Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มิถุนายน 2550
แบงก์ชาติเจ๊งค่าบาทซ้ำซาก ปีนี้ส่อขาดทุนขั้นต่ำ 2.2 พันล้านบาท             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Currency Exchange Rates




ธปท.ติดหล่มอัตราแลกเปลี่ยน ปีนี้ส่อแววขาดทุนต่อเนื่อง เผยหมายเหตุประกอบงบการเงินระบุภาระผูกพันและหนี้สินจากปี 49 ที่อาจจะต่อเนื่องไปถึงปี 50 อีก 2,242 ล้านบาท จากการทำการซื้อขายล่วงหน้า ส่วนงบการเงินประจำปี 49 สรุปสุดท้ายขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 1 แสนล้านบาท

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงรายงานงบการเงินประจำปี 2549 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2549 ที่ผ่านมา อย่างเป็นทางการโดยสรุปยอดขาดทุนสุทธิจำนวน 102,287 ล้านบาท ในส่วนนี้เฉพาะผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 99,727.5 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ดี เป็นตัวเลขการขาดทุนที่ลดลงจากที่ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธปท. แถลง ซึ่งนางอัจนาแถลงว่าผลขาดทุน 173,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในหมายเหตุประกอบงบการเงินฉบับดังกล่าวยังระบุถึงภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2550 จากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2549 ที่ผ่านมาด้วย โดยธปท.คาดว่าจากภาระการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ทำไว้จะมีผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในงวดปี 2550 อีก 2,242 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ

ทั้งนี้ ผลขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นในปี 2550 อีก 2,242 ล้านบาท เกิดจากการทำสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าที่ค้างอยู่ 6,941.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ณ วันที่ 29 ธ.ค.2549 ที่อยู่ระดับ 36.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงคาดได้ว่าจะเกิดผลขาดทุนเกิดขึ้นอีก 1,699.8 ล้านบาท นอกจากนี้เป็นผลมาจากการทำสัญญาซื้อขายแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับเงินสกุลอื่น ที่จะครบกำหนดในปี 2550 โดยมีภาระผูกพันสุทธิต้องซื้อเงินเยน เป็นเงิน 189,282.2 ล้านเยน เงินยูโรจำนวน 2,991 ยูโร และเงินปอนด์สเตอร์ลิง 838..8 ล้านปอนด์ และต้องขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงิน 7,208.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2549 ทำให้จะเกิดผลขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นอีก 542.2 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ณ เดือน มิ.ย.2550 ที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 34.40 บาทต่อดอลลาร์ ผลขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธปท.ที่ทำไว้ย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดย ธปท.บันทึกผลขาดทุนดังกล่าวตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แท้จริง ณ วันครบสัญญา

นอกจากนั้น จากค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ธปท.ต้องแทรกแซงลดความผันผวนของค่าเงินบาท ด้วยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันทีและล่วงหน้าในปี 2550 เพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ณ วันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ธปท.มีฐานะการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าอยู่ที่ 10,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 357,000 ล้านบาท และมีทุนสำรองทางการระหว่างประเทศอยู่ที่ 71,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.47 ล้านล้านบาท (35 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ )

ก่อนหน้านี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยนายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน เสนอแนะแนวทางกำกับดูแลค่าเงินบาทในกรณีที่ยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ว่า แนวทางกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐตามอัตราที่ ธปท.ต้องการเห็น แล้วพยายามตรึงไว้ให้คงที่ คล้ายกับเมื่อตอนก่อนปี 2540

"แบงก์ชาติจะต้องรับซื้อดอลลาร์สหรัฐอยู่ตลอดเวลา โดยต้องตั้งโต๊ะรับซื้อเพื่อไม่ให้ดอลลาร์สหรัฐตกต่ำไปกว่าอัตราที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่แบงก์ชาติต้องทำด้วยความมุ่งมั่นรักษาเป้าหมายอย่างแน่วแน่และห้ามถอดใจครึ่งๆ กลางๆ ซึ่งการปกป้องค่าเงินในขณะที่ค่าเงินแข็งทำได้ง่ายกว่าและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการปกป้องค่าเงิน ในขณะที่ค่าเงินอ่อนเช่นในปี 2540"

ผลดีคือสามารถรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้ไม่แข็งไปกว่าอัตราที่แบงก์ชาติประกาศรับซื้อ แต่ก็มีข้อเสียที่แบงก์ชาติประกาศรับเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญตลาด (นักค้าเงินระหว่างประเทศ นักลงทุน นักเก็งกำไรต่างประเทศ) อาจไม่เชื่อว่าแบงก์ชาติจะทำได้สำเร็จ ก็อาจจะมีการทดสอบโดยนำดอลลาร์สหรัฐเข้ามาขายให้แบงก์ชาติเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ประสบความสำเร็จก็คือความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ประเทศเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการป้องกันค่าเงิน เพราะตลาดเชื่อในคำพูด การกระทำและยึดมั่นพันธะที่แน่วแน่ของธนาคารกลาง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us