|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมพ.ค.จาก 35 กลุ่มอุตสาหกรรมส.อ.ท.มองแนวโน้มผลประกอบรวมปีนี้จะลดลงจากปีที่แล้วแต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เหตุบาทแข็งทำรายได้ลด ขณะที่การเมืองฉุดแรงซื้อวูบคนไม่ใช้จ่าย แนะรัฐเร่งฟื้นแรงซื้อครึ่งปีหลัง ขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นพ.ค.กระเตื้องขึ้นจากเม.ย.แต่ยังต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 14 ขณะที่ 3 เดือนข้างหน้าหลายปัจจัยยังสุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะการเมืองในประเทศ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนพ.ค. 2550 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 478 ตัวอย่างครอบคลุม 35 กลุ่มอุตสาหกรรมของส.อ.ท.ว่า ผู้ประกอบการมองแนวโน้มของผลประกอบการในไตรมาส 2,3,4 จะชะลอตัวจากปี 2549 แต่จะมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยไตรมาส 2 เอกชนมองผลประกอบการจะลดลง 47.8% ไตรมาส 3 มองว่าลดลง 43.8% และไตรมาส 4 มองว่าจะลดลง 41.4% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเอกชนมองครึ่งปีหลังจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรกแม้ภาพรวมทั้งปีจะชะลอตัวกว่าปีที่ผ่านมาก็ตาม
“ ครึ่งปีหลังหากรัฐบาลมีมาตรการที่จะฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับมาได้โดยเร็ว โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ความชัดเจนการเมืองที่จะนำไปสู่เลือกตั้งในสิ้นปีก็จะทำให้โอกาสที่ภาคอุตสาหกรรมจะดีขึ้นก็มีสูงมากและจีดีพีก็จะโตได้ตามเป้าหมาย 4% ”นายสันติกล่าว
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการมองผลประกอบการไม่ดีนักเนื่องจากภาคส่งออกเจอภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้รายได้จากการส่งออกลดลง ขณะที่ปัญหาการเมืองส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนในประเทศหรือแรงซื้อลดต่ำลง โดยในส่วนของเครือสหพัฒน์นั้นอยู่ที่ประเภทอุตสาหกรรมกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นถึง 15-16% แต่กำไรลดลงเพราะต้นทุนเพิ่ม ขณะที่สินค้าประเภทเสื้อผ้ารวมอยู่ในภาวะทรงตัวฯลฯเล็งลงลึกแบงก์ชะลอปล่อยกู้หรือไม่
นายสันติกล่าวว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎร์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมเป็นประธานเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาลงลึกรายละเอียดเกี่ยวกับสาขาก่อสร้างและธนาคาร ซึ่งในส่วนของภาคก่อสร้างจะมองในเรื่องเมกะโปรเจ็กต์เพื่อกระตุ้นการลงทุน
ส่วนแบงก์จะมีการดูทิศทางการปล่อยสินเชื่อว่ามีมากน้อยเพียงใด ชะลอตัวหรือไม่ เพื่อที่จะช่วยกันผลักดันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดัชนีเชื่อมั่นพ.ค.ยังต่ำกว่า100เป็นเดือนที่14
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมพ.ค.เพิ่มขึ้นเป็น 86.1 จาก 77.0 ในเดือนเมษายนแต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 14 นับตั้งแต่มี.ค.2549 ชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อ ภาวะการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่แข็งแกร่งนัก ซึ่งสาเหตุที่ดัชนีกระเตื้องขึ้นเพราะดอกเบี้ยลดลง ขณะที่รัฐมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสัญญาณที่ดีมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
สำหรับอีก 3 เดือนข้างผู้ประกอบการมองว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน สภาวะเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการเมืองในประเทศ จะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ยกเว้นเพียงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่มองว่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้เสนอให้รัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนในประเทศในครึ่งปีหลังให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างบรรยากาศทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ควบคู่ไปกับการเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ เป็นต้นยอดซื้อรถในปท.ยังชะลอตัว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ภาพรวมการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศยังคงชะลอตัวอยู่แต่ก็มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในช่วงต้นปีจึงหวังว่าครึ่งปีหลังหากรัฐมีมาตรการฟื้นเชื่อมั่นกลับมาก็จะทำให้การผลิตและจำหน่ายเป็นไปตามเป้าหมาย โดยการผลิรถยนต์ทั้งหมดในเดือนพ.ค. ทั้งสิ้น 111,585 คันเมื่อเทียบกับพ.ค.ปี 2549 เพิ่มขึ้น 3.24% ขณะที่การผลิตม.ค.-พ.ค. 488,200 คัน เมื่อเทียบกับ 5 เดือนกับปีที่ผ่านมาลดลง 1.9% ซึ่งในจำนวนนี้ผลิตเพื่อการส่งออก 251,924 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วระยะเวลาเดียวกัน 12.68% และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 236,276 คัน ลดลงจาก 5 เดือนปีที่แล้ว 13.80%
|
|
 |
|
|