|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งหมดของไทยแอร์เอเชียกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง และส่งผลให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำที่มีสโลแกนว่า “ใครๆก็บินได้”ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกแต่เป็นการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งที่สองหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไปจะเป็นการชี้ชะตาว่าไทยแอร์เอเชียจะสามารถหลุดรอดพ้นจากวิถีทางการเมืองได้หรือไม่?...
ทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสายการบินไทยแอร์เอเชียมักจะตกเป็นเป้าหมายที่โดนผลกระทบมากที่สุด ซึ่งครั้งนี้ก็เช่นกันเมื่อมีการอายัดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สายการบินไทยแอร์เอเชียก็ถึงเวลาปรับโครงสร้างหุ้นใหม่ขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วน แม้ว่า ทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งวันนี้กลายเป็นคนไทยที่ถือหุ้นส่วนใหญ่ที่สุดของสายการบินไทยแอร์เอเชียไปแล้วจะออกมากล่าวยืนยันว่าทำทุกอย่างถูกต้องและพร้อมให้มีการตรวจสอบที่มาที่ไปของแหล่งเงินทุนก็ตาม
และด้วยเหตุผลบางประการในการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพียงเพื่อสร้างความโปรงใส และจะไม่มีปัญหาเรื่องนอมินี ภาพของกลุ่มชินคอร์ป-เทมาเส็ก เกี่ยวข้องกับสายการบิน เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นเป้าโจมตี และถูกโยงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง
"เราพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบกรณีที่ถูกระบุว่ามีการถือหุ้นแทนหรือนอมินี แต่ขณะนี้ตนได้ตัดสินใจที่จะกู้เงินจำนวนประมาณกว่า 980 ล้านเพื่อนำมาซื้อหุ้นของบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่นคืนมา เพื่อตัดปัญหาและข้อกังขาว่าเป็นการถือหุ้นแทนกลุ่มใด "ทัศพลกล่าว
หลายกรณีที่ไทยแอร์เอเชียยังคงหาบทสรุปไม่ได้ว่าผิดจริงหรือไม่เพราะขั้นตอนทุกอย่างอยู่ที่กระบวนการตัดสินความยุติธรรมของศาล ซึ่งปัจจุบันการแก้ไขปัญหาของไทยแอร์เอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของใบอนุญาตไม่ถูกต้อง หรือแม้แต่สัดส่วนผู้ถือหุ้นไม่เป็นไปตามกำหนดกฎหมาย ทัศพลกล่าวยอมรับว่าอยู่ขั้นตอนการฟ้องร้องดำเนินคดีและพร้อมไปเสียค่าปรับทันที
การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุดของไทยแอร์เอเชียส่งผลให้ทัศพลมีอำนาจการตัดสินใจมากที่สุดและครั้งนี้ถึงกับประกาศว่า หลังจากนี้เป็นต้นไปสายการบินไทยแอร์เอเชียพร้อมจะดำเนินการให้ถูกต้อง และขอให้ทุกฝ่ายหยุดโจมตีหรือเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
“เป้าหมายของผมคืออยากตั้งใจทำธุรกิจให้ดีที่สุด ขอให้หยุดโจมตีกันเสียที”ทัศพลตัดพ้อ
ดังนั้นเมื่อเป็นโอกาสอันดีที่ชินคอร์ปส่งสัญญาณชัดเจนว่าต้องการขายธุรกิจในส่วนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป และในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมและได้บริหารสายการบินมาตั้งแต่ต้น จึงเข้าไปหารือกับชินคอร์ปและแสดงความสนใจที่จะเข้าไปซื้อหุ้น เพื่อให้สายการบินมีทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแผน และไม่แน่ใจว่าหากชินคอร์ปขายหุ้นให้คนอื่นๆ ผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามา จะมาเปลี่ยนแปลงการทำงานที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของสายการบินที่ปัจจุบันถือว่ามีการขยายตัวที่ดี และหากยังล้างภาพการเมืองออกไปไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อพนักงานที่ทำงานกับสายการบินรวมกว่า 1,200 คนซึ่งทัศพลก็ไม่มั่นใจกับอนาคตที่เกิดขึ้น
จึงไม่แปลกที่เห็นผู้บริหารของสายการบินอีก 5 คน ได้แก่ พรอนันต์ เกิดประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน นาวาอากาศเอกธนภัทร งามปลั่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบิน ปรีชญา รัศมีธานินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม หม่อมหลวงบวรนวเทพ เทวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และ สันติสุข คล่องใช้ยา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ ตัดสินใจที่จะเข้าไปซื้อหุ้นทั้ง 100%ในบริษัทเอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด (AA) ซึ่งเป็นโฮลดิ้ง คอมพานี ที่ถืออยู่ 50 %ในบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด (TAA)
ว่ากันว่ามีการหารือเพื่อขอซื้อหุ้นของบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ต้องเข้าไปเจรจาขอซื้อหุ้นกับทางชินคอร์ปที่ถืออยู่ 49% และหุ้นของ สิทธิชัย วีระธรรมนูญ ที่ถืออยู่ 51% ซึ่งได้หารือกันมานานกว่า 4-5 เดือนแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาเร่งจะซื้อขายในช่วงที่มีการอายัดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ที่ปิดดิลล่าช้า เพราะต้องวิ่งเจรจาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศก่อน ซึ่งธนาคารก็กลัวเรื่องการเมือง ไม่ปล่อยกู้ให้
“ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจ จนต้องมองหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ มาตกลงกันได้กับธนาคารเครดิต สวิส สาขาสิงคโปร์ ซึ่งเป็นธนาคารที่สายการบินทำเรื่องเฮดจิ้งน้ำมันอยู่ และที่ต้องไปกู้ที่สิงคโปร์ เพราะสาขาของธนาคารเครดิต สวิส ในไทย จะทำเฉพาะเรื่องซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น ไม่มีเรื่องของการปล่อยสินเชื่อ"นายทัศพล กล่าว
ขณะเดียวกันธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อกว่า 980 ล้านบาท สัญญาเงินกู้ 5 ปี ใช้หุ้นของสายการบินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมเงื่อนไขต้องนำบริษัทไทยแอร์เอเชีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี เพื่อระดมทุนนำเงินมาใช้หนี้ ซึ่งธนาคารดูแผนธุรกิจ 5 ปีของสายการบินแล้วมั่นใจว่าไปได้ดี จึงอนุมัติให้ซื้อหุ้นจำนวน 20.09 ล้านหุ้นที่ชินคอร์ปถืออยู่ มูลค่า472.11 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 23.50 บาท (อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นพี/อี เรโช 15 เท่าและกำไรจากการดำเนินงานในปีนี้ประมาณ 150-200 ล้านบาท) ส่วนเงินที่เหลือ จะใช้ซื้อหุ้นอีก 51% ที่นายสิทธิชัย วีระธรรมนูญถืออยู่ รวมถึงการจ้างทนายความ เพื่อตรวจรายละเอียดของสัญญา
เมื่อมีการซื้อขายหุ้นทั้งหมดจะปิดดิลและทำสัญญากันได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ และจากนั้นจะส่งรายละเอียดอย่างเป็นทางการในการปรับโครงสร้างใหม่แจ้งไปยังกรมการขนส่งทางอากาศหรือขอ.ตามขั้นตอน ซึ่งมั่นใจว่าได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามพรบ.เดินอากาศไทย 2597 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม2542 ที่ระบุว่าสายการบินสัญชาติไทย ต้องเป็นนิติบุคคลไทยและมีบุคคลธรรมดาถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่า 51%
หลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่บริษัทแอร์เอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด แล้ว จะมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดารวม 51% และมีแอร์เอเชีย มาเลเซีย ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมก็ยังคงถืออยู่ 49% ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้น่าจะจบลงโดยไม่มีใครติดใจโดยไม่นำเรื่องการเมืองเข้ามาโยงอีก และพนักงานก็จะได้ทำงานเต็มที่มีความรู้สึกมั่นคงต่ออนาคตเสียที เพื่อให้บริษัทนี้เดินหน้าต่อไปด้วยดี
กรณีใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน(ทะเบียนอากาศยานสัญชาติไทย)ที่ขาดสิทธิไปในช่วงระหว่างวันที่ 23 มกราคม-14กุมภาพันธ์2549 อันเป็นผลจากที่ชินคอร์ปขายหุ้นให้เทมาเสกนั้น บริษัทต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวน 4,000 บาทต่อเที่ยวบิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งก็พร้อมจะจ่ายเพื่อยุติปัญหาทั้งหมด เพื่อจะได้ขยายธุรกิจตามแผน 5 ปีที่ได้วางไว้ โดยจะใช้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางในการบิน และขยายเครือข่ายเส้นทางบินสู่ภูมิภาคอินโดจีน อินเดีย และจีนต่อไป
และภายใน 5 ปีนี้ สายการบินจะมีจุดบินรวมทั้งหมดกว่า 35 จุดบิน และมีฝูงบินใหม่แอร์บัส320 ขนาด 180 ที่นั่ง ที่เช่ามาจากสายการบินแอร์เอเชีย รวมกว่า 40 ลำ แทนเครื่องโบอิ้ง 737 โดยจะทยอยรับมอบตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อนำมาให้บริการขยายเส้นทางบินครอบคลุมทุกจุดบินทั่วภูมิภาคนี้ภายในรัศมีการบินไม่เกิน 3 ชั่วโมง และเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 4,000 คน คาดว่าผู้โดยสารและเที่ยวบินจะขยายตัวอยู่ที่ 20-30% เพราะตั้งแต่เปิดให้บริการไทยแอร์เอเชียก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีแรกขาดทุน 200 ล้านบาทมีผู้โดยสาร 1.2 ล้านคน ปีที่สอง กำไร 150 ล้านบาท ผู้โดยสาร 1.8 ล้านคน ปีที่สาม กำไร 50 ล้านบาทผู้โดยสาร 3 ล้านคน ปีนี้น่าจะกำไรอยู่ที่ 200 ล้านบาท จากผู้โดยสารจำนวน 4.2 ล้านคน
ขณะเดียวกันด้าน ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) มีการเปิดเผย ข้อมูลสัดส่วนหุ้นในบริษัทไทยแอร์เอเชีย ที่แจ้งต่อกรมการขนส่งทางอากาศปัจจุบัน ระบุว่าบริษัทมาเลเซีย แอร์เอเชีย(ต่างชาติ) ถือหุ้น 49% นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย ถือหุ้น 1% และบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น ถือหุ้น 50% ซึ่งมีนายสิทธิชัย วีระธรรมนูญ ถือหุ้น 51% และบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 49% ใน บ.เอเชีย เอวิเอชั่น
ปัจจุบันทาง ขอ.ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การถือหุ้น 51% ของนายสิทธิชัยใน บ.เอเชียเอวิเอชั่น เป็นการถือหุ้นแทน ก็จะทำให้ไทยแอร์เอเชียถือหุ้นโดยต่างชาติ 99% คือหุ้นของมาเลเซีย แอร์เอเชีย รวมกับหุ้นของเอเชียเอวิเอชั่น มีคนไทยถือเพียง 1% และขาดคุณสมบัติทันที แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้คำตอบ จึงยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้
ทั้งนี้ การถือหุ้นเดิม มีคนไทยถือ 70% และมาเลเซีย แอร์เอเชีย 30% ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้น โดยบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นเข้ามาถือหุ้น 50% มาเลเซีย แอร์เอเชียถือหุ้น 49% และนายทัศพลถือหุ้น 1% เนื่องจากบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีคนไทยถือหุ้นน้อยกว่า 51% จึงทำให้สายการบินไทยแอร์เอเชียขาดคุณสมบัติและใบอนุญาตประกอบการบินจะสิ้นสุดลงทันที ตั้งแต่ 22 ก.ย.2547 ถึง 14 ก.พ.2549 เพราะในวันที่ 14 ก.พ.2549 บริษัทแอร์เอเชียได้แจ้งเปลี่ยนสัดส่วนหุ้น (ช่วงขายหุ้นเทมาเส็ก) โดยมีบริษัทมาเลเซีย แอร์เอเชีย(ต่างชาติ) ถือหุ้น 49% นายทัศพล ถือหุ้น 1% และบริษัทเอเชียเอวิเอชั่น ถือหุ้น 50% พร้อมขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจการบินในนามของการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนหุ้นครั้งล่าสุด
"โดยในช่วงที่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นเข้ามาถือหุ้น 50% ทำให้ขาดคุณสมบัติในการได้รับใบอนุญาตประกอบการบิน ขอ.ได้ไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีไว้ที่สถานีตำรวจดอนเมืองแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการระหว่างส่งเรื่องให้อัยการเพื่อดำเนินคดี ฟ้องร้องในขั้นศาลต่อไป"
ก่อนหน้านี้ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บอกว่า ตนเองได้มาติดตามกรณีสายการบินไทยแอร์เอเชีย กระทำผิดและไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจการบินที่กำหนดให้ต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% จึงได้เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางอากาศได้พิจารณาเพื่อสั่งระงับการเงินของไทยแอร์เอเชียโดยเร็ว หากดำเนินการล่าช้าถือว่ามีการทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
"การเอาผิดไทยแอร์เอเชียย้อนหลังต้องเอาผิดทางแพ่งด้วย เพราะถือว่าได้ทำผิดมาตั้งแต่ต้น หากไทยแอร์เอเชียต้องการเปิดให้บริการจะต้องจดทะเบียนสายการบินใหม่ และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายหากตรวจสอบว่าใบอนุญาตใช้สิทธิทางการบินเป็นโมฆะจะต้องระงับการบินทันที" พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า ไทยแอร์เอเชียจดทะเบียนเครื่องบินที่ให้บริการในประเทศไทยจำนวน 9 ลำ แต่ปัจจุบันมีเพียงเครื่องบินแค่ลำเดียวเท่านั้นที่ใช้ชื่อไทยแอร์เอเชีย ส่วนอีก 8 ลำนั้นยังคงใช้โลโก้แอร์เอเชียซึ่งเป็นของมาเลเซียบินอยู่ และด้วยจำนวนเที่ยวบินที่ไทยแอร์เอเชียบินอยู่ในหนึ่งปีมีการสำรวจพบว่าสูงถึง 2.39 หมื่นเที่ยวบิน
“หากไทยแอร์เอเชียยังคงมีปัญหาและไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองได้แล้ว เชื่อได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินภายในประเทศของไทยอย่างแน่นอน”พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย
|
|
|
|
|