Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 กรกฎาคม 2550
MFCตั้ง2บริษัทที่ปรึกษาเสริมธุรกิจกองทุนรวม             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเอฟซี, บลจ.

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
พิชิต อัคราทิตย์
Funds




นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อยเพิ่มอีก 2 บริษัท ซึ่งจะเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (เอฟเอ) และบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยทั้ง 2 บริษัทนี้คาดว่าจะดำเนินการขอจัดตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้แล้วเสร็จประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้

ทั้งนี้ สาเหตุที่ บลจ.เอ็มเอฟซี มีแนวคิดจัดตั้งบริษัทย่อย 2 ดังกล่าวบริษัทขึ้นมา เนื่องจากมองว่าทั้ง 2 บริษัทนี้จะช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจของ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้ ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางการเพิ่มรายได้ให้กับตัวบริษัทด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นไปตามแผนการเป็นโฮลดิ้งคอมพานี ที่บริษัทเคยวางแผนไว้แล้วก่อนหน้านี้

นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้น จะเน้นการศึกษาข้อมูลของบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหลัก โดยจะเน้นวิเคราะห์ถึงแนวโน้มธุรกิจและตัวบริษัทดังกล่าวเองว่ามีความจูงใจให้เข้าไปลงทุนมากแค่ไหน ซึ่งการทำงานในส่วนนี้ จะมีส่วนช่วยต่อการบริหารจัดการกองทุนไพรเวทอิควิตี้ ที่เน้นลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ฯ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้นโดยในปัจจุบันบริษัทก็มีกองทุนประเภทดังกล่าวบริหารอยู่แล้ว

"กองทุนประเภทไพรเวทอิควิตี้ โดยปกติแล้วเวลาจะลงทุนอะไร เขาจะต้องจ้างเอฟเอเข้าไปดูพื้นฐานของบริษัทก่อน ดังนั้นหากเรามีบริษัทซึ่งคอยทำหน้าที่นี้ ก็จะช่วยให้กองทุนทำงานกันง่ายขึ้น และไม่ต้องไปจ้างเอฟเอภายนอกมาดูด้วย"ดร.พิชิตกล่าว

ส่วนบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น จะทำหน้าที่เข้าไปดูแลอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งการตั้งบริษัทดังกล่าวเข้ามาช่วย จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนได้มากยิ่งขึ้น

"ปกติแล้วเมื่อเราซื้ออสังหาริมทรัพย์มา ก็ต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ซึ่งปกติก็ไม่พ้นเจ้าของเดิม แต่ถ้าเรามีบริษัทที่ดูแลในเรื่องนี้ขึ้นมา ทางบริษัทก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย ซึ่งช่วยให้เราสามารถควบคุมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น"ดร.พิชิตกล่าว

ทั้งนี้ การขยายธุรกรรมไปด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ บลจ.เอ็มเอฟซี นั้น ถือเป็นไปตามแผนงานที่บริษัทได้วางเป้าหมายเอาไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ และธุรกิจที่ทั้ง 2 บริษัทให้บริการนั้น ถือเป็นธุรกิจที่ บลจ. สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่ไม่สามารถเป็นที่ปรึกษาในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น

ก่อนหน้านี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้รับการทาบทามจากกระทรางการคลังให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อศึกษาสถานะการทำธุรกิจของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจว่าจะเพิ่มทุนธนาคารทหารไทยหรือไม่ หลังจากธนาคารทหารไทยประสบปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม การทาบทามดังกล่าว เป็นเพียงการหารือในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งยังต้องมีการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปและตกลงเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการก่อน โดยปัจจุบันบริษัทเองก็อยู่ระหว่างหาข้อมูลการทำธุรกิจของธนาคารทหารไทย เพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป

"ความเห็นของเราจะเป็นความเห็นของผู้ลงทุนสถาบันรายหนึ่ง เพื่อเป็นข้อมูลหนึ่งในการตัดสินใจของกระทรวงการคลังว่าจะเพิ่มทุนหรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่เราจะพิจารณาก็จะเป็นข้อมูลการลงทุนปกติเท่าที่สถาบันรายหนึ่งจะให้ได้"นายพิชิตกล่าว

นายพิชิตกล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงการคลังเองมีคำถามอยู่ในใจอยู่แล้ว เกี่ยวกับความกังวลว่าจะทำการเพิ่มทุนหรือไม่ และจะทำด้วยวิธีใด ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ในธนาคารทหารไทย(TMB) ประมาณ 30% ซึ่งการแก้ปัญหาในครั้งนี้ ก็เพื่อผลประ- โยชน์แก้ผู้ถือหุ้นทุนฝ่าย ทั้งคลังเองในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายอื่นและนักลงทุนรายย่อยด้วย ในขณะที่ธนาคารทหารไทยเองก็ต้องการเป็นสถาบันการเงินที่มีความแข็งแกร่งต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us