Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2534
"ลี้ฮ่งเต็ก" อาจารย์ฮวงจุ้ยประจำตัวนายห้างเทียม             
 


   
search resources

ลี้ฮ่งเต็ก
เทียม โชควัฒนา




13.00น. ของวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2534 เป็นการกำหนดการเคลื่อนขบวนศพของดร.เทียม โชควัฒนา จากวัดเทพศิรินทราวาสไปยังสุสานมังกรทองซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อทำพิธีฝังศพ นับเวลาได้ 45 วัน ภายหลังจากการเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยอาการหัวใจวายในระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลที่เมืองพัทยา ในการเลี้ยงกระชับสัมพันธไมตรีของธนาคารไทยพาณิชย์กับกลุ่มผู้บริหารของสหพัฒนเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา

สุสานที่ใช้เป็นที่ฝังศพของนายห้างเทียมครั้งนี้ได้ถูกจัดสร้างไว้ก่อนล่วงหน้ามานานกว่า 3 ปีแล้ว บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ และงบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมด (รวมค่าที่ดินด้วย)ถึง 10 ล้านบาททำให้สุสานที่นายห้างเทียมสร้างขึ้นครั้งนี้กลายเป็นสุสานมังกรทอง

ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของสุสานที่ปรากฏคือ "สี้ฮ่งเต็ก" ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้าน ฮวงจุ้ย

ลีฮ่งเต็กหรือที่ใครต่อใครเรียกกันว่า "ชินแส" นั้นเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพมาอยู่เมืองไทยเมื่อ 40 ปีก่อน ในวัย 29 ปี ลี้ฮ่งเต็กเรียนจบขั้นปริญญาตรีทางด้านการค้าการตลาดรวมถึงบัญชีตามคำบอกเล่าของเจ้าตัว เขาหนีมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ตามเพื่อน ๆ อีกหลายคน ที่หนีออกมากันก่อนหน้านี้แล้ว โดยมาอาศัยอยู่กับลูกพี่ลูกน้องในเมืองไทย

ลี้ฮ่งเต็กเริ่มอาชีพในเมืองไทยด้วยการเป็นเสมียนในร้านขายของชำอยู่ประมาณ 1-2 ปี หลังจากนั้นก็เดินทางไปอยุ่จังหวัดตากด้วยการเป็นหลงจู๊ให้กับพ่อค้ารับซื้อขายยางพารา ต่อมาไม่นานก็ออกมาทำกิจการรับซื้อขายยางพาราของตนเอง

เมื่อลูก ๆ เริ่มโตและปรารถนาที่จะเข้ามาศึกษาหาความรู้ในกรุงเทพฯ ทำให้ลี้ฮ่งเต็กจำใจต้องผละจากธุรกิจยางพาราไป และ มาเริ่มต้นธุรกิจใหม่เมื่อ 20 ปี ก่อนที่กรุงเทพฯ จนกระทั่งกลายเป็นธุรกิจหลักที่ปัจจุบันก็ยังคง ดำเนินอยู่

ธุรกิจขายส่งผักร่วมกับเพื่อน ๆอีกหลายคนที่ปากคลองตลาด โดยการับซื้อผักจากทั่วประเทศเพือ่ส่งออกไปยังฮ่องกงเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้กับลี้ฮ่งเต็กประมาณ ปีละ 2-3 แสนบาท (หลังจากผลกำไรได้ถูกแบ่งไปตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้นแล้ว)

การก้าวเข้ามาเป็นชินแสหรืออาจารย์ฮวงจุ้ยของลีฮ่งเต็กนั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อนเมื่อเขานำวิชาที่เป็นมรดกสืบทอดมา 3 ชั่วอายุคนคือตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ จนกระทั่งรุ่นของตนเองมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว

"ครอบครัวผมที่เมืองจีนตั้งแต่รุ่นปูลงมา ยึดอาชีพการเป็นอาจารย์ฮวงจุ้ยเป็นหลักจนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้านที่ผมอยู่ ตัวผมเองก็ได้ลืบทอดวิชานี้จากบรรพชนมา ทั้งจากการติดตามผู้ใหญ่ไป และจากการศึกษาจากตำราที่มีอยู่" ลีฮ่งเต็ก อธิบายถึงที่มาของความรู้ทางด้านฮวงจุ้ยที่ติดตัวมาจากครอบครัวที่เมืองจีน

ลีฮ่งเต็กเข้ามาผูกพันกับนายห้างเทียม โชควัฒนาจากการแนะนำของเลียง ลิ้มอติกูล เจ้าของเหรียญทองการพิมพ์ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยตั้งแต่นายห้างเทียมยับค้าขายอยู่ตรอกอาเนียเก็ง และเป็นคนหนึ่งที่ไว้ใจให้ลี้ฮ่งเต็กดูแลจัดสร้างสุสานให้

สถานที่แห่งแรกที่ลี้ฮ่งเต็กไปดูให้นายห้างเทียมเพื่อสร้างเป็นสุสานอยู่ที่สระบุรี ชื่อสุสานโผวเล้งซึ่งเป็นชื่อเดียวกับอำเภอบ้านเกิดของนายห้าง แต่เมื่อดูแล้วทำเลไม่เหมาะจึงไม่เอา ต่อมามีคนแนะนำที่ดินบริเวณสุสานมังกรทอง(ซึ่งเป็นที่ตั้งสุสานปัจจุบัน) และเมื่อพิจารณาดูแล้วเห็นว่าทำได้จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างในปี 2529

จนกระทั่งปี 2530 สุสานของนายห้างเทียมจึงเสร็จสมบูรณ์นับเป็นสุสานที่ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าสุสานรายอื่น ๆ คือ ปีเศษ ทั้งนี้เป็นเพราะสุสานทั่ว ๆ ไปจะใช้ปูนซีเมนต์เป็นหลักในขณะที่สุสานของนายห้างเทียมใช้หินทั้งหมด ความยากง่ายจังอยู่ที่ตรงนี้ ประกอบกับการก่อสร้างสุสานครั้งนี้มีจำนวนถึง 3 หลุม คือหลุมที่อยู่กลางจะเป็นหลุมที่สร้างสำหรับฝังอัฐิ พ่อและแม่ของนายห้าง ในขณะที่หลุมทางด้านขวา (หันหน้าเข้าสุสาน) จะเป็นของนายห้างเองและภรรยา ส่วนหลุมที่เหลือทางด้านซ้ายจะเป็นของลูกชายคนโตคือบุญเอกและภรรยา

ลี้ฮ่งเต็กได้อธิบายถึงความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งสุสานของนายห้างเทียมตามยุทธศาสตร์ฮวงจุ้ยว่า เป็นทำเลที่สร้างแล้วจะทำให้ลูกหลานเจิรญก้าวหน้าคือที่ดินบริเวณนั้นเป็นธาตูทองด้านหลังมีเขานั่นหมายถึงการมีคนหนุน ด้านข้างทั้ง 2 ด้านมีเขาหมายถึงเงินทองไม่รั่วไหล ส่วนด้านห้ามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่หมายถึงการเงินสมบูรณ์ดี

การสร้างสุสานให้กับนายห้างเทียมครั้งนี้ถือเป็นงานใหญ่ทีสุดที่ลี้ฮ่งเต็กได้ทำมาตลอดช่วง 8 ปีของการเป็นอาจารย์ ฮวงจุ้ย ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลักก็ตาม แต่ทุกวันนี้เวลาส่วนใหญ่กลับอยู่ที่การเดินทางไปดูฮวงจุ้ยตามที่ต่าง ๆ มากกว่าภาระกิจขายผักส่งออกที่ตกเป็นภาระของบรรดาลูกจ้างไป

สุสานที่ลี้ฮ่งเต็กสร้างมาตลอดช่วง 8 ปีมีประมาณ 50-60 แห่งมีทั้งใหญ่และเล็ก ที่ใหญ่ ๆ มีอย่างเช่น สุสานของคนในตระกูลพร้อมพันธ์ สุสานของเหรียญทองการพิมพ์สุสานของนายห้างเทียมเป็นต้น

ถึงแม้ว่า ภาระกิจในการสร้างสุสานให้กับนายห้างเทียมจะเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ลี้ฮ่งเต็กยังคงผูกพันกับนายห้างเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของสหพัฒนทีเดียว นั่นอาจเป็นเพราะความมีน้ำใจของนายห้างเทียมที่ลี้ฮ่งเต็กไม่สามารถปฏิเสธได้

ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมานายห้างนายห้างเทียมจ่ายเงินเดินให้ลี้ฮ่งเต็กทุกเดือน ๆ ละ 6,000 บาท ในขณะที่ลี้ฮ่งเต็กก็ตอบแทนความีน้ำใจของนายห้างเทียมด้วยการดูแลสุสานเป็นอย่างดี

"โดยปกติแล้วเมื่อการสร้างสุสานเสร็จ อาจารย์ฮวงจุ้ยผู้นั้นก็จะได้เงินก้อนจำนวนหนึ่งไป เป็นอันว่าหน้าที่จบสิ้นลง ซึ่งที่ผ่านมาก็จะเป็นเช่นนั้น แต่กรณีของนายห้างเยมถือว่าเป็นกรณีพิศษที่แสดงถึงความมีน้ำใจของนายห้าง" ลี้ฮ่งเต็กเล่าให้ฟัง

สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลี้ฮ่งเต็กภายหลังจากที่ได้รู้จักกับนายห้างเทียม นั่นก็คือการที่ลี้ฮ่งเต็กเป็นคนบ้านเดียวกันกับนายห้างเทียม คือมาจากอำเภอโผวเล้งมณฑลแต้จิ๋วรวมทั้งใช้แซ่เดียวกันคือแซ่ลี้อีก้วย

การเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ของนายห้างเทียมครั้งนี้ ทำให้ลี้ฮ่งเต็กองไม่แน่ใจในภาระหน้าที่ของตนเองต่อการดูแลสสุสานว่ายังคงต่อเนื่องไปหรือไม่ภายใต้การนำของ "โชควัฒนา" รุ่นที่ 2 แต่อย่างน้อยความยิ่งใหญ่ของสุสานนายห้างเทียมได้กลายเป็นต้นแบบของลี้ฮ่งเต้กต่อการแนะนำลูกค้ารายต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us