บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF กำลังเป็นโมเดลใหม่ของการจัดการธุรกิจอาหารครบวงจร
ในประเทศไทย ซึ่งคาดกันว่า โมเดลนี้จะนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่
ซีพีมองว่าจะสร้างความสามารถในการแข่งขันต้องดำเนินธุรกิจลักษณะ หนึ่ง-Economies
of Scale สอง-Fully Integration ซึ่งเป็นความคิดเดิม เพียงแต่ว่า โครงสร้างการกระจายกิจการ
และบริษัทแต่เดิมมิได้ทำให้ การแชร์ทรัพยากรอย่างสูงสุด นี่คือ แนวคิด ที่มาของการปรับโครงสร้างธุรกิจในเชิงลึก
ซึ่งแตกต่างกับการปรับโครงสร้าง ภายใต้แนวคิดของดร.อาชว์ เตาลานนท์ ในช่วง
2-3 ครั้ง ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2522 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงขยายตัว แต่สถานการณ์ปัจจุบันบีบคั้นในเชิงคุณภาพมากขึ้น
กระบวนการปรับโครงสร้าง CPF ใช้เวลาพอสมควรทีเดียว
ต้นปี 2541 เริ่มต้นด้วยการซื้อบริษัทในเครือซ ีพี ที่เกี่ยวกับอาหาร โดยให้
CPF ถือหุ้น 100% (ในทางเทคนิค มีหุ้นเล็กน้อย ที่ไม่ขาย) กระบวนการนี้กว่าจะเสร็จสิ้นก็เกือบสิ้นปี
(บริษัท ที่ซื้อถอนตัวออกจากตลาดหุ้นด้วย)
8 มกราคม 2542 ซื้อกิจการจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPG) ซึ่งไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จำนวนเงิน
4,000 ล้านบาท โดยเข้าถือหุ้น 99.9% อีก6 บริษัท และเข้าถือหุ้นบริษัท อื่นๆ
ในเครือ ที่มีกิจการลักษณะเดียวกัน อีก 6 บริษัท โดยถือหุ้นไม่ถึง 50%
ในเวลาเดียวก็เข้าถือหุ้นบางส่วนในกิจการที่ไม่ใช่แกน (Non-core Business)
อีกประมาณ 7 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการค้าปลีค้าส่งในประเทศไทย และจีน
(7-Eleven, Lotus, Makro)
15 กุมภาพันธ์ 2542 จัดโครงสร้างบริหารใหม่ โดยให้ ประเสริฐ พุ่ง กุมาร
เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และชิงชัย โลหะวัฒนะกุล เป็นกรรมการผู้จัดการ
นอกจากนั้น ส่วนใหญ่ คือ "ลูกหม้อ" สายเกษตรทั้งสิ้น มีเพียง ดร.วีรวัฒน์
กาญจนกุล ผู้เชี่ยวชาญการเงิน และบัญชีเท่านั้น ที่เข้ามาเป็นกรรมการด้วย
ในฐานะผู้มีบทบาทในการใช้เทคนิคการเงิน และบัญชีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือในการจัดโครงสร้างใหม่ค่อนข้างมาก
ธุรกิจหลักแบ่งออกเป็น 2 สาย ธุรกิจสายสัตว์น้ำ และธุรกิจสายสัตว์บก ซึ่งดำเนินการลักษณะครบวงจรในแนวดิ่ง
ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยง และการแปรรูป ซึ่งครอบคลุมทุกชนิดอย่างกว้างขวาง
โดยมีเครือข่ายการผลิตทั่วประเทศ
CPF ภายใต้โครงสร้างใหม่เป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 39% ธุรกิจพันธุ์ไก่จากความร่วมมือกับ Arbor Acres
ถึง 65% พันธุ์สุกร 45% ขณะเดียวก็ครองส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจเนื้อไก่ 30%
ไข่สด 21% เนื้อเป็ด 60% (ข้อมูลจากเอกสารชี้แจงนักวิเคราะห์ เมื่อวันที่
8 พฤศจิกายน 2542)
CPF ระบุเป้าหมายในอนาคตของการเป็น Kitchen of the World ว่า จะขยายการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปมากขึ้น
ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ จะสร้างเครือข่ายการค้าปลีกอาหาร (Food Retail
Chain) และ พัฒนาสินค้าอาหารบรรจุหีบห่อภายใต้ brandname ของตนเอง
นี่คือ อีกก้าวหนึ่งของซีพีในการประกาศความเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ โดยคิดว่า
"ความหวาดกลัว" ในเรื่องนี้เมื่อ 20 กว่าปีหมดไปแล้ว ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการคุกคามของธุรกิจระดับโลกมากขึ้น