|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซีพีเชื่อปีนี้พืชพลังงานยังมาแรงเร่งศึกษาวิจัยให้มากขึ้น เล็งลงทุนทำ R&D ในประเทศ “เวียดนาม-จีน-อินเดีย”ให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้น ขณะที่ “เจียไต๋” คาดปีนี้ส่งออกยังขยายตัวได้ดี 10-15 % แต่เผชิญปัญหาในประเทศถูกขโมยสายพันธุ์สูญเงินลงทุนปรับปรุงสายพันธ์กว่าปีละ 100 ล้านพร้อมวาง 4 ยุทธศาสตร์กินรวบในทวีปเอเชีย
เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่รู้จักในนาม “ซีพี” ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการเกษตรในประเทศไทย ขณะที่ตัวขับเคลื่อนธุรกิจเมล็ดพันธุ์อย่าง “เจียไต๋ ”ยังเน้นไปที่การส่งออกกว่า 65 % เหมือนเดิมเพื่อคงความเป็นพี่เบิ้มในเวทีไทยและเวทีโลก
เอี่ยม งามดำรงค์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ประธานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร กล่าวว่า นโยบายของกลุ่มพืชในเครือซีพีปีนี้สำหรับงานวิจัยทั้งหมดตั้งงบประมาณไว้กว่า 100 ล้านบาทจะมุ่งไปที่การพัฒนาและวิจัยกลุ่มพืชพลังงานมากขึ้นเช่น ข้าว อ้อย ปาล์ม มันสำปะหลัง และ ข้าวโพด ฯลฯ เห็นได้ชัดเจนว่าปีนี้จะยังมีความต้องการด้านพลังงานจะยังเพิ่มขึ้นทางบริษัทจึงมีนโยบายขยายพื้นที่การเพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้านก่อนอาทิ ในลาว เพราะประเทศลาวมีความพร้อมในพื้นที่และแรงงานขาดแต่เพียงเทคโนโลยีซึ่งทางซีพีจะเข้าไปสนับสนุนให้ดำเนินการได้ต่อไป
โดยบริษัทฯยังได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพดในลักษณะคอนแทรคฟาร์มมิ่งที่บริษัทจะรับประกันซื้อคืนในราคากิโลกรัมละ 5.50 บาทเพื่อป้อนโรงงานอาหารสัตว์ของซีพีในลาว และอีกส่วนจะส่งกลับมาป้อนโรงงานอาหารสัตว์ในไทยได้ด้วย
“บริษัทฯมีแผนงานที่จะลงทุนผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ประเทศจีน เวียดนาม และ อินเดีย โดยมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ดีเพื่อให้มีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการส่งเสริมการเพาะปลูกมาใช้”เอี่ยม ระบุ
ด้านมนัส เจียรวนนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจเมล็ดพันธ์ของบริษัทฯถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเพราะขณะนี้ทั่วโลกให้การยอมรับเมล็ดพันธ์ของบริษัทฯโดยมีสัดส่วนมาร์เกตแชร์ในตลาดรวมในประเทศไทยประมาณ 35 % ประมาณ 1,000 ล้านบาทขณะที่อีก 65 % จะส่งออกไปใน 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ อินโดนีเชีย เวียดนาม พม่า ที่เป็นเพื่อนบ้านมียอดขายที่ดีแต่ตัวเลขรายได้ไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับประเทศกำลังมาแรงมีกำลังซื้อสูงคือประเทศที่อยู่ใน South Asia อย่างประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ประเทศเหล่านี้มีกำลังซื้อสูงมากและถือว่าเป็นตลาดในอนาคตของบริษัท แต่ยังมีคู่แข่งที่น่ากลัว เช่น บริษัท มอนซานโต้ของสหรัฐอเมริกา และบริษัทของประเทศญี่ปุ่น
“ปีนี้การส่งออกน่าจะขยายตัวอยู่ 10-15 % ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจเมล็ดพันธ์ไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมากนัก” มนัส ระบุ
สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจนั้นได้วางไว้ 4 ยุทธศาสตร์ด้วยกันคือ1. ความกว้างของสายพันธ์ 2. ใช้เทคโลยี Bio Technology คือเทคโนโลยีชีภาพในการปรับปรุงพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการต้านทานต่อโรค การเจริญเติบโต การควบคุมรักษาคุณภาพของสายพันธ์ 3. ทำให้เมล็ดพันธ์ที่ออกจากโรงงานไปมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และ ประการสุดท้าย 4 .มุ่งให้เกิดการยอมรับของลูกค้ากว่า 30 ประเทศและขยายลูกค้ามากขึ้น
อย่างไรก็ตามบริษัทเจียยังมีปัญหาที่ต้องตามแก้ไขคือการขโมยสายพันธ์ ซึ่ง “มนัส ”อธิบายว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมากกว่า 100 ล้านบาทที่บริษัทลงทุนการในปรับปรุงสายพันธ์ ของพืชชนิดต่างๆ แล้วเกิดจากการขโมยสายพันธ์ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีพ.ร.บ.หรือออกกฏหมายที่ควบคุมโดยเฉพาะ โดยผู้ที่ขโมยสายพันธ์เหล่านี้กลับมาเป็นคู่แข่งบริษัทฯอีกซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก
“ ที่หลายคนมองว่าบริษัทเจียไต๋คือกลุ่มทุนรายใหญ่ที่ผูกขาดธุรกิจเมล็ดพันธ์นั้นคงไม่ใช่เรื่องจริงยืนยันได้ 100% เพราะในบ้านเราก็มีบริษัทเมล็ดพันธ์เข้ามามากมายไม่ว่าจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป และที่กำลังจเข้ามาอีก จึงเป็นไปไม่ได้ว่าเจียไต๋จะผูกขาดธุรกิจประเภทนี้ได้ ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เจียไต๋ ระบุ
|
|
|
|
|