กลุ่มซีพีได้ชื่อว่า เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ติดอันดับท้อปเทนของเอเชีย การดำเนินการของธรุกิจขนาดนี้มีวิธีการประสม
ประสานหลายแบบ ที่สำคัญและสามารถยกเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของโลกได้ คือการปรับเปลี่ยนจากการบริหารธุรกิจครอบครัวมาสู่ระบบสมัยใหม่
การเรียนรู้เทคโนโลยี พัฒนาแบะนำมาใช้เชิญพาณิชย์ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม
กลยุทธ์สดๆ ร้อนๆ ที่เพิ่งจะสร้างผลงาน ธุรกิจชั้นเยี่ยมของ " เถ้าแก่กก"
หรือธนินท์ เจียรนนท์ ประธานกลุ่มซีพีคือการล้อบบี้และต่อรองเรื่องโครงการขยายโทรศัพท์
ดูไม่ใช่เหตุบังเอิญเลยสักนิดที่นุกูล ประจวบเหมาะหยิบ เอาโครงการนี้ขึ้นมาใหม่
ในตอนนั้นนุกูลคงจะรู้เป็นอย่างดีที่จะต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ อะไรบ้าง
แต่นุกูลไม่ได้มีเจตนาถึงขันทำให้รัฐบาลแต่สลาย เพราะโครงการนี้เป็นแน่ นุกูลเปิดเกมได้เป็นฉากๆ
ขณะที่เถ้าแก่กกได้ตั้งรับและรุก ฉากต่อฉากเช่นกัน
เกมแรกของนุกูลเริ่มต้นตรงประเด็นปัญหาสำคัญ คือเรื่องผลตอบแทนที่ซีพีให้รัฐบาลน้อยเกินไป
จากนั้นตั้งทีมที่ปรึกษาเขามาปรึกษาโครงการ และดึงเจ้าหน้าที่เวิร์ลแบงก์เข้ามาเสนอความเห็น
เพื่อให้มีน้ำหนักในการท้วงติงมากขึ้นอีกทั้งยังอาศัยบารมีเพื่อการประชาสัมพันธ์ในทางอ้อมด้วยนี้ด้วย
เถ้าแก่กกเมื่อได้ยินว่านุกูลจะขวางโครงการนี้ ด้วยความที่รู้จักอุปนิสัยใจคอของนุกูลดีไม่ยิ่งหย่อนไปจากผู้อื่นๆ
ได้ขอเข้าพบนุกูล โดยเฉพาะที่บ้านถึง 4 ครั้ง 4 ครา แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ความคืบหน้าแต่อย่างใด
แต่ถ้าเถ้าแก่กกก็เป็นคนที่มีสายสัมพันธ์กว้างขวางคนหนึ่งในสังคมไทย ขบวนการใช้ประโยชน์
จากจุดแข็งข้อนี้จึงเริ่มต้นขึ้น
พลเอก สุจินดา คราประยูร รองประธานคณะ รสช. และผู้บัญชาการทหารบกออกมาเสนอความคิดเห็นในทำนองตีกัน
เมื่อเรื่องจะบานปลายออกไปใหญ่โต ว่าไม่ควรที่จะล้มโครงการสาธารณูปโภคที่ประมูลชนะมาแล้ว
หากจะต่อรองก็ควรจะเจรจาในเรื่องผลประโยชน์ อะไรไปจะดีกว่า
ทั้งนี้สื่อมวลชนหลายฉบับได้ตีพิมพ์เปิดเผยข้อมูลในเวลาต่อมาว่าพลเอกสุจินดา
และพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี หนึ่งในคณะรสช. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีความสำพันธ์เกี่ยวดองเป็นญาติฝ่ายภรรยา
ของนายเชิดชัย เจียรวนนท์ ลูกพี่ลูกน้องของธนินท์ และเป็นระดับบริหารของกลุ่มซีพีด้วย
สานสัมพันธ์เริ่มแทกรเข้ามาในการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารองค์การโทรศัพท์
ซึ่งมีการโละชุดเก่าออกทั้งหมด และแต่งตั้งชุดใหม่และมีรัฐมนตรี มหาดไทยเป็นประธาน
บอร์ดทศท. แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการโทรศัพท์3ล้านเลขหมาย
มีการกรรมการส่วนที่เป็นทหารและคนของที่เป็นส่วนนุกูล ร่วมอยู่ด้วย
การชิงธงนำในคณะกรรมการชุดนี้เข้มข้นดุเดือดเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปะทะกันโดยตรงระหว่างส่วนที่เป็นฝ่ายทหารและมีแนวโน้มสนับสนุนซีพี
กับส่วนที่เป็นฝ่ายของ รมต. คมนาคม ซึ่งคัดค้านและจะล้มการชนะประมูลของซีพีให้ได้
ทหารเป็นฝ่ายชิ่งธงได้โดยการแต่งตั้งพลเอกชัชชม กันหลง ผู้ช่วยบัญชาการทหารบกและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเป็นประธานว่ามีเหตุผลที่เป็นผู้อาวุโสมากกว่า
ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล อธิบดีกรมบัญชีกลาง ที่นุกูลต้องให้เป็นประธาน
เมื่อท่านเห็น ท่าซีพีเริ่มเป็นต่อ นุกูลก็ดึงแบงก์โลกเข้ามาเอี่ยวด้วย
ฝ่ายเริ่มมีนายทหารคนสำคัญอีกคนหนึ่งเริ่มแสดงบทบาท พลเอกวิโรจน์ แสงสนิท
รมช. คมนาคมและเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานของทศท.โดยตรง ออกมาพูดว่ารายการโทรศัพท์ครั้งนี้มีการทำข้ามหน้าข้ามตาไม่มาปรึกษาหารือตนซึ่งเป็นรมช.ที่รับผิดชอบโดยตรงแต่อย่างใด
ท่าทางของพลเอกวิโรจน์ไม่นิ่ม ขณะที่นุกูลก็แข็งพอที่จะออกข่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะล้มโครงการนี้เสีย
แล้วให้มีการประมูลกันใหม่
พิสิฐ ลี้อาธรรมที่ปรึกษาคนสำคัญของนุกูลออกเอกสารสมุดปกเหลืองในนามสำนักนายกรัฐมนตรี
ตีแผ่โครงการนี้อย่างถึงแก่น โดยมองจากจุดผลประโยชน์ของทศท.เป็นหลัก
ในเวลาไล่เลี่ยกัน พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสวัสดิ์ อดีตบอร์ดทศท.และเป็นผู้ที่มีความชำนาญเรื่องโทรคมนาคมคนหนึ่งก็ออกเอกสารมาโต้ความเห็นของพิสิฐแต่ละข้อ
ๆ
เอกสารนี้บ้างก็ว่ามาจากฝ่ายซีพีและสุชาติก็เป็นผู้สนับสนุนซีพีด้วยผูหนึ่ง
เมื่อเรื่องเขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะด้วยการล้อบบี้ต่อสู้กันอย่างสุดเหวี่ยงเช่นนี้
อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลได้
ในที่สุดจึงมีการนัดเจรจาระหว่างผู้นำทหารและรัฐบาลที่เกี่ยวข้องคือนายก
ฯอานันท์และรมต.นุกูล
งานเช่นนี้แม้ธนินท์ไม่ได้ออกหน้า แต่ผู้ที่ออกหน้าแทนนั้นล้วนเป็นผู้สนับสนุนซีพีทั้งสิ้นหากไม่เกิดจากการล้อบบี้อย่างสุดตัวของเถ้าแก่กก
ยากที่จะมีใครยอมทุ่มตัวให้อย่างสุด สุด เช่นนี้ !!
สายสัมพันธ์พิเศษเหล่านี้คงยากที่จะมีใครมีได้เสมอเหมือน !!
อย่างไรก็ดี แม้ซีพีจะมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับคนในครม.ชุดนี้หลายคน
แต่งานนี้ดูเหมือนคนอื่น ๆ ในครม.จะเกี่ยวด้วยไม่ได้ ยกเว้นนายก ฯอานันท์และนุกูลเท่านั้น
ขนาดที่ซีพีมีดร.อาชว์ เตาลานนท์เป็นรมช.เกษตรในคณะรัฐบาลยังไม่มีเอกสารปกเหลืองของพิสิฐ
แต่เอกสารชิ้นนี้มาสู่มือประธานซีพีโดยแหล่งอื่น
เถ้าแก่กกถึงกับออกโรงเรียกประชุมระดับผู้จัดการในกลุ่มบริษัท พูดเรื่องข้ออ่อนในงานประชาสัมพันธ์ของกลุ่มซีพี
แต่แหล่งข่าวลึก ๆ เล่าว่างานนี้ผู้บริหารถูกต่อว่ากันถ้วนหน้า
หรือแม้กระทั่งร่างสัญญาที่รำ ๆ จะเซ็นกันอยู่แล้วนั้นปรากฏว่าผู้ที่ดูแลจัดทำร่างเจ้าปัญหาคือมีชัย
ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งงานนี้ได้แต่ปิดปากเงียบไม่ออกโรงให้ความเห็นใด
ๆ ทั้งสิ้นเห็นไหมว่าสายสัมพันธ์ของธุรกิจขนาดยักษ์รายนี้ยิ่งใหญ่แค่ไหน
เพราะงานนี้ยอมพลาดได้เสียเมื่อไหร่ !