Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
เมื่อชาติศิริต้องเป็นวาณิชธนากรในบอร์ดทอท.             
 


   
search resources

ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
ชาติศิริ โสภณพนิช
Aviation




การเข้ามาของ "โทนี่" หรือชาติศิติ โสภณพนิช ทายาทเจ้าสัวชาตรี ในคณะกรรมการบริหารการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ชุดใหม่นี้ ถือได้ว่ามีความหมายในเชิงภาพพจน์ของทายาทหมายเลขหนึ่งแบงก์กรุงเทพและบทบาทใหม่อีกบทบาทหนึ่ง ในฐานะผู้บริหารการเงินการธนาคารจากภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมปรับปรุงแนวการบริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสำคัญ ๆ เช่น โครงการสร้างสนามบินใหม่ที่หนองงูเห่ามูลค่าไม่ต่ำกว่า 5-6 หมื่นล้านบาทและอีก 9 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองระหว่างปี 2534-2540 ตามผลการศึกษาของที่ปรึกษา LOUIS BERGER INTERINATIONAL มูลค่าลงทุน 6,800 ล้านบาท

โครงการเหล่านี้ต้องผ่านการประชุมพิจารณาอนุมัติจากคอร์ดใหม่ของทอท. 11 คนที่ได้รับการแต่ตังเกิดขึ้นหลังจากชุดเก่าได้ทำงานครบวาระ 3 ปี ประกอบด้วย พล.อ.. เกษตร โตจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นประธาน ส่วนกรรมการได้แก่ พล.อ.ท.ถาวร เกิดสินธุ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศประจำกองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.ท.สมมติ สุนทรเวช พล.อ.อ.วีระ กิจจาทร กก.ผจก.ใหญ่บริษัทการบินไทย พล.ต.ต.เกรียงไกร กรรณสูต ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง เมตตพุ่มชูศรี ชาติศิริ โสภณพนิช และตัวแทนกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังและกองทัพอากาศ ตำแหน่งละคน โดยมีพล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ

"การนำเอานักธุรกิจนักบริหารที่มีประสบการณ์ทางการเงินจากภาคเอกชนมาช่วยนี้จะเป็นตัวอย่างให้กับรฐวิสาหกิจอื่น ๆ ด้วยเรื่องนี้เป็นแนวความคิดของผมเองและได้เสนอในที่ประชุมคณะกรรมการท่าอากาศยาน" พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ผู้ว่าการทอท.เล่าให้ฟังถึงที่ประชุมซึ่งเห็นด้วย พร้อมกับมอบให้รมว.นุกูลเป็นผู้คัดเลือกซึ่งก็ได้เสนอชาติศิริให้มาเป็นกรรมการ

เบื้องหลังการที่นุกูล ประจวบเหมาะ รมว.คมนาคม ได้แต่งตั้งชาติศิริ โสภณพนิชซึ่งปัจจุบันเป็นผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาด ธนาคารกรุงเทพเข้ามาในบอร์ดใหม่นี้ ได้กลายเป็นเรื่องที่ถูกโยงมาเกี่ยวพันถึงผลประโยชน์ที่ธุรกิจในเครือข่ายของแบงก์กรุงเทพ และชาตรีจะได้โอกาศเข้ามาทำธุรกิจในโครงการของการท่า

"ท่านมขอชาติศิริโดยตรง ผมไม่รู้เรื่องมาก่อนจนกระทั่งลูกผมมาปรึกษาผมก็บอกว่าตามใจเขา ถ้าทำได้ก็เป็นเรื่องของเขา" ชาตรี โสภณพนิช บิ๊กบอสแห่งแบงก์กรุงเทพเปิดเผยในวันแถลงข่าวเป็นกรณีเร่งด่วนที่ชั้น 26 อาคารสำนักงานใหญ่ของแบงก์ ในวันที่ 1 กรกฎาคมหลังการแต่งตั้งชาติศิริเพียง 4 วันเพื่อแสดงให้สาธารณะรับทราบว่าที่มาเรื่องนี้ไม่มีอะไรเกี่ยงพันกับตัวเขา

สายสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง นุกูล ประจวบเหมาะกับ ชาตรี โสภณพนิช นอกเหนือจากสายสัมพันธ์ส่วนตัวที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงซอยเดียวกันแล้ว ในชีวิตการทำงานทั้งคู่นับว่ามีความสัมพันธ์ยาวนาน ตั้งแต่ครั้งนุกูล ประจวบเหมาะเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติต่อเนื่องถึงการเข้าไปเป็นประธานบริหารของบริษัทสยามกลการ ซึ่งมีแบงก์กรุงเทพเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่รายหนึ่ง นุกูลได้กระทำเรื่องราวสำคัญ ๆ ที่ยังผลให้ฐานะของสยามกลการมั่นคงและเดินในแนวการบริหารที่ถูกต้องมากขึ้นในเวลาต่อมา

เพียงแค่สายสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ไม่ใช่เหตุผลหลักที่นุกูล จะขอตัวชาติศิริมา แต่ความเป็นทายาทของชาตรีบุรุษหมายเลขหนึ่งของแบงก์กรุงเทพ ที่ง่ายต่อการเป็นสะพานเชื่มต่อกับประสบการณ์ในความเป็นนายธนาคารและวานิชธนาการของชาติศิริแล้ว ก็นับว่าเป็นภูมิหลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันด้านการเงินของโครงการใหญ่ ๆ อย่าง สนามบินแห่งชาติแห่งที่สองได้ ซึ่งอาจจะต้องมีการหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศด้วยวิธีการต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ดีที่สุด

มองในจุดนี้การที่บอร์ดทอท.มีคนที่รู้เรื่องการเงินการธนาคารโดยเฉพาะธุรกิจการทำวานิชธนกิจอย่างชาติศิริ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้บอร์ดทอท.ทำงานด้านโครงการพัฒนาอย่างมีหลักการมากขึ้น

โดยประวัติส่วนตัว ชาติศิริเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวะกรรมเคมี(เกียรตินิยม)จาก WARCHESTER POLYTECHNIC INSTITUTE CAMBRIDGE USA. และปริญญาโทในสาขาเดียวกันจาก MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY(MIT)CAMBRIDGE กับปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) อีกสาขาหนึ่งจากที่เดียวกัน

เพื่อเป็นการหาประสบการณ์ ชาติศิริได้เริ่มทำงานที่ซิตี้แบงก์ก่อนจะทำงานกับแบงก์กรุงเทพเมื่อปี 2529 โดยเริ่มต้นที่สำนักงานค้าเงินตราต่างประเทศและสำนักจัดสรรเงิน ซึ่งมีพีระพงษ์ ถนอมพงษ์พันธ์และวิชิต สุรพงษ์ชัย คอยเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ต่อมาได้มีการยกสำนักทั้งสองนี้เป็นฝ่ายและมีการตั้งฝ่ายการตลาดขึ้นมาใหม่เมื่อปี 2532 โดยมีประยูร คงคาทอง เป็นผู้จัดการฝ่ายหลังจากประยูรลาออก ชาติศิริก็บริหารอยู่ในฐานะผู้จัดการอาวุโสสายบริหารการเงินและการตลาดนี้ด้วย และคาดว่าบทบาทสำคัญในสายงานหลักของแบงก์กรุงเทพ เช่น สินเชื่อ ชาติศิริคงจะได้บริหารในอนาคต

การเข้าไปเป็นกรรมการในครั้งนี้ของลูกชาย ชาตรี โสภณพนิชได้ยืนยันว่าจะไม่ทำให้ธนาคารกรุงเทพเข้าร่วมประมูลโครงการสำคัญ ๆ ในกระทรวงคมนาคมเช่นโทรศัพท์แสนล้านเลขหมายในเขตภูมิภาคโครงการ โรงแรมแอร์พอร์ต และร้านค้าปลอดภาษี

"ผมขอยืนยันว่า จะไม่มีวันลงทุนในการทำธุรกิจโรงแรมแน่นอน เรามีที่อยู่ที่ถนนวิทยุทำเลดีเหมาะกับการสร้างโรงแรม เรายังไม่สร้างเพราะเราทำไม่เป็น" นี่คือคำพูดของบิ๊กบอสแบงก์กรุงเทพ ซึ่งมีลูกค้าที่จะเข้าร่วมประมูลทั้งสามโครงการดังกล่าว

การไม่เข้าไปแข่งขันกับลูกค้าแบงก็เองประกอบกับความไม่ชำนาญในกิจการเหล่านี้นับเป็นข้อจำกัดที่ชาตรีได้อ้างถึง

"การเข้าไปของโทนี่ครั้งนี้ไม่ได้หวังอภิสิทธ์แต่อย่างใด" ชาตรีกล่าวยืนยันถึงความบริสุทธิ์ใจในเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด

บทบาทของชาติศิริในบอร์ดทอท.จึงเป็นก้าวที่น่าจับตาถึงความเป็น FINANCIAL ADVISER ในการดำเนินโครงงานสำคัญ ๆ ของทอท. มากกว่าบทบาทเสริมการเข้าไปประมูลทำโครงการเสียเองของแบงก์กรุงเทพ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us