พิสิฐ ลี้อาธรรมโด่งดังขึ้นมาเมื่อเขาไปมีบททาทในฐานะที่ปรึกษาส่วนตัวของนูกูล
ประจวบเหมาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมมาคมในกรณีพิจารณาบททวนสัญญา"โครงการโทรศัพท์
3 ล้านเลขหมาย" ที่ซีพีเทเลคอมของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกจจากรัฐบาลชุดที่แล้ว
(ชาติชาย) ให้เป็นผู้การชนะประมูลในการดำเนินการลงทุน ติดตั้งให้องค์การโทรศัพท์
พิสิฐ (และทีมงานเทคโนแครตจากสภาพัฒน์) ได้ศึกษาและยกจุดบกพร่องของสัญญาที่เตรียมจะเซ็น
แต่ยังไม่ได้เซ็น เนื่องจากคณะทหารทำการปฎิวัติล้มรัฐบาลชาติชายเสียก่อนขึนมา
11 ข้อ ที่ต่อมาภายหลังถูกเปิดเผยโดยหนังสือพิมพ์ " ผู้จัดการรายวัน"
เป็นแห่งแรก ก่อนหน้าที่มีคณะที่มีคณะทหารระดับสูงของซีพีจะรับรู้ด้วยซ้ำ
ข้อบกพร่องของสัญญาที่พิสิฐและทีมงานเทคโนแครตสภาพัฒน์ค้นพบนำไปสู่การเจรจาต่อเรื่องซีพีกับรัฐบาลอย่างดุเดือด
เพราะเต็มไปด้วยเทคนิคการเจรจาทั้งเลิศล้ำทั้งบนโต๊ะเจรจาในทำเนียบและนอกโต๊ะ
"มันเป็นเหตุผลของรัฐบาลที่ต้องการเปลี่ยนหลักการของสัญญา (TERM OF
REFE RENCE) ที่รัฐบาลชุดที่แล้วเห็นชอบด้วย" แหล่งข่าวซีพีบอกกับ "ผู้จัดการ"
ถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการวิพากษ์วิจารณ์ในสมุดปกเหลืองของพิสิฐและทีมเทคโนแครตที่นุกูลตั้งขึ้น
บนพื้นฐานของเหตุการณ์กรณีโทรศัพท์นี้เอง ที่ทำให้พิสิฐตกเป็นเป้าสายตาของคนในแวดวงค์ธุกิจทั่วไปในประเด็นที่ว่า
นอกเหนือจากการเป็นโฆษกแบงก์ชาติแล้ว เขาเป็นใคร? นุกูลถึงวางบทบาทเขาสูงเด่นในเรื่องนี้
พิสิฐ เป็นนักเศรษฐศาสตร์อายุ 40 ปี ทำนประจำอยู่ที่แบงก์ชาติ ในตำแหน่งผู้อำนวยการผู้ว่าการก่อนหนน้านี้เขาเป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติในมหาวิทยาลัยรอตเตอร์ดัม
ประเทศฮอลแลนล์อยู่ 7 ปี เคยทำงานใช้ชีวิตเป็นนักเศรษฐศาสตร์อยู่ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หรือไอเอ็มเอฟอยู่ถึง 4 ปี กว่ามีผลงานในเรื่องการให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลฆาน่า
โซมาเลีย และจอร์แดน ในการปรับปรุงระบบการเงินการครังของประเทศ ระหว่างที่นักเศรษฐศาสตร์อยู่ฝ่ายที่อัตราแลกเปลี่ยนและการค้าระหว่างประเทศใน
IMF ช่วงระหว่างปี 2530 - กลางปี 2533
พิสิฐสังกัดตัวเองอยู่กับเทคโนแครต เขาเชื่อมันในกฎเกณท์การแข็งขันเสรีที่อยู่ภายใต้การออกแบบระบบ
และกติกาการแข็งขันของเทคโนแครตเพราะเขาเชื่อว่าเทคโนแครตเป็นกลุ่มคนที่ปลอดผลประโยชน์ส่วนนตัว
และทำงานบนพื้นฐานผลประโยชน์ของประชาชนและรัฐอย่างแท้จริง
"กรณีโทรศัพท์ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่าหลักการการมาส่วนร่วมของเทคโนแครตได้หายไป
มาเป็นเรื่องของนักการเมืองที่กุมอำนาจรัฐกับนักลงทุนเอกชนร่วมกันทำ มาเป็นกระบวนการที่ผิดพลาดมากในการแสดงออกซึ่งการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน"
พิสิฐกล่าวถึงปรัชญาของเศรษฐศาสตร์การเมืองของเขา จากกรณีตัวอย่างการทบทวนหลักการให้สัมปทานแก่ซีพีในโครงการโทรศัพท์
ปรัชญาข้อนี้ของพิสิฐมาจากประสบการณ์ในอดีตของเขาที่ฮอลแลนล์ เขาบอกกับ
"ผู้จัดการ" ว่า พรรคการเมืองต่างๆ ในฮอนแลนล์จะมีเทคโนแครตสังกัดอยู่
และเทคโนแครตเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ กระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล
ในการดำเนินมาตราการหรือนโยบายใดๆ ทุกด้านที่เขาเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อการสูญเสียผลประโยชน์ของประชาชนอย่างเปิดเผย
"มาเป็นการต่อสู้กันโดยข้อมูล และเหตุผลอย่างมีตรรกะระหว่างเทคโนแครตของรัฐกับเทคโนแครตพรรคการเมืองฝ่ายค้านในโครงการต่างๆ"
เขายกตัวอย่างบทบาทเทคโนแครตในฮอนแลนล์
นอกจากแล้วการที่เขาได้มีโอกาสทำงานใน IMF ยิ่งช่วยตอกย้ำถึงความเชื่อมสั่นในการแข็งขันเสรียี่ขึ้นไปอีก
"การที่พวกเราได้เข้าไปวางระบบอัตราการแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความจริงในตลาดกำหนดแผนการก่อหนี้
และชำระหนี้ให้รัฐบาลฆาน่า ซึ่งก่อนหน้าที่พวกเราจะเข้าไปฆาน่ากำลังเผชิญปัญหาวิกฤติการณ์ไม่มีเงินตราต่างปรีะเทศพอในการชำระหนี้
เวลานี้แผนการปรับปรุงระบบการเงินการคลังของฆาน่าได้รับการยอมรับจากIMF ว่ามาเสถียรภาพดีที่สุดประเทศหนึ่งในอัฟริกา"
พิสิฐพูดถึงความสำเร็จเขาและสหายใน IMF กระทำระหว่างที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่นั้น
ชีวิตใน IMF เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวตอที่สำคัญเพราะ หนึ่ง เขขาได้รับการฝึกผล
และรับทราบข้อมูลความจริงในความเป็นเศรษฐกิจ การเงินของทุกประเทศในโลกจนเขาสามารถใช้เวลาส่วนหนึ่ง
ที่เป็นวันหยุดและหลักเลิกงานทำการเก็บข้อมูลและวิเคระห์เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
FISCAL DEFICIT AND THE BALANCE OF PAYMENT ADJUSTMENTS : A CASE SYUDY ON
THAILAND IN THE 1980S AND PROSPECT FOR THE 1990S เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยรอตเตอร์ดรัม
ได้จนสำเร็จ สอง เขาเรียนรู้วิธีการทำงานของคณะกรรมการบริหาร IMF ในกลเม็ดและเทคนิคในการเจรจาต่อรอง
การเข้าถึงปัญหาและการแก้ปัญหาระหว่างประเทศในประชาคม IMF
ไอเอ็มเอฟ เป็นสภาบันการเงินที่ให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ประสบปัญหาฐานะทางการเงินการคลังย่ำแย่
กู้ยืมไปเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
มองจากบทบาทของไอเอ็มเอฟเช่นนี้ พิสิฐจึงมีชีวิตที่ด้านในตัวเองคือ ด้านหนึ่งเขาทำงานให้แบงก์ชาติไทย
ที่ครั้งหนึ่งสมัยนุกูล ประจวบเหมาะเป็นผู้ว่าการฯ( ระหว่างปี 2524-27 )
ห้วงเวลานั้นประเทศไทยกำลังจะประสบปัญหาวิกฤตติการณ์ทางการคลังอย่างรุนแรงจึงขอเจรจากู้ยืมเงินจากไอเอ็มแอฟ
พิสิฐในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญการคลังสาธารณะและเคยนั่งทำงานอยู่ไอเอ็มแอฟระหว่างปี
2525-26 ( ก่อนหน้าที่เขาจะกลับเข้า ไอเอ็มเอฟอีกครั้งในปี 25330-33) ก็ต้องติดตามนตุกูลไปเจรจากู้ยืมจากไอเอ็มเอฟด้วยในฐานะผู้รู้เรื่องดีในด้านการคลังและการกู้ยืมจากไอเอ็มแอฟ
ภารกิจในการไปเจรจากู้ยืมไอเอ็มแอฟนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นที่พิสิฐได้แสดงให้นุกูลเห็นถึงความสามารถในการทำงานระดับเสนาธิการทางวิชาการของเขา
และการเชื่อมโยงของเหตุการณ์ระหว่างความเป็นนายกับลูกน้อง เมื่อครั้งนั้นก็ได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อนุกูลกลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรีคมมาคมในรัฐบาลชุดปัจจุบันโดยมีพิสิฐเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐบาลชุดปัจจุบันโดยมีพิสิฐเป็น