Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534
ทำไม ธนายงจึงต้องเร่งผนวกกิจการกับบริษัทอื่น             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 

 
Charts & Figures

การลงทุนผนวกและครอบครองกิจการของธนายง
โครงสร้างบริษัท STELUX HOLDING


   
search resources

ธนายง, บมจ.
คีรี กาญจนพาสน์
Stock Exchange




คีรีต้องปวดหัวที่สุดในด้านภาพพจน์ เมื่อเขานำธนายงเข้าผนวกกิจการกับบริษัทอื่น ด้วยวิธีการ "SHARE MANDATE" เป็นครั้งแรกในตลาดทุนไทย เพียง 2 ปีกว่าที่เขาเริ่มพัฒนาสินทรัพย์ของธนายงในเมืองไทยอย่างจริงจัง สินทรัพย์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมากพร้อม ๆ กับความสามารถในการทำกำไร เคล็ดลับของคีรี คือ การเข้าลงทุนผนวกกิจการคนอื่นที่มีสินทรัพย์ก่อให้เกิดรายได้ และมี SYNERGY ต่อบริษัทเครือข่ายเดิมของกลุ่มธนายงในฮ่องกง

การประกาศเข้าผนวกกิจการและครอบครองกิจการถึง 6 บริษัท ในระยะเวลาเดียวกันของเดือนพฤษภาคม ทำให้ตลาดหุ้นและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตื่นตระหนกไปกับข่าวที่บริษัทธนายงประกาศออกมามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเข้าผนวกกิจการด้วยวิธ๊การใช้กองทุนหุ้นสามัญพิเศษหรือ "SHARE MANDATE" เป็นเครื่องมือ

6 บริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายของธนายงประกอบด้วย ช้างคลานเวย์และช้างคลานเรียลเอสเตสราชดำริโฮเต็ล และเอกธนกิจ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ธนายงเข้าไปถือหุ้นส่วนข้างน้อย ส่วนบริษัทอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของธนายงประกอบด้วย ดีแนล ยงสุ และเมืองทองอพาร์ทเม้นต์

การเข้าลงทุนด้วยวิธีการ SHARE MANDATE ของธนายงเป็นเรื่องใหม่ของเมืองไทย ยิ่งเมื่อธนายงเป็นบริษัทอยู่ในตลาดหุ้น และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดถึงกระบวนการและเหตุผลที่มีผลกระทบต่อกิจการของบริษัทด้วยแล้ว ความสงสัยในพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากลต่อวิธีการเช่นนี้จึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับข้อสงสัยถึงสินทรัพย์ที่นำเข้ามาและการตีราคาซื้อจะให้ความยุติธรรมแก่นักลงทุนหุ้นธนายงหรือไม่

จวบจนกระทั่งกลางเดือนมิถุนายนทางบริษัทถึงได้จัดการประชุม เพื่อเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดแก่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และสื่อมวลชนที่ตลาดหลักทรัพย์ หลังจากที่หุ้นของบริษัทถูกตลาดแขวนป้ายห้ามซื้อขายมา 2 สัปดาห์

ความสงสัยของนักลงทุนก็จางหายไปพร้อม ๆ กับราคาหุ้นของธนายงที่เริ่มเปิดขายใหม่ในตลาดหุ้นทะยานขึ้นรองรับเหตุผลการลงทุนของธนายงในครั้งนี้

เรียกได้ว่าวิกฤตการณ์ด้านภาพพจน์ของคีรีในสายตานักลงทุนในตลาดหุ้น ได้ผ่านพ้นไปแล้วหลังจากเล่นเอาเจ้าตัว และทีมงานบริหารธนายงแทบไม่ได้หลับได้นอนมาตลอด 2 สัปดาห์
บริษัทธนายงเป็นบริษัทเก่าแก่ที่ก่อตั้งมานานกว่า 20 ปีแล้ว มีมงคล กาญจนพาสน์พ่อของคีรีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับ ตั้งจิตนบและ หู ลิปตวัฒน์

เริ่มแรกบริษัทมีทุนจดทะเบียน 5 ล้าน(ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 100 ล้านในปี 2531) เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน โดยเข้ากว้านซื้อที่ดินผืนใหญ่แถวบางนาตราด ลาดพร้าวและพหลโยธิน
ที่ดินผืนเหล่านี้ถูกทิ้งไว้เฉย ๆ เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ถึงได้มีการเมื่อคีรีกลับจากฮ่องกงเมื่อ 3 ปีก่อนเพื่อทำโครงการธนาซิตี้บนที่ดินแถวบางนา-ตราด

ธนาซิตี้เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายพันล้านบาทเพราะมีทั้งสนามกอล์ฟ คอนโดมิเนียม บ้านพัก อาคารสำนักงานตั้งรวมกันในพื้นที่โครงการตามแนวความคิดของการพัฒนาให้เป็นเมืองบริการขนาดเล็ก

เนื่องจากความเป็นโครงการขนาดใหญ่และการมีฐานธุรกิจอสังหริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกันในเครือข่าย คีรีจึงใช้แนวความคิดการบริหารลงทุนที่ก่อผลประโยชน์ข้างเคียงแก่ธุรกิจในเครือข่ายเดียวกันหรือ SYNERGY

เขาใช้บริษัทวาเคไทยอินเตอร์เนชั่นแนลที่จดทะเบียนในฮ่องกง เข้ามาเป็นบริษัทที่ปรึกษา ทางการเงินใช้คาเวไทยประเทศไทยเป็นบริษัทบริหารโครงการ

ค่าที่ปรึกษาซึ่งตกประมาณ 2-3.5 % ของมูลค่าโครงการจะกระจายตกอยู่กับบริษัทในเครือเดียวกันสิ่งนี้คือผลประโยชน์ข้างเคียงที่เห็นได้ชัด

การทำโครงการใหญ่ อย่างธนาซิตี้ในเมืองไทยของคีรี เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความสมดุลย์แหล่งทำมาหากินของกลุ่มกาญจนพาสน์ในภูมิภาคเอเซียแห่งนี้ หลังจากที่พวกเขาได้ลงหลักปักฐานทำมาหากินที่ฮ่องกงมาตั้งแต่สมัยต้นทศววษที่ 60

เมื่อฮ่องกงจะต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนตามข้อตกลงในสัญญาเช่าที่อังกฤษทำไว้กับจีนจะหมดสิ้นลงในปี 2540 แม้ว่าข้อตกลงนี้ทางจีนจะยอมให้ฮ่องกงอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจการค้าแบบเสรีต่อไปอีก 50 ปีก็ตาม ความไม่มั่นใจระยะยาวต่อความมั่นคงในสินทรัพย์และตลาด ที่เคยเฟื่องฟูของบรรดากลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างไม่อาจควบคุมได้

กลุ่มจาร์ดีนที่ทำมาหากินในฮ่องกง กลุ่มสไวร์ (SWIRE) และแม้แต่ฮ่องกงแบงก์ กลุ่มนักเทคโนแครตที่ทำงานในบริษัทเอกชนใหญ่ ๆ ต่างพากันเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ออกจากฮ่องกง จะคงไว้แต่ก็เพียงใช้ฮ่องกงเป็นตลาดสำหรับการทำมาหากินและประกอบอาชีพเท่านั้นทั้งนี้เนื่องจาก หนึ่ง-ฮ่องกงยังคงความสำคัญในฐานะตลาดหน้าด่านที่จะผ่านเข้าจีนผืนแผ่นดินใหญ่ได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำที่สุด สอง-ต้นทุนการดำเนินงานถูกกว่าที่ฮ่องกงทำให้ธุรกิจมีโอกาสสร้าง PROFIT MARGIN สูง

ภาระกิจทางยุทธศาสตร์นี้ มีคีรีและอนันต์พี่ชายของเขาที่ทำโครงการพัฒนาเมืองทองธานีเป็นหัวหอก

สำหรับคีรี เขามองเห็นลู่ทางในการดำเนินงานอยู่ 2 ประการคือ หนึ่ง-การเข้าลงทุนพัฒนาบนที่ดินที่มีอยู่เดิม ซึ่งเวลานี้ถือว่าได้มาด้วยราคาที่ถูกมากทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนการลงทุนได้ส่วนหนึ่ง สอง-การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นเพื่อการระดมทุนโดยไม่มีภาระดอกเบี้ยและใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างกำไรและขยายสินทรัพย์

และสิ่งนี้คือที่มาของแผนการและการเข้าปฏิบัติการขยายสินทรัพย์เพื่อการสร้างกำไรด้วยวิธีการเทคนิค SHARE MANDATE ที่ฮือฮาเมื่อเดือนมิถุนายน

คีรีได้จัดตั้งกองทุนหุ้นสามัญพิเศษหรือ SHARE MANDATE ไว้ 18 ล้านหุ้นหลังจากคณะกรรมการบริษัทได้ผ่านมติรับรองการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน90 ล้านบาทหุ้นที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 7/2533 เมื่อวันที่23 มิถุนายน 2533 ได้มีมติพิเศษให้เพิ่มทุนดังกล่าว

ช่วงเวลานั้นบริษัทธนายงยังไม่ได้เข้าตลาดหุ้นคีรีและกรรมการบริษัทได้วางแผนไว้แล้วว่าจะนำหุ้น 9 ล้านหุ้นจาก 90 ล้านหุ้นหรือจำนวน 10 % เข้าตลาดหุ้นขายให้บุคคลทั่วไปก่อน ส่วน 18 ล้านหุ้นเอาไว้ใช้สร้าง FINALCIAL SYNERGY ด้วยวิธี SHARE MANDATE กับบริษัทอื่นหลังจากธนายงเข้าตลาดหุ้นแล้ว

"การทำ SHARE MANDATE จริงอยู่ไม่ใช่ของใหม่ในตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้สำเร็จถ้าหากว่าบริษัทที่จะออก SHARE MANDATE นั้น หุ้นของเขาไม่มีสภาพคล่องสูงพอ และความเชื่อมั่นต่อธุรกิจไม่ดี" คีรีเล่าให้ฟังถึงข้ออุปสรรคในการทำ SHARE MANDATE

ธนายงเป็นบริษัทรับอนุญาติในตลาดหุ้นที่มี CCAPITALISATIONS ถึงกว่า 10,000 ล้านบาทเมื่อต้นเดือนมีนาคม ด้วยราคาขายแก่บุคคลภายนอกหุ้นละ 133 บาทเพียงระยะ 2 เดือนหลังจากเข้าซื้อขายในตลาด ราคาได้ทะยานสูงขึ้นกว่า 440 บาททำให้บริษัทมีมูลค่าตลาดของทุนสูงกว่า 40,000 ล้านมากเป็นอันดับ 2 รองจากปูนซีเมนต์ไทย

สิ่งนี้น่าจะเป็นดัชนีข้อหนึ่งของคีรีที่เชื่อมั่นว่าบริษัทธนายงสามารถใช้ SHARE MANDATE เป็นเครื่องมือในการผนวกกิจการหรือครอบครองกิจการคนอื่น ๆ ได้ ขณะเดียวกันย่อมเป็นคำตอบที่ดีของแผนการที่คีรีจำเป็นต้องผลักธนายงเข้าตลาดหุ้นให้ได้ก่อนที่จะเปิดฉากเข้าเทคโอเวอร์เกมส์บริษัทต่าง ๆ

SHARE MANDATE เป็นเทคนิคการใช้หุ้นเพิ่มทุนของบริษัทหนึ่งโดยผ่านผู้ถือหุ้น เพราะว่าตามกฏหมายแพ่งพาณิชย์ของไทยไม่อนุญาติให้บริษัทถือหุ้นของตัวเองได้ ซึ่งตรงนี้ต่างจากกฏหมายของฮ่องกง

การออก SHARE MANDATE ในฮ่องกง บริษัทสามารถออกได้โดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 20 % ของทุนจดทะเบียน เมื่อออกมาแล้ว จะขายราคาเท่าไร เมื่อไร และขายให้คนไหน คณะกรรมการบริษัทสามารถทำได้เลยไม่ต้องผ่านผู้ถือหุ้น

"การออก SHARE MANDATE ของธนายงจำนวน 18 ล้านหุ้นถูกกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่หุ้นละ 180 บาทที่ให้อำนาจกรรมการ ผู้จัดการใช้ในการลงทุนซื้อกิจการ เพื่อขยายสินทรัพย์ของบริษัท " คีรีกล่าวต่อหน้าที่ประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เมื่อกลางเดือนมิถุนายน

การเข้าลงทุนเพื่อครอบครองกิจการและผนวกกิจการของธนายงต่อบริษัทต่าง ๆ ด้วยการใช้หุ้นของบริษัทโดยผ่านผู้ถือหุ้นครั้งนี้ คีรีใช้กรณ์ จาติกวนิชย์และทีมงานของเจเอฟธนาคมเป็นที่ปรึกษา

"ผมเตรียมการเพื่อสิ่งนี้มานานแล้ว" คีรีกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เขาได้รายงานให้กรรมการตลาดหลักทรัพย์ทราบว่า หุ้นที่นำออกมา SHARE MANDATE เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนปีที่แล้วจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท ซึ่งเขาเองเป็นผู้เสนอ

นั่นหมายความว่าเป็นเวลา 1 ปีพอดี ที่เขาได้เตรียมการและลงมือดำเนินการเข้าครอบครองและผนวกกิจการบริษัทเป้าหมาย

คีรีเลือกบริษัทเป้าหมายที่มีสินทรัพย์ปัจจุบันที่สร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่องระยะยาวได้ทันที เพราะเข้ารู้ดีว่าสินทรัพย์ของธนายงเป็น HARD ASSET ยังต้องใช้เวลาอีก 2 ปีข้างหน้า กว่าที่จะพัฒนาโครงการเสร็จ และสร้างกระแสเงินสดขนาดใหญ่ได้อยน่างต่อเนื่องเช่นโครงการธนายงซิตี้ที่ประมาณการรายได้จากยอดขาย 5400 ล้านบาท โครงการเอ็กเช้นสแควร์พระราม 4 ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุนสูงถึง 4000 ล้านบาท ในการพัฒนาและคาดหมายรายได้จากการขาย 8000 ล้านบาทเมื่อโครงการเสร็จสิ้นลงในปี 2538

สิ่งนี้คือเหตุผลข้อหนึ่งที่ว่าทำไมธนายงจึงเข้าครอบครองกิจการบริษัทดีแนลเจ้าของอาคารสำนักงานให้เช่าริมถนนวิภาวดี ซึ่งประมาณการรายได้จากค่าเช่าในปีหน้าตกปีละกว่า 130 ล้านบาทปีถัดไปกว่า 140 ล้านบาท เมืองทองอพาร์ทเม้นต์ในโครงการเมืองทองธานีของบริษัทบางกอกแลนด์ ที่อนันต์ พี่ชายดูแลอยู่ ซึ่งจะสร้างกระแสเงินสดจากรายได้ค่าเช่าและบริการในปีหน้าถึง 70 ล้านบาท และ 86 ล้านบาทในปี 2536 ยงสุอพาร์ทเม้นต์ที่สุขุมวิท 39 ซึ่งคาดว่าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะสามารถสร้างรายได้ปีละ 20 ล้าน 75 ล้านและ 88 ล้านตามลำดับ

ความพยายามที่จะเข้าครอบครองบริษัทราชดำริโฮเต็ลเจ้าของโรงแรมรีเจ้นท์ที่สามารถทำรายได้จากยอดขายประมาณการในปีนี้ไม่นร้อยกว่า 500 ล้านและสามารถทำกำไรสุทธิ 120 ล้าน ที่แม้ไม่สามารถที่จะเข้าครอบครองได้เพราะถือหุ้นเพียง 21 % ก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับธนายงปีละกว่า 20 ล้าน

การลงทุนในเอกธนกิจ 5% หรือ 6 ล้านหุ้นก็เช่นกัน สามารถสร้างรายได้ให้ธนายงปีละ 13 ล้านในปีหน้าและกว่า 170 ล้านและ 271 ล้านในอีก 2 ปีข้างหน้าจากการขายหุ้น 3 ล้านหุ้นออกไปซึ่งคาดว่าราคาหุ้นเอกธนกิจที่ธนายงขายออกไปในปี 2536 และ 37 ราคา 234 และ 304 บาทหรือเพิ่มขึ้นปีละ 30% จากราคาที่เข้าลงทุน 210 บาท

รวมความแล้วภายใน 2 ปีข้างหน้า ผลจากการเข้าครอบครองกิจการบริษัทเป้าหมาย จะสามารถสร้างรายได้กระแสเงินสดให้ธนายงจากสินทรัพย์ที่ลงทุน 2 ปี รวมกันถึง 700 ล้านบาทโดยธนายงไม่มีภาวะดอกเบี้ยจากการทุนแม้แต่บาทเดียว พูดอีกแบบหนึ่งก็คือสิ่งนี้คือผลสะท้องจากการบริหาร HARD ASSET ในเชิงรุของคีรีที่สามารถสร้างกระแสเงินสดด้านรายได้ให้แก่ธนายงอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้แล้วยังสร้างผลประโยนช์ระยะยาวให้แก่มูลค่าเพิ่มของการใช้สินทรัพย์แลพเชื่อมโยงทรัพยากร ที่เป็นเครือข่ายในธุรกิจที่อยู่ในฮ่องกงอีกด้วย สินทรัพย์ของธนายงก่อนที่จะเข้าตลาดหุ้นในช่วง มีนาคมปี 2533 มีอยู่ประมาณ 1100 ล้านบาท และได้ก้าวกระโดอย่างมากเป็น 5000 ล้านบาท เมื่อคีรีตัดสินใจเข้าเทคโอเวอร์สหกรุงเทพซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเช่าระยะยาว 50 ปี จำนวน 43 ไร่ที่พระราม 4 มูลค่า 620 ล้านบาท และเจ้าของโครงการเอ็กเช้นสแควร์ในเดือนเมษายน 2534 หรือ 1 เดือนหลักจากเข้าตลาดหุ้น

ในรายงานงบประมาณการที่นำเสนอตลาดหลักทรัพย์ ได้เสนอว่าสินทรัพย์ธนายงในรอบบัญชี 2535 จะขยายตัวเป็นเกือบ 16,000 ล้าน หรือ โตขึ้น 3 เท่าตัวเพียงปีเดียว

แต่กระนั้นก็ตามสินทรัพย์ 16,000 ล้านมีเพียง 4500 ล้านบาทหรือ 30 % เท่านั้นตามการประเมินของบริษัท LEVETT & BAILEY HILLIER PARKER ที่สามารถสร้างผลรายได้ถาวรระยะยาวอย่างต่อเนื่องจากธุรกิจโรงแรม อาคารสำนักงานให้เช่า อพาร์ทเม้นต์ และบริการทางการเงินที่บริษัทเข้าไปผกวนและครอบครองกิจการมาเมื่อ 2 เดือนก่อน

และด้วยจุดนี้เอง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การขยายสินทรัพย์ของธนายง ที่คีรีบอกว่าจะยังคงขยายต่อเนื่องไปขนฐยานธุนกิจที่สร้างรายได้ระยะยาวให้แก่ธนายง พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ จากนี้ไป การใช้สินทรัพย์ของธนายงจะมุ่งสร้างรายได้จาก จากค่าเช่าบริการมากกว่าการขายออกไปเหมือนการทำ ธุรกิจจากอสังหาริมทรัพย์ในสมัยก่อนที่ชอบพัฒนาที่ดินขึ้นมาเพื่อขาย

มองจากยุทธศาสตร์ย่อมเข้าใจว่าทำไมในเดือนมิถุนายน 2533 คีรีถึงได้ตัดสินใจทำธนายงเข้าครอบครองกิจการบริษัทเครือข่ายคือวาเคไทย ประเทศไทย

วาเคไทยประเทศไทยนั้นเป็นบริษัทอันหนึ่งอันเดียวกันเองของวาเคไทย โปรเจ็ค แมเนสเม้นท์ที่วาเคไทยโฮลดิ้งฮ่องกงถือหุ้นอยู่ 100% วาเคไทย ประเทศไทยใช้ทรัพย์กรทางด้านธุรกิจการให้บริการทางด้านบริหารโครงการจากฮ่องกงเกือบทั้หมดเช่นเอ็ดเวิร์ด เฉา และ แอนดี้ ฮวง ซึ่งทั้งสองมีบทบาทสำคัญอย่างสูงทางด้านการวางแผนการเงินและการตลาด

เอ็ดเวิร์ด เฉา เป็นคนสัญชาติอังกฤษ ก่อนหน้าที่จะเข้ามาร่วมกลุ่มวาเคไทย เขาเคยเป็นผู้จัดการอาวุโสของไพร์วอเตอร์เฮ้าฮ่องกง บริษัทวาฟ โฮลดิ้ง และกรรมการบริหารด้านวาณีธนกิจของ บริษัทอาหรับเอเซียนอินเตอร์เนชั่นแนลมาก่อน

ส่วนแอนดี้ ฮวงเขาเป็นไทย ที่ใช้ชีวิตทำงานอยู่ในฮ่องกง เขาเคยเป็นกรรมการบริหารของศูนย์บริการอุตสาหกรรมไทย-ไต้หวัน เป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโส บริษัทสุภัทธ และเป็นประธานบริษัทเอเชียดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์โพรเกส

เมื่อธนายงเอาวาเคไทยเข้ามา ด้านหนึ่งเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการทำธุรกิจจากการเป็นนักพัฒนาที่ดิน ขึ้นไปสู่การเป็นบริษัทลงทุนและรับจัดการโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่นโครงการธนาซิตี้ โครงการ โรงแรมซิตี้ เซ็นเตอร์ โครงการเอ็กเช้นสแควร์ โครงการเมืองทองอพาร์ทเม้นต์ และยงสุอพาร์ทเม้นต์

อีกด้านหนึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรในเครือข่ายที่ชำนาญในฮ่องกงมาสร้างมูลค่าเพิ่มบนฐานสินทรัพย์ ที่อยู่ในเมืองไทย ซึ่งทางกลุ่มโฮลดิ้งคอมปะนีที่ฮ่องกงคือสเตลักษ์ และวเคไทยต่างเห็นว่าในอนาคตอันใกล้รายได้จากการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มจะมาจากเมืองไทยไม่น้อยกว่า 70 % ของทั้งหมด

เขาวางแผนใช้อิสทินโฮเต็ลแมเนสเม้นท์ เข้ารับจ้างบริหารธุรกิจเซอร์วิศเม้นท์เมืองทองและยงสุ โรงแรมซิตีเซนเตอร์ และอาคารสำนักงานริม ถนนวิภาวดีที่ซื้อมาจากบริษัทดีแนล

"เราใช้อีสทินบริหารจะช่วยทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดได้โดยอัตโนมัติคีรีกล่าวไว้ในรายงานที่เสนอต่อนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

ว่ากันจริงแล้ว การที่คีรีใช้แนวคิดการบริหารสินทรัพย์เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทการทำธุรกิจของเขาว่า จริง ๆ แล้วเขาไม่ใช่นักธุรกิจไทยล้วน ๆ แม้จะเป็นคนไทยก็ตาม

ตรงข้ามคีรี เป็นนักธุรกิจระดับภูมิภาคไม่ใช่แค่ท้องถิ่นฮ่องกงหรือไทยที่ใดที่หนึ่งเขา เป็นกรรมการบริษัทวาเคไทยโฮลดิ้งที่ทำธุรกิจทั้งในตลาดฮ่องกง มาเก๊า จีนแผ่นดินใหญ่ และไทย

เขาสร้างเครือข่ายธุรกิจแต่ละประเภทในตลาดต่าง ๆ โดยใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการเชื่อมโยงทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเงิน บุคคลผู้เชี่ยวชาญ

ที่ฮ่องกงเขามีกลไกทางการเงินที่ใหญ่มากถึง 3 บริษัทคือ วาเคไทยอินเตอร์เนชั่นแนล วาเคไทย(ฮ่องกง) และวาเคไทยเทรชเชอเลอร์ ทำหน้าที่เป็นอินเวส์เม้นโฮลดิ้ง หาเงินลแะบริหารเงินมาให้บริษัทเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในตลาดต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้

บทบาทของบริษัททั้ง 3 นี้ สอดคล้องกับข้อมูลของคีรีที่บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "บุคคลที่สามที่เข้าซื้อหุ้นของธนายงในกองทุน SHARE MANDATE เพื่อการเข้าผนวกและครอบครองกิจการบริษัททั้งหกแห่ง มีผมคุณพ่อผม และบริษัทวาเคไทยินเตอร์เนชั่นแนล"

ธุรกิจแต่ละอย่างไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร (ทินทิน) โรงแรม (แฮปปี้ แวลเล่ย์) ที่ฮ่องกงและที่ดิน (ธนายง) ที่ประเทศไทยจะมีอีกบริษัทหนึ่งที่ทำหน้าที่รับจ้างบริหารให้เช่น ร้านอาหารจะมีทินทินแคเทอริ่งแมเนสเม้นท์ โรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะมีอีสทินโฮเต็ลแมเนสเม้นท์ การเงินจะมีวาเคไทยเทรชเชอเลอร์ ที่ดินจะมีวาเคไทยโปรเจ็คแมเนสเม้นท์

โครงสร้างการจัดการเช่นนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระดับการจัดการขอคีรีที่ก้าวเร็วเกินกว่ามาตรฐานของนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปของไทยมากนัก

จึงไม่แปลกประหลาดที่เขาจะใช้บางส่วนเสี้ยวของเทคโนโลยีการทำธุรกิจที่มีอยู่ในฮ่องกงมาใช้ในเมืองไทย เช่นการสร้างสินทรัพย์แบบ SHARE MANDATE และจะส่งผลต่อความตื่นตระหนกให้เกิดขึ้นกับสังคม ธุรกิจท้องถิ่นเมืองไทย

จนหลายคนคิดไปว่าเขากำลังละเมิดจริยธรรมนักเล่นหุ้นด้วยวิธีการผ่องถ่ายสินทรัพย์จากธนายง เข้ากระเป๋าส่วนตัว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us