Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2534
ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ จากวงแชร์ ยกระดับเข้าสู่ตลาดหุ้น             
 


   
search resources

อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, บมจ.
ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
เมตตา อุทกะพันธุ์
Printing & Publishing
แพรว




ผู้ชายวัย 40 ปีคนนี้ ดูอย่างไรๆ ก็ไม่มีเถ้าแก่โรงพิมพ์อยู่เลย บุคลิกภูมิฐานท่วงท่าสุขุม และน้ำเสียงนุ่มนวลแบบเขาน่าจะเป็นมาดของราชการชั้นผู้ใหญ่มากกว่า แตเขาก็เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่ระดับคุณภาพที่กำลังจะเข้าเป็นบริษัทรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในไม่ช้านี้

ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ เป็นเจ้าของและกรรมการผู้จัดการบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัดซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพิมพ์นิตยสารบ้านและสวน นิตยสารแพรวและแพรวสุดสัปดาห์

จุดเริ่มต้นของก้าวเข้ามาในธุรกิจสิ่งตีพิมพ์ของเขามาจากพื้นเพทางการศึกษา และปรระสบการณ์ทำงานในช่วงต้นของชีวิตที่คลุกคลีอยู่กับหนังสือมาตลอด ชูเกียรติจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ พ.ศ 2508 เขาเริ่มต้นงานแรกที่โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชด้วยการเป็นพนักงานดูแลตรวจตราแบบเรียนซึ่งเป็นสินค้าหลักของไทยวัฒนาพานิช แล้วไต่เต้าขึ้นมาเป็นบรรณาธิการหนังสือตำราเรียน

สุดท้ายช่วงเวลา 6 ปีที่ไทยวัฒนาพานิชชูเกียรติเป็นหน้าบรรณาธิการนิตยสารวิทยาสาร ซึ่งเป็นนิตยสารทางการศึกษาที่มีบทบาทเผยทางด้านควาทคิดทางสังคมและการศึกษาที่ก้าวหน้ามากในยุค" ฉันจึงมาหาความหมาย ระหว่างปี 2510-2516

ชูเกียรติลาออกจากไทยพัฒนาพานิช มาเป็นหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของการเคหะแห่งชาติที่รากของแนวคิดในการทำหนังสือเกี่ยวกับการตกแต่งบ้านเริ่มก่อตัวขึ้น

การเคหะแห่งชาติในยจุคที่ชูเกียรติเข้าไปทำงานนั้นเป็นยุคแรกสุดของการก่อตั้ง ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์เขาจำเป็นที่จะต้องสร้างสื่อที่จะต้องสื่อสารกับประชาชน เขาใช้ความชัดเจนจากการทำหนังสือ ออกหนังสือ "บ้าน" ขึ้นมาขายในท้องตลาดเป็นเล่มแรก หลังจากนั้นอีก 2 ปีต่อมาที่ "บ้านใหม่" เป็นหนังสือแจก ฟรีออกมา

ความจำเป็นที่ต้องทำงานกับเคหะฯ ทำให้เขาต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องบ้าน และประสบการณ์จากการทำหนังสือเกี่ยวกับบ้านให้กับการเคหะทำให้เขารู้ว่ายังมีผู้อ่านอีกมากที่ต้องการความรู้ในด้านนี้ แต่ไม่มีหนังสือที่จะตอบสนองในท้องตลาดได้หนังสือบ้านที่เขาทำในยุคนั้นส่งไปขายไกลถึงเวียงจันทน์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

สองส่วนนี้ทำให้เขามีข้อสรุปว่า " เรามีความพร้อมที่จะทำธุรกิจเองได้" ประกอบกับความอึดอัดกับระบบการทำงานแบบราชการเขาจึงลาออกมาทำหนังสือเองหลังจากที่อยู่การเคหะฯได้ 4 ปี

ปี 2519 ชูเกียรติออกหนังสือ "บ้านและสวน" และเป็นเล่นแรกในขณะนั้นหนังสือในแนวเดียวกันออกจาก "บ้าน" ของการเคหะฯ และก็ยังมี " เฮ้าส์ซิ่ง" อีกเล่นหนึ่ง แต่ในที่สุดก็เหลือ "บ้านและสวน" ที่มีอายุยาวต่อมาอีก 15ปี จนถึงทุกวันนี้

"เราต้องเปลี่ยนตัวสินค้าอยู่ตลอดเวลาให้มีอะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ" ชูเกียรติพูดถึงปัจจัยแห่งความยั่งยืนของ "บ้าน และสวน" ข้อแรกและข้อที่สองคือคุณภาพและความสวยงามของหนังสือของหนังสือ

การทำหนังสือบ้านและสวนออกมาทำให้ชูเกียรติต้องก้าวหน้าไปธุรกิจโรงพิมพ์อย่างไม่ได้ตั้งใจ "ผมไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะตั้งโรงพิมพ์เป็นของตัวเองเลย" ชูเกียรติบอกว่าสิ่งที่เขาอยากจะทำมีอยู่อย่างเดียว คือหนังสือสวยๆ งามๆ และขายได้

ปีแรกของบ้านและสวนชูเกียรติจ้างโรงพิมพ์ของคนอื่นพิมพ์ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุคของการพิมพ์ ออฟเซท โรงพิมพ์ที่มีเครื่องพิมพ์ออฟเซทยังมีจำกัด ทำให้เขามีปัญหามากในการหาโรงพิมพ์ที่พิมพ์งานที่มีคุณภาพได้ดี

ปี 2520 ชูเกียรติจำเป็นต้องตั้งโรงพิมพ์ของตัวเองขึ้นมาพิมพ์หนังสือของตัวเอง ในซื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อัมรินทร์การพิมพ์ เริ่มต้นด้วยแท่นพิมพ์เพียงตัวเดียว ช่วง 2-3 ปี แรกเป็นช่วงของความยากลำบากที่สุดในการประคับประคองธุรกิจดรงพิมพ์ให้อยู่รอด เมื่อต้องลงทุนซื้อ แท่นพิมพ์เองปัญหาการสดุดติดขจัดในเรื่องเงินหมุนเวียนจึงเป็นเรื่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ทีต้องฝ่าฟันไปให้ให้ได้

เมตตา ภารยาของชูเกียรติต้องลาออกจาการเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มาหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒมาช่วยดูแลทางด้านการเงิน แหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดในเวลานั้นคือการตั้งโรงแซร์ระหว่างโรงพิมพ์ต่างๆ ด้วยกันเองซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้อมรินทร์การพิมพ์หลุดพ้นจากความยากลำบากในช่วงแรกมาได้

ปี 2521 ชูเกียรติออกหนังสือเล่นใหม่ชื่อ "แพรว" เป็นหนังสือผู้หญิงลายปักษ์ "ตอนนั้นมีหนังสือผู้หญิงเล่มหนึ่งเลิกไปเราเห็นว่ามีช่องว่างอยู่พอดี" คุณภาวดี หรือ สุภาวดี โกมารทัต ซึ่งปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการของหนังสือในเครือทุกเล่มซึ่งประสบการทางด้านนี้อยากทำด้วย

กว่าที่แพรวจะอยู่ตัวได้และเป็นที่ยอมรับของตนอ่านใช่เวลาถึง 4 ปีหลังจากนั้นอีกไม่นานก็ตามมาด้วยแพรวสุดสัปดาห์ซึ่งเจาะผู้อ่านกลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่แพรวกลุ่มผู้อ่านจะเป็นผู้หญิงวัยทำงานแล้ว ความตั้งใจแรกเริ่มของชูเกียรตินั้นจะรวมแพรวเข้ามาอยู่เล่มเดียวกันในเวลาต่อมา

" โชคดีที่เราไม่ทำอย่างนั้น" ชูเกียรติอธิบายว่าถ้ายุบเหลือเล่มเดียวจะไม่มีหน้าที่รองรับโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของหนังสือได้พอ

ปีที่แล้วอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ปซึ่งปรับโครงสร้างและระบบบัญซีใหม่รวมเอากิจการโรงพิมพ์หนังสือในเครือทั้ง 3 เล่ม และธุรกิจจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน มียอดขาย 190 ล้านบาท 50 % เป็นรายได้จากค่าโฆษณาในหนังสือทั้งสามเล่ม อีกครั้งหนึ่งที่เหลือเป็นรายได้จากการขายหนังสือ 20 % และรับจ้างพิมพ์ 30 %

"ปลายปีนี้เราจะออกหนังสือรายเดือนเล่มใหม่ เป็นหนังสือที่จะรวมเอาจุดเด่นของแพรวกับบ้านและสวนมาไว้ด้วยกัน" ชูเกียรติกล่าว

รายได้ 30% ที่มาจากการรับจ้างพิมพ์ของอมรินทร์นั้น 70 % คืองานพิมพ์หนังสือในเครือและอีก 30% เป็นงานข้างนอก รายได้จากการรับจ้างพิมพ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 % ต่อปี ส่วนรายได้อื่นๆ จะเพิ่มไม่มากนัก ชูเกียรติให้ภาพทิศทางธุรกิจของเขาในอนาคต หลังจากที่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะเน้นไปที่ธุรกิจโรงพิมพ์มากกว่ารายได้จากการทำหนรังสือ

จากแท่นพิมพ์เพียงแท่นเดียวเมื่อ 10 ปีก่อนปัจจุบันอมรินทร์เฟิร์สติ้งกรุ๊ป มีแท่นพิมพ์ประเภทต่างๆ รวมกัน 20 ยูนิต ซึ่งเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน

การเพิ่มทุนอีก 7 ล้านบาท จากที่ 39 ล้านบาทเป็น 46 ล้านบาท นั้นชูเกียรติหวังว่าจะได้รับเงินจากการขายหุ้น 100 ล้านบาท มาลงทุนเพิ่มในส่วนของโรงพิมพ์ซึ่งย้ายจากที่เดิมมาตั้งที่ตลิ่งชัน ในเนื้อที่ 5 ไร่

ตามแผ่นการลงทุน โรงพิมพ์แห่งใหม่ของเขาจะมีระบบการผลิตแบบครบวงจร โดยการสั่งซื้อแท่น 4 สี เครื่องพิมพ์กระดาษม้วน 4 สี อย่างละหนึ่งเครื่อง เครื่องและจัดซื้อเครื่องแยกสีพร้อมอุปกรณ์หนึ่งเครื่อง

14 ปีที่แล้ว ที่เขาตั้งวงแซร์หาเงินมาตั้งโรงพิทพ์เป็นช่วงที่เทคโนโลยีการพิมพ์กำลังก้าวเข้าสู่การพิมพ์แบบออฟเซท เป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องทำหนังสือคุณภาพดี

มาถึงปีนี้วิทยาการพิมพ์ยกระดับจากออฟเซทธรรมดาขึ้นไปสู่ระดับการพิมพ์ที่ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แหล่งเงินทุนจากการพัฒนาจากวงแชร์ขึ้นมาเป็นตลาดหลักทรัพย์ จุดมุ่งหมายเฉพาะหน้าในการทำบริษัทเข้าตลาด เพื่อหาเงินมาซื้อเทคโนโลยีการพิมพ์ใหม่ของชูเกียรติคือการขยายกำลังการผลิตทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ

ส่วนเป้าหมายระยะต่อไปซึ่งอยู่ในความคิดของเขาคือการขยายตลอดรับจ้างพิมพ์งานจากสำนักพิมพ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะการพิมพ์หนังสือปกแข็งซึ่งจาการเดิานทางไปดูงานหนังสือที่อังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้เขาพบว่าเอเยนต์ของสำนักพิมพ์หลายๆ พร้อมที่จะป้อนงานให้โรงพิมพ์ให้ประเทศไทยหากว่าคุณภาพถึงขั้น

"ปัญหาที่ผ่านมาคือ เราอยากที่จะให้มีออร์เดอร์ก่อนถึงจะลงทุน ส่วนทางต่างประเทศก็อยากจะเห็นผลงานก่อนถึงจะตัดสินใจให้งานมา" ชูเกียรติพูดถึงจุดที่ไม่ลงตัวระหว่างผู้ผลิตในบ้านเรากับต่างประเทศซึ่งออกคือ โรงพิมพ์จะต้องกล้าลงทุนไปก่อน บนความเชื่อมันในคุณภาพของตัวเอง เขาประมาณว่า จะต้องเงินราว 200 ล้านบาทเพื่อลงทุนติดตั้งเครื่องพิมพ์หนังสือปกแข็ง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายอันหนึ่งของเขาบนเส้นทางชีวิตเถ้าแก่โรงพิมพ์ที่เขาก้าวมาด้วยไม่ได้ตั้งใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us