Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534
จากหนี้เสียกลายเป็นหนี้ดี             
 

   
related stories

รอดตายแล้ว แต่ยังห่างฝั่ง

   
search resources

ธนาคารมหานคร
น้ำตาลไทย
มาโนช กาญจนฉายา
Loan




4 ปีเศษ ๆ ที่มาโนชเข้าแก้ปัญหาความเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อจำนวนเกือบ 5,000 ล้านบาท มีหลายรายที่เขายอมรับว่าแบงก์ต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายหนี้สูญทันที แต่ก็มีอยู่จำนวนหนึ่งที่เขาและทีมงานมีความรู้สึกภูมิใจอยู่เงียบ ๆ ในการฟื้นฟูฐานะหนี้ที่เรียกได้ว่าเป็นหนี้เสียแล้ว ให้กลับคืนมาเป็นหนี้ที่สามารถเดินบัญชีได้ตามปกติ

"เวลานี้เราคืนซอฟต์โลนแล้ว เหลือหนี้ที่ถูกจัดชั้นสงสัยประมาณ 3,160 ล้านบาท ผมเชื่อว่ากว่าครึ่งเราคงต้องตัดเป็นหนี้สูญ" มาโนชเล่าให้ฟังถึงสถานะของสินเชื่อที่อยู่ในข่ายสงสัยจะสร้างความเสียหาย

หนี้บริษัทน้ำตาลไทยของวิเทศ ว่องวัฒนะสินเป็นตัวอย่างหนึ่งของบรรดาหนี้ที่ถูกจัดชั้นว่าสูญไปแล้ว แต่ด้วยความกล้าเสี่ยงของมาโนชและทีมงาน ทุกวันนี้หนี้รายนี้กลายเป็นหนี้ที่มาโนชกล่าวได้อย่างไม่อาจใครถึงความพยายามที่จะแก้ปัญหาหนี้เสียของแบงก์ได้สำเร็จ

บริษัทน้ำตาไทยมีหนี้สินหมุนเวียนกับแบงก์มาตั้งแต่สมัยคำรณ เตชะไพบูลย์จำนวนเกือบ 500 ล้านโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันกับแบงก์เลย "เงินทุนหมุนเวียนนี้คำรณเปิดวงเงินให้วิเทศประมาณ 600 ล้านเพื่อแลกกับเงินฝาก 300 ล้านที่วิเทศมาฝากไว้ที่ทรัสต์ของคำรณที่ฮ่องกงบริษัทเฟิร์สบางกอกซิตี้" สุนทร โภคาชัยพัฒน์ นักกฎหมายของวิเทศเคยเล่าถึงที่มาของหนี้จำนวนนี้ให้" ผู้จัดการ" ฟังเมื่อเกือบ 2 ปีก่อน

หนี้รายนี้เริ่มมีปัญหาหมักหมมมาตั้งแต่ปีการผลิต 2523/24 เมื่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกดิ่งลงจาก 40 เซนต์/ปอนด์ปีก่อนหน้าเหลือ 16 เซนต์ บริษัทน้ำตาลไทยซึ่งก่อนหน้าถูกจำกัดการส่งออกจากมาตรการแก้ปัญหาน้ำตาลในประเทศขาดแคลนของตามใจ ขำภะโตรัฐมนตรีพาณิชย์สมัยนั้น และการขาดแคลนปรมาณอ้อยป้อนโรงงานไม่เพียงพอทำให้บริษัทเจอปัยหาสภาพคล่องการหมุนเวียนเงินสด

ที่ซ้ำร้ายการตกต่ำของราคาน้ำตาลในตลาดโลกติดต่อกันนานถึง 5 ปีจนปี 2528 ราคาน้ำตาลดิ่งลงเหลือปอนด์ละ 2 เซนต์เท่านั้น

ใครทำน้ำตาลเวลานั้นทุกรายาขาดทุนป่นปี้

น้ำตาลไทยเจอเข้าเต็มรัก เจ้าหนี้ทุกรายยกเว้นมหานคร ซึ่งเวลานั้นกำลังเผชิญมรสุมฐานะการดำเนินงานใกล้ล่มสลายจนแบงก์ชาติต้องเข้าควบคุมโดยส่งปกรณ์ มาลากุลจากผู้อำนวยการสาขาภาคเหนือแบงก์ชาติมาดูแล ต่างก็เข้ารุนทึ้งเพราะถือว่ามีหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลหนี้

สิ้นปี 2528 บริษัทน้ำตาลไทยมีหนี้สิน 1,200 ล้าน มีสินทรัพย์ที่จดจำนองกับเจ้าหนี้ 3 รายคือไทยพาณิชย์ ทหารไทย กรุงศรีอยุธยามีมูลค่าประมาณ 700 กว่าล้านเป็นเครื่องจักร ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างโรงงาน และสต็อกน้ำตาลอีก 400 กว่าล้านเป็นหนี้ที่มีกับมหานครโดยปลดจำนอง

ในสถานะนี้แบงก์มหานครอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบที่สุด

หนทางเลือกมีอยู่หนทางเดียวของมหานครเพื่อให้ได้หนี้คือนและหลักทรัพย์ค้ำประกันคือ การรับซื้อหนี้ติดจำนอง 700 กว่าล้านจากเจ้าหนี้ 3 รายและการเข้าอัดฉีดวงเงินหมุนเวียนจำนวนหนึ่งเพื่อให้บริษัทเดินธุรกิจต่อไปได้

แต่ห้วงเวลานั้นมหานครไม่อยู่ในฐานะที่จะเลือกทำเช่นนี้ได้ เพราะแบงก์กำลังถูกกดดันจากปัญหาความเสียหายของสินทรัพย์ และการปริวรรตอย่างหนัก วงเงินหมุนเวียนต่าง ๆ ที่เปิดให้กับใครต่อใครถูกเรียกกลับหมด

หน้าที่การแก้ปัญหาจึงเป็นเรื่องของเจ้าหนี้รายอื่น ซึ่งเวลานั้นดูเหมือนจะเดินหน้าฟ้องลูกเดียวเพราะไม่สามารถตกลงกันได้ในการแบ่งสันรายได้จากการขายน้ำตาลตามสัดส่วนมูลหนี้ การอัดฉีดเงินเพื่อให้โรงงานสามารถเปิดหีบอ้อยได้จึงต้องพับไป

เวลานั้นโรงงานน้ำตาลไทยมีกำลังการผลิตวันละ 12,000 ต้นอ้อย แต่ราคาน้ำตาลส่งออกมันเหลือปอนด์ละ 2 เซนต์เจ้าหนี้ทุกรายนั่งคำนวณรายได้จากเม็ดเงินที่ขายน้ำตาลแล้วได้นิดเดียวมาแบ่งกันไม่พอ

ฤดูการผลิตปี 29 และ 30 โรงงานน้ำตาลไทยซึ่งตั้งอยู่ที่ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีจึงตกอยู่ในสภาพปิดตาย

ฤดูการผลิตปี 2530/31 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเริ่มฟื้นตัวกลับไปที่ปอนด์ละกว่า 10 เซนต์ตามาวัฏจักรวงจรค้าน้ำตาล ประพันธ์ ศิริวิริยกุลและสมชัย ถวิลเติมทรัพย์เถ้าแก่โรงงานน้ำตาลนครสวรรค์ และหนองใหญ่ก็เข้ามาช่วยเหลือ บริษัทน้ำตาลไทยตามการร้องขอของสุนทร โภคาชัยพัฒน์และอำนวย ปะติ เสที่อาสาวิเทศเข้ามาเจรจาแก้ปัญหาหนี้สินกับเจ้าหนี้

ประพันธ์และสมชัยเข้าอัดฉีดเงินจำนวนหนึ่งประมาณ 100 กว่าล้านเพื่อให้โรงงานสามารถเปิดหีบได้ และเข้าบริหาร

ตรงจังหวะนี้เองเป็นรอยต่อของความพยายามแก้ปัญหาหนี้เสียของแบงก์มหานครในสมัยมาโนช

"เราต้องเลือกเอาระหว่างหนี้เสีย 400 กว่าล้านโดยไม่มีหลักประกันอะไรเลยกับโอกาสที่เราจะเสียอย่างมากที่สุดไม่เกิน 200 ล้านถ้าเราปลดจำนองหนี้ 700 กว่าล้านและอัดฉีดเงินหมุนเวียนให้ 200 ล้านเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ตลอดรอดฝั่ง " มาโนชเล่าให้ฟังถึงการตัดสินใจเข้าอุ้มชูหนี้รายนี้

ถ้าเราตัดสินการตัดสินใจของมาโนช จากเงื่อนเวลาของณะนี้ก็ต้องเรียกว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะอย่างน้อยที่สุดหนี้รายนี้ก็สามารถชำระหนี้คืนก้อนแรก 75 ล้านตามสัญญาการประนีประนอมแล้ว

แต่ในเวลานั้นเมื่อ 2 ปีก่อน ใครจะไปรู้ว่าราคาน้ำตาลมันจะดิ่งลงอีกเมื่อไรหรือถ้ามันจะขึ้นไปอีกนานแค่ไหนและราคาเท่าไร

มองจากจุดนี้ ก็ต้องเรียกว่ามาโนชตัดสินใจเข้าเสี่ยงเอามาก ๆ ทั้งที่แบงก์กำลังอยู่ในฐานะสร้างตัวจากความเสียหาย

มาโนชวางแผนการฟื้นหนี้น้ำตาลไทยทันที แบงก์เข้าซื้อหนี้ติดจำนอง 700 กว่าล้านจากกรุงศรี ทหารไทย และไทยพาณิชย์โดยขอให้แบงก์เจ้าหนี้ทั้งสามรายลดมูลหนี้ ลง 30% เมื่อผ่านจุดนี้ไปได้ แบงก์จะอัดฉีดเงินหมุนเวียนให้บริษัทน้ำตาลไทยอีกก้อนหนึ่งประมาณ 200 ล้านเพื่อให้โรงงานมีทุนหมุนเวียนเปิดหีบอ้อยได้

บริษัทน้ำตาลไทยโอนหนี้สิน ทรัพย์สินให้บริษัทใหม่คือบริษัทน้ำตาลไทยกาญจนบุรีเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด โดยมีคนของแบงก์เป็นกรรมการบริหารเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิด

บริษัทน้ำตาลไทยกาญจนบุรีกลายเป็นหนี้รายใหม่ที่มาแทนน้ำตาลไทยโดยมีหลักทรัพย์จดจำนองกับแบงก์มหานครมูลค่าประมาณ 800 ล้าน มาโนชกล่าวว่าแผนการชำระคืนกำหนดไว้ 10 ปี ถ้าแผนการฟื้นฟูนี้มีอันต้องล้มเหลวลงอีกแบงก์ก็สามารถเอาหลักทรัพย์ที่ติดจำนองออกขายได้" ขายได้ 600 ล้านบาทก็ยังดี เราก็สามารถลดความเสียหายจากหนี้รายนี้ลงได้เหลือ 300 ล้านจากเดิมถ้าไม่ทำอะไรเลยเราจะเสียหายฟรี ๆ 400 กว่าล้าน" มาโนชพูดถึงด้านที่ร้ายที่สุดของผลแผนการเข้าฟื้นฟูหนี้เสียรายนี้

เมื่อมาโนชเอาแผนนี้เข้าบอร์ดแบงก์ ทุกคนเห็นด้วยกับการแผนของมาโนช

แล้ววันนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการตัดสินใจของมาโนชต่อการแก้ปัญหาหนี้เสีย 400 กว่าล้านเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง

น้ำตาลไทยฯสามารถชำระหนี้ก้อนแรกคืนได้ตามปรกติและฐานะหนี้รายนี้ถูกจัดชั้นเป็นหนี้ปกติแล้ว

เป็นเวลานับปีกว่ามาโนชจะเห็นผลงานการตัดสินใจของเขา

แม้นว่ามันต้องผ่านการตรึกตรองอย่างเด็ดเดี่ยว กล้าได้กล้าเสียที่บอกตรง ๆ ว่าในแวดวงแบงเกอร์เกอร์ด้วยกันแล้วหาคนใจถึงอย่างนี้ไม่ง่ายนักก็ตาม

และสิ่งนี้คือฉากหนึ่งของการบริหารแบงก์มหานครยุคมาโนช ที่สามารถให้คำตอบถึงเบื้องหลังว่าอะไรคือสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้แบงก์ฟื้นตัวจากความเสียหายได้เร็ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us