Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534
เร็นโทคิลไทยหลังจากเทคโอเวอร์ธุรกิจเวลคัม             
 

   
related stories

บันทึกประวัติศาสตร์ธุรกิจกำจัดแมลง ; การแยกตัวของพนักงานเวลคัมฯ

   
search resources

เวลคัม
เร็นโทคิล
วิสุทธิ์ โลหิตนาวี
ดนัย จันทร์พิทักษ์
Chemicals and Plastics




ปี 2534 จะเป็นปีของการท้าทายสำหรับเร็นโทคิลในการที่จะสร้างธุรกิจของคาลมิค เพื่อทำกำไรให้ทดแทนดอกเบี้ย หรือค่าใช้จ่ายจากการซื้อกิจการนี้มาจากเวลคัม สำหรับประเทศไทยแล้วเร็นโทคิลอาจจะไม่ใช่บริษัทใหม่ แต่เมื่อเทียบกับเวลคัมแล้วยังเล็กกว่ามากนัก การสร้างชื่อเร็นโทคิลให้เป็นที่รู้จักเพื่อทดแทนชื่อเวลคัมในธุรกิจหลัก คือ "กำจัดแมลง" ซึ่งจะหมดสัญญาลงใน 1 ปีภายใต้เงื่อนไขของการซื้อขายกิจการ จึงเป็นงานหลักที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างธุรกิจใหม่ คือ คาลมิลพร้อมไปกับการทำกำไรตามเป้าที่บริษัทแม่กำหนด คือ ต้องไม่น้อยกว่า 20%คลิฟ ทอมสัน ประธานคณะบริหารของบริษัทเร็นโทคิลได้กล่าวเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมาว่า "การได้คาลมิคมาทำให้เรามีโอกาสเติบโตได้เต็มที่ ใน 2-3 ปีข้างหน้าในหลาย ๆ ประเทศและจะทำให้เราถึงจุด "CRITICAL MASS" คือเป็นบริษัทที่มีขนาดธุรกิจใหญ่มากจนเราต้องขยายไปอย่างรวดเร็วเพราะฉะนั้นจากนี้ไปบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพจะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่ควบคู่ไปกับการกำจัดแมลง สุขอนามัยของผู้หญิงและธุรกิจไม้ประดับให้เช่า"

เร็นโทคิลกับเวลคัมได้มีการเจรจาเพื่อซื้อขายกิจการคาลมิคในช่วงกลางปี 2533 หลังจากตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เวลทคัมจึงได้ประกาศให้ผู้บริหารของคาลมิคได้รับรู้ประมาณเดือนกันยายนและในเดือนถัดมาจึงเปิดเผยเรื่องดังกล่าวกับพนักงาน

คาลมิคเป็นแผนกบริการด้านสุขอนามัยของเวลคัมที่มีมากกว่า 40 ปีแล้วโดยการให้เช่าและบริการเครื่องรักษาสุขอนามัยในห้องน้ำ, บริการสุขอนามัยของผู้หญิง, สบู่, กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น โดยมีธุรกิจอยู่ในออสเตรีย, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, สวิสเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, สิงคโปร์, แอฟริกาใต้, สเปน, ประเทศไทย, นิวซีแลนด์, แคนาดา, สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และมีพนักงานรวมกันประมาณ 900 คน โดยที่ประเทศไทยและสิงคโปร์มีบริการด้านกำจัดแมลงรวมอยู่ในแผนกนี้ด้วย

ในปี 2533 ที่ผ่านมาแผนกบริการคาลมิคมีรายได้รวมทั่วโลกประมาณ 33.5 ล้านปอนด์โดยไม่รวมกิจการที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นกับเกาหลีซึ่งเป็นกิจการที่เวลคัมร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นที่นั่นโดยทำรายได้รวมกันประมาณ 11 ล้านปอนด์ ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้รวมของเวลคัมทุกแผนกแล้ว แผนกคาลมิคจะมีส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 3% เท่านั้น

เวลคัมขายกิจการคาลมิคให้กับเร็นโทคิลบริษัทคู่แข่งที่ทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมบริการและเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษเหมือนกันในราคา 26.2 ล้านปอนด์หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ปอนด์ = 45.5 บาท) เป็นการขายกิจการทั้งหมดใน 23 ประเทศซึ่งไม่รวมญี่ปุ่นและเกาหลีที่ยังไม่มีการขาย

จากนโยบายของเวลคัมที่ต้องการขยายฐานทางด้านธุรกิจหลักคือยารักษาโรคคน ส่วนธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องให้ขายทิ้งไป จึงกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เวลคัมตัดสินใจขายแผนกบริการคาลมิค ซึ่งก่อนหน้านี้ เวลคัมได้ทยอยขายกิจการออกไปบ้างแล้วนั่นคือแผนกยารักษาโรคสัตว์ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อนด้วยการ่วมทุนกับบริษัท ไอ ซี ไอ ในอัตราส่วน 50:50 โดยใช้ชื่อบริษัท ANIMAL HEALTH และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาเวลคัมก็ได้ขายหุ้นส่วนทั้งหมดที่มีอยู่ให้กับไอ ซี ไอ ไปนับเป็นกิจการแรกที่เวลคัมขาย (เมื่อปีที่แล้ว ไอ ซี ไอได้ขายกิจการนี้ให้กับบริษัทอเมริกันไป)

และเมื่อประมาณปลายเดือนกันยายน 2533 เวลคัมได้ขายบริษัทไบโอเทคซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตวัคซีนออกไปอีกบริษัทหนึ่ง

ปัจจุบันเวลคัมยังคงเหลือกิจการในเครือข่ายอีกหลายแผนกนั่นคือแผนกคอนซูเมอร์โปรดักส์ซึ่งมีสินค้าที่รู้จักกันดีคือเฮสลีนสโนว์แผนกยาฆ่าแมลงและแผนก DIACNOSTIC ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับตรวจเชื่อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อเอดส์ ในขณะที่คนในวงการคาดกันว่าเวคัมคงจะประกาศขายกิจการที่ยังคงอยู่นี้ต่อไปในไม่ช้านี้

เร็นโทคิลเป็นบริษัทของอังกฤษที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2470 โดยทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมบริการ นอกเหนือจากบริการกำจัดแมลงซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทแล้วเร็นโทคิล ยังมีบริการอื่นหลายด้าน คือบริการทำความสะอาดสำนักงาน, บริการไม้ประดับให้เช่า, บริการสุขอนามัยของผู้หญิง, บริการด้านรักษาพยาบาล, บริการระบบประปาและระบายอากาศ, การดูแลอสังหาริมทรัพย์, การอนุรักษ์ป่าไม้และการเก็บรักษาเครื่องจักรกลในสำนักงาน

เร็นโทคิลมีเครือข่ายกิจการทั่วโลกมากกว่า 50 ประเทศ ผลประกอบการในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปี 2532 ปรากฏว่ายอดรายได้รวมเพิ่มขึ้น 10.7% คือเพิ่มจาก 279.3 ล้านปอนด์เป็น 309.1 ล้านปอนด์ในขณะที่กำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นจาก 62.0 ล้านปอนด์เป็น 74.7 ล้านปอนด์หรือ 20.4%

รายได้เกือบครึ่งหนึ่ง มาจากผลประกอบการในประเทศอังกฤษคือ 151.2 ล้านปอนด์ ที่เหลือมาจากกลุ่มประเทศในแถบภูมิภาคอื่นคือที่ยุโรป 79.7+ ล้านปอนด์, อเมริกาเหนือ 35 ล้านปอนด์, เอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา 43.3 ล้านปอนด์

และกิจการที่ทำรายได้หลักให้กับเร็นโทคิล คือ บริการด้านจำกัดแมลง ในประเทศอังกฤษแผนกกำจัดแมลงทำรายได้ให้กับบริษัทเกือบ 2,200 ล้านบาทหรือ 47.5 ล้านปอนด์หรือกว่า 30% เมื่อเทียบกับรายได้รวมทั้งหมดทุกแผนก

การที่เร็นโทคิลเป็นบริษัทข้ามชาติที่จะต้องขยายธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ต่อไป ดังนั้นการซื้อกิจการคาลมิคจึงเป็นตัวอย่างทีดี่อันหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของเร็นโทคิลที่มีอยู่ทั่วโลก สามารถขยายออกไปได้และประการสำคัญการซื้อคาลมิลทำให้เร็นโทคิลสามารถเปิดธุรกิจในประเทศอิตาลีและไต้หวันได้ นอกจากนี้ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเติบโตของเร็นโทคิลในปีนี้ด้วย

สำหรับประเทศไทยการเข้ามาของเวลคัมในแผนกบริการคาลมิคนั้น กลายเป็นเรื่องที่น่าศึกษา โดยเฉพาะการเปิดบริการกำจัดแมลงขึ้นในแผนกนี้เป็นประเทศแรกและประเทศเดียวนานเกือบ 20 ปีก่อนหน้า ที่จะขยายไปเปิดบริการด้านนี้ในสิงคโปร์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และที่เวลคัมนี่เอง ที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของกาแรตกตัวในธุรกิจกำจัดแมลงที่ปัจจุบันมีมากกว่า 116 บริษัทเวลคัมเข้ามาเริ่มงาน ทางด้านบริการคาลมิคในประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2514 หลังจากนั้น 1 ปี เวลคัมจึงเริ่มธุรกิจบริการ กำจัดแมลงด้วยการซื้อแผนกกำจัดแมลงจาก บริษัทบอร์เนียว ประเทศ ไทย มาดำเนินงานต่อ" ในช่วงนั้นทางเวลคัม เห็นว่าตนเาองมีประสบการณ์ทางด้านบริการสุขอนามัยและมีแผนกยาฆ่าแมลงอยู่แล้ว จึงอยาก ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่มารับจ้างให้บริการกำจัดแมลงด้วย ซึ่งในอังกฤษเวลคัมไม่มีแผนกนี้ มีแต่บริการให้คำแนะนำและปรึกษา ซึ่งจุดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลคัมเทคโอเวอร์กิจการของบอร์เนียวกำจัดแมลง โดยนำเอาตัวยาพร้อมทั้งเทคโนโลยีที่มีอยู่มาปรับใช้ที่เมืองไทยเป็นแห่งแรก" วิสุทธิ์ โลหิตนาวี อดีตผู้จัดการแผนกคาลมิค ที่ปัจจุบันหันมาเป็นผู้บริหารของเร็นโทคิลภายหลังการเทคโอเวอร์คาลมิคในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการพูดถึงที่มาของบริการกำจัดแมลงของเวลคัมในอดีต

และด้วยเหตุที่บริษัทบอร์เนียว และบริษัทเวลคัมมีความเกี่ยวพันธ์กันทางธุรกิจมาก่อนหน้านั้นหลายสิบปี โดยการเป็นผู้แทนจำหน่ายยารักษาโรคและยาฆ่าแมลงให้กับเวลคัม ดังนั้นการเจรจาซื้อกิจการจากบอร์เนียวจึงไม่ใช่เรื่องยากนัก

สืบสาวประวัติของธุรกิจขายบริการกำจัดแมลงในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในปี 2484 โดยบริษัทโทมัส โควาน จำกัด (TOMAS COWAN CO., LTD) ได้เปิดดำเนินงานธุรกิจกำจัดแมลงขึ้นควบคู่ไปกับธุรกิจสัมปทานป่าไม้ โดยมีผู้บริหารและพนักงานเป็นคนไทยที่ได้รับการฝึกอบรมวิธีการสำรวจและกำจัดปลวกเป็นอย่างดี

ต่อมาในปี 2500 บริษัท บอร์เนียว ประเทศไทย ได้รับช่วงกิจการธุรกิจกำจัดแมลงต่อจากบริษัทโทมัส โควานโดยใช้ชื่อว่า "บอร์เนียวกำจัดแมลง" ทั้งนี้จากคำบอกเล่าเป็นเพราะบริษัทโทมัสโควานประสบปัญหาด้านบุคลากร เพราะงานบริการกำจัดแมลงนั้นคุณภาพของงาน 30% ขึ้นอยู่กับสารเคมีที่ใช้และอีก 70% อยู่กับพนักงานที่ไปให้บริการฉีดพ่น

จนกระทั่งปี 2515 เวลคัมจึงได้ซื้อกิจการต่อจากบอร์เนียว และบริการกำจัดแมลงก็ถือว่าเป็นสินค้าตัวหนึ่งของเวลคัม ประเทศไทยเรื่อยมาจนถึงปี 2533 ก่อนหน้าที่จะมีการขายกิจการคาลมิค

ในขณะที่กิจการของเร็นโทคิลเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยโดยการที่บริษัทแองโกล-ไทยซื้อลิขสิทธิ์ธุรกิจบริการกำจัดแมลงมาจากบริษัทเร็นโทคิลและเปิดเป็นแผนกหนึ่งของบริษัท ต่อมาจึงได้ยกเลิกการเป็นแฟรนไชส์กับเร็นโทคิลและโอนกิจการกำจัดแมลงให้กับมอริสเคอร์ โดยใช้ชื่อบริษัท แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดังนั้นชื่อของเร็นโทคิลจึงหายจากธุรกิจนี้ไประยะหนึ่ง

กระทั่งปี 2527 เร็นโทคิลกลับเข้ามาอีกครั้งด้วยการซื้อกิจการของบริษัทแคร์อินเตอร์ฯ จากมอริสเคอร์ในราคาประมาณ 7-8 ล้านบาท และได้จัดตั้งบริษัทเร็นโทคิล (ประเทศไทย) ขึ้นให้บริการทางด้านกำจัดแมลงเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีบริการด้านสุขอนามัย ซึ่งเริ่มเมื่อไม่กี่ปีมานี้และมีเพียงบริการติดตั้งกล่องทิ้งผ้าอนามัย SANITACT เท่านั้น

ในปี 2533 ที่ผ่านมาแผนกคาลมิคของเวลคัมประเทศไทยสามารถทำกำไรได้ 25 ล้านบาทจากยอดรายได้รวมทั้งหมด 93 ล้านบาท แยกเป็นส่วนบริการสุขอนามัยจำนวน 49 ล้านบาทและส่วนบริการกำจัดแมลงจำนวน 44 ล้านบาท ในขณะที่เร็นโทคิลประเทศไทยมีผลกำไรเพียง 1 ล้านบาทจากยอดขายรวม 16 ล้านบาทเป็นรายได้จากธุรกิจบริการกำจัดแมลง 15 ล้านบาทและธุรกิจบริการด้านสุขอนามัย อีก 1 ล้านบาทหากเปรียบเทียบยอดขายข้างต้นของทั้ง 2 บริษัทแล้วจะเห็นว่าแผนกบริการของเวลคัมสามารถทำรายได้มากกว่าเร็นโทคิลเกือบ 6 เท่า และนี่เองที่เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เร็นโทคิลเติบโตขึ้นหลังการผนวกกิจการคาลมิคเข้ามาอย่างเห็นได้ชัด

ผลพวงจากการเจรจาซื้อขายกิจการระหว่างบริษัทแม่ของเวลคัมและเร้นโทคิลส่งผลมาถึงกิจการของทั้ง 2 บริษัทในประเทศไทยโดยตรง นั่นหมายถึงแผนกบริการคาลมิคซึ่งรวมถึงแผนกกำจัดแมลงในประเทศไทยถูกขายออกไปให้เร็นโทคิลในราคา 46 ล้านบาท โดยสัญญาได้ระบุไว้ว่าทางเวลคัมให้เร็นโทคิลใช้ชื่อเวลคัมในแผนกกำจัดแมลงซึ่งให้บริการเฉพาะในประเทศไทยและสิงคโปร์เพียง 2 แห่งในระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นให้เร็นโทคิลหาชื่อยี่ห้อเอง

วิสุทธิ์กล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เร็นโทคิลซื้อกิจการบริการของเวลคัมก็คือค่าความนิยมหรือ GOODWILL ของเวลคัมซึ่งเป็นชื่อที่ตลาดยอมรับเพราะลำพังเครื่องมือที่บริษัทผู้ซื้อได้ไปแทบไม่มีความหมายอะไรเลย"

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือสัญญาว่าจ้างบริการของลูกค้า ซึ่งตามปกติการให้บริการไม่ว่าจะเป็นสุขอนามัยหรือกำจัดแมลงจะทำสัญญากันเป็นปีละปีต่อปี ในกรณีที่ลูกค้าพอใจในบริการของบริษัทนั้นก็จะต่อสัญญาหรืออาจจะเลิกสัญญาในปีต่อไปหากลูกค้าไม่พึ่งพอใจในการให้บริการช่วงปีที่ผ่านมา โดยที่ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินค่าบริการตลอดทั้งปีล่วงหน้าในวันทำสัญญา

แหล่งข่าวคนหนึ่งในวงการกำจัดแมลง กล่าวว่า "การซื้อขายกิจการด้านบริการจริง ๆ แล้วก็คือการซื้อขายใบสัญญาของลูกค้านั่นเอง ซึ่งคนที่ซื้อกิจการไปค่อนข้างเสี่ยงมากกว่าคนขาย เมื่อมีการโอนกิจการกันไปแล้วและหากตัวเองไม่มีความสามารถเพียงพอ หรือไม่พร้อมในการให้บริการเมื่อครบกำหนดสัญญาหนึ่งปี ลูกค้าเก่าที่มีอยู่ไม่ต่อสัญญาก็เป็นอันว่าจบกันไป"

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้ายอมรับในบริการที่ถูกเปลี่ยนมือ คือทีมงานหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่บริการ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ว่าบริการที่จะได้หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงแล้วยังคงเหมือนเดิม ดังนั้นจึงเป็นความพยายามร่วมระหว่างเร็นโทคิล และเวลคัมที่จะจูงใจให้พนักงานทั้งหมดของคาลมิคสมัครเข้าร่วมงานในบริษัทใหม่โดยรับเงื่อนไขที่เร็นโทคิลเสนอให้ซึ่งหมายถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่มากขึ้นกว่าเดิม

เร็นโทคิลเสนอเงื่อนไขการรับพนักงานเก่าของเวลคัมด้วยการจ่ายโบนัสพิเศษ 3 เดือน โดย 1 เดือน จ่ายสิ้นเดือนกันยายนและอีก 2 เดือนจ่ายเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2534 ซึ่งโดยสรุปแล้วจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2534 พนักงานทุกคนที่เข้าร่วมกับ บริษัทเร็นโทคิลจะได้รับเงินโบนัสพิเศษเท่ากับ 4 เท่าของเงินเดือนจากเวลคัม และอีก 3 เดือนจากเร็นโทคิลนอกเหนือไปจากโบนัสตามผลงาน ตามเงื่อนไขการ ว่าจ้างและเงินเดือนเดือนที่ 13 อีก 2 เดือน นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ ที่ไม่แตกต่างจากเวลคัมนัก

การโอนกิจการระหว่างเวลคัมกับเร็นโทคิลในประเทศไทยเสร็จสิ้นในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมาโดยมีพนักงานจากแผนกคาลมิคและกำจัดแมลงของเวลคัมมาอยู่ที่เร็นโทคิลจำนวน 188 คนจากจำนวนทั้งหมด 200 กว่าคน ในจำนวนที่มานั้นเป็นแผนกคาลมิคประมาณ 50 คนที่เหลือเป็นคนในแผนกบริการกำจัดแมลงรวมถึงวิสุทธิ์ โลหิตนาวีผู้บริหารเดิมของคาลมิคที่ย้ายไปรับตำแหน่งใหมที่สิงคโปร์เมื่อปี 2530 ส่วนทางด้านเร็นโทคิลซึ่งเดิมมีพนักงานอยู่เพียง 70 คนอยู่ในส่วนของกำจัดแมลง 65 คนอีก 5 คนอยู่แผนกสุขอนามัย SANITACT

ภายใต้ข้อตกลงที่ให้เร็นโทคิลใช้ชื่อเวลคัมกำจัดแมลงได้เพียงปีเดียว จึงค่อนข้างมีปัญหาบ้างในประเทศไทย เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดกำจัดแมลงของเวลคัมเป็นที่รู้จักและยอมรับกันในตลาดมากกว่าเร็นโทคิลเมื่อเปรียบเทียบจากยอดขายของเวลคัมที่มาก กว่าเร็นโทคิล เกือบ 3 เท่าตัว

"มันมีปัญหาบ้างในเรื่องที่เราจะต้องทำให้ลูกค้าของเวลคัม 40 กว่าล้านบาทเข้าใจและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ กระทั่งยอมรับชื่อของเร็นดทคิล รวมถึงตลาดในอนาคตข้างหน้าก็ต้องยอมรับชื่อนี้ด้วย เราจึงจำเป็นต้องสร้างชื่อเร็นโทคิลเพื่อทดแทนเวลคัม ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเราได้แจ้งไปยังลูกค้าต่าง ๆ ให้รับทราบ รวมถึงการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ควบคู่ไปด้วย และนอกเหนือจากงานหลัก 2 ด้านนี้แล้วยังมีแผนที่จะขยายบริการอื่นเพื่อรองรับลูกค้าที่มีอยู่เพิ่มเติมอีก อย่างเช่นบริการทางด้านไฟฟ้า หรือประปา เป็นต้น" วิสุทธิ์เล่าถึงสิ่งที่จะต้องทำทั้งในวันนี้และในอนาคต

นโยบายหลักที่บริษัทแม่ของเร็นโทคิลได้มอบหมายให้บริษัทในเครือข่ายทั่วโลกถือปฏิบัติคือการทำกำไรไม่น้อยกว่า 20% ในแต่ละปี และนั่นเป็นเรื่องที่วิสุทธิ์ ในฐานะผู้บริหารงานในตำแหน่งกรมการผู้จัดการของเร็นโทคิล ไทยจะต้องฝ่าฟันให้สำเร็จ

วิสุทธิ์ได้ตั้งเป้ายอดขายในปี 2534 ไว้ดังนี้คือ ยอดขายที่จะได้รับจากการให้บริการทางด้านสุขอนามัยจำนวน 63 ล้านบาทและบริการด้านกำจัดแมลงอีก 66 ล้านบาท

ที่ผ่านมาบริการด้านสุขอนามัยเป็นตลาดที่มีคู่แข่งขันน้อยราย การเติบโตของธุรกิจจึงเป็นไปตาม ความต้องการของตลาด ซึ่งแตกต่างกับธุรกิจบริการ กำจัดแมลงที่มีคู่แข่ง มากราย และเป็นสาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการด้านนี้จนทำให้ตลาดในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาเติบโตในอัตราที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว นอกเหนือจากปัจจัยอื่นอย่าง เช่น การเติบโตของอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยเป็นต้น

หากสืบสาวถึงการเกิดขึ้นของบริการบริการกำจัดแมลงแต่ละแห่งแล้ว ภาพที่ออกมาอย่างเด่นชัดคือ การแตกตัวที่เริ่มมาจากต้นกำเนิดเพียง 1 หรือ 2 จุดเท่านั้น

ภาพแรกคือการแตกตัวที่เริ่มมาตั้งแต่ครั้งบอร์เนียวรับโอนกิจการมาจากบริษัทโทมัส โควาน จนกระทั่งเวลคัมซื้อกิจการนี้ต่อมาจากบอร์เนียวอีกทีหนึ่ง ซึ่งที่เวลคัมนี่เองที่เปรียบเสมือนแหล่งผลิตบุคลากรในระดับเจ้าของกิจการให้กับวงการกำจัดปลวกตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมาและเรื่อยมาจนกระทั่งเวลคัมขายกิจการให้กับเร็นโทคิล การแตกตัวของคนจากเวลคัมก็ยังไม่มีที่ท่าว่าจะจบสิ้นลง

อีกภาพหนึ่งเป็นการแตกตัวที่จากทางบริษัทแองโกล-ไทย ซึ่งหากวาดภาพออกมาอย่างละเอียดแล้วทั้ง 2 ภาพมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่นบริษัท คิงส์ เซ็นเตอร์ เซอร์วิส จำกัดเป็นบริษัทที่แตกตัวมาจากบริษัท แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งรับโอนกิจการมาจากแองโกล-ไทย ความเกี่ยวเนื่องที่ว่าคือเจ้าของบริษัทคิงส์เดิมเป็นคนจากเวลคัมที่ออกไปอยู่กับบริษัทแคร์และออกมาเปิดกิจการของตัวเอง ในขณะเดียวกันคนของคิงส์ก็ออกไปเปิดบริษัท เพซท์คอ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ซี.คอน กำจัดแมลง

กว่า 20 ปีของการแตกตัวจากบริษัทกำจัดแมลงเพียงไม่กี่แห่งขณะนั้นเพิ่มมากขึ้นจนในปัจจุบันมีมากถึง 116 แห่ง

ปัญหาที่สำคัญที่สุดของธุรกิจบริการอยู่ที่บุคลากร เพราะงานบริการเป็นงานที่ต้องเอาใจลูกค้าทำให้ลูกค้าพึงพอใจและคนที่ใกล้ชิดลูกค้ามากที่สุดคือ พนักงานบริการ ดังนั้นการที่งานจะออกมาดีหรือไม่นั้นพนักงานบริการเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดน่าจะมาจากระบบงาน นั่นหมายถึงการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บังคับบัญชาระดับสูง

อะไร ทำให้พนักงานในระดับผู้จัดการฝ่ายของเวลคัมในแผนกบริการลาออกและหันมาเปิดธุรกิจแข่งขันกันเองตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา

ดนัย จันทร์พิทักษ์ อดีตผู้จัดการแผนกกำจัดแมลงของเวลคัมคนหนึ่ง ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้คนในเวลคัมแตกตัวออกมาทำธุรกิจกำจัดแมลงว่า "สาเหตุหนึ่งอาจเนื่องมาจากปัญหาภายในที่เกิดจากระบบการบริหารงานที่ไม่เป็นธรรมได้สร้าง ความคับแค้นให้กับพนักงานระดับกลางในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายหลายต่อหลายคน ประกอบกับคนที่เคยทำงานด้านนี้ได้รู้เห็นว่าธุรกิจนี้สามารถทำเงินได้ไม่ยากนักโดยเฉพาะใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ได้เงินมาใช้ก่อนส่วนเรื่องบริการซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ตามมาค่อยว่ากันอีกทีหนึ่ง"

ซึ่งแน่นอนว่าการแตกตัวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดบริษัทที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและไม่มีคุณภาพ สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับบริษัทที่ให้บริการกำจัดแมลงคือ "ใบอนุญาตใช้รับจ้าง" เพราะสารเคมีที่นำมาใช้ฉีดเป็นวัตถุมีพิษ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย โดยที่ใบอนุญาตใช้รับจ้างนี้จะต่ออายุกันปีต่อปี

สำหรับปัจจุบันบริษัทที่ได้รับใบอนุญาติใช้รับจ้างมีประมาณ 60 กว่ารายเท่านั้น

เมื่อมีบริษัทที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันเกิดขันมากโดยเฉพาะการเกิดที่มาจากต้นตอเดียวกันดังนั้นเพื่อความอยู่รอด กลยุทธ์ทางการตลาดที่มักจะใช้กันจึงหนีไม่พ้นเรื่องการตัดราคากันเพื่อเอาสัญญาของลูกค้าไว้ก่อน ซึ่งบางครั้งราคาจะแตกต่างกัน 30-40%

และการแข่งขันที่ร้อนระอุนี่เองที่ช่วยกระตุ้นตลาดให้เติบโตขึ้น เพราะตลาดด้านนี้มีอยู่แล้วเพียงแต่คนหรือผู้บริโภคไม่รู้ว่าตนเองมีความต้องการหรือไม่ ยกตัวอย่างจากการรวบรวมข้อมูลของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งเมื่อปี 2529 จากสัญญาของลูกค้าที่มีอยู่ในมือแต่ละบริษัทรวมกันมีมูลค่าประมาณ 178 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดซึ่งได้ตัวเลจจากการสำรวจจำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นลูกค้าปรากฏว่ามีมูลค่าถึง 375 ล้านบาท ในขณะที่ตัวเลขจากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายของ สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงในปี 2531 เพิ่มขึ้นจาก 375 ล้านบาทเป็น 700 ล้านบาท

และแน่นอนว่าการซื้อแผนกบริการคาลมิคซึ่งรวมเอากิจการกำจัดแมลงในประเทศไทยเข้าด้วยตามนโยบายของบริษัทแม่ที่ต้องการตัดคู่แข่งด้วยการเทคโอเวอร์กิจการนั้น จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในตลาดให้กับเร็นโทคคิลประเทศไทยตามที่บริษัทแม่มุ่งหวังหรือไม่นั้น ยังเป็นเรื่องที่จะต้องรอดูกันต่อไป เพราะปัจจุบันเป็นเพียงการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เท่านั้น เร็นโทคิลยังจะต้องฝ่าฟันต่อไปเพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดในบริการด้านนี้เช่นเดียวกับที่เวลคัมได้ทำมา การเผชิญหน้าครั้งสำคัญของเร็นโทคิลเริ่มขึ้นแล้ว

ประการสำคัญที่หลายคนจับตามองอยู่ก็ คือการแตกตัวของธุรกิจบริการกำจัดแมลงที่อาจจะมีขึ้นอีกในในสายใหม่ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเร็นโทคคิลแทนการแตกตัวจากเวลคัมที่ถือว่าจบลงแล้ว

ประวัติศาสตร์จะต้องซื้อ ประวัติศาสตร์คงไม่เปลี่ยน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us