Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มิถุนายน 2550
บรรณวิทย์สั่งบินไทยฮุบหุ้นนกแอร์51%             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินนกแอร์
โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
สกาย เอเชีย, บจก. - สายการบินนกแอร์
Aviation




บรรณวิทย์สั่งการบินไทย หารือนกแอร์ เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 51% หวังสร้างความแกร่งด้านการแข่งขันในธุรกิจสายการบินในทุกเซกเมนท์ ทั้ง โลว์คอสต์ และ สายการบินพาณิชย์ ระบุ ที่ผ่านมา เกิดการทำงานทับซ้อน แข่งขันกันเอง ส่งผลธุรกิจไม่โต ขณะที่ปลายเดือนนี้ จับมือ สตาร์ อัลไลน์แอนซ์ จัดประชุม Asia Forum 2007 ชูศักยภาพประเทศไทยขึ้นฮับทางการบิน

พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การบินไทย ไปหารือร่วมกับสายการบินนกแอร์ ถึงการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยต้องการให้การบินไทยเข้าไปถือหุ้นในสายการบินนกแอร์ในสัดส่วน 51% จากปัจจุบันที่ถืออยู่ 39% เพราะต้องการให้การบินไทยเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านการบริหารให้แก่สายการบินนกแอร์ได้อย่างเต็มตัว เพื่อให้แผนธุรกิจไม่ทับซ้อนกันเหมือนเช่นขณะนี้

ทั้งนี้การดำเนินงานของทั้งสองสายการบินที่ผ่านมา จะมีการแข่งขันกันด้วยในบางเส้นทาง มีความทับซ้อนกันในเรื่องของแผนการดำเนินงาน ทำให้เสียประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แทนที่จะมุ่งแข่งขันกับสายการบินอื่นๆเท่านั้น ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้ เพื่อให้ทั้งสองสายการบินมียุทธศาสตร์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยนกแอร์ จะเป็นหน่วยงานสำหรับใช้แข่งขันธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์) ส่วนการบินไทย ก็จะแข่งขันกันสายการบินพาณิชย์ทั่วไป

“แม้ว่าการบินไทยจะถือหุ้นในสายการบินนกแอร์สัดส่วน 39% ซึ่งถือเป็นหุ้นใหญ่แล้วก็ตาม แต่เราต้องการให้การบินไทยถือหุ้นใหญ่ แบบมีอำนาจควบคุมการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน ส่วนลักษณะการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มทุน หรือ ในรูปแบบอื่นๆ ตรงนี้คงเป็นรายละเอียด ที่ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายจะต้องไปคุยกัน ก่อนนำบทสรุปมาเสนอต่อกรรมาธิการเป็นลำดับต่อไป”

อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ แนวคิดที่การบินไทย จะเปิดสายการบินเอื้องหลวง เป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์ สำหรับลงแข่งขันในตลาดนี้ คงจะเป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆ

สำหรับผู้ถือหุ้นสายการบินนกแอร์ ที่นอกเหนือจากการบินไทย ได้แก่ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ,บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ,บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) ,กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ,กองทุนเปิดไทยทวีทุน โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัท คิงพาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นเนลกรุ๊ปจำกัด และ ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ

ผนึกสตาร์ฯจัดเอเชียฟอรัม

นายอะลาสแตร์ ลูวิช คาร์ทรู ผู้อำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ และผู้จัดการสำนักงาน สตาร์อัลไลน์แอนซ์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบ 10 ปี การก่อตั้ง กลุ่ม สตาร์ อัลไลน์แอนซ์ จึงได้ร่วมกับการบินไทย จัดงานประชุม Asia Forum 2007 ในหัวข้อ The future of aviation ซึ่งงานจะมีขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายนศกนี้ ที่โรงแรมแชวกรี-ลา กรุงเทพ โดยผู้เข้าร่วมประชุม จะมาจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว เพื่อมาแสดงความคิดเห็นถึงอนาคตของอุตสาหกรรมการบิน และ แนวโน้มการท่องเที่ยว

โดยผู้รับเชิญเข้าร่วมอภิปรายผู้บริหารกลุ่มสายการบินพันธมิตร สตาร์ อัลไลน์แอนซ์ ,เลขาธิการใหญ่องค์การท่องเที่ยวโลก ,ประธานบริษัท อะมาดิอุส รวมถึงผู้บริหารจากสนามบินชั้นนำต่างๆ และ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน อาทิ แอร์บัส ,โบอิ้ง, จีอี ,โรลซ์รอย , ผู้อำนวยการทั่วไปการบินพลเรือน ณ กรุงเดลี ประเทศอินเดีย , ประธานบริหารสนามบินมิวนิค ,หัวหน้าสถาบันศูนย์วิจัย และ พัฒนาอุตสาหกรรมการบิน เพื่อวิจัยการบริหารเศรษฐกิจ ประเทศจีน และ ผู้อำนวยการสมาคมสายการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นต้น

“ในการสัมมนาจะพูดถึง 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ดินแดนและภูมิภาคใหม่ ,เครื่องบินแห่งศตวรรษที่ 21 และ ความสัมพันธ์ทวีปเอเชีย และ ความท้าทายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเดินทางของทวีปเอเชีย “

นายปรีดี บุญซื่อ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพันธมิตรธุรกิจการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการสัมมนาครั้งนี้ นายสรรเสริญ วงษ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จะ ขึ้นบรรยายในหัวข้อ ความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิ และทิศทางการดำเนินงาน เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นยังถือโอกาสนี้ เปิดให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้ชมเล้าจน์ แห่งใหม่ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และบริการไทย สปา เล้าจน์ของการบินไทยด้วย ซึ่งทั้งหมดจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีให้แก่ประเทศไทย

อย่างไรก็ตามคาดว่าการประชุมครั้งนี้ จะช่วยประกาศจุดยืนของกลุ่มสตาร์อัลไลน์แอนซ์ และผลของการประชุม จะเป็นตัวกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมการบินในอนาคต สร้างภาพลักษณ์ให้แก่สนามบินสุวรรณภูมิให้กลายเป็นสนามบินที่ทันสมัย และ ดีที่สุดในเอเชียในระยะเวลาอันใกล้นี้

ปัจจุบัน สตาร์ อัลไลน์แอนฐ์ มีสมาชิก 17 สายการบิน รองรับการบริการด้านการบินให้แก่ผู้โดยสารมากกว่า 406 ล้านคนต่อปี คิดเป็น 30% ของผู้เดินทางทั่วโลก มีเครือข่ายสู่ 855 จุดหมายปลายทาง ใน 155 ประเทศทั่วโลก และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี และสิ้นปีนี้ จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 2 สายการบิน คือ แอร์ไชน่า และ เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us