Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534
"มาตรา 7 ของอนุสัญญายูเนสโก ปี 1970"             
โดย รัฐ จำเดิมเผด็จศึก
 


   
search resources

Crafts and Design
International




เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชนิพนธ์คำขวัญ เพื่ออันเชิญลงพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ ของสภาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ความว่า "เกียรติประวัติมิใช่อดิตที่น่าชื่นชมสำหรับจะนำมา ซึ่งความภาคภูมิใจกันเท่านนั้น แท้จริงยังเป็นรากฐานหลักประกันอันมั่นคงที่สุด สำหรับก่อตั้งสร้างเสริมอันความเจริญงอกงามอันไม่มีที่สิ้นสุดต่อไปในอนาคตด้วย" พระราชนิพนธ์ข้างต้นนี้คงทำให้เราเห็นแนวคิด เกี่ยวเรื่องอนุรักษ์โบราณสถานศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คนไทยมีความตื่นตัวและเห็นความสำคัญของงานด้านนี้เพิ่มยิ่งขึ้น เมื่อเกิดกรณีทับหลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ขึ้น

ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่าทับหลังหรือรูปจำหลักศิลาภาพพระนารายณ์ บรรนทบเหนือเกษียรสมุทรได้ถูกลักลอบนำไปจากประสาทหินพระนมรุ้ง จังหวัดบรีรัมย์ เมื่อหลายสิบปี ก่อนและไปปรากฎตั้งแสดงอยู่ที่สถาบันศิลป ณ นครชิคาโก ประสหรัฐเอริกา รัฐบาลหลายสมัยได้พยายยามเรียกร้องให้สถาบันดังกล่าวคือทับหลังให้แก่ประเทศไทยเรา แต่ความพยายามก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทังกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะปฎิสังขรณ์ ปราสาทหินพนมรุ้งใกล้จะสำเร็จเรียบร้องจึงได้มีความพยายามในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งและความพยายามในครั้งสุดท้ายก็สัมฤทธิผล ทับหลังก็ได้กับคืนมาเป็นสมบัติของชาติ จนกระทั่งทุกวันนี้

หลังจากนั้นกระแสการอนุรักษ์ก็ลดความเชี่ยวกรากลงจนบันนี้ได้เกิดขบวนการขุดค้น และค้าวัตถึโบราณขึ้นในภาคอีสานซึ่งมีโบราณสถานอยู่มากมายถึง 1000 แห่ง โดยแบ่งเป็นปราสาท 300 แห่ง เมืองโบราณ 500 แห่ง และชุมชนโบราณ 1000 แห่ง อันมีความงดงามและยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันความสมบูรณ์ของโบราณสถานได้คงเหลือเพียง 40 - 50 % เท่านั้น เพราะการลักรอบขุดทำลายตัดยอดศิลปวัตถุให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อสะดววกต่อการลักรอบนำไปขายให้กับผู้ซื้อที่ถายนอกและถายในประเทศ

จะเห็นได้ว่ากรณีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ คงมิได้เป็นกรณีเดียวที่ว่าศิลปวัตถุจากประเทศหนึ่งถูกลักรอบนำไปแสดงหรือนำไปขายยนังประเทศหนึ่ง ประเทศเป็นเจ้าของทรัพย์ยากรและมรดรทางวัฒนธรรมทั้งหมายต่างก็มีความหนักอกหนรักใจสำหรับปัญหามีเรื่องนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ในขนาดเดีนวกันกับที่ประเทศอีกหลายประเทศดำรงอยู่ในฐานที่มั่งคังมีกำลังทางเศรษฐทรัพย์มีกำลังการซื้อเป็นนตลาดที่ดี สำหรับค้าของเก่าผลประโยชน์ของประเทศทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอยู่

ปัญหาก็คือจะทำอย่างไรกับสังบคมระหว่างประเทศ จะสามารถมีกติกาที่แน่นอนในการประนีประนอม หรือทำความสตกลงข้อยุติในเรื่องนี้ได้

กฎหมายระหว่างประเทศที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกทรัพย์ทางวัฒนธรรมก็คือ อนุสัญญายูเนสโก 1970 สำหรับประเทศที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญา ก็เรียกคืนทรัพย์ทางวัฒนธรรมก็แทบที่จะเป็นไม่ได้ เพราะเห็นว่ารัฐแต่ละรัฐมีบูรณภาพแลระอธิปไตย รัฐอื่นไม่สามารถเข้ายุ่งเกี่ยวภายในรัฐนั้นได้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงในรูปแบบต่าง เช่น สนธิสัญญา หรือมีการเจรจาตกลงกันแบบหลายฝ่าย (พหุภาคี) หรือการเจรจาตกลงกันแบบสองฝ่าย (ทวิภาค) รัฐจึงจำเป็นเข้าเป็นอนุสัญญายูเนสโก้ เพิ่อทำให้เรียกคืนทรัพย์ทางวัฒนธรรมได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

1) จะต้องเป็นทรัพย์ในทางศาสนาหรือทางโลก ซึ่งถูกกำหนดเป็นวิเศษโดยแต่ละรัฐเห็นว่ามีความสำคัญทางโบราณคดี

2) จะต้องจัดอยู่ใน 11 ประเภท ตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา

3) ทรัพย์นั้นจะต้องประกอบเป็นส่วนหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธุ์รัฐที่มีต่อทรัพย์สินในฐานที่เป็นมรดก ทางวัฒนธรรม เช่นเป็นทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ได้ถูกสร้างโดยเอกชน หรือกลุ่มนักปราชญ์ของชาติ ทั้งทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ได้ก่อตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐเป็นต้น

โดยทรัพย์สินทางวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น จะต้องเข้าองค์ประกอบครบทุกข้อตามมาตรา 7 (B) (I)

(1) รัฐจะต้องห้ามการนำเข้าทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยมาจากพิพิธภัณฑ์ หรืออนุสรษ์สถานหรือศาสนสถานหรือสถาบันอื่นที่ทำหนร้าที่คลายคลึงกัน

(2) ทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยมานั้น จะต้องเป็นทรัพย์ทางวัฒนธรรมของรัฐภาคี อื่น (3) การนำเข้าของทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยมานั้นจะต้องนำเข้าภายหลังการเข้าเป็นภาคี ของรัฐที่เกี่ยวข้อง


(4) ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยนั้น จะต้องการขึ้นทะเบียนว่าต้องเป็นของที่มีอยู่ในบัญชีรายการของสถาบันนั้น

ข้อบกพร่องในการเรียกทรัพย์ทางวัฒนธรรม ที่สามารถ จะเรียกคืนนั้นจะต้องเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 7 (B) (I) คือจะตต้องถูกลักขโมยออกไปจากรรัฐถายหลังที่เป็นภาคีของรัฐคู่กรณีแล้วและเป็นทรัพย์สินที่มาจากพิพิธภัณฑ์ หรืออนุสรษ์สถาบันที่ทำหน้าที่คลายคลึงกันรวมทั้งได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายการของพิพิธภัณฑ์ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวนี้ จะทำให้การเข้าทรัพย์ทางวัฒนธรรมเป็นไปได้โดยชอบทางกฎหมาย ถึงแม้ว่ารัฐที่เป็นถิ่นกำเนิดทางทรัพย์สินทางวัฒนธรรมจะปฎิเสธใบรับรองการส่งออกก็ตาม

และยิ่งไปกว่านั้น รัฐภาคีก็ไม่มีหน้าที่ที่จะส่งคืนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของรัฐภาคีอื่นใดที่นำเข้ามายังรัฐของตน

การตีความตามมาตรา 7 นี้ เป็นเหตุให้การควบคุมกานำเข้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรมมีช่องว่าทำให้ทรัพย์สินบางประเภทที่ไม่เข้าองค์ประกอบนี้ สามารถนำเข้ามาในรัฐได้ เช่น ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ที่ได้จากการสร้าง ที่ได้จากการลักลอบขุดค้นทางโบราณคดี หรือ ทรัพย์สินในความครอบครองเอกชน เทียบเคียงกับ TARANAKI PANELS

โดยข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าประเทศอังกฤษและประเทศนิวซีแลนด์เป็นภาคีในอนุสัญญาทั้งคู่ ไม้แกะสลักได้ถูกส่งออกโดยมิชอบด้วยกฏหมายจากประเทศนิวซีแลนด์ไปยังประเทศอังกฤษ ซึ่งเข้าตามบทบัญญัติของอนุสัญญาคือได้มีการเคลื่อนย้ายโดยปราศจากใบอณุญาติการส่งออก แต่ไม่ได้ขโมยมาจากพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานหรือสถาบันอื่นที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน ประเทศอังกฤษจึงไม่ผูกมัดว่าจะต้องห้ามการนำเข้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรมนั้นตามคำเรียกร้องขอของประเทษนิวซีแลนด์ เพราะว่าไม่เข้าตามบทบัญญัติในมาตรา 7 (B) (I) ของอนุสัญญา

จากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วท่านผู้อ่านคงเห็นได้ว่า กฎหมายระหว่างประเทศนั้นเป็นอุดมคติของมนุษย์ต่างชาติต่างภาษาร่วมกันสร้างขึ้น แต่ข้อจำกัดกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นข้อยิ่งใหญ่ และสำคัญยิ่งนักสิ่งที่ทุกคนตระหนักอย่างพร้อมเพรียง ก็คือยังไม่มีรัฐใดมีอำนาจยิ่งใหญ่กว่ารัฐอื่นโดยสิทธิเด็ดขาดที่จะบังคับให้อีกรัฐหนึ่งจำยอมต้องปฏิบัติ

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเรายังไม่มีตำรวจโลกบังคับให้รัฐบาลประเทศนั้น ประเทศนี้ปฏิบัติตามได้เป็นการถาวร แม้แต่การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญายูเนสโก ยังเป็นไปด้วยความสมัครใจ หรือแม้กระทั่งรัฐสมัครเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาแล้ว รัฐเองก็สามารถจะสงวนสิทธ์ที่จะยอมรับข้อสัญญาบางข้อและปฏิเสธการผูกพันข้อสัญญาบางข้อก็ทำได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ไม่สามารถกล่าวได้เต็มปากว่าบรรลุผลของสัญญาได้เต็ที่โดยบริบูรณ์

แต่อย่างไรก็ดีการที่เรามีอนุสัญญาที่ว่านี้ รวมทั้งมีกฎเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ ก็คงเป็นหลักประกันในเบื้องต้นว่ามนุษยชาติได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้

แน่นอนว่าในการเกิดปัญหาแท้จริงขึ้นในทางปฏิบัติ ความสำเร็จในการจะแก้ปัญหานั้นคงจะต้องเกิดขึ้น ในการเจรจาแบบทวิภาคี ระหว่างรับบาลประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง หรือแม้กระทั่งระหว่างสถาบันเอกชนประเทศหนึ่งกับสถาบันอีกประเทศหนึ่ง

รวมกระทั่งพยายามสร้างแรงกดดันทางด้านการเมืองหรือแรงกดดันทางด้านศีลธรรมระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเทศที่อยู่ในฐานะเหนือกว่าทางเศรษฐกิจ แต่เป็นผู้ใช้สถานภาพของตนเองนำเอาศิลปะวัตถุจากประเทศที่ด้อยกำลังทางเศรษฐทรัพย์กว่ามาเป็นของตนเอง

รัฐ จำเดิมเผด็จศึก สำนักงานกฎหมายสนอง ตู้จินดา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us