Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์25 มิถุนายน 2550
SC หาทางชิ่งออกจากตลาดหุ้น เลี่ยง “คตส.-ก.ล.ต.” ล้วงหลักฐานฟัน “ทักษิณ”             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ทักษิณ ชินวัตร
Real Estate




เอสซี แอสเซท อ่วม ทั้งโดนอายัดบัญชีในบริษัทย่อยของครอบครัว แถมดีเอสไอฟันธง “ทักษิณ” เข้าข่ายซุกหุ้นไม่ยื่นบัญชี มีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ถึงขั้นเจอคุก 5 ปี คาดไม่ช้า SC ออกจากตลาดหุ้น ใช้เงินไม่ถึงพันล้านซื้อหุ้นคืนเพื่อเลี่ยง “คตส.-ก.ล.ต.” สาวข้อมูลเชิงลึกดำเนินคดี “ทักษิณ-พจมาน”

การอายัดทรัพย์จำนวน 21 บัญชี ของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เมื่อ 11 มิถุนายน 2550 ตามมาด้วยการอายัดเพิ่มเติมอีก 7 บัญชีเมื่อ 18 มิถุนายน หลังจากที่ตรวจสอบผลว่าเงินหายไปจากบัญชีอีก 8 พันล้านบาท ถัดมาอีก 1 วันกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้สรุปสำนวนสอบสวนในเรื่องการถือครองหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC

จากโครงสร้างอันสลับซับซ้อนในการถ่ายหุ้นไปมา ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นเจ้าของหุ้นและเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับหุ้น SC และสงสัยว่าบริษัท วินมาร์ค และกองทุนในต่างประเทศที่รับโอนหุ้น SC อาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของทักษิณกับครอบครัว

ข้อสรุปของ “ดีเอสไอ” ชัดเจนว่า การดำเนินการโยกย้ายหุ้นของ SC ในครั้งนี้เข้าข่ายไม่แสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน และอาจเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จ เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่อาจถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งถือเป็นคนละคดีกับคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักไทย รวมถึงเข้าข่ายความผิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ที่มีทั้งโทษปรับและโทษจำคุก อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนับจากนี้ไป ผู้ที่ถูกกล่าวหาอย่างอดีตนายกรัฐมนตรีจะต้องชี้แจงเรื่องที่มาที่ไปของหุ้นดังกล่าว

นอกจากนี้ เมื่อ 20 มิถุนายน 2550 ทาง ตคส.ยังได้อายัดบัญชีเพิ่มเติมอีก 7 บัญชีมูลค่า 4.957 พันล้านบาท รวมแล้วทาง คตส.อายัดบัญชีของบุคคลในครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ทั้ง 35 บัญชี

ผลจากคำสั่งอายัดทรัพย์ในบัญชีของคนในครอบครัวชินวัตร และดามาพงศ์ ได้ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของ SC ลดลงจาก 10.60 บาท เหลือ 8.55 บาท ลดลงไป 19.34%

เพิกถอนโดยสมัครใจ

แหล่งข่าวจากวงการหุ้น กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับ SC นั้นถือเป็นผลกระทบจากจิตวิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีการโอนหุ้นกันไปมา ในส่วนของปัจจัยพื้นฐานของตัวธุรกิจ SC ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รายได้หลักจากค่าเช่าต่างๆ ยังเหมือนเดิม เชื่อว่าปัญหาใน SC อาจจะยังไม่จบสิ้นจากผลทางคดีที่เชื่อมโยงไปยังคนในครอบครัวชินวัตร ดังนั้นราคาหุ้นมีสิทธิที่จะอ่อนตัวลงได้อีก

ด้านแหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า หากปัญหาที่เกิดขึ้นกับ SC ยืดเยื้อต่อไป ความเป็นไปได้สูงว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ของอาจตัดสินใจนำหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการออกจากตลาดหลักทรัพย์ด้วยความสมัครใจ

เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการถือหุ้นปัจจุบัน ทั้ง แพทองธาร พิณทองทา และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร และบรรณพจน์ ดามาพงศ์ (พี่ชายบุญธรรม) ถือหุ้นรวมกัน 211.134 ล้านหุ้น มีหุ้นที่เหลือที่ไม่ใช่คนในครอบครัวอีก 109.87 ล้านหุ้น การใช้เงินทำการซื้อหุ้นคืนเพื่อขอออกจากตลาดหลักทรัพย์ หากยึดจากราคาที่ 8.55 บาท จะใช้เงินราว 939 ล้านบาทเศษเท่านั้น เงินจำนวนนี้คงไม่ใช่ปัญหาสำหรับครอบครัวชินวัตร

แต่อาจจะใช้เงินน้อยกว่านี้ หากผู้ถือหุ้นปัจจุบันตามรายชื่อที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 5 เมษายน 2550 เป็นตัวแทนถือหุ้นให้กับครอบครัวชินวัตรหลังจากที่กองทุนโอเวอร์ซีส์ และกองทุนออฟชอร์ ไดนามิกฟันด์ ได้ขายหุ้นออกมาเมื่อพฤษภาคม 2549

“เท่าที่ทราบมาหากมีการซื้อคืนหุ้น SC เพื่อออกจากตลาดหลักทรัพย์ ทางผู้ถือหุ้นใหญ่จะมีการบวกเพิ่มราคาให้ในระดับหนึ่ง”

จากนั้นการต่อสู้ทางคดีก็ดำเนินต่อไปโดยไม่กระทบต่อราคาหุ้น แต่จะทำให้มูลค่ารวมของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หายไปราว 2.8 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มาก

ตามข้อมูลยากขึ้น

แม้ว่าการออกจากตลาดหุ้นของ SC จะทำให้บริษัทไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเหมือนตอนที่อยู่ในตลาด ตามเกณฑ์ที่รัฐบาลไทยรักไทยได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 25% เป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชี แต่หากออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับครอบครัวชินวัตรมากกว่า

ทั้งนี้ การออกจากตลาดหลักทรัพย์ แม้ว่าจะไม่ช่วยให้คดีที่เกิดขึ้นในเวลานี้ลดความเข้มข้นลง แต่หากคดียืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ การติดตามหรือสืบคืนข้อมูลของครอบครัวชินวัตรก็จะยากขึ้น รวมถึงไม่ต้องมาเสี่ยงกับความผิดที่จะเกิดขึ้นจากการรายงาน ไม่รายงาน หรือการปกปิดข้อมูลที่ต้องแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อีกต่อไป

ที่สำคัญ หากคดียืดเยื้อออกไป ผ่านพ้นรัฐบาลชุดปัจจุบัน เอสซี แอสเซท จะกลายเป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญให้กับครอบครัวชินวัตรในการดำเนินการใดๆ และการตรวจสอบจะไม่ง่ายเหมือนเดิมอีกต่อไป

“ทักษิณ” พลาด

เขากล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาหลังจากครอบครัวชินวัตรขายหุ้นชินคอร์ป ออกไปให้กับเทมาเส็ก โฮลดิงส์ จากสิงคโปร์ เมื่อ 23 มกราคม 2549 แต่ยังเหลือกิจการที่เป็นของครอบครัวจริง ๆ ที่ถือครองหุ้นใหญ่และมีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ คือ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด (มหาชน) ดังนั้น บริษัทแห่งนี้จึงกลายเป็นที่จับตาของคนทั่วไปว่าจะกลายเป็นฐานธุรกิจที่สำคัญของครอบครัวชินวัตร

เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองเมื่อ 19 กันยายน 2549 ครั้งนั้นยังไม่มีการดำเนินการยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ได้มีการอายัดทรัพย์จริงๆ คือในวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา

“ไม่รู้ว่าเป็นความประมาท หรือมั่นใจอะไรสำหรับครอบครัวชินวัตร ที่โอนเงินจากการขายหุ้นมูลค่า 7.3 หมื่นล้านมาลงในบัญชีของลูกๆ และเครือญาติในบริษัทย่อยของ SC ทั้งๆ ที่คุณทักษิณเป็นคนที่รอบคอบมาก ซึ่งในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการนั้นการโอนเงินเหล่านี้ไปยังบัญชีในต่างประเทศคงทำได้ไม่ยาก”

ด้วยความที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องมีการเปิดเผยธุรกรรมต่างๆ ต่อตลาดหลักทรัพย์ตลอดเวลา การสืบค้นข้อมูลทั้งตัวบริษัท SC และบริษัทย่อยต่างๆ ทำได้ไม่ยากนัก อีกทั้งบริษัทอื่นๆ ที่ถูกอายัดบัญชีนั้นก็ตรวจสอบได้ด้วยการตามเส้นทางของเงินที่โอนไปตามที่ต่างๆ ที่ คตส.ใช้อยู่

บริษัทย่อยเหล่านี้รวมถึงบัญชีเงินฝากล้วนแล้วแต่อยู่ในประเทศไทยทั้งสิ้น ดังนั้น การตรวจสอบจึงทำได้ค่อนข้างง่าย อีกทั้งคุณนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัวยังแจกแจงบัญชีที่โอนเงินจากการขายหุ้นไปบัญชีเงินฝากต่างๆ ทำให้ คตส.ดำเนินการอายัดในเวลาต่อมา

แม้ว่าเงินจากการขายหุ้นชินคอร์ป มูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาทนั้น อาจจะยังอยู่ในประเทศไทย การอายัดนั้นไม่ได้หมายความว่าจะยึดเงินในบัญชีเหล่านั้นได้ทั้งหมด หากคนในครอบครัวชินวัตรสามารถนำเอาหลักฐานมาชี้แจงได้

อย่างไรก็ตาม การเดินหมากเพื่อแก้เกมที่ คตส.และหน่วยงานของรัฐที่ไล่บี้ทรัพย์สมบัติของครอบครัวชินวัตร คงไม่มีแค่เพียงการนำเอา SC ออกจากตลาดหุ้นเท่านั้น เงินบัญชีอื่นๆ หรือวิธีการแปรรูปเงินไปในรูปแบบของการลงทุนต่างๆ ที่ยังรอดพ้นการตรวจสอบ น่าจะยังมีมากพอที่จะนำมาใช้ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากอย่างเช่นปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us