|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ช่อง 5 เร่งผู้จัดเสนอรายการเข้าสู่ผังใหม่ปี 25541 แต่ไก่โห่ ชี้จะได้มีเวลาพิจารณามากขึ้น ด้านผู้จัดรายการแห่ขอคืนเวลาเหตุแบกต้นทุนไม่ไหว ส่งผลให้ผู้จัดทีไอทีวีสบช่องเสนอรายการเข้าแทรก เผยไตรมาสแรกเรตติ้งช่อง 5 พุ่ง 40%
พลเอกวุฒิชัย พรพิบูลย์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) เปิดเผยว่า ในปีนี้ช่อง 5 จะมีการปรับผังอีก โดยล่าสุดผังเดือนกรกฎาคมนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอีก ขณะเดียวกันได้ประกาศให้ผู้จัดรายการเสนอรายการในผังใหม่ปี 2551 ได้แล้ว ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าเดิม เนื่องจากต้องการให้มีเวลาในการพิจารณามากขึ้น เพราะมีผู้จัดจำนวนมากที่เสนอตัวเข้ามา ซึ่งยังคงมุ่งเน้นสัดส่วนรายการสาระ 40% รายการข่าว 30% รายการบันเทิง 30%
ไตรมาสแรกเรตติ้งพุ่ง
“ช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองไม่ค่อยดี ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาอาจจะลดลง ส่งผลให้ผู้จัดรายการบางรายได้ขอคืนเวลาให้กับทางช่อง 5 เนื่องจากทำไปแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งเราก็ต้องหารายอื่นเข้ามาแทน ซึ่งในการเซ็นสัญญาเราก็ตกลงกันแล้วว่า ถ้าได้เวลาแล้วทำต่อไปไม่ไหวอย่าเอาเวลาไปขายต่อ เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวาย
อย่างไรก็ตามในภาพรวมของช่อง 5 หลังจากปรับผังมาเมื่อต้นปีนี้ พบว่าในไตรมาสแรก ตัวเลขเรตติ้งรวมเพิ่มขึ้น และผู้ชมขยายตัวเพิ่มกว่า 4 ล้านคน อีกทั้งเรตติ้งเฉลี่ยไพร์มไทม์พุ่งขึ้นอีก 40% จาก 5.4 เป็น 8.8 และผลประกอบการเพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ช่อง 5 ยังมีกำไรสะสมอยู่เป็นหลักพันล้านบาท แม้จะไม่ได้เน้นเชิงธุกริจมากนัก แต่ก็ต้องให้องค์กรอยู่ได้ โดยที่ผ่านมาครึ่งปีแรกช่อง 5 มีรายการที่ออกอากาศเกี่ยวกับสาธารณะสังคมโดยไม่ได้เงินมากกว่า 17 ล้านบาท
สำหรับรายการประเภทข่าวคงจะต้องมาปรับให้เข้มข้นขึ้นอีก ซึ่งปัจจุบันรายการข่าวของช่อง 5 ซึ่งผลิตเองทั้งหมดได้รับความนิยมมากขึ้นและแตกต่างจากอดีตมากขึ้น โดยมีจำนวนเวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมงต่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม คงไม่ได้เพิ่มเวลามากขึ้นกว่านี้มากนัก อีกทั้งไม่มีนโยบายที่จะดึงผู้ที่มี่ชื่อเสียงหรือดารามาอ่านข่าว เพราะว่า แม้จะได้รับความนิยมดึงคนดูจริงแต่เป็นระยะหนึ้งพร้อมทั้งต้นทุนก็สูงด้วย
รายใหญ่แห่คืนเวลา
พลตรีพีรสันต์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธื รองผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการ เปิดเผยเกี่ยวกับผังรายการว่า กลุ่มผู้จัดรายการที่ได้มีการขอคืนเวลาให้กับช่อง 5 ช่วงที่ผ่านมานี้มีไม่มากประมาณ 7-8 รายการ กระจายไปในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการพูดคุยกันถึงปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆ รวมทั้งได้มีการร่วมมือกันแก้ไขมาตลอด แต่เมื่อไม่สามารถทนแบกต้นทุนได้ก็คืนเวลามาบ้าง เช่น บริษัท โพลีพลัส ขอคืนเวลา 2 รายการคือ ทีเด็ดจังและรายการบัลลังก์เมฆ ซึ่งตรงนี้มีผลกระทบกับช่อง 5 พอสมควรเพราะอยู่ในช่วงเวลาที่ดี , รายการเกมประชาชนของบริษัท เนเวอร์แลนด์ ที่คืนเวลามาให้ 2 วันคือ จันทร์-อังคาร แต่ยังเหลืออีก 3 วัน
ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้จัดรายการใหม่ๆรวมทั้งผู้จัดเดิมของช่องทีไอทีวีประมาณ 10 กว่าราย ที่เสนอรายการเข้ามาซึ่งบางรายก็อยู่ระหว่างการพิจารณา บางรายก็เข้าบรรจุในผังใหม่แล้ว เช่น รายการสะบัดช่อ ของบริษัท ทีวีธันเดอร์ ซึ่งเคยจัดที่ทีไอทีวีมาก่อน แต่จะมีการปรับรูปแบบ หรือบริษัทของวิลลี่ แมคอินทอช เช่นรายการ อำกีฬา
สำหรับประเด็นที่มติครม.กำหนดเวลาการออกอากาศรายการทางโทรทัศน์ ซึ่งจัดระดับความเหมาะสมให้รายการกลุ่ม “น” ต้องอยู่หลัง 20.00 น. และกลุ่ม “ฉ” อยู่หลัง 22.00 น. นั้น พลเอกวุฒิชัย กล่าวว่า เข้าใจว่าเป็นเจตนาดีของรัฐบาลแต่เกรงว่าอาจจะเกาไม่ถูกที่คัน แต่ช่อง 5 เองก็ไม่มีผลกระทบอยู่แล้ว เพราะรายการส่วนใหญ่กว่า 130 รายการ มีรายการในกลุ่ม “ท”สำหรับผู้ชมทั่วไป 123 รายการ มีรายการในกลุ่ม “ด” สำหรับเด็กอยู่ 2 รายการ และรายการกลุ่ม “น” มีเพียง 3 รายการที่อยู่ก่อนเวลา 20.00 น. คือ รายการมยุรามอร์นิ่งเมาท์ รายการเคลียร์เป็นข่าว รายการอ๋อซียู ส่วนรายการละครภาคค่ำนั้นอยู่หลังเวลา 20.15 น. อยู่แล้ว
สำหรับรายการประเภท “ฉ” มีรายการเดียวคือ นาทีฉุกเฉิน ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 21.24 น. ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหานั้นจะร่วมมือกับผู้จัดรายการทั้งการปรับเนื้อหาใหม่ หรือเปลี่ยนช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยต้องรอดูความชัดเจนอีก 3 เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งจะมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ” เพื่อจัดทำกฎหมายและนโยบายในการจัดระดับเรตติ้งทีวีอันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรงศึกษาธิการ และภาคประชาชน
ทุ่มงบพัฒนาสู่ระบบดิจิตอล
พันเอกไกรสร ศรีสุข หัวหน้าฝ่ายเทคนิค กล่าวว่า ขณะนี้ได้เสนอของบประมาณจำนวน 70 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงอุปกรณ์เครือข่ายการส่งสัญญาณให้เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมภายในองค์กรก่อนที่จะส่งสัญญาณดิจิตอลในอนาคต ให้เป็นไปตาม แนวทางของสมาพันธ์โทรทัศน์แห่งโลก ที่กำหนดไว้ว่าโทรทัศน์จะต้องส่งระบบดิจิตอลภายในปี 2558
นอกจากนั้นยังได้ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาทเพื่อสั่งซื้อรถโอบี หรือรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่จำนวน 1 คันจากออสเตรเลีย จะส่งเข้ามาเดือนสิงหาคมนี้ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 3 คัน
ส่วนสถานีเครือข่ายส่งสัญญาณนั้นปีนี้จะเพิ่มอีก 1 สถานีเครือข่ายที่อำเภอบันนังสะตา จังหวัดยะลา จากเดิมที่มีเครือข่ายแล้ว 39 สถานีทั่วประเทศครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 80% แล้ว ซึ่ง 4 สถานีเครือข่ายล่าสุดที่เพิ่งเปิดไปคือ อ.ปายและอ.แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน, ชัยภูมิและเลย
|
|
|
|
|