Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534
ใครเป็นใครในตระกูล "เบญจรงคกุล"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

 
Charts & Figures

ส่วนหนึ่งของบริษัทต่างๆ ที่คนในตระกูลเบญจรงค์ร่วมถือหุ้นอยู่


   
search resources

ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์, บมจ.
บุญชัย เบญจรงคกุล
Telecommunications
สุจินต์ เบญจรงคกุล




สุจินต์ เบญจรงคกุล สร้างบริษัทยูในเต็ดคอมมูนิเคชั่น อินดัสทรี (ยูคอม) ขึ้นมาตั้งแต่ยังหนุ่มอายุ 28 ปี โดยมีกาญจนาที่มีอายุมากว่า เขาหนึ่งปีเป็นคู่ทุกข์คู่ยาก ต่อมากาญจนาคนนี้ก็มีบทบาทสืบต่อจากสุจินต์ ที่ได้เสียชีวิตไปเมื่อ 10 ที่แล้ว

สุจินต์เป็นพ่อค้าที่มองการณ์ไกล เมื่อสุจินต์ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนยูไนเต็ด อิน อินดัสทรีขึ้นในปี 2499 เขาได้ทุ่มเทอย่างหนักกับการวิ่งขายอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภท MOBILE RADIO ยี่ห้อ " โมโตโรล่า " ที่เขาจับตลอดราชการ โดยเฉพาะกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งต่อมาได้แยกเป็นสององค์กรคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ซึ่งสุจินต์เข้าครองครองฐานะซัพพลายเออร์รายสำคัญได้พื้นฐานทางธุรกิจการค้า ตลอดจนสายสัมพันธ์ลำลึกกับเจ้าหน้าในการสื่อสารฯ ที่สุจินต์ได้ปูพื้นฐานไว้ในรุ่นลูก ทำให้บุญชัย เบญจรงคกุล บุตรชายคนโตที่เข้าสานงานต่อ ภาระกิจนี้ทำงานได้ก้าวหน้ามั่นคงขึ้นจากฐานนี้หลังจากที่ได้ศึกษาจบปริญาโทบยริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันบุญชัยอายุ 37 ปี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการบริษัทยูคอมแห่งนี้ นิสัยส่วนตัวชอบสะสมของเก่า เช่นธนบัตรเก่า แสตมป์ และเหรียญ และชอบสะสมมากคือ ตุ๊กตา ช้างในรูปลักษณะต่างๆ แต่งงานแล้วผู้หญิงที่มีชื่อเดียวกับน้องสาว ชื่อ วรรณา ซึ่งมีอายุมากกว่า 2 ปี มีบุตร 2 คนคือ ดญ. ปองบัณย์และดช. สมคิด ชีวิตการแต่งงานไม่ค่อยที่จะราบรื่นเนื่องจากความเจ้าอารมณ์หญิง

บรรดาน้องๆ มีบทบาทปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 คน คือวรรณา ซึ่งพื้นฐานการศึกษาปริญญาตรี บริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์น อิลลินอยส์ อดีตศิษย์เก่าเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

วรรณาเป็นคนตัวเล็กที่เสียงดัง เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2499 ปัจจุบันอายุ 37 ทำหน้าที่ดูแลเรื่องบัญชี การเงินของบริษัทยูคอม และบริษัทนารายสากลประกันภัยซึ่งวรรณาจะเซ็นกรมธรรม์ประกันภัยคู้กับสมชาย นอกจากนนี้ยังมีกิจการบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งวรรณาให้ความสนใจมากในระยะเวลา 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้

วรรณาโดยนิสัยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบวายน้ำมาก ๆ โดยทุกๆ เช้าจะไปสปอร์ตคลับ เป็นชาวพุทธที่ศรัทธาในวัดธรรมกายมากสูงถึงขนาดบริจาคเงิน ทำบุญนับสิบกว่าล้านบาทในระหว่างปี 2528 - 30 เนื่องจากที่ได้รับความสงบสบายใจมาก หลักจากที่ทุกข์ร้อนจากปัญหาฟ้องร้องผลประโยชน์ในหุ้นกันเองระหว่างญาติเมื่อพ่อตาย ในที่สุดก็ตกลงกันได้โดยมีคนกลางเป็นพระจากธรรมกายเข้าช่วยโกล่เกลี่ย

ส่วนสมชายบุตรชายคนที่สามของสุจินต์ไม่ค่อยที่จะมีบทบาทนักนอกจากที่ดูแลกิจการบริษัทนารายณ์ สากลประกันภัยเป็นหลัก ปัจจุบันสมชายอายุ 34 ปี มีภรรยาที่ช่วยดูแลกิจการบริษัทซินโตแมท ตัวแทนขายโทรศัพท์มือถือ โมโตโรล่า และคอมพิวเตอร์

คนสุกท้องคือวิชัย เบญจรงคกุล วัย 30 ปี ที่ฝึกฝนวิทยายุทธ์เชิงค้าจาก ภูษณะปรีย์มาโนช กุลซือคนสำคัญที่เป็น EVP ของยูคอมและ TAC ปัจจุบันวิชัยเป็นผู้จัดการฝ่ายอุปกรณ์ปลายทางเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยทำงานอยู่ที่ตึกแปซิฟิคทาวเวอร์ชั้นที่ 11 และบทบาททางสังคมเป็นรองเลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว โดยมีอดีตปลัดกระทรวงโทรคมนาคมศรีภูมิศุขเนรตเป็นนายกสมาคมฯ แห่งนี้

นอกจากที่บริษัทยูคอมแล้ว ในอดิตตระกุลเบญจรงคกุลยังเคยเป็น เจ้าของกิจการโรงแรมนารายณ์ในอดีตปี 2504 อีกด้วยโดยร่วมทุนจดทะเบียนทุน 20 ล้านกับญาติและเพื่อนคือเม่งกี่ แซ่เฮ็ง(มนตรี สุวัฒนวงศ์ชัย) ชวาล นิธิวาสิน ฮั้งเซ้ง แซ่ลี่ (ทวี ดี โรจนวงค์) ชินเตียง แซ่เบ๊ จิระ วัฒนกุลจรัส เซ็งตง แซ่โค้ว สุจินต์ เบญจรงคกุลและสุจิตต์ น้องชายสุจินต์ที่ห่างกัน 3 ปี

การบริหารโรงแรมนารายณ์ภายใต้ฝีมือของสองพี่น้อง สุจินต์และสุจิตต์ขณะขณะนั้นเป็นกรรมการผู้อำนวยการและรองกก.ผอ. อยู่ในลักษณะที่ทั้งคู่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน บริษัทต้องเพิ่มทุนจาก 20 ล้านเป็น 40 ล้านเพื่องานก่อสร้างโรงแรมในปี 2511 ขณะนั้นที่ดินเดิมเจ้าของเสนอขายในมูลค่า 425,000 บาท และได้มีการเพิ่มทุนเป็น 60 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินเพิ่มเติม

ต่อมาในปี 2516 แผนการเพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาทได้ชะงักไป โดยเฉพาะโครงการร่วมลงทุน 60% กับกับบริษัทลักษณะมีโฮเต็ลเพื่อสร้างโรงแรมลักษมีริมถนนวิทยุขณะนั้น เนื่องจากที่ทางการไม่อนุญาต การก่องสร้างจึงมีปัญหา และเกิดกรณีพิพาทถึงศาลหลังการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเมื่อ 30 เมษายน 2521 เป็นเรื่องให้ศาลระงับการขอยื่นจดทะเบียนกรรมการบริษัทและอำนาจกรรมการของกลุ่มเบญจรงดกุล คดีความกันถึง 5 ปี จึงยุติลงได้โดยให้กรรมการชุดเดิมบริหาร

สุจินต์และครอบครัวในฐานะผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ได้ครอบครองดวงตราสำคัญของบริษัท ที่ใช้ประทับลงบนเซ็นสัญญาและเอกสารอื่นๆ จวบจนวันสุดท้ายที่เขาเจ็บปวยไม่สามารถมาทำงานได้สุจินต์ได้ได้มอบหมายให้บุญชัย บุตรชายเป็นผู้ที่ประทับตรานี้แทนทำเช่นนี้มากระทั้งปี 2524 บุญชัยจึงได้มอบดวงตราให้แก่ชวาล นิธิวาสิน

นั้นหมายถึงการสิ้นสุด พันธะผู้พันใดๆ ที่ตระกูลเบญจรงคกุลมีต่อโรงแรมนารายณ์นับตั้งแต่นั้นเป็นมา ปัจจุบันโรงแรมมีผู้ที่ถือหุ้นใหญ่อยู่ในกลุ่ม 4 ตระกูลคือนิธิวาสิน ดีโรจนวงศ์ วัฒนุกูล วัฒนกุลจรัส ม้าสินและบริษัทฮั่วกี่เปเปอร์

กิจการเก่าแก่ในตระกูลอีก บริษัทหนึ่งที่ยังคงอยู่มาทุกวันนี้ ก็คือบริษัทห้องเย็นซึ่งตั้งอยู่ยานนาวา กิจการนี้อยู่ในความดูแลของกาญจนา เบญจรงคกุล ก่อตั้งเมื่อปี 2515 หุ้นบริษัทมูลค่า 2 แสนบาท ทุนของบริษัทเป็น 20 ล้านบาท

ในระยะแรกมีสุจิตนเป็นประธานและอำนาจ อุราภรณ์ เป็นรองประธานและ กาญจนาเป็นกรรมการผู้จัดการ เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ที่ทุก ๆ 11 โมงเช้า กาญจนาจะไปทำงานที่นี้ สไตล์ การปกครองคนกาญจนาเป็นแบบเถ้าแก่เนี้ยะคนจีน ประเภทปากร้ายใจดี ที่สามารถดุด่าว่ากล่าวลูกน้องได้ ทรัพย์สมบัติในรูปแบบของหุ้นหรือเงินทองของครอบครัวกาญจนาจะเป็นผู้ที่ดูแลทั้งหมด ดังนั้นทิศทางการเติบโต กิจการไม่ต่ำกว่า 20 - 30 บริษัทของตระกูลเบญจรงคกุล จึงมี CORPORATE PLANNER ตัวจริงสามคนคือกาญจนา ผู้เป็นแม่กับบุญชัย และวรรณาเป็นสำคัญ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us