Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534
จังหวะก้าวของยูคอมจากซัพพลายเออร์สู่เจ้าของสัมปทาน             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

 
Charts & Figures

ผลการดำเนินงานบริษัท UCOM ในปี 2532


   
search resources

ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์, บมจ.
บุญชัย เบญจรงคกุล
Telecommunications




ธุรกิจครอบครัวที่ใหญ่และรวยเงียบ ๆ สไตล์คนจีนเฉกเช่น "เบญจรงคกุล" แห่งบริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเคชั่น อินดัสทรีหรือ "ยูคอม" เป็นที่รู้จักกันในตลาดการค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี มีการพัฒนาตัวเองจากบริษัทเทรดดิ้งที่เป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ "โมโตโรล่า" แก่หน่วยราชการต่าง ๆ จนเติบใหญ่สู่การเป็นผู้ครอบครองสัมปทาน (CONCESSIONHOLDER) ระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ AMPS 800 ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเขาทำได้อย่างไร จึงเป็นประเด็นคำถามที่ถูกปกปิดมานานกว่า 30 ปี

บนเส้นทางของการก้าวเดินไปสู่อนาคตสังคมไทยยุคอุตสาหกรรมใหม่นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยข่าวสารและข้อมูลมากขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันมีการตื่นตัวทางภาครัฐบาล มีโครงการโทรคมนาคมเกิดขึ้นมากมายในแผนพัฒนาแห่งชาติ และนโยบายการให้เอกชนเข้ามาร่วมด้วย ก็พลอยทำให้ธุรกิจใหญ่น้อยที่หากินกับราชการเหล่านี้ได้ร่วมด้วยก็พลอยทำให้ธุรกิจใหญ่น้อยที่หากินกับราชการเหล่านี้ได้ร่ำรวยกันเป็นทิวแถว

ในปีที่แล้วบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น อินดัสทรีหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ยูคอม" มีอัตราเติบโตของยอดขายเป็นอัตราที่สูงมาก โดยเฉพาะปี 2532 สูงถึง 114% ตามบัญชีงบดุลที่ส่งให้กรมทะเบียนการค้าปรากฏว่าในปี 2532 รายได้จากการขาย 828 กว่าล้านบาท ขณะที่ปี 2531 เพียงแค่ 386 ล้านกว่าบาท

เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่ทำมาหากินของยูคอมจะจัดอยู่ในกลุ่มลูกค้า 4 ประเภทคือ

หนึ่ง -กลุ่มลูกค้ากองทัพไทย ยูคอมเป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญให้แก่กองบัญชาทหารสูงสุดราชนาวีไทย และกองทัพอากาศซึ่งสั่งซื้อ MOTOROLA D.V.P.REPEATER SYSTEM ยอดขายเมื่อปี 527 เคยทำได้สูงสุดถึง 200 ล้านบาท และในปี 2532 ทำได้ 140 ล้านบาท

สอง -กลุ่มลูกค้าโครงการโทรคมนาคมตามหน่วยราชการต่าง ๆ ซึ่งเป็นกิจการแรกเริ่มของยูคอมที่จับมาตลอด 30 กว่าปี ยูคอมจะซัพพลายระบบวิทยุสื่อสาร DISPATCHING RADIOS, PACKET RADIO SYSTEM และ TRUNKED RADIO ซึ่งขณะนี้ยูคอมได้เสนอตัวเข้าประมูลโครงการ TRUNKED RADIO มูลค่าพันล้านบาทของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยอยู่

ในอดีตโครงการโทรคมนาคมที่ยูคอมทำ คือได้ติดตั้งระบบไมโครเวฟสำหรับกองทัพบกและกองทัพเรือ และที่สนามบินดอนเมืองก็มีการติดตั้งระบบ RUNKEDRADI ด้วย ปัจจุบันฝ่ายโทรคมนาคมของยูคอมนี้มีคนทำงานอยู่ 40 คนและมียอดขายปีละ 150 ล้านบาท

"ลักษณะการเข้าไปสร้างความต้องการนี้ ยูคอมเขามีประสบการณ์ความชำนาญและรัฐบาลก็ต้องการพัฒนาขยายอยู่แล้ว บริษัทก็เชิญไปดูงานเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเป็นทางการโดยมียูคอมร่วมกับบริษัทผู้ผลิตซึ่งเป็นคู่ค้าเช่นบริษัทโมโตโรล่า เรื่องพวกนี้มันขึ้นอยู่กับการติดตามให้ได้ผลจริงจัง" แหล่งข่าวในวงการนี้เล่าให้ฟังถึงวิธีการขาย

สาม -กลุ่มลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งยี่ห้อโมโตโรล่าทั้งสองระบบ คือ AMPS 800 Hz และ NMT 900 นี้ มียอดขายจนถึงปัจจุบัน 7,538 เครื่องและ 8,112 เครื่องตามลำดับ ได้ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25.49% และ 44.19% ความสำเร็จของยูคอมเกิดจากผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของโมโตโรล่าและมีการเน้นบริการหลังขายด้วยใช้งบ 20 ล้านทุ่มสร้างศูนย์บริการ 4 แห่งในกรุงเทพ

สี่ -กลุ่มลูกค้าประเภท GENERAL SYSTEMS ซึ่งยูคอมประสบความสำเร็จมากทางด้านการออกแบบติดตั้งและบริการให้แก่ URNKEY PROJECTS, โครงการใหญ่ ๆ ที่ต้องการการออกแบบระบบโดยเฉพาะรวมถึงโครงการดาวเทียม, ไมโครเวฟ, สายเคเบิลใยแก้ว หรือออฟติคคัลเบอร์ม, PUBLIC SWITCHING SYSTEMS และ PABX โดยผ่านโมบายและ data communicationงานนี้ยูคอมจะนำเข้าผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ nokia transmissions & switching ยี่ห้อ tellabs และ andalf datacommunications

และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยูคอมมีรายได้มหาศาลจากการเติบโตของกลุ่มลูกค้าประเภทนี้มาก โดยในปี 2532 มีรายได้จากยอดขายกว่าหนึ่งพันล้านบาทโครงการใหญ่ ๆ ที่ทำได้แก่โครงการของ กสท.ที่ยูคอมขายระบบติดตั้งชุมสายและสถานีฐานให้ ส่วนอีกโครงการคือติดตั้งระบบไมโครเวฟให้องค์การโทรศัพท์และโครงการระบบดาวเทียมสื่อสารของกรมตำรวจหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง การจะเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมใดสักยี่ห้อหนึ่ง ดูจะไม่ใช่เรื่องยากเย็น เพราะยังมีคนทำน้อย และบริษัทต่างประเทศก็เสาะแสวงหาตัวแทนอยู่ แต่การรักษาสถานภาพตัวแทนจำหน่าย "โมโตโรล่า" มาได้นานนับสามทศวรรษ เป็นเรื่องไม่ธรรมดา นับตั้งแต่สุจินต์เบญจรงคกุลก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ยูไนเต็ด อินดัสทรีขึ้นมาในปี 2499

"มันอาจจะเป็นการทำธุรกิจแบบโมโตโรล่าในเอเชียก็ได้ที่เชื่อในตัวบุคคลและระบบครอบครัวมากจนมีความรู้สึกว่าเขาซื่อสัตย์ต่อผู้แทนจำหน่าย ดูอย่างกรณีจักรวาลเทเลคอมซึ่งเป็นตัวแทนขายโมเด็มของโมโตโรล่าแบบไปเรื่อย ๆ จนมีรายอื่นเสนอจะทำให้โมโตโรล่า แต่ก็ไม่สามารถหยุดความสัมพันธ์ระหว่างโมโตโรล่ากับจักรวาลเทเลคอมได้" แหล่งข่าวในวงการนี้เล่าให้ฟัง

ปัจจุบันบริษัทยูคอม มีลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ "โมโตโรล่า" อยู่ 2 แสนราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้วิทยุโทรศัพท์เซลลูลาร์ระบบแอมป์ 800 MHz ของการสื่อสารแห่งประเทศ และเซลลูล่าร์ 900 ในเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกว่า 3 หมื่นราย ลูกค้าที่ใช้วิทยุและโทรศัพท์ติดตามตัว (เพจจิ้ง) ทั้งในระบบของโฟนลิ้งค์และแพคลิ้งค์ราว 1 แสนเครื่องที่เหลือเป็นกลุ่มอุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ (โมเด็ม) และวิทยุมือถือรุ่นต่าง ๆ

"ตลาดหลักของยูคอมคือตลาดราชการ ซึ่งมีกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยที่ยูคอมเข้าไปทำตลาดไว้ 30 ปีที่แล้ว นอกจากนี้เขายังมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่รุ่นพ่อ (สุจินต์) ทำไว้ให้ ความสัมพันธ์มันเริ่มในคนระดับกลาง พอดีเขาเสียบถูกจังหวะ ตอนที่มีการแยกเป็นการสื่อสารฯและองค์การโทรศัพท์ ความสัมพันธ์มันเริ่มในระดับคนกลางโดยเฉพาะกับอดีตปลัดศรีภูมิศุขเนตร ตอนนั้นบุญชัยยังเรียนอยู่" คนเก่าแก่ในวงการโทรคมนาคมเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวในอดีต

บุญชัยเป็นลูกชายคนโตของสุจินต์ที่เข้ารับภารกิจต่อจากพ่อได้อย่างกลมกลืน เขาเป็นคนที่มีบุคลิกภาพอ่อนน้อยถ่อมตนในการเข้าหาผู้ใหญ่ในการสื่อสารที่พ่อปูพื้นฐานเอาไว้ก่อนแล้ว ทั้งในแง่ของชื่อเสียงผลิตภัณฑ์และความสัมพันธ์ส่วนตัวในฐานะพ่อค้ากับข้าราชการ

การพัฒนาของบริษัทยูคอม ผูกพันกับการพัฒนาโทรคมนาคมในประเทศไทยแนบแน่น จากการใช้วิทยุยานยนต์ (MOBILERADIO) ของหน่วยราชการแล้ว ขยายมาสู่การบริการประชาชนด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เกิดขึ้นจากความขาดแคลนคู่สายและเลขหมายโทรศัพท์ธรรมดา

ถ้าลำดับการเกิดและเติบโตของโทรคมนาคมไทย ที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัทยูคอมก็จะเห็นว่าในช่วงแต่ละทศวรรษ ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ที่กำหนดให้ยุทธศาสตร์การเติบโตของยูคอมเปลี่ยนจากซัพพลายเออร์ที่แค่ส่งของที่ทางการต้องการเป็นผู้รับสัมปทาน (CONCESSIONHOLDER) ที่มีบทบาทสร้างความต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในแผนพัฒนาโครงการโทรคมนาคมปัจจุบัน

"จุดแข็งของยูคอมไม่ได้อยู่ที่เขาเก่งเรื่องระบบวิทยุ แต่มันเป็นเรื่องของประสบการณ์มากกว่า เขารู้วิธีทำงานของหน่วยราชการแบบขายกันมานาน จนรู้ว่าสเป็คแบบไทยที่ทางนี้ยอมรับ นี่คือจุดแข็ง ส่วนผลิตภัณฑ์โมโตโรล่าเป็นเรื่องสำคัญรองลงมา" จุดแข็งของยูคอมที่แหล่งข่าวกล่าวถึงเป็นเรื่องที่กินกันนานชั่วลูกชั่วหลาน

ช่วงแรกที่ยูคอมเข้าไปมีบทบาทเป็นซัพพลายเออร์ขายอุปกรณ์โทรคมนาคม ก็เมื่อแรกเริ่มมีการนำระบบวิทยุยานยนต์ความถี่ VHF มาใช้ในกิจการตำรวจเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2491 และกองตำรวจกับกองบัญชาการทหารสูงสุดได้นำวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบกึ่งอัตโนมัติมาใช้เมื่อปี 2512 ส่วนกรมไปรณีย์โทรเลขเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดพนักงานต่อสายให้ประชาชนครั้งแรกเมื่อปี 2518

ในปี 2520 แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจสังคม ยิ่งทวีความสำคัญของการสื่อสารคมนาคมมากขึ้นชุมสายเดิมที่เคยมีจำกัดแค่ 3 แห่งเช่นบางรักวัดเลียบและสามเสนไม่เพียงพอ ทำให้มีการแตกตัวกรมไปรษณีย์โทรเลขออกเป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และองค์การโทรศัพท์ฯ

ตรงนี้เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่ทำให้โมโตโรล่ามีสิทธิ์เกิดและเติบโตในกสท.ได้ เนื่องด้วยเกิดโครงการมากมายที่ต้องลงทุนพัฒนาในหน่วยงานใหม่ทั้งสองแห่งนี้ โดยเฉพาะการพัฒนาวิทยุคมนาคมที่โมโตโรล่าเก่งด้านนี้อยู่แล้ว แต่ก็มีคู่แข่งสำคัญคือเอ็นอีซีซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ด้านโครงการดาวเทียมและเคเบิลใต้น้ำ ขณะเดียวโมโตโรล่าก็ไม่สามารถเจาะเข้าไปรุกในองค์การโทรศัพท์ได้ เพราะมีอีริคสันเข้าไปทำชุมสายโทรศัพท์ ซึ่งทางยูคอมจะไม่ชำนาญด้านนี้

ปี 2524 เมื่อ กสท. เปิดบริการวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่และประจำที่แบบอัตโนมัติ (AUTOMATICMOBILETELEPHONE SYSTEM-AMPS) ในย่านความถี่ VHF 350 MHz และบริการโทรศัพท์ไร้สายขององค์การโทรศัพท์ฯในปี 2525 โมโตโรล่าก็เป็นซัพพลายเออร์ทั้งหมดให้
ต่อมาเมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขนำเอาระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูล่าร์ (CELLULAR MOBILE RADIO TELEPHONE) มาแก้ไขปัญหาขาดแคลนความถี่วิทยุ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุย่าน UHF ช่วง 470-490 และ 800-900 MHz ก็ทำให้สองหน่วยงานคือกสท.และทศท.เกิดศึกแย่งความถี่กัน

ในที่สุดต้นสังกัดคือกระทรวงคมนาคมก็ได้แบ่งให้กสท.ใช้ย่านความถี่ 800 MHz ซึ่งเป็นระบบ AMPS และให้ทศท.ใช้ย่านความถี่ 470 MHz ของระบบ NMT เพื่อปล่อยให้สองหน่วยงานแข่งขันเต็มที่

โอกาสทองเป็นของบริษัทยูคอมซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ "โมโตโรล่า" ผู้นำด้านเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารของโลก เพราะระบบ MPS 800 ที่กสท.นำมาใช้ในปี 2530 นี้พัฒนาระบบมาจากสหรัฐอเมริกางานนี้ กสท.เป็นผู้ลงทุนในระบบและเครือข่าย ส่วนโมโตโรล่าเป็นผู้ขายระบบติดตั้งชุมสาย และสถานีฐานโดยมีลูกข่ายทั้งสิ้น 23 ยี่ห้อคือ โมโตโรล่า อีริคสัน โนเกีย แดนคอล ฟิลิปส์ เทคโนโฟน ยูนิเดน ยีจี มิตซูบิชิ พานาโซนิค ฮิตาชิ เอ็นอีซี แดเรียน เทเลคอล ซันโย โนวาเทล ซัมซุง โคดูไซ เอมเทลเจอาร์ซี เรดิโอเซคและโตชิบา

ก้าวสำคัญต่อมาที่ทำให้ยูคอมกลายเป็น CONCESSION HOLDER หรือ OPERATERเมื่อนโยบายรัฐให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในบริการเสริม (VALUE ADDED SERVICE) เช่นวิทยุติดตามตัว (เพจจิ้ง) และวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์

กสท.ได้เปิดสัมปทานความถี่วิทยุที่เหลือในระบบ AMPS 800 SYSTEM B ให้แก่บริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือ "แทค" (TAC) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของยูคอม เป็นผู้ลงทุนเอง และคาดว่าจะเปิดบริการไดในต้นปี 2535 อายุสัมปทานโครงการนี้ 15 ปี วงเงินลงทุน 2 พันล้านบาท ที่จะช่วยขยายหมายเลขได้ถึงหมื่นแสนเลขหมาย จากเดิมที่กสท.ทำไว้ให้เช่าและขาย 4 หมื่นเลขหมาย

"การขยายของแบบซัพพลายเออร์เดิมที่ผ่านมาเป็นการขายบริการ แต่การได้สัมปททานลงทุนทำระบบเองของ TAC นี้ ผลตอบแทนมันกินนานและกินยาว

ผลประโยชน์ค่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่แบ่งกันระหว่างบริษัทแทคกับกสท.ตอนนี้มีตัวเลขคำนวณวารายได้จากการโทรของผู้ใช้ต่อเครื่องตกประมาณ 500 บาทต่อเดือน รายได้จำนวนนี้ต้องแบ่งให้กสท.เฉลี่ยประมาณ 33% ของยอดรายได้รวมแต่ละปี

บริษัทแทคที่มีทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาทปัจจุบันมีภูษณะ ปรีย์มาโนช เป็นผู้บริหารระดับสูงที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด ภูษณะเป็นผู้บริหารระดับสูงสังกัดอยู่กับบริษัทยูคอมด้วย

เขาเป็นที่กล่าวกันว่าเป็นลูกน้องคนสำคัญของบุญชัย เบญจรงคกุล โดยมีลักษณะเป็นนักต่อรองชั้นเชิงสูงในโครงการโทรคมนาคมสำคัญ ๆ และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคมของยูคอมด้วย

ความที่ลักษณะธุรกิจโทรคมนาคมนี้ไม่ใช่ธุรกิจที่ขายสบู่ แต่เป็นธุรกิจที่ต้องศึกษาในแต่ละโครงการที่ทำ ซึ่งบางครั้งก็ต้องมีการพรีเซนต์กันแบบถึงลูกถึงคน ภูษณะนับว่ามีคุณสมบัติที่เป็นผู้บริหารมือเซียน ที่ได้ใช้พื้นฐานความรู้ปริญญาตรีทางวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์จากสหรัฐ เพื่อการเป็นนักเจรจาต่อรองมือหนึ่งของยูคอม

เบื้องหลังความสำเร็จในธุรกิจการค้าโทรคมนาคมของยูคอม มาจากความพร้อมในปัจจัยอยู่ 4 ประการคือ หนึ่ง - สายสัมพันธ์ที่ลุ่มลึกเข้าถึงกลุ่มผลประโยชน์ได้ สอง - เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งอย่างโมโตโรล่า สาม - เงินทุน และสี่ - คน

ตระกูล "เบญจรงคกุล" โชคดีที่มีปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จเหล่านี้อยู่ตั้งแต่ครั้งสุจินต์ ผู้พ่อได้ปูฐานอันแข็งแกร่งทางธุรกิจไว้ให้แล้วสำหรับทายาทรุ่นที่สอง ซึ่งมีบุญชัย บุตรชายคนโตเป็นผู้สานต่อและสามารถทำให้กิจการก้าวหน้ามั่นคงขึ้น

บุญชัยได้ถ่ายทอดนิสัยนอบน้อมถ่อมตนที่เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ได้ดี เขาสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจนี้ โดยเฉพาะการจับมือร่วมบางโครงการกับกลุ่มชินวัตรคอมพิวเตอร์ เช่น บริษัทเทเลวิซที่เป็นแฟรนไชส์ขายของชินวัตรเพิ่งตั้งปีนี้ยูคอม ไออีซีและสามารถเทเลคอมเข้าไปถือหุ้นฝ่ายละ 20% เท่า ๆ กัน

"วิธีที่ดีที่สุดเพราะทั้งชินวัตรคู่ใหญ่เกินกว่า คือแบ่งกันกินกันใช้และยูคอมทั้งจะมีใครล้มใครได้" ลักษณะแบบไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวรจึงปรากฏขึ้นในวงการนี้ เพราะนี่คือทางรอดของสองผู้รับสัมปทานใหญ่ผูกขาดในระบบวิทยุสื่อสารโทรคมนาคมไทยทีเดียว

อย่างไรก็ตามการเกิดของซีพีในธุรกิจสื่อสารทำให้บทบาทของซีพีกลายเป็นตัวแปรสำคัญของยุทธศาสตร์การสร้างพันธ์มิตร การที่ซีพีมีโอกาสเข้ามาในโครงการโทรศัพท์สองล้านเลขหมาย เป็นเครื่องยืนยันถึงศักยภาพในความพร้อมทุก ๆ ด้านของซีพีได้ดีที่สุด

เป็นที่ยอมรับว่าการรุกล้ำเข้ามาในตลาดนี้ซีพีได้ลงทุนทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ และทุกคนก็ทราบดีว่าซีพีมีปรัชญาการทำธุรกิจที่สั่นสะเทือนวงการ คือซีพีทำธุรกิจอะไรแล้วนิยมการลงทุนแบบไปให้ลึกในสายการผลิตและการตลาดของธุรกิจนั้น ๆ โดยใช้ความใหญ่ของขนาดเข้าไปสร้างความประหยัดของขนาดด้านต้นทุนเพื่อความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน

ขณะที่ซีพีกำลังเป็นสาวเนื้อหอมที่ใคร ๆ ก็รุมตอม เพราะธุรกิจต่อเนื่องจากโครงการโทรศัพท์สองล้านเลขหมายนั้นมีมากมายโดยเฉพาะการลงทุนผลิตและประกอบชิ้นส่วนบางชนิดที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ ซึ่งสามารถเป็นโครงการรองรับการยกระดับการประกอบการธุรกิจนี้ไปสู่การเป็นผู้ผลิต

ขณะเดียวกันซีพีเองก็เจอเงื่อนไขสัมปทานโทรศัพท์ครั้งนี้กีดกันมิให้ลงทุนทำธุรกิจโทรคมนาคมอื่นใดอีกตลอดช่วงอายุสัมปทานคุ้มครอง 5 ปี

ฉะนั้นยุทธการหาพันธมิตรธุรกิจกับซีพีก็เริ่มขึ้นชินวัตรเริ่มรุกก้าวเข้าไปจับมือกับซีพีก่อนในโครงการลงทุนร่วมในนามบริษัทคอมลิ้งค์เพื่อวางสายเคเบิ้ลใยแก้ว ที่พาดยาวตามแนวเส้นทางรถไฟขณะที่ยูคอม่ยังไม่ได้ทำอะไรเลยในยุทธศาสตร์หาพันธมิตรนี้

"ยูคอมเขาคนละตลาดที่จะมาร่วมกับซีพีเพราะการที่จะก้าวจากจุดนี้ไปสู่ระบบสายโทรศัพท์คงต้องใช้เวลาและเทคโนโลยีอีกมา และผมคิดว่าทางบุญชัยคงอยากขอเวลาสร้างตัวขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างให้มากกว่านี้ เขารู้ดีว่าถ้าเขาปิดตัวเองแบบนี้ต่อไประยะยาวจะลำบาก" แหล่งข่าวเล่าให้ฟังเหตุผลการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าเพื่อแสวงหาพันธมิตรของยูคอม
แต่ธรรมชาติของธุรกิจที่ต้องหากินกับสัมปทาน มีแนวโน้มจะถูกมองว่ามาเฟีย หรือกลุ่มผูกขาดด้วยเหตุว่ามันเป็นเรื่องที่ตอ้งใช้สายสัมพันธ์บวกเงินใต้โต๊ะมาแต่ดั้งเดิม เป็นเหตุให้ผู้บริหารบริษัทพวกนี้ต้องเก็บตัวเงียบ เพราะถ้ายิ่งเปิดยิ่งถูกโจมตี

ยกเว้นแต่ว่าเมื่อใดมีแนวโน้มที่เจ้าของกิจการได้เปลี่ยนแปลงจากการแยกสภาพความเป็นเจ้าของกิจการออกจากการบริหารงานของตน และพาบริษํทไปสู่การเป็นเจ้าของร่วมกันในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อนั้นการเปิดเผยข้อมูลจะมีมากขึ้น

แต่สำหรับตระกูล "เบญจรงคกุล" เรื่องของการนำบริษัทยูคอมเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ดูห่างไกลจากความจริง ยิ่งเมื่อมีการเปิดเสรีในตลาดตราสารการเงินประเภทนี้ด้วยแล้วเช่น BONDED SECURITIZATION ยูคอมซึ่งมีฐานะการเงินส่วนตัวดีอยู่แล้ว ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

"เขาสามารถหาเงินจากตลาดทุนประเภทนี้ได้ไม่ยาก ก็เลยไม่จำเป็นต้องพึ่งแบงก์เพียงแห่งเดียวเหมือนเวลานี้" แหล่งข่าวพูดถึงจุดแข็งด้านการเงินของยูคอมในอนาคต

ทุกวันนี้วรรณา เบญจรงคกุล น้องสาวเป็นผู้ดูแลด้านการเงินนี้ โดยใช้บริการกู้ยืมโดยตรงจากสองแบงก์ที่เป็นหลักคือแบงก์กรุงเทพและแบงก์เชสแมนฮัตตัน

ด้วยเหตุที่ผ่านมา ยูคอมทำธุรกิจในบทบาทของการเป็นซัพพลายเออร์มาตลอด กิจการนี้จึงใช้เงินทุนจากการก่อหนี้ระยะสั้นทั้งหมด โดยมีหนี้ระยะยาวน้อยมาก ขณะที่ธุรกิจสื่อสารตามปกติมีความสามารถในการหาผลกำไรสูงมากอยู่แล้ว

เหตุนี้ทำให้ฐานะการดำเนินงานของบริษัทในปี 2532 มี PROFIT/EQUITY สูงถึง 20 เท่า เพิ่มจากปี 2531 ถึงสามเท่าตัว

นอกจากนี้บริษัทยังมีผลต่างจากการปริวรรตเงินตราต่างประเทศถึง 14,962,360 บาทหรือคิดเป็น 10% ของค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร

อย่างไรก็ตามด้วยความที่โครงสร้างการบริหารของบริษัทเป็นแบบครอบครัว จึงปรากฏว่ามีการใช้วงเงินกู้ยืมที่ให้บริษัทเป็นแบบครอบครัว จึงปรากฏว่ามีการใช้วงเงินกู้ยืมที่ให้บริษัทในเครือกู้ไปนั้นคิดเป็นเงินสูงถึง 59% ของวงเงินที่บริษัทกู้จากภายนอก

ไม่เป็นที่ยืนยันแน่ชัดว่า ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาาคนในตระกูลเบญจรงคกุลบางคนได้นำเงินทุนส่วนหนึ่งจมอยู่กับการซื้อที่ดิน แลนด์แบงก์ของตระกูลนี้เท่าที่สืบค้นได้มี เดิมมีที่ดิน 2 ไร่ใกล้ทะเลที่ อ.สัตหีบ ส่วนที่เชียงใหม่มีที่ดอยสะเก็ด 10 ไร่และที่สันทรายร่วมกับภริยาดร.เจริญ คันธวงศ์ร่วมกันพัฒนาอีก 42 ไร่ กล่าวกันว่าที่ดินผืนนี้ได้มาจากการหักหนี้ที่ผู้บริหารสหเวชภัณฑ์มีต่อกาญจนา

สำหรับที่ดินในกรุงเทพฯ มี 8 ไร่อยู่ระหว่างถนนแจ้งวัฒนะกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งซื้อจากท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เดิมในราคา ตร.วาละ 45,000 บาท แต่ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงถึง ตร.วาละแสนบาท

เดิมที่ 8 ไร่ตรงบริเวณนี้กาญจนาคิดจะนำไปพัฒนาสร้างเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของยูคอมซึ่งปัจจุบันที่ตั้งสำนักงานเก่าแก่ที่ตั้งตรงสี่แยกราชเทวีนั้น ได้เช่าที่สำนักงานทรัพย์สินมานานกว่า 30 ปีและขณะนี้อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ก็ได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จะสร้างบนที่ดินผืนใหม่ 5 ไร่กว่า ซึ่งบริษัทในเครือที่ชื่อไพรเวท พร็อพเพอตี้ได้ซื้อจากกลุ่มบริษัททวีภัณฑ์อีเล็คทริคที่ขายสินค้ายี่ห้อเซฟทีคัทเป็นเงิน 6 ล้านกว่าบาท แต่เอาไปจดจำนองกับแบงก์มหานครกู้ 10 ล้าน ขณะที่แบงก์มีการประเมินใหม่ให้ราคารวมถึง 47 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์จากงบปี 2532 พบว่ากิจการบริษัทยูคอมมีต้นทุนที่สูงขึ้นเนื่องจากสต็อกสินค้าในปี 2532 เพิ่มสูงมาก จาก 37 ล้านบาทเป็น 252 ล้านบาท และระหว่างปี 2531-32 ต่ำลงมาก จากสาเหตุของการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารไม่ดีพอ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดสูงเป็น 30% ของค่าใช้จ่ายบริหารและขาย

นี่คือจุดอ่อนของการบริหารธุรกิจระบบครอบครัวที่มีประสิทธิภาพต่ำ และยังมิได้แยกสถานภาพความเป็นเจ้าของออกไป

"ธุรกิจสื่อสารถ้าคุณยังอยู่กับระบบครอบครัวมันจะเป็นปัญหาคอขวดที่เหนี่ยวรั้งไม่ให้คุณแสวงหาพันธมิตรธุรกิจได้สะดวก" แหล่งข่าวพูดถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของยูคอมช่วงจากนี้ไป

หนทางหนึ่งที่จะพัฒนาได้ก็คือการก้าวเข้าสู่ยุคของมืออาชีพที่จะเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งในยุคก้าวกระโดดของธุรกิจโทรคมนาคม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us