช่น บริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บิรษัทกองทุนรวมเจเอฟธนาคม บริษัทมอร์แกน เกรนเฟลล์ ไทยธนาคารกรุงเทพฯ ทหารไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธาราสยาม บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษา เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่วนบุคคลธรรมดา เช่น ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ชัยพัฒน์ สหัสกุล ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ศิริวัฒน์ วรเวทย์วุฒิคุณ กรณ์ จาติกวณิช พ้นจากบุคคลที่กล่าวมานี้แล้ว บุคคลธรรมดาที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมได้ต้องเป็นผู้ที่ผ่านหลักสูตร CFA และ CISA ก่อนเท่านั้น

"ทั้ง 2 หลักสูตรตามแผนฯ 5 ปี จะรับอบรมหลักสูตรละ 40 คน แต่คาดว่าเมื่อผู้ที่เข้าอบรม 2 ปี แล้วจะมีผลงานปรากฏออกมาให้ผู้อื่นยอมรับ ความสนใจจากนักวิเคราะห์จะมีมากขึ้น แผนปีที่ 3-5 อาจจะเปิดโอกาสให้มีผู้เข้าอบรมมากขึ้น" บุรินทร์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงแผนการพัฒนาคุณภาพนักวิเคราะห์ของสมาคม

CFA (THE CHARTERED FINANCIAL ANALYST) เป็นหลักสูตรที่มีการก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2506 โดยสถาบัน ICFA (INSTITUTION CHARTED FINANCIAL ANALYST) ของสหรัฐฯ อันเป็นหลักสูตรที่แสดงถึงมาตรฐานของนักวิเคราะห์ที่มีทั้งทักษะในการวิเคราะห์และจรรยาบรรณในการทำงาน ผู้ที่สำเร็จหลักสูตรนี้แล้วจะได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทั้งนี้มีระดับการศึกษา 3 ระดับ (LEVEL) ในระยะเวลาประมาณ 3 ปี

ทั่วโลกปัจจุบัน มีผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร CFA แล้วประมาณ 12,000 เป็นชาวอเมริกันและแคนาเดี้ยนสูงถึงร้อยละ 80

ส่วนในแถบเอเชีย ส่วนใหญ่เริ่มที่จะมีหลักสูตรเช่นนี้กันบ้างแล้ว เช่น สิงคโปร์ เริ่มเมื่อ 5 ปีก่อนด้วยการเข้าร่วมของผู้ที่สนใจเพียง 30 คน ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจศึกษาอยู่ 370 คน ฮ่องกง เริ่มหลักสูตรแล้วแต่ยังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากนักวิเคราะห์เท่าที่ควร อินโดนีเซียกำลังก่อตั้ง สำหรับไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกผู้ที่เข้าอบรม

"แม้แต่คนที่เราให้เป็นสมาชิกของ SAA แล้วเพราะวงการหลักทรัพย์ยอมรับว่า มีความสามารถเทียบเท่ากับผู้ที่สำเร็จหลักสูตร CFA หลายคนยังต้องสมัครสอบเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้ด้วยความคิดที่ว่าเขาจะคุมคนที่สำเร็จหลักสูตร CFA ได้อย่างไร ถ้าตนเองไม่มีใบประกาศนี้ด้วย" บุรินทร์กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตร CFA

แต่ด้วยเหตุที่นักวิเคราะห์ไทยมีข้อจำกัดด้านความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษสมาคม จึงได้ผลิตหลักสูตรภาษาไทยขึ้นมาอีกโปรแกรมหนึ่งเรียกว่า CISA (THE CERTIFIED INVESTMENT SECURITIES ANALYST) ควบคู่ไปพร้อมกับ CFA ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่วงการหลักทรัพย์ไทยจะยอมรับร่วมกัน แต่ต่างประเทศอาจจะไม่ยอมรับทั้งนี้จำนวนคนที่เข้าอบรมหรือระยะเวลาในการอบรมเหมือน CFA ทุกประการ

"เราจะพัฒนาโครงการนี้ไปเรื่อย ๆ จนต่างชาติยอมรับเหมือนกับที่เขายอมรับหลักสูตรของชาวญี่ปุ่น ที่สามารถสอบหลักสูตร CFA ในขั้นสุดท้ายได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นที่ 1 และ 2" บุรินทร์ พูดถึงความพยายามของเขาในการเอาชนะอุปสรรคด้านภาษาให้กับนักวิเคราะห์ไทย

การมีหลักสูตร CFA และ CISA ของสมาคม SAA ที่บุรินทร์พยายามสร้าง และพัฒนาให้เกิดขึ้นกับวงการนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ไทยถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์ของการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไทยเลยทีเดียว เพราะถึงที่สุดแล้วเป้าหมายของการพัฒนานี้ชัดเจนในการที่จะสร้างคุณภาพนักวิเคราะห์ไทยให้มีฝีมือเท่าเทียมต่างชาติ ท่ามกลางการเติบโตด้านปริมาณของตลาดหุ้นไทยในทศวรรษใหม่นี้

รายงานโดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลตลาดทุน บริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us