Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มิถุนายน 2550
จับตาอีโคคาร์เซกเมนท์ใหม่ตลาดรถยนต์ไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Automotive




ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินรถอีโคคาร์เป็นเซกเมนท์ใหม่ในตลาดรถยนต์ของไทย โดยจะส่งผลดีในหลายๆด้าน ทั้งผลดีต่อผู้บริโภคให้มีทางเลือกมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็กไม่เกิน 1,300-1,400 ซีซี. ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่ภาครัฐได้กำหนดเงื่อนไขคุณภาพมาตรฐานไว้สำหรับรถอีโคคาร์ในระดับที่สูงมาก จะทำให้ผู้บริโภคทุกระดับมีโอกาสใช้ยานยนต์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งการประหยัดเชื้อเพลิง การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง ด้วยราคาที่ประหยัด ซึ่งคาดว่าราคารถอีโคคาร์จะตกอยู่ที่ประมาณคันละ 4 แสนบาท ผลดีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน ที่น่าจะทำให้อนาคตของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยคึกคักขึ้นอีกครั้งหนึ่งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้มีการขยายกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น หากความนิยมในรถรถอีโคคาร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต รถอีโคคาร์ก็จะกลายเป็นโปรดักซ์ แชมเปียนตัวใหม่เคียงข้างรถบรรทุกปิกอัพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่มีการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเติบโตไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการผลิตเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก

ขณะเดียวกันส่งผลดีต่อสังคมและส่วนรวม เนื่องจากการที่รัฐกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานระดับสูงไว้สำหรับรถอีโคคาร์นับเป็นการสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐในการประหยัดพลังงาน การควบคุมมลพิษและดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ ทั้งนี้เงื่อนไขมาตรฐานสำหรับรถอีโคคาร์ โดยเฉพาะมาตรฐานควบคุมมลพิษในระดับยูโร 4 และมาตรฐานความปลอดภัยของ UNECE ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วไปที่มีการใช้งานอยู่ในประเทศปัจจุบัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อต่อสังคมและสวัสดิภาพของประชาชนส่วนรวม

สำหรับผลกระทบจากเซกเมนท์อีโคคาร์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการมีรถอีโคคาร์เป็นเซกเมนท์ใหม่ในตลาดรถยนต์ไทย อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งผลกระทบต่อโครงสร้างต่อตลาดและผู้ประกอบการ เนื่องจากการเกิดเซกเมนท์ใหม่ในตลาดรถยนต์ไทยของรถอีโคคาร์ อาจจะเบียดเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์บางเซกเมนท์อื่นที่มีอยู่แล้วในตลาด โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก-กลาง

นอกจากนี้การที่ภาครัฐกำหนดขนาดเครื่องยนต์ของรถยนต์อีโคคาร์ให้มีขนาดเล็ก คือสูงสุดไม่เกิน 1,300/1,400 ซีซี. นั้น แม้จะช่วยลดผลกระทบโดยตรงต่อรถยนต์ที่มีอยู่แล้วในตลาด เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์นั่งที่มีการผลิตในไทยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดมีขนาดความจุของกระบอกสูบเครื่องยนต์เกิน 1,400 ซีซี แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีผลให้เกิดการแยกตลาดของเซกเมนท์ใหม่นี้ออกจากรถยนต์ที่มีอยู่ในท้องตลาดอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าหากค่ายผู้ผลิตใดไม่มีรถยนต์ในเซกเมนท์ใหม่นี้ ก็อาจเสียเปรียบคู่แข่งได้

นอกจากนี้จะส่งผลต่อรายได้ภาครัฐในส่วนของผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรภาครัฐจากการกำหนดภาษีสรรพสามิตรถยนต์อีโคคาร์ไว้เพียงร้อยละ 17 เทียบกับอัตราภาษีรถยนต์นั่งทั่วไปที่มีขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 2,000 ซีซี. ที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 30 นั้น ซึ่งทางการได้ประเมินว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตประมาณ 70,000 บาทต่อคัน อย่างไรก็ตามภาครัฐเองก็ยอมรับว่า สิ่งที่ได้ภาครัฐและสังคมจะได้รับประโยชน์ในระยะยาว คือ การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และการลดต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจตีมูลค่าในรูปเงินไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็เชื่อว่าจะคุ้มค่าเงินรายได้ที่รัฐสูญเสียไป นอกจากนี้ เมื่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ตลอดจนตลาดรถยนต์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในระยะยาวก็จะเท่ากับเป็นการเสริมสร้างฐานรายได้ภาษีอากรให้กับภาครัฐเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

อีกทั้งยังส่งผลต่อนโยบายภาครัฐและส่วนรวม ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตว่า จริงอยู่หากความนิยมในรถอีโคคาร์ส่งผลให้โครงสร้างตลาดเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้ผู้บริโภคที่กำลังจะเลือกซื้อรถยนต์นั่ง หันมาซื้อรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดเชื้อเพลิงอย่างอีโคคาร์แทนที่จะซื้อรถยนต์ประเภทอื่นแล้ว ก็ย่อมจะเป็นการสนับสนุนนโยบายการประหยัดพลังงานของรัฐ

อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้าม ถ้าหากอีโคคาร์กลับมีผลกระตุ้นให้ผู้ที่ยังไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง หันมาซื้อรถยนต์ส่วนตัวที่มีราคาถูกลงกันมากขึ้นๆ รวมทั้งจูงใจให้ผู้บริโภคที่มีรถยนต์อยู่แล้ว ซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นรถยนต์คันที่ 2 ซึ่งก็อาจจะไม่ช่วยให้มีการประหยัดพลังงานได้เท่าที่คาดหวังไว้

ดังนั้น เพื่อไม่ให้โครงการรถอีโคคาร์ อันมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายประหยัดพลังงาน กลับจูงใจให้ประชาชนซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลมากขึ้นแทนการใช้บริการขนส่งมวลชน ซึ่งจะยิ่งเพิ่มปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานและปัญหาจราจรมากยิ่งขึ้นไปอีก รัฐจึงควรเร่งดำเนินการแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการส่วนขยายรถไฟฟ้ามวลชนให้ครอบคลุมกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียงโดยเร่งด่วน ตลอดจนพัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมขนส่ง ซึ่งรวมไปถึงการปรับปรุงบริการรถโดยสารสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน

อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าความสำเร็จในการสร้างเซกเมนท์ใหม่ให้กับตลาดรถยนต์ในประเทศของรถอีโคคาร์ นับเป็นเงื่อนไขที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ที่จะลงทุนในโครงการรถอีโคคาร์ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ตามติดมาด้วยศักยภาพของรถยนต์อีโคคาร์ในตลาดส่งออก ทั้งนี้เนื่องจากผู้ลงทุนต้องมั่นใจว่าจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ในปริมาณมากพอที่ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) หรือคุ้มต่อการลงทุนเปิดสายการผลิตเพื่อรถยนต์ประเภทใหม่นี้

ดังนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ที่สนใจจะลงทุนในโครงการอีโคคาร์จึงประสงค์ให้ภาครัฐมีการสนับสนุนและให้สิทธิประโยชน์ต่างๆอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ปัจจุบันความสำเร็จของรถยนต์บรรทุกปิกอัพที่เริ่มจากตลาดภายในประเทศ ก่อนจะขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศ ได้กลายเป็นแม่แบบแห่งความสำเร็จของอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ในทำนองเดียวกัน เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของรถอีโคคาร์ก็ต้องตั้งอยู่บนฐานความนิยมจากตลาดในประเทศควบคู่กับศักยภาพในตลาดโลก ทั้งนี้ หากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในโครงการรถอีโคคาร์ได้รับการตอบรับที่ดีจากค่ายผู้ผลิตรถยนต์ คาดว่าการลงทุนจะเริ่มเดินหน้าได้ และรถอีโคคาร์จากสายการผลิตคงจะออกสู่ตลาดได้ประมาณปลายปี 2552 และน่าจะมีการส่งออกได้ในเวลาต่อมาไม่นาน ซึ่งอีโคคาร์จะเริ่มมาเสริมปริมาณส่งออกรถยนต์ปิกอัพ

ทั้งนี้ บทบาทของอีโคคาร์ที่จะสามารถเป็นโปรดักซ์ แชมเปียนตัวใหม่ได้หรือไม่นั้น น่าจะชัดเจนขึ้นหลังจากนั้น ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากอีโคคาร์จะเป็นความหวังสำหรับการส่งออกของประเทศแล้ว การที่จะทำให้โครงการรถอีโคคาร์มีบทบาทสำคัญในการตอบสนองนโยบายประหยัดพลังงานของชาติได้อย่างจริงจังนั้น รัฐจะต้องเร่งขยาย ปรับปรุง และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในประเทศให้มีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยเร็ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us