Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
"ตราพระอาทิตย์" ปูนยี่ห้อแรกของทีพีไอ             
 


   
search resources

ทีพีไอ โพลีน, บมจ.
สรร อักษรานุเคราะห์
Cement




ตราบใดที่ปัญหาปูนขาดแคลนอยู่ ตลาดก็ยังเป็นของผู้ผลิต และบริษัททีพีไอโพลีน-โรงงานปูนซีเมนต์แห่งที่สี่ของประเทศไทยที่มีเจ้าของเป็นคนในตระกูล "เลี่ยวไพรัตน์" ก็เริมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว จนกระทั่งมีข่าวว่าในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ ผู้บริหารบริษัททีพีไอ โพลีนก็จะนำเข้าปูนเม็ดจากปอร์ตแลนด์และจีนแดงเข้ามาบดเป็นปูนผงขายใส่ถุงปูนซีเมนต์ ที่เป็นโลโก้พระอาทิตย์ทอแสงเจิดจ้า

กว่าจะคิดค้นโลโก้ปูนตราพระอาทิตย์นี้ขึ้นมาได้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูงถกเถียงกันมากว่าจะทำอย่างไรให้ฉีกแนวแตกต่างไปจากตราสิงสาราสัตว์ที่คู่แข่งมีอยู่

"ผมก็แนะนำเขาว่าให้ใช้ตราทีพีไอ เพราะใคร ๆ ก็รู้จักยอมรับกันแล้ว จากนั้นก็แบ่งเป็นสีแดง สีเขียว สีเหลืองสำหรับปูนแต่ละประเภทเช่นปูนฉาบ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงใจ" สรร อักษรานุเคราะห์ รองประธานบริหารของบริษัทเล่าให้ฟัง

ในที่สุดประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัททีพีไอโพลีนก็ได้ตราพระอาทิตย์มีการวางแผนทำ PRE MARKETING เพื่อทดสอบการตลาดในระยะแรก

โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของทีพีไอโพลีนนี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างบริษัทปูนซีเมนต์ไทย และบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงบนที่ดินขนาด 1,786 ไร่ที่จังหวัดสระบุรี เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 7,300 ล้านบาท มีขนาดกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี โดยประชัยเลือกใช้เครื่องจักรของ KRUPP POLYSIUS ของเยอรมนี

ส่วนปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรในอุตสาหกรรมก่อสร้างนี้ ก็ทำให้มีการซื้อตัวมืออาชีพและฝ่ายช่างปฏิบัติการจากหลายแหล่งมาประจำอยู่ที่โรงปูนทีพีไอ อาทิเช่น มีการเคลื่อนย้ายวิศวกรบางส่วนจากชลประทานซีเมนต์หรือปูนนครหลวงบ้างไปอยู่ที่ใหม่ โดยได้รับเงินเดือนมากกว่าที่เดิมสองเท่าตัว

ด้านแหล่งวัตถุดิบของโรงปูนแห่งใหม่นี้ ดร.โกศล สินธวานนท์ กรรมการรองผู้จดการใหญ่เคยกล่าวไว้ว่า เป็นแหล่งหินปูนหินดินดาลที่สามารถผลิตปูนได้นานนับ 100 ปีและได้มีการขอสัมปทานไปแล้ว 151 แปลง ๆ ละ 200-300 ไร่ และล่าสุดคณะกรรมการตามพรบ.แร่อนุมัติประทานบัตรทำแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมที่จังหวัดสระบุรีจำนวน 895 ไร่รวม 3 แปลงแก่ทีพีไอโพลีนด้วย

อย่างไรก็ตาม "การเกิดย่อมเจ็บปวดอย่างทรมาน" เฉกเช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของทีพีไอ โพลีนที่ต้องผจญกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ที่ครองตลาดมูลค่านับแสนล้านบาท

"ระหว่างที่เราทำการติดตั้งเครื่องจักร และจะทดลองทำการบดปูนผงออกขายในราวปลายปีนี้เราก็เคยติดต่อขอซื้อปูนซีเมนต์จากสองโรงที่อยู่ข้าง ๆ แต่เขาบอกว่า ถ้าจะซื้อให้ไปซื้อจากกรุงเทพเอง" แหล่งข่าวเล่าให้ฟังว่าประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ชักมีอารมณ์เมื่อเจอลูกเล่นแบบนี้

"ประชัยเป็นคนพูดแรงเสมอ นิสัยค่อนข้างใจร้อนด้วยซ้ำ ตามแบบธรรมเนียมคนจีนแต่ต้องยอมรับว่าเขาเป็นนักสู้ตัวจริงคนหนึ่ง" แหล่งข่าวเล่าให้ฟัง

ดังนั้นทางออกของประชัยก็คือการนำเข้าปูนเม็ดจากต่างประเทศ เช่นปอร์ตแลนและจีนแดง มาบดเป็นปูนผงบรรจุถุงวางขายแข่งกับคู่แข่ง

ตามแผนการในอนาคตประชัยไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่โรงงานแห่งแรกที่จะเริ่มเดินเครื่องผลิตในประเทศราวกลางปี 2535 แต่ทีพีไอ โพลีนยังได้แตกหน่อไปทำอีกหลายโครงการ เป็นลักษณะการทำให้ครบวงจรของวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ทีพีไอได้มีการลงทุนเพิ่มอีก 40 ล้านบาทจัดตั้งบริษัททีพีไอ คอนกรีตที่เน้นการผลิต การค้าการรับจ้างผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ โดยทีพีไอเข้าไปถือหุ้น 99 % และจะเริ่มดำเนินการพร้อมกับที่โรงปูนทีพีไอเดินเครื่อง

"จุดประสงค์หลักของทีพีไอก็ต้องการให้ทีพีไอ คอนกรีตรองรับปูนซีเมนต์จากโรงปูนใหญ่ของทีพีไอที่จะแล้วเสร็จกลางปีหน้านี้" ดร.โกศลกล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่จะป้อนให้กับบริษัทดังกล่าวควบคู่กับการขนส่งและบริการให้กับลูกค้า ด้วยการลงทุนซื้อรถขนส่งเพิ่มอีกนับร้อยคัน

ภายใน 5 ปีต่อจากนี้ไปภาวะการแข่งขันเป็นที่คาดว่าจะรุนแรงยิ่งข้น เมื่อผู้ผลิตรายใหม่รายอื่นเช่น วิศณุซีเมนต์ซึ่งมีกำลังการผลิต 1.5 ล้านตัน ปูนซีเมนต์เอเซียของโสภณพนิช (1.35ล้านตัน) อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์กรุงเทพ (1.3ล้านตัน) และสหซีเมนต์ที่จะผลิตในปี 2537 อีก 1.8 ล้านตัน

ถึงกระนั้นผู้บริหารทีพีไอก็ยังคิดว่าไม่มีปัญหา เมื่อเห็นอนาคตปริมาณความต้องการปูนซีเมนต์ในภาครัฐและเอกชนก็ยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้งปีละไม่ต่ำกว่า 10 % (ในปี 32 ขยายตัวสูงถึง 30 %) ขณะที่ปริมาณการผลิตของยักษ์ใหญ่ทั้งสามโรงปูนนั้นทำได้ 15.15 ล้านตันซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการที่มีถึง 16.45 ล้านตันในปีที่แล้ว

ยิ่งมีการเกิดขึ้นของโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐบาล เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่สองมูลค่า 7,662 ล้ายบาท ที่เพิ่งจะเริ่มปี 2533 และจะสิ้นสุดปี 2536 ก็ยิ่งทำให้ "ผู้มาใหม่" อย่างทีพีไอไม่วิตกกังวลเลย และยังมีแผนคิดการณ์ไกลจะไปตั้งโรงงานใหม่แห่งที่สองและโรงงานใหม่ที่ประเทศเวียดนามในอนาคตอีกด้วย !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us