Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534
กฎหมายเรื่องการสื่อสารกับความก้าวหน้าของประเทศ: รัฐคิดเอาหุ้นลมมาแลกด้วยไหม ??             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

   
related stories

เจาะกลยุทธ์การล้อบบี้ของ " เถ้าแก่กก"

   
search resources

สุธรรม อยู่ในธรรม
Telecommunications
Law




สุธรรม อยู่ในธรรมเป็นนักกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่มาวาจาเฉลียวแหลมอันมาจากความรู้ และสมองอันปราดเปรื่อง

เขาเป็นนักวิชาการที่มีจำนวนไม่กี่คนที่ออกมาให้ความเห็นเรื่องโทรศัพท์บริษัทซีพี และมีนักวิชาการเพียงคนเดียวที่พูด และเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายการสื่อสารขึ้นมาใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวในเมืองไทย

เมืองไทยควรมีกฎหมายเรื่องการสื่อสารประมาณ 4 ฉบับกว้างๆ เช่น พรบ. โทรเลข พรบ. โทรศัพท์ ซึ่งไทยก็มีอยู่แล้วแต่เป็นกฎหมายที่ใช้มานานไม่ค่อยมีการแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัย

ฉบับสองเป็นกฎหมายที่ต้องร่างขึ้นมาใหม่ เป็นกรอบว่าด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เป็นกิจการสาธารณูปโภค

เพราะการทำสาธารณูปโภคลักษณะทั่วไปแล้วเป็นลักษณะการผูกขาด ซึ่งควรที่จะทำให้เป็นการผู้ขาดที่มีกฎระเบียบแบบแผนกำกับ เพราะว่ากิจการทำนองนี้จะได้ประโยชน์ต่อเมื่อมีลักษณะการประหยัดกิจการขนาดใหญ่

สุธรรมอธิบายว่าฏำหมายฉบับนี้ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าอนุญาตให้ผู้ที่ผู้กขาดอย่างไร จัดสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐและผู้ที่ลงทุนอย่างไร มีวิธีกำกับดูแลบริการสาธารณะอย่างไร จะกำหนดรายได้ที่เป็นธรรมแก่ผู้ที่ลงทุนอย่างไร

"ในสหรัฐอเมริกาที่ว่าเป็นระบบเสรีนั้น มีแต่เรื่องโทรฯ ทางไกลต่างประเทศเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นการโทรภายในประเทศยังบเป็นการผูกขาดอย่างมีประสิทธิภาพและมีรีะเบียบกำหนด" สุธรรมเปิดเผย

กฎหมายฉบับที่สามเป็นกรอบของการบริการโทรคมนาคม ที่าต้องมีฉบับที่สามด้วยเพราะในโลกของการสื่อสารสมัยใหม่มีสื่อเพิ่มขึ้นหลายชนิดนอกจากเสียงคือ DATA TEXT IMAGE GRAPHIC นอกจากนี้การสื่อสานไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์อีกแล้ว แต่ก้าวไปสู่มนุษย์กับคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เองด้าย

เนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้จึงต้องเกี่ยวข้องกับการคิดค่าโทรศัพท์ (DIALLING REGULATION) เรื่องการหัก / ชำระบัญชี (ACCOUNTING SETTLEMENT) เรื่องการค่าธรรมเนียมในการใช้ข่ายโทรศัพท์/ระบบของผู้อื่น ACCESS CHARGE เรื่อง PERMITTED RETURM เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหลานี้สามารถเขียน พรบ. ออกมาเฉพาะได้

สุธรรมยกตัวอย่างในฮ่องกง "ที่ฮ่องกงนั้นมีกฎหมายเค้าโครงว่าด้วยข้อตกลงเรื่องการร่วมทุน โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยให้มีผู้เข้ามาผูกขาดดำเนินการ 1 หรือ 2 ราย มาตรการควบคุมลักษณะของการใช้บริการเพื่อไม่ให้เป็น PREDATORY MONOPOLY หรือการผูกขาด เพื่อเป้าหมายยึดครองตลาดโดยไม่ชอบธรรมเขาจึงมีกฎหมายอันนี้ขึ้นมาเป็นข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลกับ PUBLIC UTILITIES ทั้งหลาย มีการกำหนด PERMITTED RETURN เป็นสูตรออกมา นี้คือกฎหมายของเขา"

หัวใจสำคัญของแข่งขันในธุรกิจการบริการโทรคมนาคมปัจจุบันคือเรื่องการเข้าไปใช้ เน็ทเวิร์คของผู้อื่น (ACCESS TO AND USE OTHRNETWORK ) เพราะการแข่งขันด้วยการสร้างเน็ทเวิร์คใหม่ นั้นไม่สามารถที่จะแข่งกันได้แล้ว

สุธรรมเล่าประเด็นการแข่งขันระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกาว่า " ตอนนี้อเมริกาบีบให้ญี่ปุ่นซื้ออุปกรณ์จากอเมริกาได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แต่ญี่ปุ่นไม่แคร์เลยเพราะว่าญี่ปุ่นได้รุกเข้าอเมริกานานแล้ว ทั้งนี้ โทรคมนาคมเป็นแค่ MODE OF DELIVERY อย่างหนึ่งคือเป็นท่อเท่านั้นเองแต่ตัวที่ใส่ลงไปในท่อนั้นมีความสำคัญ กว่า เป็นตัวที่ทำให้เกิดรายได้ (GENERATE REVENUE) อเมริกามัวแต่เถียงเรื่องท่อ แต่ญี่ปุ่นนั้นเข้าไปซื้อกิจการบริษัทเอนเทอร์เทนเม้นท์ ทั้งหมดของอเมริกาไว้นานแล้ว เพราะรายการบันเทิงทั้งหลายต่างหากที่ที่เป็น CONTENT ที่ใส่เข้าไปในท่อ มีราคาอเมริกาจะเอาท่อ อย่างเดียว ลืมไปว่าเปิดประตูหลักให้ญี่ปุ่นเข้าไปซื้อ CBS MGM อะไรต่อมิอะไรหมดแล้ว"

สุธรรมสรุปว่า "นี้คือเกมในระดับ POLITICAL ECONOMY ที่เขาเล่นกันในระดับประเทศวางแผนกันมานนับปี ถึงจุดที่ญี่ปุ่นซื้อกิจการ CONTENT ที่ลงท่อได้หมดแล้ว ถึงยอมให้อเมริกาบีบคออยากให้ซื้ออุปกรณ์ก็ซื้อ ของที่ลงท่อมีราคาแพงกว่า "

ในระดับประเทศเวลานี้ก็เถียงกันเรื่องโทรคมนาคมไม่จบ สิ่งที่อเมริกาต้องการมี 3 ระดับคือ ACCESS TO MARKET ACCESS TO NETWOEK และ USE OF NETWORK อเมริกาถือว่าเรื่องนี้สำคัญมาก และไทยจะต้องเจอมาตรา 301 เพื่อการต่อรอง เรื่องโทรคมนาคมในการเจรจาแกตต์อย่างแน่นอน

สุธรรมมองว่า "รัฐบาล ไทยควรจัดการเรื่องกรอบที่ผมว่าให้ชัดเจนเสียก่อน ผมเห็นว่าองค์การโทรศัพท์ดำเนินมาถูกทางคือเขาพร้อมที่จะปล่อย เขาโดนด่าทุกวัน ปัญหาคือเขาจะไปทางไหน ต้องนำให้ถูก คือให้เอกชนเข้าทำ ต้องให้เขาได้รับผลตอบแทนในอัตราพอสมควรและผู้บริโภคได้ประโยชน์ด้วย ต้องมีกฎหมาย กระบวนการที่แน่ชัดและโปร่งใสจริง"

สุธรรมซึ่งมีงานวิจัยให้รัฐบาลมากมายเกี่ยวเรื่อง ซอฟท์แวร์ ซิป (CHIP ) และโทรคมนาคมกล่าวในที่สุดว่า " นายกฯ อานันท์เถียงไปเถียงมาก็ต้องการที่จะยึดอำนาจเอาไว้ และเอาสิทธิการผู้ขาดของรัฐมาต่อรองกับนักลงทุน ผมว่ามัน ABUSE ที่สุดทำไมไม่มาทำเรื่องกรอบกฎหมายเหล่านี้ล่ะ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us