Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
ชนินท์ทำดินขาวขอส่วนแบ่งตลาด 10 % ป้อนโรงงานเซรามิค             
 


   
search resources

มินเนอรัลรีซอร์สเซส ดีเวลลอปเม้นท์
เมธี เอื้ออภิญญกุล
Metal and Steel




บริษัท เหมืองบ้านปูน จำกัดของชนินท์ ว่องกุศลกิจ เป็นที่รู้จักดีในธุรกิจถ่านหินแต่เมื่อปี 2530 ได้มีการสำรวจพบแหล่งดินขาวคุณภาพสูงที่ตำบลหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง จึงจัดตั้งบริษัท มินเนอรัลรีซอร์สเซส ดีเวลลอปเมน้ท์ จำกัดขึ้นเพื่อทำธุรกิจดินขาวโดยตรง

เหมืองดินขาวของบริษัทมินเนอรัล ฯ บนเนื้อที่ 9,085 ไร่ จัดเป็นดินขาวคุณภาพดี

ซึ่งเป็นวัตถุสำคัญของอุตสาหกรรมเซรามิค โดยมีการขยายตัวสูงถึง 30 % ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ขณะที่ความต้องการดินขาวในปีนี้ประมาณ390,000ตัน ปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 470,000 ตัน และคาดว่าถ้าอัตราเพิ่มเฉลี่ยปีละ 15 % นี้ไปจนถึงปี 2539 ความต้องการดินขาวจะเพิ่มเป็นกว่า 860,000 ตัน

ทุกวันนี้ การใช้ดินขาวเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระเบื้องชนิดต่าง ๆ จะมีสัดส่วน 25-38 % ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์จะใช้ประมาณ 20-32 %

โดยการผลิตกระเบื้องจะเป็นตลาดที่โตที่สุดถึง 75 % ของตลาดเซรามิครวม (คิดโดยน้ำหนัก) ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์คิดเป็น 12 % ของตลาด

ทั้งนี้ เครื่องสุขภัณฑ์ต้องการดินขาวที่มีคุณภาพสูงกว่า โดยมากจะมาจากแหล่งระนอง ซึ่งเป็นแหล่งดินขาวที่มีคุณภาพดีที่สุดในขณะนี้ ส่วนกระเบื้องจะใช้ดินขาวจากแหล่งอื่นโดยเฉพาะลำปางเป็นหลักเมื่อเทียบราคาบวกค่าขนส่งแล้วดินลำปางจะถูกกว่าดินระนองกว่า 50 %

บริษัท มินเนอรัล ฯ จึงมุ่งป้อนดินขาวเข้าตลาดเครื่องสุขภัณฑ์เป็นหลัก ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการขึ้นรูปและต้องการความคงทนมากกว่าการผลิตกระเบื้อง

ตอนนี้ โรงงานกำลังอยู่ระหว่างทดลองเครื่อง และจะเปิดตัวเข้าตลาดอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคมนี้ โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีแรก (ปี 2534/35) ตามปีงบประมาณจะเริ่มตั้งแต่ 1 กรกฎาคม -30 มิถุนายน

จะผลิตประมาณ 20,000 ตัน และเพิ่มจนเต็มกำลังการผลิตเป็น 120,000 ตันในปีที่ 5

การรุกตลาดจะเน้นตลาดเครื่องสุขภัณฑ์กว่า 40 % ของกำลังการผลิตรองลงมาจะเป็น TABLEWAER หรือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประมาณ 30 % ที่เหลือจะป้อนอุตสาหกรรมเซรามิคอื่น

มินเนอรัล ฯ จึงอยู่ระหว่างการแนะนำตัวในตลาดด้วยการส่งตัวอย่างดินขาวให้ลูกค้าทดลองใช้นับสิบราย เช่น สยามซานิทารีแวร์ เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัติบางส่วนีท่ยังไม่ตรงตามสเปกเนื่องจากแต่ละรายจะมีสเปกในการใช้ต่างกันเล็กน้อย

สำหรับตลาดดินขาวระนองนั้น จะมีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ไม่กี่ราย เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยเกาลีน จำกัด ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตมากที่สุดกว่า 3 หมื่นตัน คิดเป็น 60 % ของกำลังผลิตดินขาวแหล่งระนองทั้งหมด รองลงมาเป็นเหมืองของประดิษฐ แก้วโชติช่วงกุล ผลิตได้ราว 18 % เหมืองของเสถียร โสดาบรรลุ 7-8 % เหมืองบริษัท บ้านบอมลำปาง ไมนิ่ง จำกัด ประมาณ 4-5 % นอกจากนั้นจะเป็นรายย่อย

แม้แต่ในลำปาง ผู้ผลิตดินขาวจะมีรายใหญ่ไม่กี่รายส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กเช่นเดียวกัน

การเกิดขึ้นของมินเนอรัล ฯ จึงเหมือนกับการแทรกตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่นในตลาดดินขาวด้วยขนาดกำลังการผลิตเต็มที่ถึง 120,000 ตัน

"โรงแต่งแร่ดินขาวนี้จัดเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุด และทันสมัยที่สุดในขณะนี้ จะมีระบบกรองน้ำด้วยการพักน้ำที่ใช้ในการล้างแร่ แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้อีกโดยไม่ทำให้เกิดน้ำเสียต่ดสภาพแวดล้อม และทำให้สงวนน้ำมาใช้ในการแต่งแร่ดินขาวได้ตลอดปีจึงทำให้ผลิตดินขาวได้คุณภาพสม่ำเสมอตลอดปี" เมธี เอื้ออภิญญกุล กรรมการรองกรรมการผู้จัดการมินเนอรัล ฯ กล่าว

จุดเด่นของมินเนอรัล ฯ "ก็คือการใช้เทคนิคและระบบบการผลิตของนิวซีแลนด์ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท NEW ZEALAND CHINA CLAY ผสมผสานกับเทคโนโลยีของเยอรมันแล้วนำมาประยุกต์ออกแบบโรงงานโดยวิศวกรของเรา ซึ่งจะมีการปรับปรุงพัฒนาเทคนิคไปอีก เราจะเน้นการผลิตวัตถุดิบตอนนี้ยังจะไม่เข้าไปเป็นผู้ผลิตสินค้าเซรามิคเพราะเห็นว่าจะช่วนสร้างความชำนาญได้ดีกว่า แต่จะกำหนดว่าไม่ทำเลยก็ไม่ได้เป็นเรื่องอนาคต" ชนินท์กล่าวถึงจุดเด่น และจุดยืนการทำะรกิจของตนในการทำเหมืองดินขาวขณะนี้

การผลิตของที่นี่จะเริ่มด้วยการทำเหมืองในระบบเปิดด้วยการใช้เครื่องจักรหนักในการเปิดหน้าดิน และตักดินลำเลียงเข้าโรงแต่งแร่

ขั้นตอนต่อไปก็นำแร่ดินขาวมาฉีดน้ำด้วยแรงดันสูงให้หินแตก ให้ส่วนที่เป็นหินใหญ่ถูกแยกออกไป ส่วนที่เหลือก็จะผ่านเครื่องคัดขนาดต่าง ๆ ในระบบที่วางไว้อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน จนได้ดินขาวแล้วจึงเอาไปรีดน้ำออกจนเหลือความชื้นเพียง 25 %

น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำเหมืองดินขาว โดยทั่วไปจะใช้น้ำตามธรรมชาติทั้งในการฉีดเหมืองและโรงแต่งแร่แล้วปล่อยน้ำทิ้ง จึงมีปัญหาในหน้าแล้งช่วงเดือนมกราถึงเมษายน เมื่อขาดน้ำฝนทำให้เหมืองส่วนใหญ่ต้องหยุดการผลิต

แต่มินเนอรัล ฯ ไม่ใช้น้ำในขั้นต้น แต่จะใช้น้ำเฉพาะการแต่งแร่ และมีบ่อพักน้ำขุ่นและบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่สำรองไว้ใช้ในหน้าแล้ง

การผลิตที่ไม่ต่อเนื่องจึงทำให้โรงงานเซรามิครายเล็กมักจะเดือดร้อนเพราะเหมืองหลายแห่งจะหยุดการผลิตดินขาว ขณะที่โรงงานรายใหญ่จะซื้อสต๊อกไว้ แต่ถ้าบางรายสต๊อกไว้ไม่มากพอก็มีปัญหาอีก ต้องแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเสียเวลา และอาจจะได้ดิน ที่ใช้งานไม่ได้ดีเท่าที่ต้องการ เนื่องจากดินขาวของต่างประเทศมักจะแห้งมากมีความชื้นต่ำเกินไปเพียง 2-3 % ทำให้ฟุ้งกระจายเกิดการสูญเสียในการผลิต ทำให้ต้นทุนเพิ่ม เวลาขึ้นรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปก็จะแตกง่าย

ช่องโหว่ของตลาดดินขาวส่วนนี้จึงเป็นจุดที่มินเนอรัล ฯ จะเข้าไปรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการทดแทนการนำเข้าในหน้าแล้งการแทรกตัวในส่วนที่เหมืองอื่นจะขยาย หรือการเบียดส่วนครองตลาดจากผู้ผลิตรายเดิมเพราะแหล่งสำรองดินขาวของบางรายกำลังจะหมด

พร้อมกันนี้ก็จะเสริมการบริการด้วยการติดตามผลหลังการขาย นอกเหนือจากการตรวจคุณภาพดินตั้งแต่หน้าเหมือง

สำหรับปริมาณสำรองดินขาวที่จะทำสินค้าสำเร็จรูปได้ 3 ล้านตัน ใช้ได้ 30 ปี "นี่เป็นตัวเลขการสำรวจขั้นต้น" ชนินท์กล่าวถึงแหล่งวัตถุดิบและการลงทุนเพิ่มจากระยะ 2,000 ตัน ไปเป็น 120,000 ตันในอีก 5 ปี ว่า "มีแนวทางจะให้ต่างประเทศเข้าร่วม และจากทุนจดทะเบียนที่ลงไป 20 ล้านบาท มีนโยบายที่จะเพิ่มอีกประมาณ 20 ล้านบาท"

แม้ว่ามินเนอรัล ฯ จะมีข้อได้เปรียบกว่าผู้ผลิตรายอื่น ๆ แต่ก็อยู่ระหว่างการเลือกเส้นทางขนส่งดินขาวไปยังโรงงานว่าควรจะเส้นทางใด เนื่องจากโรงงานเซรามิคส่วนใหญ่จะอยู่แถวสระบุรี ปทุมธานี

การขนส่งจากระนองไปสระบุรี ถ้าใช้รถยนต์ค่าขนส่งสูงถึงตันละ 500 บาท

"กำลังดูการแข่งขันโดยรถไฟ เพราะแม้ค่าขนส่งจะเท่ากัน แต่ก็ประหยัดค่าน้ำมันช่วยลดต้นทุนได้" ชนินท์กล่าวถึงทางออกในการขนส่งเพื่อเสริมจุดขายอื่นที่มีอยู่แล้ว

อีก 5 ปี มินเนอรัล ฯ จะครองตลาดได้ตามเป้าหมาย 10 % ได้สำเร็จหรือไม่ ก็คงต้องคอยติดตามกันต่อไป…!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us