Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 มิถุนายน 2550
ย้อนรอย10ปีวิกฤติเศรษฐกิจไทยเก็งกำไรบาท-หนี้นอกทำระบบพัง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยย้อนรอย 10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจไทย ระบุสาเหตุจากการปล่อยให้เกิดการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขาดความยืดหยุ่น และการก่อหนี้ต่างประเทศที่ขาดความสมดุล ขณะที่ความท้าทายในปัจจุบันแบงก์ชาติต้องดำเนินเการพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทท่ามกลางกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่างๆทั่วโลก และเร่งบริหารทุนสำรองของประเทศเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันกับในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 จะพบว่า ความแตกต่างหลักอยู่ที่ว่าในช่วงก่อนวิกฤตินั้น เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะฟองสบู่โดยมีการเก็งกำไรอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่ภาวะการใช้จ่ายเกินตัวของภาคเอกชนในประเทศได้นำมาสู่ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งถูกชดเชยโดยการก่อหนี้ต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขาดความยืดหยุ่นในช่วงนั้น นอกจากจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศด้วย ทั้งนี้แม้ว่าในขณะนั้นทางการไทยจะใช้ระบบตะกร้าเงิน (Basket of Currencies) แต่ในทางปฎิบัติแล้ว เงินบาทมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก โดยเกือบจะผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ระดับประมาณ 25.3 บาท/ดอลลาร์ฯ ในปี 2539 ในขณะที่เงินเยนของญี่ปุ่นได้อ่อนตัวลงในช่วงปี 2538-2539 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข็งขันด้านการส่งออกของไทย จนถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การส่งออกของไทยหดตัวในปี 2539

ทั้งนี้ในภาพรวมแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ขาดความยืดหยุ่น และยอดหนี้ต่างประเทศที่พุ่งเหนือระดับทุนสำรองของประเทศ อันเป็นผลจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เรื้อรัง ประกอบกับการส่งออกที่หดตัวลงในปี 2539 ล้วนเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการโจมตีค่าเงินบาท จนนำมาสู่การตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2540

และหลังการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวดังกล่าว เงินบาทได้อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภาระในการชำระหนี้ต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินบาท ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยประสบกับภาวะถดถอยในช่วงปี 2540-2541 แต่อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่อ่อนตัวลงนั้นได้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกไทยเพิ่มสูงขึ้น จนดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศสามารถกลับมาเกินดุล หลังจากที่ขาดดุลอย่างต่อเนื่องยาวนานในช่วงก่อนวิกฤติ ทั้งนี้ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวได้ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถทยอยชำระหนี้ต่างประเทศที่ก่อไว้ในช่วงฟองสบู่ได้ จนยอดหนี้ดังกล่าวได้ปรับลดลงสู่ระดับที่สมดุลกับฐานะทุนสำรองของประเทศ ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยได้ทยอยฟื้นตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนหลักจากการส่งออก จนธนาคารแห่งประเทศไทยได้หันมาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปี 2547 หลังจากที่ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำมาตั้งแต่ปี 2541

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า การกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวของธปท.ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะในปี 2549 ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละ 13 จากกระแสเงินทุนไหลเข้า จนทำให้ธปท.ต้องออกมาตรการกันสำรองสำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้นในเดือนธันวาคม 2549 สำหรับในปี 2550 ที่ผ่านมานั้น แม้ว่า ธปท.จะได้หันมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่เงินบาทก็ยังคงเดินหน้าแข็งค่าขึ้น และยังมีแนวโน้มว่าอาจจะยังคงขยับค่าขึ้นอีก โดยเป็นผลจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยที่จะฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และจากดุลบัญชีเดินสะพัด ที่คาดว่าน่าจะยังคงเกินดุลในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า

สำหรับบทเรียนที่เศรษฐกิจไทยได้รับจากวิกฤติในปี 2540 ก็คือ การปล่อยให้เกิดการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในระบบเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการใช้จ่ายเกินตัวของประชาชนในประเทศ ตลอดจนการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขาดความยืดหยุ่น รวมทั้งการก่อหนี้ต่างประเทศที่ขาดความสมดุล ล้วนเป็นชนวนที่จะนำมาสู่ปัญหาเสถียรภาพที่รุนแรงในระยะยาวได้ แม้ว่าในระยะสั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจจะยังคงดูดี และความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นจะอยู่ในระดับที่สูงก็ตาม

อย่างไรก็ตามในด้านความท้าทายที่ทางการไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบันนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ความท้าทายหลักในขณะนี้ก็คือ การดำเนินเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทท่ามกลางกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุน และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ ทั่วโลก ในขณะที่การดำเนินการต่าง ๆ ของทางการไทยเองก็ต้องเป็นที่ยอมรับของตลาดเงินว่า สอดคล้องกับหลักสากลและการทำงานของกลไกตลาด รวมทั้งเป็นไปเพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งภายในและนอกประเทศ นอกจากนี้ ความท้าทายอีกด้านของธปท.ก็คือ การบริหารทุนสำรองของประเทศเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากธปท.ยังคงมีภาระในการที่จะต้องจ่ายชำระคืนเงินต้นของหนี้ที่กระทรวงการคลังได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนฟื้นฟูฯหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ในขณะที่การบริหารทุนสำรองดังกล่าวก็ต้องมีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์และสกุลเงินตราต่าง ๆ เพื่อที่จะลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเงินดอลลาร์ฯเผชิญกับความผันผวนจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญในยุคเงินบาทลอยตัวคือ การปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางของผันผวนของค่าเงินบาทดังกล่าว โดยในระยะสั้น ผู้ประกอบการอาจจะบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น สัญญาการซื้อขายล่วงหน้าประเภทต่าง ๆ ที่นำเสนอบริการโดยธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งอาจจะพยายามกระจายสกุลเงินที่ใช้ในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศเพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในค่าเงินดอลลาร์ฯ/บาท แต่สำหรับในระยะยาวแล้ว ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ส่งออก อาจจะต้องทำการประเมินว่า ถ้าหากเงินบาทยังคงเดินหน้าแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับปัจจุบัน ผู้ประกอบการจะสามารถรับผลกระทบจากรายได้ในรูปเงินบาทที่จะลดลงได้เพียงใด

ทั้งนี้ในที่สุดแล้ว การปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกโดยการแปรรูปหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะชดเชยกับรายได้ที่จะลดลงตามการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนของการนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลาง (Import Content) ค่อนข้างต่ำ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us