ผู้ชายคนนี้เพิ่งอายุ 26 ปี เขาเรียนหนังสือที่เมืองไทยเพียงแค่ชั้นประถม
6 ที่อัสสัมชัญ แล้วไปเรียนที่อังกฤษ จนจบปริญญาตรีทางการตลาดในสาขาวิชาที่เรียกว่า
STRATEGIC PLANNING จาก THE AMERICAN COLLEGE IN LONDON
สองปีที่แล้ว ตอนที่เพิ่งกลับมาถึงเมืองไทยใหม่ๆ เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยการเป็นพนักงานขายของ
บริษัทเฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ส์ (ประเทศไทย) รับเงินเดือนแค่เดือนละ 5,000
บาทเท่านั้น และในช่วงเวลาเพียง 2 ปี วันนี้ธรรมรัตน์ เล็กประยูร ไต่เต้าขึ้นมาเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด
ของ เฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ส์ (ประเทศไทย) นับเป็นหนึ่งในคนไทยไม่กี่คนที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารของกลุ่มเฟิส์ท
แปซิฟิคในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว
ธุรกิจทางด้านเรีลเอสเตทของเฟิสท์ แปซิฟิค ในประเทศไทยนั้นปรกอบด้วย เฟิสท์
แปซิฟิค แลนด์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนทำโครงการเรียลเอสเตท
เฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ส์(ประเทศไทย) ทำหน้าที่ทางด้านการตลาดและเฟิสท์ แปซิฟิค
เดวี่ส์ พร็อบเพอตี้ แมนเนจเม้นท์ ให้บริการทางด้านบริหารโครงการ
"หัวใจจริงๆ ของเราคือ ขายพื้นที่เล็กๆ 100-200 ตารางเมตร" ธรรมรัตน์พูดถึงงงานในฝ่ายการตลาดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของเขา
คือการเป็นนายหน้าขายพื้นที่อาคารสำนักงานให้กับนักลงทุนทั่วๆไป ไม่ต่างจากธุรกิจนายหน้าอื่นๆ
อย่างเช่น ริชาร์ด เอลลิส
แต่เฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ล์ นั้น ไม่ใช่นายหน้าธรรมดาสไตล์การทำธุรกิจเรียลเอสเตทของ
เฟิสท์ แปซิฟิคที่รับรู้กันในวงการคือเข้าไปเทคโอเวอร์โครงการแล้วขายเอากำไรอีกทีหนึ่ง
โดยมีเฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ส์ ทำหน้าที่เสมือนแนวหน้าในการเสาะหาเป้าหมายในการซื้อ
แล้วทำการเจรจาต่อรองตกลงราคาซื้อขายคนที่เข้าซื้อก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นเฟิสท์
แปซิฟิค แลนด์ แอนด์พาร์ทเนอร์ นั่นเอง
ตัวอย่างผลงานการซื้อขายในช่วงสองปีที่ผ่านมาที่ธรรมรัตน์เข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องก็คือตึกแปแซิฟิค
ทาวเวอร์ ซึ่งเดิมชื่อตึกทานตะวันของกลุ่มทานตะวัน ซึ่งดำเนินการในนามบริษัทดีแนล
แล้วเฟิสท์ แปซิฟิค เข้าไปซื้อมาแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่
"ตอนแรกเราเข้าไปเพื่อทำการตลาด ขายพื้นที่ให้เขา" ธรรมรัตน์
เล่าให้ฟัง แต่ทำไปทำมาแล้วในที่สุดเฟิสท์ แปซิฟิคกลับยื่นข้อเสนอขอซื้อตึกในมูลค่า
600 ล้านบาท เมื่อปลายปี 2532 โดยเฟิสท์ แปซิฟิค แลนด์แอนด์ พาร์ทเนอร์ เข้าไปถือหุ้น
90 % ในบริษัทดีแนล และจ้างเฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ส์ เป็นผู้บริหารงานด้านการตลาด
หาคนมาเช่าพื้นที่
"ตอนนั้นตลาดอยู่ในช่วงที่ตก แต่เราเห็นว่ากราฟกำลังจะขึ้นเป็นช่วงจังหวะที่ดี"
ธรรมรัตน์พูดถึงเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ
เฟิสท์ แปซิฟิคแลนด์ เพิ่งจะขายแปซิฟิค ทาวเวอร์ให้กลุ่ม ธนายงของคีรี
กาญจนพาสน์ เมื่อเดือนที่แล้ในราคาประมาณ 1,000 ล้านบาท เพียงชั่วเวลาปีเศษๆ
สามารถทำกำไรจากการซื้อมาขายไปได้ถึง 400 ล้านบาท
เดือนกันยายน ปีที่แล้วเฟิสท์ แปซิฟิค แลนด์ก็ได้ตึกนาาายเลิศบนถนนสุขุมวิทเยื้องๆกับตึกแปซิฟิคเพลสซึ่งเป็นของคุณหญิงเลอศักดิ์
สมบัติศิริ มาไว้ในการครอบครองในรูปแบบของการเซ้งเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ
180 ล้านบาท รมทั้งการลงทุนปรับปรุงอาคารขึ้นมาใหม่
รูปแบบนั้นไม่ต่างจากกรณีของแปซิฟิค ทาวเวอร์ที่ธรรมรัตน์เข้าไปรับผิดชอบการขายพื้นที่ให้ก่อน
หลังจากนั้นก็ทาบทามขอซื้อต่อจากเจ้าของคนซื้อก็คือเฟิสท์ แปศิฟิคแลนด์ และขณะนี้เฟิสท์
แปซิฟิคแลนด์ ก็สามารถเซ้งตึกนายเลิศให้กับผู้ซื้อรายใหม่ไปได้เรียบร้อยแล้ว
"บริษัทที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องเป็นบริษัทที่ใหญ่และมีเงิน" ธรรมรัตน์พูดถึงข้อได้เปรียบที่ทำให้เฟิสท์
แปซิฟิคเป็นกลุ่มเดียวในประเทศไทย ขณะนี้ที่มีขีดความสามารถที่จะทำธุรกิจในแบบซื้อมาขายไปได้
และเขาเชื่อว่านับจากนี้ไปจนถึง 2-3 ปีข้างหน้า การเข้าเทคโอเวอร์อาคารสำนักงานจะเกิดขึ้นมากเพราะพื้นที่มีมากกว่าความต้องการของตลาด
โครงการที่ธรรมรัตน์ ในนามของเฟิสท์ แปซิฟิคเดวี่ส์เข้าไปรับจ้างขายพื้นที่ให้ในขณะนี้คือ
ตึกไทม์สแควร์ หรือตึกทองเก่า บนถนนสุขุมวิทเช่นเดียวกัน เป็นเรื่องที่เดากันได้ไม่ยากเลยว่าเฟิสท์
แปซิฟิคแลนด์ กำลังจะทำอะไรกับไทม์สแควร์