Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
ข้างหลังภาพ             
โดย อเนกระรัว
 





เป็นเวลากว่าร้อยปีมาแล้ว ที่บริษัท อีสแมนโกดักได้ผลิตฟิล์มถ่ายภาพออกจำหน่ายอย่างเป็นล่ำเป็นสันเป็นรายแรก และการถ่ายภาพก็กลายเป็นกิจกรรม ที่สำคัญทั้งในวงการอาชีพ วงการศิลปะ และวงการสมัครเล่นตั้งแต่นั้น มา ไม่เป็นที่โต้แย้งเลยว่าภาพถ่ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสื่อสารท่ามกลางมนุษย์ผู้เจริญ แต่การจะได้ภาพถ่ายมาหนึ่งภาพจะต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน มีความพยายาม ที่จะทำให้ การถ่ายภาพง่ายขึ้น สะดวก และรวดเร็วขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้เวลาจะผ่านไปกว่าร้อยปีเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพ ก็ไม่ได้มีวิวัฒนาการที่เด่นชัดจนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้

เมื่อเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ฉายแววสดใส ใครต่อใครก็หันเหแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีมาสู่โลกแห่งตัวเลขกันแทบทั้งสิ้น เทคโนโลยีการถ่ายภาพก็เช่นกัน กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลเริ่มมีวางจำหน่ายในท้องตลาดมาได้ไม่ถึงสิบปี เริ่มแรกจะอยู่ในวงการอาชีพ ซึ่งอุปกรณ์จะมีราคาแพงลิบลิ่ว (ราคาระดับเดียวกับรถยนต์หนึ่งคัน) และคุณภาพของภาพก็ยังห่างไกลกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มมาก อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ถือเป็นการก้าวกระโดด ที่สำคัญ และดูจะเป็นแนวโน้มแห่งอนาคต ที่เราๆ ท่านๆ ไม่สามารถปฏิเสธได้

เมื่อราวห้าหกปีมานี้ มีการผลิตกล้องถ่ายภาพดิจิตอลราคาถูกออกมาขาย ในราคาต่ำกว่า 1,000 ยูเอสดอลลาร์ สมัยเงินบาทยังไม่แฟบก็ราว 26,000 บาท ก็ได้รับความสนใจพอสมควรในหมู่สมัครเล่น และพวกผู้ใหญ่ ที่ชอบเล่นของเล่น ส่วนการนำไปใช้งานจริงๆ จังๆ นั้น ยังไม่เหมาะเพราะคุณภาพของภาพ ที่ได้ยังไม่น่าพอใจ หลังจากนั้น ไม่นาน การแข่งขันกันพัฒนา กล้องถ่ายภาพดิจิตอลก็ดำเนินไปอย่างเอาจริงเอาจังโดยตระหนักว่าสิ่งนี้คือ อนาคตอันสดใสของธุรกิจ แม้แต่เจ้าตำรับฟิล์มถ่ายรูปทั้งบริษัท โกดัก ฟูจิ หรืออั๊กฟ่า ยังต้องกระโจนเข้าร่วมวงอย่างไม่ลังเล

หัวใจสำคัญของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลอยู่ ที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิก ซึ่งทำหน้าที่รับภาพ ที่เรียกว่า ซีซีดี หรือ Charged Couple Devices ตัว ซีซีดี ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์หน้ากล้องแล้ว แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า (ทำหน้าที่แทนฟิล์มถ่ายรูป) จากนั้น สัญญาณไฟฟ้านี้จะถูกแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อบันทึกลงหน่วยความจำ ส่วนรับแสงของ ซีซีดี จะประกอบด้วยจุดรับแสงขนาดเล็กเรียงกันอยู่เป็นจำนวนมาก ภาพจากเลนส์ ที่ตกกระทบบน ซีซีดี ที่จุดรับแสงเหล่านี้จะถูกแปลงเป็นข้อมูลภาพในรูปของจุดสี ภาพ ที่ได้จะเกิดจากจุดสีทั้งหมดประกอบรวมกันจนเต็มภาพ จุดสีแต่ละจุดนี้มีชื่อเรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งถ้าตัว ซีซีดี ยิ่งมีจุดรับแสงจำนวนมากขึ้นเท่าไร ภาพ ที่ได้จะมีความละเอียดคมชัดยิ่งขึ้น ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติของกล้องจะดูจากจำนวนพิกเซล เป็นหลัก

มีคำถามว่าจำนวนพิกเซลของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลควรมีจำนวนเท่าใด คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ถ้าเป็นการถ่ายภาพ เพื่อใช้แสดงในคอพิว เตอร์เช่น สร้างเว็บเพจ หรือชมภาพผ่านจอทีวี กล้อง ที่มีจำนวนพิกเซล ประมาณครึ่งล้านน่าจะเพียงพอ ในกรณี ที่ท่านต้องการนำภาพถ่ายพิมพ์ออกมาด้วยพรินเตอร์สีขนาดภาพโปสการ์ดโดยให้มีคุณภาพใกล้เคียงกล้อง ถ่ายรูปฟิล์ม 35 ม.ม. ควรมีจำนวนพิกเซลประมาณ 1 ถึง 2 ล้านพิกเซล และถ้าต้องการใช้งาน เพื่อผลิตสิ่งพิมพ์หรือ งานพรีเซนเตชั่นคุณภาพสูงควร มีจำนวนพิกเซลไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเป็นต้น ปัจจุบันมีกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ความละเอียดเกิน 2 ล้านพิกเซลวางขายในราคาระหว่าง 25,000 ถึง 40,000 บาท ที่ให้คุณภาพของภาพในระดับใกล้เคียงกล้องถ่ายรูป ที่ใช้ฟิล์มขนาด 35 ม. ม. ในขอบเขตงานด้านการสร้างเว็บเพจ ไปจนถึงงานพิมพ์ ที่มีขนาดของภาพไม่เกิน 10x8 นิ้ว ซึ่งคุณภาพขนาดนี้สามารถนำไปใช้งานได้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ฟิล์มถ่ายภาพในหลายกรณี

ถ้าจะถามว่าถึงเวลา ที่จะหันมาใช้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลกันอย่างจริงจังหรือยัง ความเห็นของผมว่า น่าจะถึงเวลาแล้วถ้าท่านจะนำไปใช้งาน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์หรือการผลิตสิ่งพิมพ์ แต่ถ้าจะนำไปใช้ถ่ายรูปเล่นสนุกก็เป็นไปได้แต่ยังดูไม่คุ้มค่านักตัว อย่างการประยุกต์ใช้งานของกล้องถ่ายภาพ ดิจิตอลอย่างได้ผลได้แก่ งานสร้างเว็บเพจ งานการผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิก งานหนังสือพิมพ์ งานผลิตสิ่งพิมพ์นานาชนิด งานด้านการเก็บข้อมูลบุคคล ในหน่วยงาน และบริษัทห้างร้าน งานเก็บข้อมูลสินค้า และการบริการ การทำหนังสือเดินทางระหว่างประเทศ งานประกันรถยนต์ งานเก็บข้อมูลงาน เพื่อการศึกษา และอื่นๆ นอกจากนั้น กล้องถ่ายภาพดิจิตอลยังเริ่มแพร่หลายสู่การใช้งานตามบ้านแทนการใช้กล้องถ่ายภาพ ที่ใช้ฟิล์ม

ข้อดีของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลคือ สามารถเห็นภาพ ที่ถ่ายได้ทันทีโดยดูจากจอภาพ ที่ตัวกล้อง ซึ่งถ้าภาพไม่เป็นที่พอใจก็สามารถถ่ายใหม่ได้ ภาพ ที่ถ่ายสามารถชมได้ทันทีผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ จากนั้น สามารถถ่ายโอนข้อมูลภาพเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานทั้งการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ เพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์ในปัจจุบันใช้คอมพิวเตอร์จัดหน้า และจัดภาพประกอบ ซึ่งการใช้กล้องดิจิตอลจะสะดวกมาก ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพ ที่ใช้ฟิล์ม จะต้องผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพถ่าย และภาพ ที่ได้จะต้องผ่านเครื่องสแกนเนอร์ เพื่อเข้าเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งยุ่งยาก และเสียเวลา ข้อดีอีกอย่างของภาพถ่ายในรูปข้อมูลดิจิตอลคือ สามารถคงสีสัน และความคมชัด เป็นเวลานานเท่านานตราบเท่า ที่ข้อมูลยังไม่สูญหาย

ข้อด้อยของกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ที่สำคัญคือ การลงทุน แม้ว่าราคา กล้องดิจิตอลจะลดลงมากแต่ก็ยังไม่สามารถผลิตให้ถูกกว่ากล้องถ่ายรูป ที่ใช้ฟิล์มได้ และการใช้งานของกล้องจะต้องมีเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์สีหรือเครื่องพิมพ์ภาพ (Photo Printer) ประกอบการใช้งาน ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อย นอกจากนั้น ถ้าจะให้การประยุกต์ใช้งานได้ผลสมบูรณ์ ท่านอาจจะต้องมีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ เพื่อปรับสี และความคมชัด การบันทึกข้อมูลภาพลง แผ่นซีดี เพื่อการเก็บระยะยาว เป็นต้น ข้อจำกัดอีกอย่างของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลคือ คุณภาพของภาพทั้งในแง่ของความคมชัดของภาพ สีสัน ที่สมจริง และความละเอียดในการไล่สีจากมืดที่สุดไปสว่างที่สุด งาน ที่ต้องการคุณภาพสูงมากๆ ยังคงต้องพึ่งพาฟิล์มถ่ายรูปอยู่ต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยของกล้องถ่ายภาพดิจิตอล แล้วก็มีข้อพิจารณาให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุนถ้าการประยุกต์ใช้งานเป็นไปอย่างเหมาะสม ถึงตรงนี้ท่านอาจมีความสนใจอยากจะได้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลไว้ใช้งานสักกล้องหนึ่ง ข้อพิจารณานอกจากเรื่องของจำนวนพิกเซล ดัง ที่กล่าวมาแล้วก็ได้แก่ ความสามารถของเลนส์ ที่สามารถซูมได้ (Optical Zoom) ซึ่งจะทำให้สามารถจัดภาพได้ง่าย ส่วนการซูมภาพด้วยวิธีดิจิตอลจะทำให้คุณภาพของภาพลดลง ความยากง่ายในการใช้งานก็เป็นสิ่งสำคัญ กล้องบางรุ่นมีความสามารถสูงแต่มีวิธีใช้งาน ที่ซับซ้อนก็อาจเป็นปัญหากับ ผู้ใช้ ที่ไม่ชอบความยุ่งยาก การเลือกกล้องให้เหมาะสมกับงาน และมีความสามารถเท่า ที่จำเป็นแต่สะดวกใช้อาจเหมาะสมกว่าในกรณีนี้

สื่อบันทึกข้อมูลภาพเป็นอีกส่วน ที่สำคัญ กล้องส่วนใหญ่จะใช้หน่วยความจำเป็นการ์ดหรือแท่งสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีเพียงกล้องบางยี่ห้อบางรุ่นใช้ฟลอปปี้ดิสก์เก็บข้อมูล ข้อดีของฟลอปปี้ดิสก์คือ ราคาถูกสามารถใช้เก็บภาพระยะยาวได้ในตัว และสามารถนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทันที ข้อเสียคือ มีความจุข้อมูลต่ำ ซึ่งจะเก็บภาพได้จำนวนน้อยภาพ ส่วนกล้องบางยี่ห้อมีช่องเสียบ PC-Card ซึ่งสามารถใช้กับดิสก์ไดร์ฟขนาดเล็ก ซึ่งมีความจุข้อมูลสูง ใช้ถ่ายโอนข้อมูลภาพจากการ์ดความจำมารวมไว้ เพื่อสามารถนำการ์ดความจำไปใช้บันทึกภาพต่อได้

สุดท้ายเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องดิจิตอล เกือบทั้งหมดจะมีช่องถ่ายข้อมูลภาพสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสาย Serial ซึ่ง มีความเร็วไม่สูงนักทำให้การถ่ายข้อมูลกินเวลานาน กล้องบางรุ่นบางยี่ห้อ แก้ไขปัญหานี้โดยเพิ่มช่องส่งข้อมูลแบบ USB ซึ่งมีความเร็วสูงกว่ามาก ช่องการรับส่งข้อมูลแบบ USB มีใช้ในเครื่องพีซี และเครื่องแมคอินทอชรุ่น ใหม่ๆ ทั่วไป ในกรณี ที่กล้องไม่มีช่องส่งข้อมูลแบบ USB ท่านอาจต้องหาซื้ออุปกรณ์ส่งข้อมูลจากการ์ดหน่วยความจำผ่านช่อง USB เพื่อการทำงาน ที่คล่องตัวขึ้น

แม้ในเวลานี้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลยังไม่สามารถเข้ามาแทน ที่กล้อง ถ่ายรูป ที่ใช้ฟิล์มได้อย่างสมบูรณ์แต่คาดว่าในไม่ช้ากล้องถ่ายภาพดิจิตอลจะมาแทน ที่ส่วนใหญ่ของการถ่ายภาพ และก็คงจะประจวบเหมาะกับสื่อสิ่งพิมพ์ ที่จะแปรเปลี่ยนไปในรูปของอิเล็กทรอนิก ซึ่งในที่สุดภาพแต่ละภาพจะไม่มีข้างหลังภาพนอกจากจุดสีสันหลากสีจำนวนหลายสิบล้านจุดที่เรียกว่าพิกเซล สวัสดีครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us