Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มิถุนายน 2550
ตระกูล'ล่ำซำ'ผนึกภัทร-เมืองไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ภัทรประกันภัย

   
search resources

ภัทรประกันภัย, บมจ.
โพธิพงษ์ ล่ำซำ
Insurance




ตระกูลล่ำซำ จับ "ภัทร-เมืองไทยประกันภัย" ควบรวม หวังเสริมศักยภาพธุรกิจ ดันมาเก็ตแชร์ติดท็อปไฟว์ภายใน 5 ปี ระบุขั้นตอนต่อไปคืนใบอนุญาต 2 แห่ง พร้อมจัดตั้งบริษัทใหม่แทน ยันยังถือหุ้นใหญ่ 40%-เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มั่นใจไม่กระทบผู้ถือหุ้น-พนักงาน ด้าน"นวลพรรณ"ปัดข่าวทิ้งธุรกิจประกันหันเล่นการเมือง ระบุยังร่วมบริหาร

นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด และประธานกรรมการ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมของคณะกรรมการของบริษัท เมืองไทยประกันภัยและภัทรประกันภัยมีมติเห็นชอบให้มีการควบรวมกิจการได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะมีบริษัทประกันวินาศภัยใหม่เกิดขึ้น โดยขั้นตอนต่อไปทางภัทรและเมืองไทยประกันภัยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาวางแผนนโยบายและกำหนดกรอบการบริหารจัดการต่อไปทั้งในส่วนของโครงสร้างการบริหารจัดการ โครงสร้างผู้บริหาร รวมทั้งชื่อบริษัทใหม่ และรายละเอียดแผนธุรกิจ

ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทประกันภัยใหม่ที่เกิดขึ้นมาใหม่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ในเดือนมี.ค.2551 และทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 2.9% ซึ่งจะขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 ของธุรกิจประกันภัย ขณะที่บริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ 5 แห่ง มีส่วนแบ่งการตลาดรวมเพียง 37.4%เท่านั้น รวมทั้งตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี จะมีเบื้ยประกันภัยที่เติบโตเป็น 2 เท่า หรือกว่า 7,000 ล้านบาท และจะขยับอันดับขึ้นมาติด 1 ใน 5 ของธุรกิจประกันภัย และยังจะส่งผลดีให้เงินกองทุนสูงถึง 10 เท่าตามที่กฎหมายกำหนด หรือประมาณ 2,600 ล้านบาทด้วย

"การควบรวมกิจการระหว่างภัทรประกันภัยกับเมืองไทยประกันภัยในครั้งนี้มีการคิดมาเป็นปีแล้ว จากคนรุ่นหลังอย่างผมและจากการสอบถามพี่ๆ น้องๆ ในตระกูลล่ำซำก็เห็นด้วยเหมือนกันว่าในเมื่อเรามีบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัยทั้ง 2 แห่ง และอยู่ในเครือเดียวกัน จึงควบรวมกิจการกัน ส่วนรายละเอียดที่เหลือของบริษัทที่เกิดใหม่นี้จะให้คนรุ่นใหม่ช่วยสานต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าในส่วนของผู้ถือหุ้น ผู้เอาประกัน และพนักงานจะไม่เสียผลประโยชน์ในการควบรวมครั้งนี้ ส่วนชื่อใหม่ยังมีชื่อเดิมติ่งๆติดอยู่ แต่ยังบอกไม่ได้ แต่มีชื่อใหม่อยู่ในใจแล้ว ขณะที่เอ็มดีคนใหม่ก็คงยังต้องเป็นผู้หญิงเหมือนเดิม”นายโพธิพงษ์กล่าว

นายโพธิพงษ์ กล่าวว่า ในมุมมองส่วนตัวมองว่าธุรกิจประกันภัยปีนี้ยังคงมีการแข่งขันอย่างรุนแรงอยู่ ขณะเดียวกันการเติบโตของธุรกิจนี้ก็ขึ้นอยู่กับการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเป็นสำคัญ ดังนั้น หากเศรษฐกิจชะลอตัวลง การเติบโตของธุรกิจประกันภัยจะน้อยลงด้วย และในส่วนของภัทรและเมืองไทยประกันภัยก็มีการเติบโตลดลงเช่นกัน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับบริษัทประกันภัยรายอื่นๆ ในเครือด้วย ดังนั้น จากปัจจุบันที่มีบริษัทประกันวินาศภัยในธุรกิจนี้กว่า 70 แห่ง แต่หากมีการควบรวมกิจการเกิดขึ้นก็จะช่วยเป็นการเสริมความแข่งแกร่งให้บริษัทประกันภัยมากขึ้น ถือเป็นการสนองนโยบายรัฐด้วย

"บริษัทประกันภัยที่จะเกิดขึ้นใหม่คาดว่าค่าใช้จ่ายในช่วงแรกๆ ยังคงไม่ลดลง และยังคงไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ขณะที่พนังานเดิมที่ทำงานร่วมกับภัทรและเมืองไทยประกันภัยเรายืนยันว่าจะไม่มีเลิกจ้าง แต่จะจัดสรรให้ไปอยู่ในสายธุรกิจใหม่ๆที่เหมาะสม ส่วนอัตราเงินเดือนอาจจะมีการเกลี่ยใหม่ เพื่อปรับฐานะเงินเดือนใหม่ให้เหมาะสม”นายโพธิพงษ์กล่าว

นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด กล่าวว่า การควบรวมกิจการในครั้งนี้ยืนยันว่าไม่ใช่เกิดจากตัวเองต้องการหันไปเล่นการเมือง แต่ยังคงทำงานด้านธุรกิจประกันภัยอยู่ ซึ่งยังคงอยู่ในบริษัทประกันภัยที่จะเกิดขึ้นมาใหม่นี้ด้วย ส่วนเรื่องการเมืองนั้นยังไม่มองไปไกลนัก ดังนั้น การควบรวมกิจการของบริษัทประกันภัยทั้ง 2 แห่งนี้ เพื่อช่วยเสริมความแข่งแกร่งให้แก่บริษัทจะเกิดขึ้นมาใหม่ในภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง ถือเป็นการเพิ่มความสามารถ และศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจ พร้อมทั้งรองรับการเปิดเสรีประกันภัยมากขึ้นในอนาคต

สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัทประกันภัยที่จะเกิดขึ้นมาใหม่นี้ หลังจากที่มีการควบรวมกิจการแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นครอบครัวล่ำซำอยู่ประมาณ 40% ธนาคารกสิกรไทย 7% Fortis Insurance International NV ประมาณ 11-13% และที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จากในปัจจุบันบริษัท เมืองไทยประกันภัย มี Fortis Insurance International NV ถือหุ้นในสัดส่วน 25% บริษัท เมืองไทย โพร์ทิส โฮลดิ้ง จำกัดถือหุ้นอยู่เกือบ 80% และผู้ถือหุ้นอื่นๆ อีก 0.01%

ด้านนางกฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ภัทรประกันภัย กล่าวว่า ตามผลของกฎหมาย (Amalgamation)การควบรวมกิจการครั้งนี้ เมื่อเกิดบริษัทใหม่เกิดขึ้นทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน และทุกอย่างของทั้งภัทรและเมืองไทยประกันภัยต้องมีการโอนทุกอย่างเข้ามาในบริษัทใหม่ ส่วนหุ้นทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของภัทรก็ยังคงมีการซื้อขายต่อไปจนกว่าจะมีการรวมกิจการเกิดขึ้น คือ ในช่วงเดือนมี.ค.2551 และจะมีการพักการซื้อขายหุ้นประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงนี้จะมีการเวียนคืนใบหุ้นเดิมและออกหุ้นใหม่ของบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการนี้จะเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แทน

"การควบรวมครั้งนี้ศึกษาอย่างละเอียดมีประมาณ 3-4 วิธี และดูในทุกเรื่องทั้งภาษี หน้าที่ ความคงอยู่ของบริษัทหลายด้าน แต่สุดท้ายมีความเห็นตรงกันที่จะเลือกใช้วิธีสูตร A บวก B และผลลัพธ์จะเกิดมาเป็น C ฉะนั้น ตามกฎหมายทั้งในส่วนของภัทรและเมืองไทยต้องคืนใบอนุญาตทั้ง 2 ใบ และขอใบอนุญาตตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ด้วยความมั่นคงที่มีอยู่จะไม่น่าจะมีปัญหา และเชื่อว่าวิธีนี้ดีที่สุดสำหรับในแง่ของผู้ถือหุ้น และตัวองค์กรเอง”นางกฤตยา กล่าว

กรรมการผู้จัดการ บมจ.ภัทรประกันภัย กล่าวว่า ในการควบรวมกิจการครั้งนี้ของทั้งภัทรและเมืองไทยประกันภัยจะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 10 ต.ค.นี้อีกครั้ง เพื่อขออนุมัติการดำเนินการควบกิจการ รวมถึงขอความเห็นชอบจากจากเจ้าหนี้ รวมถึงผู้เอาประกันภัยทุกราย ทำให้บริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 590 ล้านบาท ณ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท หรือเท่ากับ 59 ล้านหุ้น โดย 1 หุ้นของภัทรประกันภัย จะสามารถแปลงเป็น 1.9588 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นของเมืองไทยประกันภัย จะสามารถแปลงเป็น 0.5083 หุ้นในบริษัทใหม่ ซึ่งต้องหลังการจ่ายปันผลของภัทรประกันภัยและการปรับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นบริษัทเมืองไทยประกันภัยแล้ว

อนึ่ง ภัทรประกันภัย ซึ่งมีเงินกองทุนสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมากนั้น คณะกรรมการบริษัทได้มีมติประกาศจ่ายเงินปันผลพิเศษ 50 บาทต่อหุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นตามที่มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 5 พ.ย.นี้ และจะจ่ายภายในวันที่ 9 พ.ย. นี้ ส่วนเมืองไทยประกันภัยที่อนุมัติให้บริษัทมีการปรับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น จากหุ้นละ 100 บาทเป็น หุ้นละ 10 บาท ทำให้บริษัทเมืองไทยประกันภัยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 39 ล้านหุ้น ที่ทุนจดทะเบียน 390 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทใหม่จะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยจะผ่านสถาบันการเงิน(แบงก์แอสชัวรันส์)ประมาณ 34% ตัวแทนขายและนายหน้า 31% ทีมขายตรง 16% ผ่านพันธมิตรประกันภัยรถยนต์ 15% และช่องทางการตลาด เช่น การขายประกันภัยผ่านโทรศัพท์ประมาณ 4% จากเดิมที่ภัทรจะเน้นแบงก์แอสชัวรันส์ ขณะที่เมืองไทยประกันภัยเน้นช่องทางการจำหน่ายผ่านตัวแทน และคู่ค้าธุรกิจรถยนต์ รวมทั้งการขายตรง

ส่วนฐานเบี้ยประกันภัยจะมีความหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้นซึ่งจะมีการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมและสมดุลมากขึ้น โดยจะมีฐานเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประมาณ 35% ขณะที่มีฐานเบี้ยประกันอัคคีภัยประมาณ 28% จึงเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงในด้านการดำเนินงาน ที่ไม่มีการพึ่งพารายได้จากผลิตภัณฑ์หลักใดเป็นการเฉพาะ จากปัจจุบันที่ภัทรมีจุดแข็งด้านงานอัคคีภัย ซึ่งมีเบี้ยรับเป็นสัดส่วนถึง 50% งานเบ็ดเตล็ด 46% และงาน Marine 4% ส่วนเมืองไทยประกันภัยมีจุดแข็งงานประกันภัยรถยนต์เป็นหลักถึงสัดส่วน 60% งานเบ็ดเตล็ด 26% อัคคีภัย 11% และMarin 3%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us