Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534
ซีพี บนเส้นทางคนละสายที่ไปสู่จุดหมายเดียวกัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Agriculture




ความจัดเจนในธุรกิจการเกษตร ความพร้อมในด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ความมีประสิทธิภาพของกำลังคนของซีพีได้รับการพิสูจน์อีกครั้งว่าเหนือกว่าใคร เมื่อเข้าสู่ธุรกิจกุ้งกุลาดำแบบครบวงจร โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำของซีพีต้องถือว่าเป็นกรณีศึกษาในการดำเนินกลยุทธ์ที่เยี่ยมยอดเพื่อมัดหัวใจเกษตรกรให้อยู่มือ

ทุก ๆ ฟาร์มของซีพีจะออกแบบโดยใช้แนวความคิดพื้นฐานนี้ ปัจจุบันซีพีมีฟาร์มเลี้ยงกุ้งของตัวเองอยู่ทั่วประเทศแห่ง พื้นที่ประมาณ 8,500 ไร่ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยฟาร์มใหญ่ที่สุดของซีพีคือฟาร์มปากพนัง 2 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ถึง 1,500 ไร่

รองลงมาคือฟาร์มที่อำเภอหัวไทรา จังหวัดนครศรีธรรมราชเช่นเดียวกันที่ใช้ชื่อว่านครฟาร์มมีเนื้อที่ 1,200 ไร่ จำนวน 70 บ่อเลี้ยง เป็นฟาร์มที่มีระบบการจัดการสมบูรณ์แบบที่สุด

ซีพียังได้ร่วมทุนกับมิตซูบิชิของญี่ปุ่นตั้งบริษัทกรุงเทพเพาะเลี้ยงกุ้งขึ้นมาทำธุรกิจกุ้งกุลาดำแบบครบวงจรซึ่งประกอบไปด้วยฟาร์มเลี้ยงพื้นที่ 500 ไร่ และห้องเย็นขนาด 120 ตันต่อเดือนที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

"ฟาร์มเลี้ยงโดยจุดมุ่งหมายก็ไม่ได้ทำเพื่อผลิตสินค้าออกมาแข่งหรือมาขายอะไร เป็นฟาร์มสาธิตมากกว่า" ดร.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกรุงเทพเพาะเลี้ยงกุ้งเปิดเผย

เขาอธิบายว่า เหตุผลที่ต้องมีหลาย ๆ ฟาร์มกระจายไปทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ก็เพราะในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต้องใช้วิธีเลี้ยงที่ต่างกันด้วย จึงต้องมีฟาร์มสาธิตหลาย ๆ แห่ง

ผู้บริหารของซีพีมักจะพูดถึงหลักการในการทำธุรกิจของซีพีข้อหนึ่งว่า "เกษตรกรคือคู่ชีวิต" ที่จะต้องเติบโตไปพร้อม ๆ กับความสำเร็จทางธุรกิจของซีพีเอง เพราะตลาดอาหารสัตว์ของซีพีคือเกษตรกรพวกนี้ "จุดของเราก็คือถ้าเขาเลี้ยงกุ้งได้เราก็มีตลาดอาหาร เพราะธุรกิจหลักของเราเป็นอย่างนั้น เราปล่อยให้เขาตายไม่ได้ อย่างไรก็ต้องช่วยกันจนสุดฤทธิ์" สุจินต์กล่าว

ฟาร์มสาธิตของซีพีในแต่ละจุดจึงมีบทบาทเป็นศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงกุ้งให้กับเกษตรกรด้วยเพราะยิ่งเลี้ยงกันมากเท่าไร เลี้ยงกันได้นานเท่าไรอาหารกุ้งของซีพีก็จะพลอยขายดีไปด้วย นอกจากนั้นแล้วฟาร์มเหล่านี้ยังมีห้องแล็บที่ให้บริการฟรีแก่เกษตรกร ในเรื่องการตรวจรักษากุ้งที่เจ็บป่วย และเจ้าหน้าที่วิชาการประจำฟาร์มยังต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการเลี้ยงแก่ผู้เลี้ยงในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

บทบาทตรงนี้จะถือว่าเป็นบริการหลักการขายแบบให้เปล่าใหัมัดใจผู้เลี้ยงให้ใช้อาหารกุ้งซีพีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ได้

ในขณะเดียวกันการลงทุนทางด้านฟาร์มเลี้ยงกุ้งของซีพีถูกจับตามองว่า น่าจะแฝงไว้ด้วยจุดประสงค์อย่างอื่น เพราะแต่ละฟาร์มนั้นมีขนาดใหญ่โตเกินความจำเป็นในการที่จะเป็นเพียงแค่ฟาร์มสาธิตเพียงอย่างเดียว "ไม่ใช่เป็นฟาร์มทดลองอย่างเดียวแต่ว่าต้องการคุมการส่งออกไว้ด้วย เพราะต้องกุมวัตถุดิบในมือให้ได้" แหล่งข่าวในวงการเลี้ยงกุ้งรายหนึ่งตั้งข้อสงสัยไว้อย่างนี้

หลังจากสามารถคุมตลาดอาหารกุ้งซึ่งถือว่าเป็นต้นทางธุรกิจอาหารกุ้งเอาไว้ในมือได้เรียบร้อยแล้ว ซีพีก็รุกคืบเข้าไปยังธุรกิจปลายทางคือห้องเย็น ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับการส่งออกไปต่างประเทศ

เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ห้องเย็นของบริษัทซีฟู้ดส์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ในสังกัดของเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาชัยก่อสร้างเสร็จ มีกำลังการผลิต 12,000 ตันต่อปี อีกสี่เดือนต่อมา ห้องเย็นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิตปีละ 15,000 ตัน ทั้งสองแห่งนี้เป็นห้องเย็นสำหรับแปรรูปกุ้งกุลาดำโดยเฉพาะ

การส่งออกกุ้งกุลาดำไม่ต่างจากธุรกิจส่งออกเกือบทุกประเภทของไทยที่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเพียงผู้ผลิตตามคำสั่งของผู้นำเข้า หรือโบรคเกอร์ในตลาดต่างประเทศเท่านั้น อำนาจการต่อรองของผู้ส่งออกไทยจึงแทบจะไม่มีเพราะไม่มีเครือข่ายการตลาดของตัวเองอยู่ในมือ
การคุมวัตถุดิบให้อยู่ในมือไว้ได้มากที่สุดจึงเป็นวิธีการหนึ่งสร้างอำนาจต่อรองในตลาดโลกได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากการลงทุนในประเทศแล้ว ซีพียังขยายเครือข่ายธุรกิจกุ้งกุลาดำออกไปยังอินโดนีเซียด้วย โดยมีโรงงานอาหารกุ้งและห้องเย็น อยู่ที่สุราบายา กับเมดาน และยังมารฟาร์มเลี้ยงกุ้งกระจายกันอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วอินโดนีเซียรวมกันแล้วประมาณ 30,000 ไร่แถมยังมีโครงการลงทุนในจีนและเวียดนามที่กำลังศึกษาอยู่

ปัจจุบันซีพีมีส่วนแบ่งของการส่งออกกุ้งกุลาดำเพียงแค่ 10% เท่านั้น ยังเทียบไม่ได้กับยักษ์ใหญ่อย่างไทยแลนด์ฟิชเชอรี่ สุรพล ซีฟู้ดส์หรือเจ้าพระยาห้องเย็น เหตุผลข้อแรกนั้นอาจจะอยู่ในที่ขนาดกำลังการผลิตของซีพีที่น้อยกว่า แต่เหตุผลสำคัญคือไม่สามารถหาวัตถุดิบคือกุ้งกุลาดำได้อย่างเพียงพอ

กลางปี 2532 เกิดภาวะราคากุ้งกุลาดำในประเทศตกต่ำจากราคากิโลกรัมละ 220 บาทเมื่อปี 2531 ลดลงเหลือเพียง 100-110 บาทเท่านั้น จนเกิดการเดินขบวนประท้วงมายังทำเนียบรัฐบาลของชาวนากุ้ง สาเหตุสำคัญคือ ห้องเย็นที่จะรับซื้อกุ้งมีไม่เพียงพอเพราะบีโอไองดส่งเสริมการลงทุนมาตั้งแต่ปี 2527 แล้ว

เมื่อเกิดปัญหาราคากุ้งตกต่ำขึ้นมา บีโอไอจึงให้การส่งเสริมใหม่ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมปี 2532 ซึ่งมีผู้ข้อรับการส่งเสริมมากมายรวมทั้งห้องเย็นทั้งสองแห่งของซีพีด้วย

แต่หลังจากนั้น ก็มาเจอปัญหาพื้นที่แถวมหาชีย แม่กลองเสียหายจนเลี้ยงต่อไปไม่ได้ ทำให้ผลผลิตหายไปถึงครึ่งหนึ่งของการผลิตทั้วประเทศ ในขณะที่ห้องเย็นหลาย ๆ แห่งกำลังขยายตัว จึงเกิดภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบขึ้นมา

"ห้องเย็นสร้างมาสำหรับผลิตวันละ 50 ตันแต่มีกุ้งเข้ามาวันละ 10 ตันเท่านั้น ทุกวันนี้ที่เราส่งออกกันอยู่นั้นขาดทุนนะครับ" ผู้บริหารของซีพีอินเตอร์เทรดคนหนึ่ง พูดถึงอีกปัญหาอันเนื่องมาจากวัตถุดิบไม่พอกับกำลังการผลิต

การขยายฟาร์มกุ้งกุลาดำของซีพีจึงเป็นไปเพื่อให้มีวัตถุดิบอยู่ในมือมากที่สุด เพื่อป้อนห้องเย็นให้เพียงพอ ซึ่งจะโยงไปถึงอำนาจต่อรองในตลาดโลกอีกทีหนึ่ง

ถึงวันนี้ซีพีรุกไปทั่วทุกชายฝั่งทะเลของภาคใต้แล้ว ก้าวต่อไปจากนี้คือการเพิ่มพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำในรูปแบบของ CONTRACT FARMING ความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีทั้งอาหารกุ้ง และระบบกรรมวิธีในการเลี้ยง บุคลากรที่แต่ละคนมีประสบการณ์อย่างโชกโชนจากฟาร์มที่มีอยู่เกือบทุกพื้นที่ ความชัดเจนในเรื่องงานสัมพันธ์มวลชน ทำให้ซีพีคืบเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ของธุรกิจกุ้งกุลาดำแบบครบวง

ในขณะที่แอควาสตาร์พัฒนาระบบการเลี้ยงแบบ CONTRACT FARMING ของตัวเองได้อย่างมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว ซีพีเพิ่งจะเริ่มลงมือ

"คนอื่นมองอาจจะเห็นว่าช้า แต่ซีพีต้องสำเร็จมากกว่า 90% ขึ้นไปถึงจะโอเค" สาโรจน์ ทั่วจบผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมของบริษัทส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของซีพีกล่าว

สาโรจน์เป็นคนอำเภอเมือง นครศรีธรรมราชเขาจบการศึกษาจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิจัยพัฒนาอาหารสัตว์น้ำกับซีพีมาก่อนที่จะผันตัวเาองเข้าไปในเรื่องของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยไปประจำอยู่ที่ฟาร์มของซีพีทางภาคตะวันออกเป็นเวลาหกปีก่อนที่จะเข้ามารับผิดชอบโครงการนี้

โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ไกลจากพื้นที่ของแอควาสตาร์เท่าไรนัก สาโรจน์เข้ามารับผิดชอบโครงการนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2533 เขาใช้เวลา 6 เดือนในการพบปะทำความรู้จัก และเผยแพร่หลักการของโครงการนี้ให้กับชาวบ้านในละแวกนั้น

ทีมงาน 9 ใน 10 คนของเขาเป็นคนใต้เช่นเดียวกับเขา การติดต่อสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์กับคนท้องถิ่นจึงเป็นอย่างราบรื่นโดยไม่ต้องพึ่งพาข้าราชการหรือผู้กว้างขวางในพื้นที่ "เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ของเราก็ได้" สาโรจน์กล่าว

บริษัท ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รับผิดชอบโครงการ CONTRACT FARMING ของซีพีโยเฉพาะหลักการในการดำเนินงานตามโครงการคือเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงกุ้งกุลาดำต้องรวมตัวกัน โดยทางโครงการจะประสานงานกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ในการจัด ตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นมา ที่ดินทั้งหมดจะต้องยกให้กับสหกรณ์ซึ่งจะมีคณะกรรมการที่สมาชิกเลือกกันขึ้นมาเองเป็นคนดูแลผลประโยชน์

หลักการในการรวมที่ดินก็คือ ทุกคนต้องมีที่ดินทั้งหมด 8 ไร่ ซึ่งจะแบ่งเป็นพื้นที่เลี้ยง 5 ไร่ อีก 3 ไร่สำหรับเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ ส่วนพื้นที่เลี้ยงนั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของสมาชิกสหกรณ์อยู่

"กติกาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ หนึ่งคนมีได้ไม่เกิน 2 บ่อใครมีที่ดินมากกว่านั้นต้องขายให้คนที่มีที่ดินไม่ครบ ในราคากลางซึ่งจะกำหนดกันขึ้นมาเอง" สาโรจน์บอกว่า เรื่องการซื้อขาย การรวมที่ดินเขาจะช่วยในการ ตั้งกฎเกณฑ์แต่จะไม่เข้าไปเป็นผู้เจรจาเสียเอง เป็น หน้าที่ของคณะกรรมการสหกรณ์ซึ่งมาจากการเลือก ของสมาชิก

โครงการนี้ปัจจุบันมีเนื้อที่ 500 ไร่ แบ่งออกเป็น 50 บ่อ มีสมาชิก 41 ราย "สหกรณ์มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือรวมที่ดินยกให้บริษัทเช่าเป็นเวลา 10 ปีทุกสิ่งทุกอย่างเราเป็นคนดำเนินการจนกว่าจะครบ 10 ปี แล้วจะคืนให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์" สาโรจน์กล่าว และการเช่าที่ดินจากสหกรณ์นี้ไม่มีการคิดค่าเช่าแต่อย่างใด

ซีพีจะเป็นผู้ออกแบบลงาทุนขุดบ่อและวางระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดในที่ดินที่เช่าจากสหกรณ์บริษัทส่งเสริมฯ เป็นผู้กู้เงินจากธนาคารทหารไทยเองโดยไม่ต้องเอาที่ดินส่วนกลางของสหกรณ์ไปค้ำประกัน คนที่ติดต่อหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันให้คือเครือซีพีนั่นเอง และบริษัทฯ จะรับผิดชอบในการชำระเงินกู้นี้เองโดยสหกรณ์ไม่ต้องเข้ามาผูกพัน

ซีพีให้เงินลงทุนขุดบ่อสร้างระบบตรงนี้ราว 100 ล้านบาท ถ้าคิดว่าเงิน 100 ล้านบาทนี้คือค่าเช่าที่ดิน 500 ไร่เป็นเวลา 10 ปี บวกลบคูณหารออกมาแล้วเป็นค่าเช่า 20,000 บาทต่อไร่ต่อปีเท่านั้น สำหรับที่ดินที่ให้ผลตอบแทนจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้อย่างงดงามนั้นต้องถือว่าเป็นต้นทุนที่ถูกมาก ๆ

แต่สิ่งที่มีค่ามหาศาลมากกว่านี้คือ ความรู้สึกที่ดีต่อซีพีว่าเป็นเหมือนผู้ที่มีแต่ให้ เพราะเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการนั้นไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนกลางให้ซีพีโดยตรง แถมยังไม่ต้องรับภาระการลงทุนในการขุดบ่อเหมือนโครงการของแอควาสตาร์ด้วย

เมื่อมาถึงการเลี้ยง ซีพีได้จัดอบรมผู้เข้าร่วมโครงการไปแล้วหลายครั้ง ถึงเวลาลงมือเลี้ยงจริง ๆ จะมีนักวิชาการของซีพีเข้ามาควบคุมดูแลทุก ๆ บ่อสมาชิกจะเป็นผู้ปฏิบัติตามคำแนะนำ "ตามหลักการที่วางเอาไว้ หลังจากสองสามปี เราจะให้เกษตรกรลงมือทำบ้าง นี่เป็นการสอนงาน ถ่ายทอดงาน เพราะว่าครบ 10 ปีแล้ว บริษัทจะถอนตัวออกไป ชาวบ้านต้องทำเอง" สาโรจน์กล่าว

ยังไม่มีใครประเมินความยืนยาวของอาชีพการเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้อย่างแน่นอนว่าจะยั่งยืนไปได้เกิน 10 ปีหรือไม่ ตัวสาโรจน์เองเชื่อว่าจะเลี้ยงได้เกิน 10 ปีแต่อยู่บนสมมติฐานว่าต้องรักษาสภาพแวดล้อมให้ดี ซึ่งมีเงื่อนไขกำกับอีกทีหนึ่งว่า ต้องรณรงค์ให้เข้าใจกัน ในหมู่ผู้เลี้ยงกุ้ง และต้องปฏิบัติตามด้วย

ระหว่างการเลี้ยงซึ่งเกษตรกรยังไม่มีรายได้นั้นซีพีจะออกค่าใช้จ่ายประจำเดือนให้สมาชิกคนละ 2,500 บาทต่อเดือน เงินจำนวนนี้และค่าแรงของนักวิชาการประจำบ่อคิดเป็นต้นทุนแรงงานซึ่งจะรวมอยู่ในต้นทุนการผลิตกุ้งด้วย

โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำนี้ ไม่บังคับว่าจะต้องซื้อลูกกุ้งจากซีพี "ผมเปิดอิสระเต็มที่ ผมถือว่านักวิชาการ ชาวบ้านเคยเลี้ยงกุ้งมาแล้ว ให้ทุกคนเป็นหูเป็นตา ไปเลือกซื้อ แต่นักวิชาการแต่ละจุดจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อดีไหม เราไม่กำหนดว่าจะต้องซื้อจากซีพีเราสนใจตัวลูกกุ้งว่าดีหรือไม่ดี"

เช่นเดียวกับอาหารกุ้งที่สาโรจน์บอกว่า ไม่มีการกำหนดว่าจะต้องซื้อจากซีพีแต่เพียงผู้เดียว แต่ให้เลือกใช้ที่ดีที่สุดในตลาด ซึ่งทางบริษัทจะเป็นคนให้หลักการว่าควรจะใช้อาหารลักษณะอย่างไร "ถ้าซื้อจากซีพี เฉพาะโครงการนี้เท่านั้น ผมติดต่อกับบริษัทใหญ่เลย ซื้ออาหารถูกกว่าท้องตลาดแน่นอน เรื่องนี้อยู่ในสัญญาข้อที่สาม"

อาหารกุ้งของซีพีนั้นมีอยู่ด้วยกันถึง 5 ยี่ห้อ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำตลาด ส่วนแบ่งตลาดของทั้ง 5 ยี่ห้อ คู่แข่งขันของซีพีในธุรกิจอาหารกุ้งยอมรับว่าสูงถึง 90% และมีคุณภาพดีเยี่ยม
ความมั่นใจในอำนาจทางการตลาดและคุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่ง ทำให้ซีพีไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรลงไปอย่างชัดเจนว่า ต้องใช้อาหารกุ้งของซีพีเท่านั้น ความรู้สึกถูกผูกมัดของเกษตรกรจึงไม่มีแต่กลับจะช่วยให้มองซีพีว่าใจกว้างกับเกษตกรในโครงการเสียด้วยซื้อไป

แรงจูงใจอีกข้อหนึ่งคือซีพีจะรับประกันราคาขั้นต่ำให้กับเกษตรกรตามขนาดของกุ้ง
ขั้นตอนในการขายกุ้ง บริษัทส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะขายให้ใครเพราะบริษัทลงทุนในการเข่าที่ สินค้าทุกอย่างจึงต้องเป็นของบริษัท แต่ไม่ได้ผูกมัดลงไปในสัญญาว่าจะต้องขายให้กับซีพีเท่านั้น "เราจะใช้วิธีประมูล เชิญห้องเย็นมาเสนอราคาแข่งขันกัน เราจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะขายให้ใคร ทุกขั้นตอนการดำเนินงานคณะกรรมการของสหกรณ์จะสังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลาสาโรจน์กล่าว

แต่ละบ่อในโครงการนั้นจะมีบัญชีต้นทุน รายรับ รายจ่ายแยกกันเป็นรายบ่อ รายได้จากการขายกุ้งทุกบ่อจะถูกหักด้วยค่าอาหาร ต้นทุนด้านแรงงานค่าลูกกุ้ง ค่าไฟซึ่งจะมีมิเตอร์ติดประจำบ่อ และค่าดอกเบี้ยเงินที่กู้มาลงทุนขุดบ่อ ส่วนที่เหลือจะเป็นกำไรสุทธิ ซึ่งจากการบอกเล่าของสาโรจน์จะแบ่งกันระหว่างเกษตร 90% และบริษัท 10% แต่ข้อมูลจากฝ่ายบริหารเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของซีพีบอกว่า ตัวเลขนี้บริษัทได้ส่วนแบ่งต่ำเกินไป และได้มีการปรับใหม่เป็น 70% ต่อ 30%

ถ้าคิดผลผลิตเฉลี่ย 1.5 ตันต่อไร่ บ่อหนึ่ง ๆ 5 ไร่ จะได้ 7.5 ตันต่อไร่กำหนดราคากุ้ง 160 บาท ต่อหนึ่งกิโลกรัม ต้นทุนการผลิต 100 บาทต่อกิโลกำไรสุทธิต่อหนึ่งบ่อคือ 450,000 บาท ส่วนแบ่งที่ซีพีจะได้คือ 135,000 บาทต่อหนึ่งบ่อ ปีหนึ่งหนึ่งสองครั้ง ซีพีจะได้เงินส่วนนี้ 270,000 บาท

เงินส่วนนี้อาจจะตีเป็นกำไรจากการเลี้ยงกุ้งของซีพีในโครงการนี้ หรืออาจจะคิดเป็นเงินลงทุนในระบบสาธารณูปโภคตอนแรก หรืออาจจะเป็นค่าสูบน้ำบริการบ่อกุ้งตลอดเวลาการเลี้ยง เมื่อเทียบกับค่าบริการ 761 บาทต่อวันหรือ 27,765 บาทต่อปี ที่เกษตรกรไม่พอใจ ตัวเลขไม่ต่างกันเท่าใดนัก

สิ่งที่แตกต่างกันอย่างมากก็คือความรู้สึกของเกษตรกรที่จะต้องถูกหักเงินจำนวนนี้ คนที่ไม่รู้ว่าเลี้ยงไปแล้วจะได้เงินมากน้อยเท่าไร แต่รู้แน่นอนว่าต้องเสียปีละสองแสนเจ็ดเป็นค่าน้ำค่าไฟ กับคนที่รู้เพียงว่า ถ้าได้กำไร 100 จะเป็นของตัวเองถึง 70 ความรู้สึกประการหลังนี้ย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน

โครงการที่หัวไทรนี้เป็นโครงการแรกของการเข้าสู่การผลิตแบบ CONTRACT FARMING ของซีพีสาโรจน์บอกว่าเสร็จจากโครงการนี้แล้ เขามีภาระที่จะต้องไปบุกเบิกพื้นที่ใหม่ ๆ ไป "ผมกำลังศึกษาว่าพื้นที่ไหนทำได้ มีคนเสนอเข้ามาเยอะ คิดว่าคงจะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ เป็นสุราษฎร์ พังงา กระบี่ ตรัง หรือสงขลา ที่ไหนก็ได้ แต่ต้องเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้ง"

ซีพีนั้นได้เปรียบในแง่การมีบทเรียนจากธุรกิจไก่และหมูมาปรับใช้ มีเงินทุน เครือข่ายทางธุรกิจอื่น ๆ และความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์รวมทั้งระบบการบริหารฟาร์มอันดีเยี่ยมมารองรับกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น พลิกเพลงในการบริหารผลิตที่ต้องเกี่ยวข้องกับเกษตรกรท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก ในขณะที่แอควาสตาร์ดำเนินโครงการอย่างเคร่งครัดสร้างความสัมพันธ์กับเกษตรกรภายใต้เงื่อนไขในสัญญาที่ผูกมัดกันอย่างชัดเจน

เปรียบไปแล้วซีพีก็เหมือนจอมยุทธ์ที่ถึงขั้นกระบี่อยู่ที่ใจ เพียงเริ่มต้นผนึกลงปราณตั้งกระบวนท่าประกายอำมหิตก็สยบชาวยุทธ์ทั้งมวลให้สยบโดยมิพักต้องชักกระบี่ออกจากฝัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us